https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
“สุริยุปราคาเหนือน่านฟ้าเมืองไทย” MUSLIMTHAIPOST

 

“สุริยุปราคาเหนือน่านฟ้าเมืองไทย”


688 ผู้ชม


ในวันที่ 22 ก.ค. ที่จะถึงนี้ จะเกิดสุริยุปราคาในช่วงเวลา 07.00-09.19 น. ซึ่งจะเป็นสุริยุปราคาแบบเต็มดวง ที่สำคัญจะเกิดขึ้นเป็นเวลานานที่สุดในศตวรรษที่ 21 กินเวลาถึง 6 นาที 39 วินาที   

“สุริยุปราคาเหนือน่านฟ้าเมืองไทย”
ภาพจากหนังสือพิมพ์เดลินิวส์

        เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 3 ก.ค. ดร. คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ แถลงข่าวงาน “สุริยุปราคาเหนือน่านฟ้าเมืองไทย” ซึ่งจะเกิดขึ้นในวันที่ 22 ก.ค. 52 ที่จะถึงนี้ รศ.บุญรักษา สุนทรธรรม ผอ.สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สดร. กล่าวว่า ปีนี้ถือเป็นปีที่มีความสำคัญทางดาราศาสตร์มาก เพราะนอกจากจะเป็นปีดาราศาสตร์สากลแล้ว จะยังเป็นปีที่เกิดสุริยุปราคาถึง 2 ครั้ง โดยครั้งแรกเกิดขึ้นในวันที่ 26 ม.ค. ที่ผ่านมาแล้ว จะเกิดขึ้นอีกเป็นครั้งที่ 2 ในวันที่ 22 ก.ค. ที่จะถึงนี้ จะเกิดในช่วงเวลา 07.00-09.19 น. ซึ่งจะเป็นสุริยุปราคาแบบเต็มดวง ที่สำคัญจะเกิดขึ้นเป็นเวลานานที่สุดในศตวรรษที่ 21 กินเวลาถึง 6 นาที 39 วินาที   
        ดร.ศรัณย์ โปษยะจินดา รองผอ.สดร. กล่าวว่า สุริยุปราคาครั้งนี้ในไทยแม้จะเห็นเพียงบางส่วนดวงจันทร์บังดวงอาทิตย์ประมาณ 69 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ดวงอาทิตย์ แต่ก็สามารถเห็นได้ทุกภูมิภาค โดยในกรุงเทพฯ ดวงจันทร์จะเริ่มบังดวงอาทิตย์ในเวลา 07.06 น. สิ้นสุดเวลา 09.08 น. จังหวัดเชียงรายจะเกิดนานถึง 2 ชม. 12 นาที ซึ่งถือว่านานที่สุดในประเทศ แต่สำหรับประเทศอินเดีย จีน ญี่ปุ่น และมหาสมุทร แปซิฟิกใต้ จะเกิดสุริยุปราคาแบบเต็มดวง อย่างไรก็ตามอยากฝากเตือนผู้ที่จะดู ไม่ควรดูด้วยตาเปล่าอย่างเด็ดขาด ควรสวมใส่หรือใช้อุปกรณ์ พิเศษในการดู เพื่อความปลอดภัย.- หนังสือพิมพ์เดลินิวส์
สุริยุปราคาคืออะไร
        สุริยุปราคา เป็นปรากฏการณ์ ตามธรรมชาติ ที่ดวงจันทร์ โลก และดวงอาทิตย์ โคจรมาอยู่ในแนวเส้นตรง ทำให้ดวงจันทร์บังดวงอาทิตย์ และเงาของดวงจันทร์จึงตกมาบน บริเวณ ต่างๆ บนโลก
        สุริยุปราคาหรือเรียกอีกอย่างว่า สุริยะคราส หมายถึง ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นขณะที่ดวงจันทร์หมุนรอบโลก แล้วโคจรมาบังดวงอาทิตย์ จึงทำให้โลกไม่ได้รับแสงสว่างจากดวงอาทิตย์ ช่วงขณะหนึ่ง โดยเงาของดวงจันทร์จึงตกมาบนโลก ทำให้บริเวณพื้นผิวโลกที่อยู่ใต้เงามืดของดวงจันทร์ เห็นดวงอาทิตย์มืดมิด เราเรียกว่า “สุริยุปราคาเต็มดวง” และบริเวณพื้นโลกที่อยู่ใต้เงามัวของดวงจันทร์ก็จะเห็นดวงอาทิตย์มืดเป็นดวงกลมโดยมีขอบสว่างล้อมรอบคล้ายวงแหวน เราเรียกว่า “วงแหวนสุริยุปาคา” ส่วนบางบริเวณก็เห็นดวงอาทิตย์มืดบางส่วนและสว่างบางส่วน เราเรียกว่า “สุริยุปราคาบางส่วน” 
        สุริยุปราคาจะเกิดขึ้นไม่บ่อยนัก เพราะส่วนใหญ่ดวงจันทร์มักจะโคจรในระดับที่สูงหรือต่ำกว่าแนวระดับเดียวกัน ( แนวเส้นตรงเดียวกัน ) กับโลกและดวงอาทิตย์ ดังนั้นสุริยุปราคาจะเกิดขึ้นได้เมื่อดวงจันทร์โคจรมาอยู่ในแนวเส้นตรงระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ ( ตรงกับแรม 14 – 15 ค่ำ )สุริยุปราคาจะเกิดขึ้นเฉพาะในเวลากลางวันและตรงกับวันแรม 15 ค่ำ หรือวันขึ้น 1 ค่ำเท่านั้น 
       สำหรับการเกิดสุริยุปราคาในช่วงที่ดวงจันทร์อยู่ห่างจากโลกมากกว่าปกติ ทำให้เงามืดของดวงจันท์ทอดตัวไปไม่ถึงพื้นโลก แต่ถ้าต่อขอบของเงามืดออกไปจนสัมผัสกับพื้นผิวโลกจะเกิดเป็นเขตเงามัวขึ้น ตำแหน่งที่อยู่ภายใต้เขตเงามัวนี้จะมองเห็นสุริยุปราคาวงแหวนดวงจันทร์มีขนาดเล็กกว่าดวงอาทิตย์มาก แต่ที่เรามองเห็นดวงจันทร์บังดวงอาทิตย์ได้มิด ก็เพราะดวงจันทร์อยู่ใกล้โลกมากกว่าดวงอาทิตย์
สุริยุปราคามี 4 ประเภท ได้แก่
          สุริยุปราคาบางส่วน(partial eclipse):  มีลักษณะ: มีเพียงบางส่วนของดวงอาทิตย์เท่านั้นที่ถูกบัง 
          สุริยุปราคาเต็มดวง(total eclipse) มีลักษณะ : ดวงจันทร์บังดวงอาทิตย์หมดทั้งดวง 
          สุริยุปราคาวงแหวน(annular eclipse) มีลักษณะ: ดวงอาทิตย์มีลักษณะเป็นวงแหวน เกิดเมื่อดวงจันทร์อยู่ในตำแหน่งที่ห่างไกลจากโลก ดวงจันทร์จึงปรากฏเล็กกว่าดวงอาทิตย์ 
          สุริยุปราคาผสม(hybrid eclipse):  มีลักษณะ : ความโค้งของโลกทำให้สุริยุปราคาคราวเดียวกันกลายเป็นแบบผสมได้ คือ บางส่วนของโลกเห็นสุริยุปราคาเต็มดวง บางส่วนเห็นสุริยุปราคาวงแหวน บริเวณที่เห็นสุริยุปราคาเต็มดวง เป็นส่วนที่อยู่ใกล้ดวงจันทร์มากกว่า

