https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ใบไม้เปลี่ยนสี MUSLIMTHAIPOST

 

ใบไม้เปลี่ยนสี


602 ผู้ชม


ใบไม้ที่ไม่ใช่แค่สีเขียวสีเดียวในฤดูใบไม้ร่วง มีหลากหลายสีสันไม่ว่าจะเป็นสีเขียว สีส้ม สีเหลือง สีแดง หรือแม้กระทั่งสีม่วง เหมือนกับว่ามันแข่งกันแต่งหน้ามาอวดผู้คนที่เดินผ่านไปผ่านมา จึงเกิดเป็นคำถามตามมากมาย เช่น "ทำไมใบไม้จึงมีหลากหลายสี" &quo   

ใบไม้เปลี่ยนสี

 

 


ใบไม้เปลี่ยนสี
ใบไม้ที่ไม่ใช่แค่สีเขียวสีเดียวในฤดูใบไม้ร่วง มีหลากหลายสีสันไม่ว่าจะเป็นสีเขียว สีส้ม สีเหลือง สีแดง หรือแม้กระทั่งสีม่วง เหมือนกับว่ามันแข่งกันแต่งหน้ามาอวดผู้คนที่เดินผ่านไปผ่านมา จึงเกิดเป็นคำถามตามมากมาย เช่น "ทำไมใบไม้จึงมีหลากหลายสี" "ทำไมใบไม้จึงต้องเปลี่ยนสี " "การเปลี่ยนสีของมันมีกลไลอย่างไร"

ที่มาของภาพ : https://www.vcharkarn.com


ใบไม้เปลี่ยนสี
หน้าที่และความสำคัญของใบไม้ คือ อวัยวะของพืชที่มีสีเขียวๆ รูปร่างประหลาดๆ ที่เรียกว่าใบไม้นั้น เปรียบเสมือนเป็นโรงอาหารของพืช มีหน้าที่รวบรวมวัตถุดิบ นำเครื่องปรุงเครื่องเทศต่างๆ มาปรุงอาหารเลิศรส และส่งให้พืชทั้งต้นได้ประทังชีวิตยืนอยู่ได้ ถ้าไม่มีใบไม้เหล่านี้แล้ว พืชก็จะไม่มีอาหารทาน เกิดภาวะที่เรียกว่า "อดตาย" (เหมือนคน) วัตถุดิบที่ใช้ในการปรุงอาหารของต้นไม้นั้น คือ น้ำ (H2O), ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) และแสงแดด (hv) โดยรากจะทำหน้าที่ดูดน้ำจากดินส่งผ่านท่อลำเลียงน้ำขึ้นมา ใบไม้จะเป็นตัวเก็บสะสมก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และรงควัตถุสีเขียวของใบไม้ที่มีชื่อว่า "คลอโรฟิลล์" (Chlorophyll) จะทำหน้าที่เก็บเกี่ยวพลังงานจากแสงแดด เมื่อวัตถุดิบทุกอย่างพร้อมแล้ว พืชก็จะปรุงอาหาร โดยกระบวนการปรุงอาหารของพืชเรียกว่า "การสังเคราะห์ด้วยแสง"(Photosynthesis) จะได้น้ำตาลกลูโคส (C6H12O6) และก๊าซออกซิเจน (O2) เป็นผลิตภัณฑ์ ซึ่งพืชจะนำกลูโคสไปใช้เป็นพลังงานเพื่อกิจกรรมต่างๆ และยังนำไปใช้เป็นองค์ประกอบของเส้นใย เช่น เซลลูโลส (Cellulose) เพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับตัวเอง นอกจากนี้ ยังเก็บไว้ใช้ในยามที่ไม่สามารถผลิตอาหารในรูปของแป้งได้อีกด้วย
เมื่อเราหายใจเอาก๊าซออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายและผ่าน
กระบวนการเผาผลาญ (Metabolism) จะปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา ในทางกลับกันพืชดูดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพื่อนำไปใช้ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง และปลดปล่อยก๊าซออกซิเจนออกมาแลกเปลี่ยนกันเป็นวัฏจักร การอยู่ในสวนสาธารณะที่มีต้นไม้เยอะๆ จึงทำให้เรารู้สึกสดชื่น กระปี้กระเปร่าและสมองปลอดโปร่งด้วยออกซิเจน ดังนั้น การปลูกต้นไม้ก็เสมือนการติดตั้งเครื่องฟอกอากาศธรรมชาตินั่นเอง

