ชั้นบรรยากาศ (Atomsphere)ประกอบเตรีมสอบO-Net(53) MUSLIMTHAIPOST

 

ชั้นบรรยากาศ (Atomsphere)ประกอบเตรีมสอบO-Net(53)


2,342 ผู้ชม


อากาศส่วนที่อยู่บนท้องฟ้าเราเรียกว่า บรรยากาศ (Atomsphere) ซึ่งมีการแบ่งออกเป็นชั้นๆ ตั้งแต่ระดับเตี้ยสุดจนถึงสูงสุดและเมื่อหลุดจากชั้นบรรยากาศของโลกไปแล้วก็จะเข้าสู่ห้วง   

 ชั้นบรรยากาศ (Atomsphere)

 เกริ่นจากครู เนื่องจากใกล้จะถึงวันสอบ O-Net ครูขอให้นักเรียนใช้ในการศึกษาในระยะเวลาที่เหลือน้อยมากที่สุดจะทำให้สามารถจำได้และตอบข้อสอบได้บ้าง

อากาศที่อยู่รอบตัวเราทุกแห่งหน ตั้งแต่พื้นผิวดินสูงขึ้นไปจนถึงบนท้องฟ้าและครอบคลุมไปทั่วทั้งโลก เป็นส่วนผสมของก๊าซหลายชนิด ได้แกก๊าซไนโตรเจน (N2) ร้อยละ 78.09, ก๊าซออกซิเจน (O2) ร้อยละ 20.94 และก๊าซเฉื่อย ได้แก่ ก๊าซอาร์กอน (Ar)ร้อยละ 0.93, ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด(CO2) ร้อยละ 0.03 และส่วนผสมของก๊าซฮีเลียม (He)ก๊าซไฮโดรเจน (H2)ก๊าซนีออน (Ne)ก๊าซคริปตอน (Kr)ก๊าซซีนอน (Xe)ก๊าซโอโซน (O3)ก๊าซมีเทน (CH3)ไอน้ำ (H2O) และสิ่งอื่นอีกร้อยละ 0.01
อากาศส่วนที่อยู่บนท้องฟ้าเราเรียกว่า บรรยากาศ (Atomsphere) ซึ่งมีการแบ่งออกเป็นชั้นๆ ตั้งแต่ระดับเตี้ยสุดจนถึงสูงสุดและเมื่อหลุดจากชั้นบรรยากาศของโลกไปแล้วก็จะเข้าสู่ห้วงอวกาศซึ่งอยู่ในสภาพไร้แรงดึงดูด ทำให้อากาศไม่สามารถเกาะตัวหรือคงสภาพอยู่ได้ จึงไม่มีอากาศอยู่ในห้วงอวกาศ
เราสามารถแบ่งชั้นบรรยากาศได้ถึง 4 แนวทาง ดังต่อไปนี้

  • แบ่งตามระดับความสูงจากพื้นดิน
  • แบ่งโดยใช้อุณหภูมิเป็นเกณฑ์
  • แบ่งโดยใช้ก๊าซเป็นเกณฑ์
  • แบ่งตามหลักอุตุนิยมวิทยา
แต่แนวทางการแบ่งที่ถือเป็นสากลและนิยมใช้กันมากที่สุดคือแบ่งชั้นบรรยากาศตามระดับความสูงจากพื้นดิน ซึ่งแบ่งเป็น 5 ชั้น คือ
ชั้นบรรยากาศ (Atomsphere)ประกอบเตรีมสอบO-Net(53)
 