        ผลกระทบ การเกิดสุริยุปราคามีผลกระทบก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ เนื่องจากการที่ดวงอาทิตย์ค่อยๆ ลดแสงลงเนื่องจากดวงจันทร์บังแสงดวงอาทิตย์ ทำให้สัตว์ต่างๆพากันกลับรังเพราะนึกว่าถึงเวลากลางคืนเห็นได้ชัดก็คือ นกชนิดต่างๆ จะบินกลับรัง ส่วนคนก็พากันตื่นเต้นและเตรียมการเฝ้าดูในปัจจุบันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทำให้มนุษย์มีโอกาสเห็น และได้ศึกษาการเกิดสุริยุปราคา และเกิดบริเวณใดของโลก
        วิธีดู เมื่อเกิดสุริยุปราคาไม่ควรดูด้วยตาเปล่า เพราะอาจทำให้ตาบอดหรือเป็นโรคตาได้  การใช้แว่นกันแดดในการมองเป็นวิธีการที่ไม่ถูกต้อง เพราะไม่สามารถป้องกันสิ่งที่เป็นอันตราย รวมทั้งรังสีอินฟราเรดที่ตามองไม่เห็นซึ่งจะเป็นอันตรายต่อเรตินาได้ การสังเกตจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ที่ทำมาโดยเฉพาะ จึงจะสามารถมองดวงอาทิตย์ตรงๆ หรืออาจใช้อุปกรณ์เป็นแผ่นฟิล์มถ่ายรูปขาวดำที่ใช้แล้ว นำมาซ้อนกัน 2 –3 แผ่น แล้วดูผ่านฟิล์มถ่ายรูป หรือใช้การมองผ่านกระจกที่รมควันให้แสงผ่านได้น้อยที่สุด
 
        อย่างไรก็ตาม สามารถมองดวงอาทิตย์ด้วยตาเปล่าโดยตรงได้ เฉพาะตอนที่เกิดสุริยุปราคาเต็มดวงเท่านั้น นอกจากจะไม่เป็นอันตรายแล้ว สุริยุปราคาเต็มดวงยังสวยงามอีกด้วย หากมองขณะเกิดสุริยุปราคาเต็มดวง ก็จะเห็นชั้นบรรยากาศโคโรนาของดวงอาทิตย์ ในบางครั้งอาจเห็นพวยแก๊สทีพุ่งออกมาจากดวงอาทิตย์ ซึ่งปกติจะไม่สามารถมองเห็นได้ แต่ควรหยุดมองดวงอาทิตย์ก่อนที่จะสิ้นสุดการเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงเล็กน้อย

“สุริยุปราคาเหนือน่านฟ้าเมืองไทย”


การเกิดสุริยุปราคา

“สุริยุปราคาเหนือน่านฟ้าเมืองไทย”

ประเด็นคำถาม
        1.  สุริยุปราคาคือปรากฏการณ์อะไร
        2.  สุริยุปราคาเกิดขึ้นในเวลากลางวันหรือกลางคืน

กิจกรรมเสนอแนะ
       ให้นักเรียนทำอุปกรณ์สำหรับการมองสุริยุปราคาใช้เอง

การบูรณาการ
        1.  กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
        2.  กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปศึกษา

แหล่งข้อมูล  https://www.thaigoodview.com/library/teachershow/phichit/apichat_p/sec03p01.html
https://blog.eduzones.com/montra/2852
วิกิพีเดีย

  
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1111

อัพเดทล่าสุด