อาณาจักรสัตว์ (Animal Kingdom) MUSLIMTHAIPOST

 

อาณาจักรสัตว์ (Animal Kingdom)


1,275 ผู้ชม


สิ่งมีชีวิตที่อยู่ในอาณาจักรสัตว์ เป็นพวกที่มีหลายเซลล์ เซลล์จัดเรียงตัวกันเป็นเนื้อเยื่อ สัตว์ทุกชนิดไม่สามารถสร้างอาหารเองได้ แต่ต้องอาศัยอาหารจากสิ่งมีชีวิตอื่น (heterotroph) สัตว์ที่อยู่ในอาณาจักรสัตว์ มีลักษณะแตกต่างหลากหลาย แบ่งออกเป็นกลุ่มย่อยหลายก   

อาณาจักรสัตว์ (Animal Kingdom)

สิ่งมีชีวิตที่อยู่ในอาณาจักรสัตว์ เป็นพวกที่มีหลายเซลล์ เซลล์จัดเรียงตัวกันเป็นเนื้อเยื่อ สัตว์ทุกชนิดไม่สามารถสร้างอาหารเองได้ แต่ต้องอาศัยอาหารจากสิ่งมีชีวิตอื่น (heterotroph) สัตว์ที่อยู่ในอาณาจักรสัตว์ มีลักษณะแตกต่างหลากหลาย แบ่งออกเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่ม โดยในที่นี้จะกล่าวถึงสัตว์ในหมวดหมู่ระดับ
ไฟลัม

 
 
 อาณาจักรสัตว์ (Animal Kingdom)
 อาณาจักรสัตว์ (Animal Kingdom)

Phylum Porifera
Phylum Coelenterata
Phylum Platyhelminthes
Phylum Nematoda
Phylum Annelida
Phylum Arthropoda
Phylum Mollusca
Phylum Echinodermata
Phylum Chordata

ภาพตัวอย่างสิ่งมีชีวิตในไฟลัมต่างๆ ของอาณาจักรสัตว์

 อาณาจักรสัตว์ (Animal Kingdom)
 อาณาจักรสัตว์ (Animal Kingdom)

 1.ไฟลัมพอริเฟอรา (phylum Porifera)

 
 อาณาจักรสัตว์ (Animal Kingdom)
ภาพโครงสร้างภายในของฟองน้ำ
สัตว์ในไฟลัมนี้ ได้แก่ ฟองน้ำ ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในน้ำเค็ม มีบางชนิดที่อาศัยอยู่ในน้ำจืด ฟองน้ำมีลำตัวเป็นโพรง มีช่องเปิดด้านบน และมีรูพรุนโดยรอบ น้ำจะผ่านเข้าตามรูเหล่านี้และผ่านออกทางช่องเปิดด้านบน มีโครงร่างค้ำจุนแทรกอยู่ทั่วไปตามผนังลำตัวที่เรียกว่า สปิคุล (spicule) ซึ่งมีองค์ประกอบของสารแตกต่างกันไปในฟองน้ำแต่ละชนิด ฟองน้ำถูตัวจะมีสปิคุลเป็นเส้นใยของสารคล้ายโปรตีน ฟองน้ำแก้วมีโครงร่างเป็นสารพวกหินปูน นักชีววิทยาใช้ลักษณะของสปิคุลเป็นเกณฑ์ในการจำแนกกลุ่มย่อยของฟองน้ำ

ฟองน้ำสืบพันธุ์ได้ทั้งแบบอาศัยเพศ และไม่อาศัยเพศโดยการแตกหน่อ อาจเพิ่มจำนวนหน่อจนเป็นกลุ่มใหญ่ หรือหลุดออกไปเกาะเป็น
กลุ่มใหม่ได้

ตั้งแต่สมัยโบราณ คนนำฟองน้ำชนิดที่มีโครงร่างอ่อนนุ่มมาถูตัว ขัดพื้น ทำแปรงทาสี ปัจจุบันมีการใช้ฟองน้ำในกิจการอื่นอีกมาก ประมาณว่าแต่ละปีใช้ฟองน้ำมากกว่า 1 พันตัน

 2.ไฟลัมซีแลนเทอราตา (Phylum Coelenterata)

สัตว์พวกนี้เรียกรวมๆ ว่า ซีเลนเทอเรต ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในน้ำเค็ม เช่น ซีแอนนีโมนี ปะการัง กัลปังหา แมงกะพรุน บางชนิดอยู่ในน้ำจืด เช่น ไฮดรา และแมงกะพรุนบางชนิด
ภาพโครงสร้างภายในของไฮดรา
 อาณาจักรสัตว์ (Animal Kingdom)
 