  • โทรโพสเฟียร์
  • สตราโตสเฟียร์
  • มีโซสเฟียร์
  • เทอร์โมสเฟียร์
  • เอ็กโซสเฟียร์
(Troposphere) คือ บรรยากาศชั้นล่างสุด อยู่ถัดจากพื้นโลกขึ้นไปตั้งแต่ประมาณ 7 กิโลเมตรจนถึงระดับความสูงประมาณ 17 กิโลเมตร เป็นชั้นบรรยากาศที่มีผลกระทบต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมากที่สุด เพราะอากาศที่มนุษย์และสิ่งมีชีวิตหายใจเข้าไปนั้นคือก็คืออากาศในชั้นนี้นี่เอง ส่วนประกอบของบรรยากาศในชั้นนี้คือก๊าซต่างๆ และไอน้ำ อุณหภูมิของอากาศจะลดลงเรื่อยๆ เมื่อความสูงเพิ่มขึ้น เป็นอัตราส่วนประมาณ 6 องศาเซลเซียสต่อความสูง 1 กิโลเมตา แต่อุณหภูมิเฉลี่ยบริเวณผิวโลกประมาณ 15 องศาเซลเซียส อากาศในชั้นนี้มีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดทั้งในแนวราบและแนวดิ่ง จึงทำให้เกิดปรากฏการณ์ทางอุตุนิยมวิทยามากมาย เช่น เมฆ ฝน พายุ หิมะ ฟ้าผ่า ฟ้าร้อง(Stratosphere) อยู่ถัดจากบรรยากาศชั้นโทรโพสเฟียร์ขึ้นไป จนถึงที่ความสูงจากพื้นดินประมาณ 50 กิโลเมตร มีก๊าซโอโซนรวมตัวกันเป็นชั้นบางๆ จึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า บรรยากาศชั้นโอโซโนสเฟียร์ (Ozonosphere) ก๊าซโอโซนเหล่านี้เกิดจากการที่โมเลกุลของก๊าซออกซิเจนแตกตัวและจัดรูปแบบขึ้นใหม่เมื่อถูกรังสีจากดวงอาทิตย์ ซึ่งก๊าซโอโซนจะช่วยดูดซับรังสีอุลตราไวโอเล็ตของแสงอาทิตย์ทำให้บรรยากาศในชั้นนี้อุ่นขึ้น และอุณหภูมิจะยิ่งสูงขึ้นเมื่อความสูงเพิ่มขึ้น ชั้นสูงสุดของบรรยากาศชั้นนี้เรียกว่า สตราโทพอส(Stratopause) เครื่องบินไอพ่นจะบินอยู่ในช่วงความสูงของบรรยากาศชั้นสตราโตสเฟียร์นี้ เนื่องจากมีทัศนวิสัยที่ดีเพราะไม่มีก้อนเมฆ (Mesosphere) อยู่ถัดจากบรรยากาศชั้นสตราโตสเฟียร์ขึ้นไป จนถึงที่ความสูงจากพื้นดินประมาณ 80 - 85 กิโลเมตร เป็นชั้นบรรยากาศที่อยู่สูงเหนือชั้นก๊าซโอโซน จึงทำให้ไม่สามารถดูดซับรังสีอุลตราไวโอเล็ตของแสงอาทิตย์ไว้ได้ อุณหภูมิจึงลดลงอีกครั้งโดยลดลงอย่างรวดเร็วทันทีที่ผ่านพ้นเขตสตราโทพอสของบรรยากาศชั้นสตราโตสเฟียร์ขึ้นมา และอุณหภูมิจะลดต่ำลงเรื่อยๆ ตามความสูงที่เพิ่มขึ้น โดยอาจต่ำได้ถึง -83 องศาเซลเซียส อุกกาบาตหรือชิ้นส่วนหินจากอวกาศที่ตกลงมายังโลกก็มักจะถูกเผาไหม้จนหมดในชั้นบรรยากาศนี้ (Thermosphere) อยู่ถัดจากบรรยากาศชั้นมีโซสเฟียร์ขึ้นไป จนถึงที่ความสูงจากพื้นดินประมาณ 640 กิโลเมตร บรรยากาศในชั้นนี้จะถูกรังสีอุลตราไวโอเล็ตและรังสีเอ็กซ์ทำให้โมเลกุลของก๊าซต่างๆ แตกตัวออกมากที่สุด จนมีประจุไฟฟ้าอิสระอยู่มากมาย บางครั้งจึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าบรรยากาศชั้นไอโอโนสเฟียร์ (Ionosphere) ซึ่งหมายถึงการมีประจุไฟฟ้าอิสระอยู่มาก การแตกตัวของโมเลกุลก๊าซทำให้ความหนาแน่นของบรรยากาศในชั้นนี้ลดลงอย่างรวดเร็ว แต่อุณหภูมิจะสูงขึ้นมาก ซึ่งอาจสูงถึง 1,500 องศาเซลเซียสเลยทีเดียว บรรยากาศในชั้นนี้สามารถสะท้อนคลื่นวิทยุได้ โดยส่งสัญญาณวิทยุจากพื้นโลกขึ้นมาชนกับชั้นไอออนของก๊าซไนโตรเจนและออกซิเจนสะท้อนกลับลงไปยังจุดต่างๆ ทั่วโลก ดังนั้นการสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ จึงใช้บรรยากาศชั้นนี้ และ แสงเหนือ - แสงใต้ (Aurora) ที่เห็นบริเวณขั้วโลกก็เกิดขึ้นในบรรยากาศชั้นนี้(Exosphere) อยู่ถัดจากบรรยากาศชั้นเทอร์โมสเฟียร์ขึ้นไป จนถึงที่ความสูงจากพื้นดินประมาณ 10,000 กิโลเมตร บรรยากาศชั้นนี้มีก๊าซอยู่น้อยมาก ส่วนใหญ่เป็นก๊าซเบาคือไฮโดรเจน นอกนั้นเป็นก๊าซฮีเลียม คาร์บอนไดออกไซด์ และออกซิเจนอยู่ในบริเวณเอ็กโซเบส (Exobase) หรือบริเวณต่ำที่สุดของบรรยากาศชั้นนี้ เลยจากบริเวณนี้ขึ้นไปแล้วก๊าซออกซิเจนจะเบาบางมากจนมนุษย์อวกาศต้องสวมใส่ชุดที่มีก๊าซออกซิเจนสำรองเพื่อช่วยในการหายใจ บรรยากาศชั้นนี้เป็นชั้นที่ดาวเทียมพยากรณ์อากาศจะใช้โคจรรอบโลกส่วนการแบ่งชั้นบรรยากาศโดยใช้อุณหภูมิเป็นเกณฑ์ สามารถแบ่งได้เป็น 4 ชั้น คือ
  1. โทรโพสเฟียร์
  2. สตราโตสเฟียร์
  3. มีโซสเฟียร์
  4. เทอร์โมสเฟียร์
การแบ่งชั้นบรรยากาศโดยใช้ก๊าซเป็นเกณฑ์ สามารถแบ่งได้เป็น 4 ชั้น คือ
  1. โทรโพสเฟียร์
  2. โอโซโนสเฟียร์
  3. ไอโอโนสเฟียร์
  4. เอ็กโซสเฟียร์
และการแบ่งชั้นบรรยากาศตามหลักอุตุนิยมวิทยา สามารถแบ่งได้เป็น 5 ชั้น คือ
  1. บริเวณที่มีอิทธิพลความฝืด
  2. โทรโพสเฟียร์
  3. โทรโพพอส
  4. สตราโตสเฟียร์
  5. บรรยากาศชั้นสูง
²²²²²²²²²


