https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ในปี 2579 ( อีก 27 ปี ) ดาวเคราะห์น้อยพุ่งชนโลก MUSLIMTHAIPOST

 

ในปี 2579 ( อีก 27 ปี ) ดาวเคราะห์น้อยพุ่งชนโลก


531 ผู้ชม


ดาวเคราะห์น้อยอะโพฟิส (99942 Apophis) จะเฉียดโลกในปีพ.ศ.2572 และจะพุ่งชนโลกในปี 2579   

ในปี 2579   ดาวเคราะห์น้อยพุ่งชนโลก
ในปี 2579 ( อีก 27 ปี ) ดาวเคราะห์น้อยพุ่งชนโลก

ที่มาของภาพ https://www.rmutphysics.com/charud/OLDNEWS/99/star.jpg

ในปี 2579 ( อีก 27 ปี ) ดาวเคราะห์น้อยพุ่งชนโลก

ที่มาของภาพ : https://dek-d.com/board/view.php?id=809048

ประเด็นข่าว
               " นายวรวิทย์ ตันวุฒิบัณฑิต กรรมการบริหารสมาคมดาราศาสตร์ไทย เปิดเผยว่า มีรายงานจากองค์การนาซ่าระบุว่าในอีก 22ปี (ข่าวเมื่อปี 2550 ) คือวันที่ 13 เมษายน 2572 จะมีปรากฏการณ์ด้านดาราศาสตร์ที่น่าสนใจคือ จะเกิดปรากฏการณ์ดาวคราะห์น้อย"อะโพฟิส"หรือ99942 Apophisโคจรเข้าใกล้เฉียดโลกในระยะใกล้สูงสุดที่ 22,000ไมล์ หรือ 34,400 กิโลเมตร ใกล้กว่าวงโคจรของดวงจันทร์เกือบ 11เท่าและอยู่ในระยะใกล้กว่าดาวเทียมค้างฟ้า เป็นครั้งแรกในรอบ 1,000 ปี ที่มีดาวเคราะห์น้อยเข้าใกล้โลกกว่าวงโคจรของดวงจันทร์
             

              สำหรับความสำคัญของดาวเคราะห์น้อยอะโพฟิสนี้ เนื่องจากผลที่โคจรเฉียดใกล้โลกมาก อันจะเป็นกุญแจสำคัญในการใช้คำนวณ หรือสังเกตการณ์ดาวเคราะห์น้อยดังกล่าวนี้ที่จะโคจรเข้ามาใกล้โลกกว่านี้อีกครั้งในวัน 13เมษายน 2579 ว่า จะมีผลต่อการพุ่งชนโลกหรือไม่อย่างไรในวันดังกล่าว ซึ่งหากมีการพุ่งชนโลกในขณะนั้น(13 เมษษายน 2579) ประเทศที่ถูกชนจะเป็นเม็กซิโกทางตอนเหนือ ผลการถูกพุ่งชนจะรุนแรงเทียบเท่าขนาดของระเบิดทีเอ็นที จำนวน 870เมกะตัน หรือมากกว่า 4 เท่าของแรงระเบิดภูเขาไฟกรากะตัวของประเทศอินโดนีเซีย ในปี ค.ศ.1883 ที่คร่าชีวิตประชาชนไปกว่า 36,000คน มีพื้นที่จมหายไปทั้งเกาะ จำนวน 165 หมู่บ้าน "
อ่านรายละเอียดของข่าวได้ที่ https://www.rmutphysics.com/charud/OLDNEWS/99/index99.htm
                                       https://thaiastro.nectec.or.th/library/apophis/apophis.html

ที่มา:แนวหน้า วันที่ 23 กรกฏาคม พ.ศ. 2550

เนื้อหาสำหรับกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์พื้นฐาน โลกดาราศาสตร์และอวกาศ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ เรื่อง ดาวเคราะห์น้อย

สาระที่7 : ดาราศาสตร์และอวกาศ ( 73 kb)  
  มาตรฐาน ว 7.1 : เข้าใจวิวัฒนาการของระบบสุริยะและกาแล็กซี ปฏิสัมพันธ์ภายในระบบสุริยะ และผลต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น 1. สืบค้นข้อมูล อภิปราย และอธิบายการเกิด และวิวัฒนาการของระบบสุริยะ กาแลกซี และเอกภพ พลังงานของดาวฤกษ์เกิดจากปฏิกิริยานิวเคลียร์
ฟิวชัน

จุดประสงค์ปลายทาง   มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับดาวเคราะห์น้อย

