https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ไอเดียสุดเจ๋ง... รับฤดูร้อน MUSLIMTHAIPOST

 

ไอเดียสุดเจ๋ง... รับฤดูร้อน


506 ผู้ชม


ท่ามกลางอุณหภูมิอันร้อนระอุ ได้เกิดการพัฒนานวัตกรรมใหม่เพื่อดับร้อน เออ....สิ่งนั้นมันคืออะไรน๊ะ   

    เลขา  อย. เตือน...ระวังอันตรายจากการใช้ผ้าเย็นอัดเม็ด  ท่ามกลางสภาพอากาศอันร้อนระอุ  มีผลทำให้ผ้าเย็นอัดเม็ดได้รับความนิยม  เนื่องจากมีการประชาสัมพันธ์สรรพคุณของผ้าเย็นเป็นอย่างมาก   หนังสือพิมพ์ไทยรัฐออนไลน์  ฉบับวันที่  27 เมษายน  2553

ไอเดียสุดเจ๋ง... รับฤดูร้อน

ที่มา : https://www.thairath.co.th/media/content/2010/04/24/630/78620.jpg

เนื้อหา  สำหรับนักเรียนระดับชั้น ม.ต้น   , ม.ปลาย  หรือผู้สนใจทั่วไป


ประเภทของสถานะของสาร
         1.ของแข็ง   อนุภาคมีการจัดตัวเรียงชิดติดกัน   อนุภาคไม่สามารถเคลื่อนที่ได้แต่สามารถสั่นสะเทือนได้  มีผลทำให้แรงยึดเหนี่ยวของอนุภาคสูงกว่าในสถานะอื่นของสารชนิดเดียวกัน มีรูปร่างและปริมาตรที่คงที่แน่นอน ไม่ขึ้นกับภาชนะที่บรรจุ 
ตัวอย่างของสารที่มีสถานะเป็นของแข็ง เช่น เหล็ก  ทองคำ   ทองแดง  เป็นต้น
   
         2.ของเหลว  อนุภาคอยู่ห่างกันเล็กน้อย จึงทำให้สามารถเคลื่อนที่ได้   รูปร่างเปลี่ยนแปลงตามภาชนะที่บรรจุ   แต่ปริมาตรคงที่  
ตัวอย่างของสารที่มีสถานะเป็นของเหลว เช่น น้ำ   แอลกอฮอล์    ปรอท  เป็นต้น
    
        3.แก๊ส   อนุภาคจะอยู่ห่างกันมีแรงยึดเหนี่ยวมีค่าน้อย ทำให้สามารถเคลื่อนที่ได้มาก    ปริมาตรและรูปร่างตามภาชนะที่บรรจุ 
ตัวอย่างของสารที่มีสถานะเป็นแก๊ส เช่น แก๊สไนโตรเจน   แก๊สคลอรีน   แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ 
การเปลี่ยนแปลงพลังงานการกับเปลี่ยนแปลงสถานะของสาร
       การเปลี่ยนแปลงสถานะของสารขั้นอยู่กับอุณหภูมิ  มี  2 ประเภท  คือ
      
     1. การเปลี่ยนแปลงแบบดูดพลังงาน
       มีการถ่ายเทพลังงานจากสิ่งแวดล้อมเข้าสู่ระบบ  จับดูแล้วเย็น  หรือมีอุณหถูมิลดลง เช่น การละลายน้ำของแอมโมเนียมไนเตรด  การเปลี่ยนสถานะจากน้ำแข็งเป็นน้ำ
      
     2. การเปลี่ยนแปลงแบบคายพลังงาน
มีการถ่ายเทพลังงานจากสิ่งแวดล้อมเข้าสู่ระบบ  จับดูแล้วรู้สึกร้อน  หรือมีอุณหถูมิเพิ่มขึ้น  เช่น การละลายน้ำของโซเดียมไฮดรอกไซด์   การเปลี่ยนสถานะจากไอน้ำเป็นน้ำ

 เรียนแล้วตอบหน่อย
     1.  สถานะของสารแต่ละสถานะมีสมบัติแตกต่างกันอย่างไร
     2.  ปัจจัยใดบ้างที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงสถานะของสาร
     3. การเปลี่ยนแปลงสถานะของสารในผ้าเย็นเม็ด  เกี่ยวข้องการเลี่ยนแปลงพลังงานอย่างไร
     4. ท่านคิดว่าการใช้ผ้าเย็นเม็ดก่อให้เกิดผลกระทบด้านใดต่อผู้ใช้บ้าง
กิจกรรมเสนอแนะ
    1. สำรวจและบันทึกสารที่อยู่ในชีวิตประจำวัน
    2. จัดหมวดหมู่ของสารโดยใช้สถานะเป็นเกณฑ์
    3. ถ้าหากต้องการเปลี่ยนสถานะของสารจะมีวิธีการอย่างไร (ให้นักเรียนยกตัวอย่างสาร 1 ชนิด  แล้วอธิบายวิธีการในการเปลี่ยนสถานะของสาร อย่างมีเหตุผล)
บูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้
   1. ภาษาอังกฤษ = เขียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษ  เช่น สาร   สถานะ  ของแข็ง  ของเหลว  แก๊ส  เป็นต้น
   2. คณิตศาสตร์ = การจัดกระทำข้อมูล  
   3. สังคมศึกษา = การทำงานร่วมกับผู้อิ่น

อ้างอิง
   https://ผ้าเย็นอัดเม็ด.vegetweb.com/wp-content/uploads/2010/03/smilecoin.png
   https://www.thairath.co.th/content/edu/78620

ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2235

อัพเดทล่าสุด