ประมวลภาพชั้นบรรยากาศของโลก
ชั้นบรรยากาศ (Atomsphere)ประกอบเตรีมสอบO-Net(53)ชั้นบรรยากาศ (Atomsphere)ประกอบเตรีมสอบO-Net(53)
 ชั้นบรรยากาศ (Atomsphere)ประกอบเตรีมสอบO-Net(53)ชั้นบรรยากาศ (Atomsphere)ประกอบเตรีมสอบO-Net(53)
 ชั้นบรรยากาศ (Atomsphere)ประกอบเตรีมสอบO-Net(53)ชั้นบรรยากาศ (Atomsphere)ประกอบเตรีมสอบO-Net(53)

ชั้นบรรยากาศ (Atomsphere)ประกอบเตรีมสอบO-Net(53)ชั้นบรรยากาศ (Atomsphere)ประกอบเตรีมสอบO-Net(53)
 ชั้นบรรยากาศ (Atomsphere)ประกอบเตรีมสอบO-Net(53)ชั้นบรรยากาศ (Atomsphere)ประกอบเตรีมสอบO-Net(53)
 ชั้นบรรยากาศ (Atomsphere)ประกอบเตรีมสอบO-Net(53)ชั้นบรรยากาศ (Atomsphere)ประกอบเตรีมสอบO-Net(53)

เป็นเนื้อหาที่มีโอกาสออกข้อสอบทุกปี ขอให้นักเรียนศึกษาทบทวนเพื้อนำไปใช้ในการสอบ O-Netในวันที่
20 - 21 กุมภาพันธ์ 2553 

ชั้นบรรยากาศ (Atomsphere)ประกอบเตรีมสอบO-Net(53)


ที่มาข้อมูล : www.intransitionmag.org
www.windows.ucar.edu
https://lasp.colorado.edu
www.environnet.in.th
www.ace.mmu.ac.uk
www.bangchak.co.th
www.radompon.com
www.wikipedia.org
www.ucar.edu   แหล่งข้อมูล:https://www.myfirstbrain.com

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1982

อัพเดทล่าสุด