เนื้อหาความรู้
        ดาวเคราะห์น้อย (Asteroid หรือบางครั้งเรียกว่า Minor Planet / Planetoid) คือวัตถุทางดาราศาสตร์ขนาดเล็กกว่าดาวเคราะห์ แต่ใหญ่กว่าสะเก็ดดาว (ซึ่งโดยปกติมักมีขนาดราว 10 เมตรหรือน้อยกว่า)[1] และไม่ใช่ดาวหาง การแบ่งแยกประเภทเช่นนี้กำหนดจากภาพปรากฏเมื่อแรกค้นพบ กล่าวคือ ดาวหางจะต้องมีส่วนของโคม่าที่สังเกตเห็นได้ชัด และมีรายชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อของดาวหางเอง ดาวเคราะห์น้อยมีลักษณะปรากฏคล้ายดวงดาว (คำว่า asteroid มาจากคำภาษากรีกว่า αστεροειδής หรือ asteroeidēs ซึ่งหมายถึง "เหมือนดวงดาว" มาจากคำภาษากรีกโบราณว่า Aστήρ หรือ astēr ซึ่งแปลว่า ดวงดาว) และมีการกำหนดเรียกชื่ออย่างคร่าวๆ ตามชื่อปีที่ค้นพบ จากนั้นจึงมีการตั้งชื่อตามระบบ (เป็นหมายเลขเรียงตามลำดับ) และชื่อ ถ้ามีการพิสูจน์ถึงการมีอยู่และรอบการโคจรเรียบร้อยแล้ว สำหรับลักษณะทางกายภาพของดาวเคราะห์น้อยโดยส่วนใหญ่ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด

ดาวเคราะห์น้อยจำแนกออกได้เป็น 3 ประเภท  โดยพิจารณาจากการสะท้อนแสงอาทิตย์  คือ

1. C-type Asteroid (Cabonaceous Asteroid)เป็นดาวเคราะห์น้อยที่สะท้อนแสงได้น้อยมาก  มองดูมืดที่สุด  องค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นคาร์บอน(ถ่าน) เป็นดาวเคราะห์น้อยกลุ่มนี้มีจำนวนประมาณ 75% ของดาวเคราะห์น้อยทั้งหมด

2.S-type Asteroid (Silicaceous Asteroid)เป็นดาวเคราะห์น้อยที่สะท้อนแสงได้ปานกลาง  มองดูเป็นสีเทา  องค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นซิลิกา(Silica) เป็นดาวเคราะห์น้อยกลุ่มนี้มีจำนวนประมาณ 15%ของดาวเคราะห์น้อยทั้งหมด

3. M-type Asteroid (Metaliceous Asteroid)เป็นดาวเคราะห์น้อยที่สะท้อนแสงได้มากที่สุดมองดูสว่าง  องค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นโลหะ(Metal) เป็นดาวเคราะห์น้อยกลุ่มนี้มีจำนวนประมาณ 10%ของดาวเคราะห์น้อยทั้งหมด

กิจกรรมการเรียนรู้

              ครูให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลเรื่องดาวเคราะห์น้อยแล้วสรุปความรู้ที่ได้รับพร้อมจัดกระทำใน blog ของตน

ต่อยอดความคิด

คำชี้แจง  ให้นักเรียนร่วมอภิปรายในประเด็นข่าว

ประเด็นอภิปราย

         ๑. ให้นำเสนอวิธีวิเคราะห์ข่าว 2572 ดาวเคราะห์น้อยเฉียดโลก เพื่อให้ได้ข่าวที่แม่นยำ  (การคิดวิเคราะห์)
         ๒. ถ้าเหตุการณ์นี้ต้องเกิดขึ้นจริง ๆ จะมีวิธีการป้องกันและแก้ไขอย่างไร (การคิดประยุกต์) 
         ๓. นักเรียนควรปฏิบัติตนอย่างไรเมื่อได้รับทราบข่าวนี้  (การคิดวิจารณญาณ)

กิจกรรมเสนอแนะ
         ๑. แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม  กำหนดให้นักเรียนทุกคนในกลุ่ม ได้ระดมความคิดและนำเสนอเรื่องราวจากการอ่าน
ข่าว 2572 ดาวเคราะห์น้อยเฉียดโลก  
         ๒. ให้นักเรียนไปสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมจากแหล่งที่หลากหลายหรือสอบถามผู้รู้
     

การบูรณาการ
          ๑. กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้น ม.๔ เรื่อง การเคลื่อนที่แบบวงกลม
          ๒. กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ชั้น ม.๔  เรื่องการอ่าน


                        ที่มา :  https://thaiastro.nectec.or.th/library/apophis/apophis.html
                        ที่มา :  https://www.rmutphysics.com/charud/OLDNEWS/99/index99.htm
                        ที่มา :  จากวิกิพีเดีย

ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1044

อัพเดทล่าสุด