ลำตัวของสัตว์พวกซีเลนเทอเรต มีลักษณะเป็นถุง กลางลำตัวเป็นท่อกลวง เรียกว่าช่องแกสโทรวาสคิวลาร์ (gastrovascular cavity) เป็นทางเดินอาหาร มีอวัยวะคล้ายหนวด เรียกว่า เทนทาเคิล (tentacle) หลายเส้น อยู่โดยรอบช่องเปิดด้านบนที่ทำหน้าที่คล้ายปาก ที่เทนทาเคิลมีเนมาโทซิสต์ (nematocyst) ลักษณะคล้ายเข็มเล็กๆ ใช้ป้องกันตัวและจับเหยื่อ ผิวหนังของสัตว์อื่นที่สัมผัสเนมาโทซิสต์จะเกิดความระคายเคือง บางชนิดเช่นพวกแมงกะพรุนไฟ มีเนมาโทซิสต์ที่มีพิษรุนแรง ถึงขั้นเป็นอัมพาตหรือถึงแก่ชีวิตได้

สัตว์ในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่มีรูปร่างเป็นทรงกระบอกเช่นเดียวกับไฮดรา แต่แมงกะพรุนมีรูปร่างเป็นทรงกลม ร่างกายของซีเลนเทอเรตนิ่มและใส พวกปะการังและกัลปังหาจะสร้างหินปูนขึ้นมาห่อหุ้มร่างกาย สารหินปูนยึดติดต่อกันเกิดเป็นรูปทรงต่างๆ เช่น ปะการังเขากวาง ปะการังสมอง ปะการังเห็ด
ปะการังที่อยู่รวมกันเป็นจำนวนมากกลายเป็นเกาะแก่งใต้ทะเลมีความสำคัญยิ่ง เพราะนอกจากจะให้ประโยชน์ในแง่ความงามตามธรรมชาติแล้ว ยังเป็นแหล่งอาหาร ที่อยู่อาศัย ที่หลบภัย และที่เลี้ยงดูลูกอ่อนของสัตว์ทะเลบางชนิดอีกด้วย

 3.ไฟลัมแพลทีเฮลมินเทส (Phylum Platyhelminthes) 

พยาธิตัวตืด แสดงโครงสร้างส่วนหัว
 อาณาจักรสัตว์ (Animal Kingdom)
 
ลักษณะของสัตว์พวกนี้คือ มีลำตัวแบนยาว มีปากแต่ไม่มีทวารหนัก ไม่มีระบบหมุนเวียนเลือด มีอวัยวะสืบพันธุ์ทั้งสองเพศอยู่ในตัวเดียวกัน บางพวกดำรงชีวิตเป็นอิสระอยู่ทั้งในน้ำจืด และน้ำเค็ม และตามที่ชื้นแฉะ เช่น พลานาเรีย บางพวกที่มีชีวิตเป็นปรสิต มีอวัยวะพิเศษสำหรับเกาะและดูดอาหารจากผู้ถูกอาศัย บางพวกไม่มีทั้งปากและทวารหนัก เช่น พยาธิตัวตืด ซึ่งอาศัยอยู่ในลำไส้ จะสามารถดูดซึมสารอาหารจากผู้ถูกอาศัยผ่านเข้าไปทางผิวหนังโดยตรง
พยาธิใบไม้เป็นตัวอย่างของสัตว์ในกลุ่มนี้อีกชนิด เป็นปรสิตที่อาศัยอยู่ในร่างกายคนเราได้หลายแห่ง บางชนิดอาศัยอยู่ในตับ บางชนิดอยู่ในปอด บางชนิดอยู่ในเส้นเลือด ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงตายได้

 4.ไฟลัมเนมาโทดา (Phylum Nematoda)

