https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
กิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะการคิดวิเคราะห์ MUSLIMTHAIPOST

 

กิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะการคิดวิเคราะห์


551 ผู้ชม


มีทฤษฎียืนยันว่ายีนน่าจะอยู่ที่โครโมโซม โครโมโซมของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดจะมีจำนวนคงที่โครโมโซมประกอบด้วยโปรตีนและ DNA   
 

กิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะการคิดวิเคราะห์
 รายวิชา ว43245  ชีววิทยา เรื่อง  การถ่ายทอดยีนบนโครโมโซม

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์   ชื่อหน่วย  ยีนและโครโมโซมรายวิชา ว 43245              ชีววิทยา        ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6      ภาคเรียนที่  1  ปีการศึกษา 2552จำนวนเวลา   2    ชั่วโมง /  สัปดาห์     
 สาระที่ 1   :   สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต

มาตรฐาน ว 1.2   เข้าใจกระบวนการและความสำคัญของการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ความหลากหลายทางชีวภาพ การใช้เทคโนโลยีชีวภาพที่มีผลต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น  ข้อที่ 3  สืบค้นข้อมูล อภิปรายและอธิบายการถ่ายทอดยีนบนโครโมโซมและสรุปการค้นพบสารพันธุกรรม

สาระสำคัญ

        มีทฤษฎียืนยันว่ายีนน่าจะอยู่ที่โครโมโซม โครโมโซมของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดจะมีจำนวนคงที่โครโมโซมประกอบด้วยโปรตีนและ DNA

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

              สืบค้นข้อมูล  อภิปราย และอธิบายการถ่ายทอดยีนบนโครโมโซมและยีนน่าจะอยู่บนโครโมโซม

จุดประสงค์การเรียนรู้

1..สืบค้นข้อมูล อภิปรายและอธิบายการถ่ายทอดยีนบนโครโมโซมได้

2.ระบุหลักฐานที่ยืนยันว่ายีนน่าจะอยู่บนโครโมโซมได้

เนื้อหาสาระ

         1.  หลักฐานที่ยืนยันว่ายีนน่าจะอยู่บนโครโมโซม

          2. การถ่ายทอดยีนบนโครโมโซม

กิจกรรมการเรียนรู้

จุดประสงค์การเรียนรู้ที่ 1  สืบค้นข้อมูล อภิปรายและอธิบายการถ่ายทอดยีนบนโครโมโซมได้

 ( เวลา 1 ชั่วโมง )

 ขั้นสร้างความสนใจ

            1.   ครูทบทวนความรู้เรื่องการปฏิสนธิระหว่างสเปร์มและเซลล์ไข่ได้เป็นไซโกตและเจริญไปเป็นเอ็มบริโอ เพื่อให้นักเรียนเชื่อมโยงไปสู่การถ่าทอดยีนของพ่อแม่ไปสู่ลูก

             2.  ครูให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียนจำนวน  10   ข้อ ( เวลา  10 นาที )

ขั้นกระตุ้นความสนใจด้วยสถานการณ์

   3.  ครูแบ่งกลุ่มนักเรียนกลุ่มละ 4 – 5 แบบคละกัน จำนวน 8  กลุ่ม แล้วตั้งคำถามดังนี้

ครูตั้งคำถามว่า “ ยีนจากพ่อแม่ถ่ายทอดไปยังลูกได้อย่างไร”

            4.   ครูให้นักเรียนศึกษาสืบค้นหาคำตอบจากแบบเรียนชีววิทยา  หน้า  40 -41 และศึกษาภาพที่ 17-1 การแบ่งเซลล์แบบไมโทซีส กับการแบ่งเซลล์แบบไมโอซีส

ขั้นสำรวจและค้นหา

             5.  ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มทำใบงานที่ 1-6 เรื่อง ยีนน่าจะอยู่บนโครโมโซม ตามข้อเท็จจริงที่ ยีนและโครโมโซมมี เหตุการณ์ที่สอดคล้องกันดังนี้ ( แบบเรียนหน้า 41 )

