https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ความหลากหลายทางชีวภาพ : การตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ MUSLIMTHAIPOST

 

ความหลากหลายทางชีวภาพ : การตั้งชื่อวิทยาศาสตร์


621 ผู้ชม


สิ่งของทุกชนิดรวมทั้งสิ่งมีชีวิตทั้งหลายจะมีผู้ตั้งชื่อเพื่อใช้เรียกหรืออ้างถึง ชื่อของสิ่งมีชีวิตที่ใช้กันในท้องถิ่นเป็นชื่อสามัญซึ่งอาจตั้งชื่อสิ่งมีชีวิตตามลักษณะ ตัวอย่างเช่น ต้นแปรงล้างขวด ว่านหางจระเข้และ ตั๊กแตนใบไม้   

การตั้งชื่อวิทยาศาสตร์

สิ่งของทุกชนิดรวมทั้งสิ่งมีชีวิตทั้งหลายจะมีผู้ตั้งชื่อเพื่อใช้เรียกหรืออ้างถึง ชื่อของสิ่งมีชีวิตที่ใช้กันในท้องถิ่นเป็นชื่อสามัญซึ่งอาจตั้งชื่อสิ่งมีชีวิตตามลักษณะ ตัวอย่างเช่น ต้นแปรงล้างขวด ว่านหางจระเข้และ ตั๊กแตนใบไม้

 


ชื่อสามัญของสิ่งมีชีวิตบางชนิดเรียกตามถิ่นกำเนิด เช่น ผักตบชวา กกอียิปต์ มันฝรั่ง หรือตามที่ได้รับประโยชน์ เช่น หอยมุก เป็นหอยชนิดหนึ่งที่ให้มุกได้
 
ความหลากหลายทางชีวภาพ : การตั้งชื่อวิทยาศาสตร์
หอยมุก
สิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันอาจมีชื่อสามัญหลายชื่อ ทั้งนี้ก็เนื่องจากชนต่างชาติต่างภาษากันจะเรียกชื่อสามัญของสิ่งมีชีวิตต่างกัน หรือแม้แต่ชนชาติเดียวกัน ก็ยังเรียกต่างกันด้วย เช่น แมลงชนิดหนึ่งทางภาคกลางเรียกว่า จิงโจ้น้ำ แต่ภาคเหนือแถบจังหวัดแม่ฮ่องสอนเรียกว่า หมาน้ำ เป็นต้น การใช้ชื่อสามัญจึงก่อให้เกิดการสับสนสำหรับการศึกษาและอ้างอิงถึงสิ่งมีชีวิตในเชิงวิวัฒนาการ
เนื่องจากชื่อสามัญของสิ่งมีชีวิตนั้นแตกต่างกันตามภาษาท้องถิ่น นักชีววิทยาจึงกำหนด ชื่อวิทยาศาสตร์ (scientific name) ซึ่งเป็นชื่อที่ใช้เหมือนกันทั่วโลกในทางวิชาการ ชื่อวิทยาศาสตร์ประกอบด้วยคำสองคำ คำแรกเป็นชื่อ จีนัส ส่วนคำหลังเป็นชื่อที่ระบุชนิดของสิ่งมีชีวิตให้เฉพาะเจาะจงลงไป (specific epithet) การเขียนชื่อวิทยาศาสตร์ คำแรกเริ่มด้วยอักษรใหญ่ ส่วนคำหลังใช้ตัวอักษรเล็ก มักพิมพ์ด้วยตัวเอน หรือขีดเส้นใต้ เช่น คน มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Homo sapiens
  • ปลาบู่มหิดล มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Mahidolia mystacina คำว่า Mahidolia เป็นพระนามของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศรอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก

     

  • ปูเจ้าฟ้า มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Phricotelphusa sirindhorn คำว่า sirindhorn เป็นพระนามของ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
  • ปลาบึก มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pangasianodon gigas คำว่า gigas หมายถึง ใหญ่ที่สุด (ปลาบึกเป็นปลาน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในโลก)
  • มะม่วง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Mangifera indica คำว่า indica หมายถึง พบครั้งแรกที่อินเดีย

ในการเขียนชื่อวิทยาศาสตร์ของสิ่งมีชีวิต อาจมีชื่อของผู้ตั้งกำหนดไว้ด้วย เพื่อให้ทราบว่าผู้ใดเป็นผู้ตั้งชื่อสิ่งมีชีวิตนั้นๆ ตัวอย่างเช่น หางนกยูงไทย มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Caesalpinia pulcherrima Linn. คำว่า Linn. เป็นชื่อย่อของ Linnaeus
กวาวเครือชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นพืชที่ไม่มีในประเทศไทย มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pueraria mirifica Airy-Shaw & Suvatabandhu
"Airy-Shaw" เป็นชื่อสกุลของนักวิทยาศาสตร์แห่งสวนพฤกษศาสตร์คิว ประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นผู้ตั้งชื่อกวาวเครือ
ชนิดนี้
"Suvatabandhu" เป็นชื่อสกุลของศาสตราจารย์กสิน สุวัตะพันธุ์ ซึ่งเป็นผู้ศึกษาเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับกวาวเครือนี้ และส่งไปตั้งชื่อเมื่อ พ.ศ.2495

ข้อมูล: student - Myfirst Brain https:// Manager . co.th

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1536

อัพเดทล่าสุด