สัตว์กลุ่มนี้เรียกว่า หนอนตัวกลม ลักษณะสำคัญคือ ลำตัวกลมยาว ผิวเรียบไม่เป็นปล้อง มีทั้งปากและทวารหนัก แต่ไม่มีระบบเลือด มีเพศผู้และเพศเมียแยกกันคนละตัว ส่วนมากเป็นปรสิตในคนและสัตว์ เช่น พยาธิไส้เดือน พยาธิปากขอ พยาธิตัวจี๊ด พยาธิโรคเท้าช้าง พยาธิเส้นด้าย และไส้เดือนฝอยที่เป็นปรสิตของพืชบางชนิด มีหนอนตัวกลมบางชนิด ดำรงชีวิตเป็นอิสระ เช่น หนอนในน้ำส้มสายชูหนอนตัวกลมส่วนใหญ่ที่เป็นปรสิตของคน เข้าสู่ร่างกายโดยการปะปนกับอาหารที่กินเข้าไป แต่พยาธิปากขอเข้าสู่ร่างกายโดยไชเข้าทางผิวหนังที่มีบาดแผล หรือผิวหนังส่วนที่บางบริเวณง่ามเท้า
 5.ไฟลัมแอนเนลิดา (Phylum Annelida)

ลักษณะสำคัญของสัตว์ในกลุ่มนี้ ลำตัวกลมเป็นปล้องคล้ายวงแหวนต่อกัน ภายในมีเยื่อกั้นระหว่างปล้อง ผิวหนังเปียกชื้นเป็นที่แลกเปลี่ยนก๊าซ มีระบบเลือดสำหรับลำเลียงสารในร่างกาย และมีเส้นประสาทใหญ่อยู่ทางด้านท้องสัตว์ในไฟลัมนี้มีทั้งอยู่บนบกและในน้ำ พวกที่อยู่บนบกมักอยู่ในดินที่ชื้นแฉะและร่วนซุย ได้แก่ ไส้เดือนดิน ทากกดูดเลือด ซึ่งพบในป่าชื้น ปลิงพบในแหล่งน้ำจืด แม่เพรียงพบตามชายทะเล

 6.ไฟลัมอาร์โทรโพดา (Phylum Arthropoda) 

 อาณาจักรสัตว์ (Animal Kingdom)
ภาพแสดงสัดส่วนระหว่างจำนวนชนิดของสัตว์พวกอาร์โทพอดกับสัตว์อื่นๆ
สัตว์ในกลุ่มนี้เรียกรวมๆ ว่า อาร์โทรพอด เป็นกลุ่มที่มีชนิดและจำนวนมาก มีลักษณะร่วมกันที่สำคัญ คือ มีเปลือกแข็งหุ้มลำตัว ลำตัวแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนหัว ส่วนอก และส่วนท้อง บางกลุ่มอาจะมีส่วนหัวและส่วนอกเชื่อมกันเป็นส่วนเดียว มีหนวด (antenna) และมีรยางค์ที่เป็นข้อๆ ต่อกัน รยางค์ทำหน้าที่ในการเคลื่อนที่และจับอาหาร
สัตว์ในกลุ่มนี้มีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกัน แบ่งได้เป็นหลายคลาส ดังนี้  

         คลาสครัสเตเชีย (Class Crustacea) 
         คลาสอะแรชนิดา (Class Arachnida) 
         คลาสเมอโรสโตมาตา (Class Merostomata)
         คลาสอินเซคตา (Class Insecta) 
         คลาสไดโพลโพดา (Class Diplopoda) 
         คลาสชิโลโพดา (Class Chilopoda)

7. ไฟลัมมอลลัสกา (Phylum Mollusca)

หอย แสดงโครงสร้างสำคัญ
 อาณาจักรสัตว์ (Animal Kingdom)
 
ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในน้ำ ทั้งน้ำจืดและน้ำเค็ม ได้แก่ หอย หมึกชนิดต่างๆ มีเพียงบางชนิดที่อาศัยอยู่บนบก ตามพื้นที่ชื้อแฉะ เช่น หอยทาก หอยทากพวกนี้มีปอดไว้สำหรับหายใจ ต่างกับพวกที่อยู่ในน้ำ ซึ่งใช้เหงือก ลักษณะสำคัญของสัตว์กลุ่มนี้คือ มีลำตัวนิ่ม มีหัวใจสูบฉีดเลือด มีไตเป็นอวัยวะขับถ่าย มีแมนเทิล (mantle) ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อบางๆ เกาะติดอยู่กับเปลือกหอยด้านใน ทำหน้าที่สร้างเปลือกแข็งซึ่งเป็นสารพวกหินปูน ซึ่งมีทั้งหอยฝาเดียว เช่น หอยเจดีย์ หอยสังข์ และหอยสองฝา เช่น หอยแครง หอยแมลงภู่ เคลื่อนที่โดยใช้กล้ามเนื้อด้านท้องที่แข็งแรงทำหน้าที่คล้ายเท้า สำหรับหมึกจะต่างกับหอย คือ ไม่มีเปลือกแข็งหุ้ม เคลื่อนที่โดยการใช้หนวดและการพ่นน้ำ มีนัยน์ตาที่เจริญมาก สามารถรับภาพได้
 8.ไฟลัมเอไคโนเดอร์มาตา (Phylum Echinodermata)