                    กลุ่มที่ 1-2      ใบงานที่1     ข้อเท็จจริง  ที่ 1

                    กลุ่มที่ 3-4      ใบงานที่ 2   ข้อเท็จจริง  ที่ 2

                    กลุ่มที่  5-6      ใบงานที่ 3   ข้อเท็จจริง  ที่  3

                    กลุ่มที่  7-8      ใบงานที่4    ข้อเท็จจริง  ที่ 4

                    กลุ่มที่ 9-10     ใบงานที่ 5    ข้อเท็จจริง  ที่  5

                    กลุ่มที่  11-12  ใบงานที่ 3   ข้อเท็จจริง  ที่ 3

ขั้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้และขยายแนวคิดที่หลากหลาย

             6.  ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มข้อเท็จจริงอภิปรายแลกเปลี่ยนเรีนรู้และสร้างองค์ความรู้ด้วยกลุ่มช่วยกัน จากการตอบคำถามที่ครูตั้งไว้ โดยสุ่มตัวอย่างใช้การเรียกชื่อประมาณ 3 - 4  คน  ทำให้นักเรียน ได้คิดวิเคราะห์เนื้อหา โดยการนำเสนอองค์ความรู้ หน้าชั้นทั้ง 6 กลุ่ม

          6.    ครูและนักเรียนช่วยกันสรุปได้ว่า ยีนเป็นหน่วยควบคุมลักษณะทางพันธุกรรมจากพ่อแม่สามารถถ่ายทอดไปยังลูก โดยผ่านทางโครโมโซมในเซลล์สืบพันธุ์ของพ่อแม่

E 4 (Elaborate)     ขั้นขยายความรู้     ( เป็นการเพิ่มเติมความรู้ให้สมบูรณ์และสามารถนำความรู้เดิมมาผสมผสานกับแนวความคิดใหม่ นำไปใช้อธิบาย  ทำให้เกิดความรู้กว้างขวางยิ่งขึ้นใช้เวลา  20 นาที)

            7.  ครูให้นักเรียนบันทึกองค์ความรู้ที่ได้ใหม่ใส่สมุดสะสมผลการเรียนรู้ในรูปแบบ

ที่นักเรียนชอบมากที่สุดสุ่มนักเรียนนำเสนอหน้าชั้นเรียนอีกครั้งหนึ่ง

E5 (Evaluate)     ขั้นประเมิน  (  เป็นการประเมินการเรียนรู้ของนักเรียน ว่ามีสิ่งใดที่ควรปรับปรุงแก้ไข จากขั้นนี้จะนำไปสู่การนำความรู้ไปประยุกต์ในเรื่องต่อไป ใช้เวลา  10  นาที )

            8.   นักเรียนทำแบบทสอบแบบเติม 10 ข้อ

 จุดประสงค์การเรียนรู้ที่ 2  ระบุหลักฐานที่ยืนยันว่ายีนน่าจะอยู่บนโครโมโซมได้

E1  (Engage)         ขั้นสร้างความสนใจ

9.ครูกระต้นให้นักเรียนตอบคำถามที่กล่าวว่า “มีหลักฐานอะไรที่ยืนยันได้ว่า ยีนน่าจะอยู่บนโครโมโซม

          10..นักเรียนตอบคำถามได้อย่างหลากหลายโดยครูเขียนคำตอบทุกคำตอบไว้บนกระดาน

แล้วให้นักเรียนช่วยกันสรุปว่าคำตอบข้อความไหนถูกต้องมากที่สุด

          11.    ครูให้นักเรียนช่วยกันใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ขั้นการตั้งสมมติฐาน   การออกแบบการสืบเสาะหาความรู้   เพื่อสรุปว่าคำตอบที่ตอบไว้เป็นความจริงหรือไม่

E2 (Explore)    ขั้นสำรวจและค้นหา

          1 2.   ครูให้นักเรียนสืบค้นหาความรู้จากใบความรู้เสริมเรื่อง โครโมโซมของสิ่งมีชีวิต

           13.    ครูให้นักเรียนศึกษาแผนภาพการแบ่งเซลล์แบบไมโทซีส และไมโอซีสอีกครั้งหนี่ง

E3 (Explain)   ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป

         14.   ครูสุ่มนักเรียนโดยไม่ซ้ำคนเดิมให้นำเสนอรายงานความรู้ที่ได้จากการสืบค้นในความจำนวนชุดของยีนที่เรียนมาจากบทที่ 16 จำนวนชุดของโครโมโซมจากการแบ่งเซลล์เพื่อการสืบพันธุ์