 

ที่มาข้อมูล : https://www.vcharkarn.com
ใบไม้เปลี่ยนสี
ในฤดูร้อนที่มีกลางวันยาวนานแต่กลางคืนสั้นนั้น มีแสงแดงและดินที่อุดมด้วยน้ำเพียงพอสำหรับกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง พืชจะเปิดโรงอาหารและสร้างอาหารหล่อเลี้ยงต้นตามปกติและเก็บสำรองไว้ แต่เมื่อฤดูใบไม้ร่วงย่างเข้ามาอากาศจะเริ่มเย็นลง กลางวันจะสั้นลงและกลางคืนจะยาวขึ้น การเปลี่ยนแปลงนี้ทำให้พืชทราบว่าฤดูกาลกำลังจะเปลี่ยน และเป็นสัญญาณเตือนให้พืชเตรียมตัวสำหรับสภาพอากาศอันเลวร้ายและหนาวจัดของฤดูหนาว ที่พืชไม่มีน้ำและแสงเพียงพอสำหรับการสร้างอาหารอีกต่อไป ต้นไม้จึงต้องสร้างอาหารเก็บสะสมไว้ให้เพียงพอในฤดูร้อน และปิดโรงงานผลิตอาหารในฤดูหนาว นอกจากนี้ พืชยังต้องลดการใช้พลังงานทุกรูปแบบเพื่อความอยู่รอด โดยการสลัดใบของมันทิ้งไปเพื่อลดการใช้พลังงาน นำไปสู่การเปลี่ยนสีของใบไม้

ใบไม้เปลี่ยนสี
สีเขียวบนใบไม้เป็นสีของรงควัตถุที่เรียกว่า คลอโรฟิลล์ เป็นสารประกอบที่ไม่เสถียร สลายตัวได้ด้วยแสงอาทิตย์ พืชสามารถสร้างคลอโรฟิลล์ขึ้นมาใหม่ได้ แต่ต้องอาศัยแสงแดดและอากาศที่อบอุ่น ดังนั้น ในฤดูร้อนคลอโรฟิลล์จะสลายตัวด้วยแสงแดดสม่ำเสมอและจะถูกสร้างขึ้นมาทดแทนอย่างสม่ำเสมอเช่นกัน เพื่อรักษาระดับปริมาณคลอโรฟิลล์ไว้ให้เหมาะสมต่อกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง เราจึงเห็นใบไม้มีสีเขียวอยู่เสมอ แต่คลอโรฟิลล์ไม่ได้เป็นรงควัตถุชนิดเดียวที่อยู่ในใบไม้ ยังมีรงควัตถุชนิดอื่นๆ อีกที่ช่วยเก็บเกี่ยวพลังงานแสง (accessory absorber) เช่น แคโรทีน(Carotene) ที่มีสีเหลืองและสีส้ม และแอนโทรไซยานิน (Anthocyanin) ที่มีสีแดงและสีม่วง ในฤดูร้อนจะถูกสีเขียวของคลอโรฟิลล์บดบังไว้หมด แต่เนื่องจากแคโรทีนและแอนโทรไซยานินมีความเสถียรมากกว่าคลอโรฟิลล์ จึงสลายตัวได้น้อยกว่าคลอโรฟิลล์มาก เมื่อเข้าสู่ฤดูหนาวและพืชไม่สามารถสร้างคลอโรฟิลล์ขึ้นมาทดแทน ทำให้คลอโรฟิลล์สลายตัวไปสีเขียวก็จะจางลง เผยให้เห็นสีเหลือง สีส้ม สีแดง และสีม่วงของแคโรทีนและแอนโทรไซยานินที่ซ่อนเอาไว้ เราจึงเห็นใบไม้หลากหลายสีสันในฤดูใบไม้ร่วง จนกระทั่งรงควัตถุทั้งสองสลายตัวไปหมด คงเหลือไว้แต่เพียงเส้นใยเซลลูโลสและหลุดร่วงลงสู่พื้นดิน

 


ที่มาข้อมูล : https://www.vcharkarn.com
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1254

อัพเดทล่าสุด