สัตว์ในกลุ่มนี้อยู่ในทะเลทั้งสิ้น ลักษณะสำคัญคือ มีผิวหยาบขรุขระ เพราะมีสารประกอบของหินปูนสะสมอยู่ ร่างกายมีลักษณะเป็นแฉกแยกออกจากลำตัวเป็นแนวรัศมีที่เท่ากัน มีทิวบ์ฟีท (tube feet) สำหรับใช้ในการเคลื่อนที่ ได้แก่ ดาวทะเล
สัตว์ในกลุ่มนี้บางชนิดรูปร่างกลมแบน เช่น อีแป๊ะทะเล บางชนิดมีหนามยาวทั่วตัว เช่น 
เม่นทะเล บางชนิดลำตัวกลมยาว ผิวหนาขรุขระแต่ไม่แข็งเหมือนดาวทะเล เช่น ปลิงทะเล เป็นต้น

 9.ไฟลัมคอร์ดาตา (Phylum Chordata)

สัตว์พวกนี้แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ โพรโทคอร์เดต (Protochordate) กับ สัตว์มีกระดูกสันหลัง (vertebrate)

  1. โพรโทคอร์เดต(Protochordate)

    สัตว์ในกลุ่มนี้มีโครงสร้างที่เรียกว่าโนโตคอร์ด เป็นแกนของร่างกาย โนโตคอร์ดอยู่ทางด้านหลังของลำตัวเหนือทางเดินอาหาร ตัวอย่างของสัตว์กลุ่มนี้ได้แก่ แอมฟิออกซัส (amphioxus) 

    แอมฟิออกซัส แสดงโนโตคอร์ด

  2. สัตว์มีกระดูกสันหลัง(vertebrate)

    สัตว์มีกระดูกสันหลังทุกชนิดในช่วงที่เป็นเอ็มบริโอระยะแรกๆ นั้น ยังไม่มีกระดูกสันหลัง แต่มีโนโตคอร์ดเป็นแกนของร่างกาย เมื่อร่างกายเจริญขึ้นจึงเกิดกระดูกสันหลังขึ้นมาทำหน้าที่เป็นแกนของร่างกายแทน สัตว์มีกระดูกสันหลังบางพวกที่โตเต็มวัยก็ยังมีส่วนที่มีโนโตคอร์ดเหลืออยู่ ส่วนช่องเหงือก ก็มีเฉพาะเมื่อยังเป็นตัวอ่อน สัตว์ทั้งสองกลุ่มนี้มีช่องเหงือก แต่เมื่อเจริญเติบโตขึ้นช่องเหงือกของสัตว์มีกระดูกสันหลังบางพวกจึงหายไป มีส่วนน้อยที่จะยังคงมีช่องเหงือกไปตลอดชีวิต

สัตว์มีกระดูกสันหลังจัดว่าเป็นสัตว์ชั้นสูง มีลักษณะแตกต่างกันออกไป แบ่งออกเป็นหลายคลาส ดังนี้

         1.คลาสออสติอิคไทอิส (Class Osteichthyes)  ปลากระดูกอ่อน

          2.คลาสคอนดริคไทอิส (Class Chondrichthyes) ปลากระดูกแข็ง

          3.คลาสแอมฟิเบีย (Class Amphibia) สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ และซาลาเมนเดอร์ มีผิวหนังชื้นไม่มีเกล็ด

          4.คลาสเรปทีเรีย (Class Reptilia) สัตว์เลื้อยคลาน ลำตัวมีเกล็ดแห้งใช้ในการเลื้อยคลาย งู จระเข้ ฯ

           5.คลาสเอวีส (Class Aves) สัตว์ปีก เป็นสัตว์เลือดอุ่น ที่เท้ามีพังพืด ( web )

           6.คลาสแมมมาเลีย (Class Mammalia) สัตว์เลือดอุ่น มือเท้ามีเล็บแบน มีต่อมน้ำนมผลิตน้ำนมไว้เลี้ยงตัวอ่อนมีระยะเวลาในการตั้งครรภ์แตกต่างกันตามลำดับวิวัฒนาการ

ข้อมูล: แบบเรียนชีววิทยาเล่ม 5
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1528

อัพเดทล่าสุด