E4 (Elaborate)     ขั้นขยายความรู้

15.   นักเรียนศึกษาเพิ่มเติมจากการทำกิจกรรที่ 1 เรื่องการถ่ายทอดยีนบนโครโมโซม               16.   ครูให้นักเรียนตอบในกิจกรรมให้นักเรียนศึกษา โดยให้นักเรียนเลือกเพื่อคู่คิดวิเคราะห์คำตอบร่วมกัน          

E5 (Evaluate)    ขั้นประเมิน 

17.ประเมินจาก

1) การสืบค้น สืบเสาะหาความรู้  อภิปรายและสรุป

2) การนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียน อภิปรายและเสนอแนะเพิ่มเติมการบันทึกลงสมุดจดงาน

3) การร่วมกันคิดวิเคราะห์ สรุปผล

          18..   ครูให้นักเรียนและครูร่วมอภิปรายในขณะเรียนในชั้นเรียนจัดทำเป็นชิ้นงานในรูปใบงาน

 การวัดผลประเมินผล

1.   ครูประเมิน  ทั้ง   3  จุดประสงค์การเรียนรู้ ดังนี้

       1.1  ประเมินขณะปฏิบัติกิจกรรม

              1)  ประเมินทักษะปฏิบัติ (P)  จากความคล่องแคล่วในการปฏิบัติกิจกรรม  การนำเสนอผลการศึกษาสืบเสาะหาความรู้ โดยใช้แบบประเมิน  มี 3  ระดับคือ

                    ดีมาก                   คะแนน      10

                    ดี                          คะแนน       8

                    ปานกลาง              คะแนน      5- 6

                    ปรับปรุง               คะแนน      1 -  4

                    เกณฑ์ผ่าน      5     คะแนน

             2)   ประเมินลักษณะอันพึงประสงค์ (A)  ได้แก่  ความรับผิดชอบ  ความสนใจ   ความกระตือรือร้น  ความเป็นผู้นำผู้ตามและความซื่อสัตย์  ใช้เกณฑ์เหมือนกัน

            3)    ประเมินความรู้ความเข้าใจและความสามารถในการคิดขั้นสูงทางวิทยาศาสตร์ จากการตอบคำถามและการอภิปราย  จากแบบทดสอบหลังเรียนจำนวน 10 ข้อ เวลา 20นาที เกณฑ์ผ่าน 5

2. นักเรียนประเมินกันเอง    จากการนำเสนอผลงานของแต่ละกลุ่มโดยพิจารณาจาก

                  2.1   บุคลิกการนำเสนอ           2               คะแนน

                 2.2   เนื้อหาสาระครบถ้วน       4            คะแนน

                 2.3    วิธีการนำเสนอและสื่อ     4             คะแนน

3.  นักเรียนประเมินตนเอง    จากชิ้นงานผังกราฟิกและการร่วมกิจกรรม โดยใช้แบบประเมินตนเอง

4.  นักเรียนประเมินการเรียนการสอน    จากการบันทึกผลการเรียนรู้และความสามารถในการคิดขั้นสูงทางวิทยาศาสตร์  คือการคิดแก้ปัญหาโจทย์   และการคิดวิเคราะห์วิจารณญาณ

สื่อวัสุดอุปกรณ์การเรียนรู้

1.แบบเรียนชีววิทยา เล่ม  5  ของ สสวท.

2.ใบความรู้ ที่  1 – 2

3.แบบคำถามจากแบบเรียน

          4. .กิจกรรมที่ 1 - 2

5.แบบทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียน

แหล่งเรียนรู้ภายใน

1.ห้องสมุดโรงเรียนและกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

2.ห้องสืบค้นอินเตอร์เนตโรงเรียนและกลุ่มสาระการเรียนรู้

แหล่งเรียนรู้ภายนอก

             1.   ห้องสมุดมหาวิทยาลัยรามคำแหง

             2.   การสืบค้นจากอินเตอร์เนตอื่นๆ

 ความเห็นของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้

………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

……………………………………………………………………………………………………….

                                                                   ลงชื่อ…………………………………………………….

                                                                                         (นางนวลปรางค์        วงศ์อุ้ย)

                                                                            …………../………………………/………………                                                    

ความเห็นของรองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ

………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

……………………………………………………………………………………………………….

                                                                   ลงชื่อ…………………………………………………….

                                                                                         (นางสาวพิกุลทอง     โม้สา)

                                                                             …………../………………………/……………
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1319

อัพเดทล่าสุด