https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
แม่เต่าทะเลกับลูกเต่าเผือก MUSLIMTHAIPOST

 

แม่เต่าทะเลกับลูกเต่าเผือก


959 ผู้ชม


แม่เต่าทะเล ชื่อ เทียนทะเล อายุประมาณ 21 ปี หมายเลขไมโครชิพ 114573324A และหมายเลข 122917764 A ได้ย้อนกลับขึ้นมาตีหลุมวางไข่ ใต้ต้นโพธิ์ทะเล   

             แม่เต่าทะเล ชื่อ เทียนทะเล อายุประมาณ 21 ปี หมายเลขไมโครชิพ 114573324A และหมายเลข 122917764 A  ได้ย้อนกลับขึ้นมาตีหลุมวางไข่ ใต้ต้นโพธิ์ทะเล ที่บนหาดทรายหลังบ้านพักรับรองผู้บัญชาการทหารเรือ จ.ชลบุรี และพบว่าแม่เต่าวางไข่ราว 60 ฟอง ในจำนวนนี้จะฟักตัวเป็นเต่าเผือก ปะปนมาด้วย 1 ตัว คาดว่าอีก 46 วันจะฟักเป็นตัว ทางกองทัพเรือมีมาตรการในการดูแลและรักษาความปลอดภัยอย่างเข็มงวด เฝ้าดูชายหาดทุกๆ 1 ชั่วโมง
เพื่อป้องกันภัยจากผู้ที่แอบลักลอบเข้ามาขโมยไข่เต่าและที่สำคัญคืออันตรายจากสัตว์เลื้อยคลานต่างๆ ที่จะมาขุดหลุม
ไข่เต่าเพื่อที่จะเอาไข่ไปกินเป็นอาหาร( ที่มา https://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRJM016QXdOemM1T1E9PQ==)
                                                               
                                                                แม่เต่าทะเลกับลูกเต่าเผือก
                                                                            
                                                                                                     ภาพที่ 1  ไข่เต่าทะเล
                                 ( ที่มา https://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRJM016QXdOemM1T1E9PQ==)

 
           เต่าทะเล จัดเป็นสัตว์เลื้อยคลานประเภทหนึ่ง ซึ่งถือว่ามีอายุยืนที่สุด เหมือนที่มีคำกล่าวว่า ไดโนเสาร์เต่าล้านปี  ลักษณะพิเศษของเต่าคือมีกระดอง  มีขาสี่ขา เคลื่อนที่ได้ช้า  อาศัยได้ทั้งบนบกและในน้ำ มีทั้งเต่าทะเล และเต่าน้ำจืด สำหรับเต่าทะเลจะอาศัยในทะเลเกือบตลอดชีวิต  ยกเว้นฤดูวางไข่ ที่จะขึ้นบกเพื่อวางไข่ตามชายหาดเท่านั้น  ขาจะมีการเปลี่ยนแปลงจากสัตว์ที่อาศัยบนบก เปลี่ยนเป็นขาที่มีลักษณะเหมือนใบพายของเรือ เพื่อใช้ชีวิตในท้องทะเล ส่วนเต่าน้ำจืดจะมีกระดองที่แข็งแรง มีหลายชนิดอาศัยอยู่บนบกเป็นส่วนใหญ่ 

                   *******  เรามาศึกษารายละเอียดของสัตว์เลื้อยคลานและเต่ากันนะคะ ********
              
เนื้อหาเกี่ยวข้องกับ  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์    ทุกระดับชั้น  และผู้สนใจทั่วไป

เรื่อง    สัตว์เลื้อยคลาน

             สัตว์เลื้อยคลาน (Reptilia) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง โดยคำว่า Reptilia มาจากคำว่า Repera ที่มี
ความหมายว่า "คลาน" เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่จัดเป็นสัตว์ในกลุ่มแรก ๆ ของโลกที่มีการดำรงชีวิตบนบกอย่างแท้จริง สัตว์เลื้อยคลานที่รอดชีวิตจากการสูญพันธุ์และยังดำรงชีวิตในปัจจุบัน มีจำนวนมากถึง 7,000 ชนิด กระจายอยู่ทั่วโลกทั้งชนิดอาศัยในแหล่งน้ำและบนบก สัตว์เลื้อยคลานจัดเป็นกลุ่มของสัตว์ที่ประสบความสำเร็จในการปรับสภาพร่างกายในการเอาตัวรอด จากเหตุการณ์หินอุกกาบาตพุ่งชนโลกมามากกว่า 100 ล้านปีมาแล้ว

แม่เต่าทะเลกับลูกเต่าเผือก

   ภาพที่ 2  เต่าทะเล
        ( ที่มา https://pirun.ku.ac.th/~b4841047/04.jpg)
 

           ลักษณะทั่วไปของสัตว์เลื้อยคลาน

           สัตว์เลื้อยคลานโดยทั่วไป จะมีรยางค์เป็นคู่และมักจะมีนิ้วเท้าทั้งหมด 5 นิ้วเสมอเพื่อช่วยในการเคลื่อนที่ได้อย่างรวดเร็ว มีการปรับสภาพร่างกายเพื่อรองรับการปีนป่าย การวิ่งรวมทั้งการว่ายน้ำด้วย ซึ่งการปรับสภาพร่างกายของสัตว์เลื้อยคลาน มีบางกลุ่มเท่านั้นเช่นงูและสัตว์จำพวกกิ้งก่าบางชนิดที่ไม่มีรยางค์ สัตว์เลื้อยคลานจะมีผิวหนังหรือระบบเครื่องห่อหุ้ม (integumentary system) ซึ่งจะแตกต่างกันตามรูปร่างลักษณะของสัตว์เลื้อยคลานที่มีความแตกต่างกันไปในกลุ่มต่าง ๆ ผิวหนังและตลอดทั่วทั้งลำตัวมีเกล็ดขึ้นปกคลุม ซึ่งเป็นเกล็ดที่เกิดจากอิพิเดอร์มิส (horny epidermal scale) และอาจจะมีแผ่นกระดูกจากชั้นของผิวหนังเดอร์มิส (dermal plate) ร่วมอยู่ด้วย

          สัตว์เลื้อยคลานจะมีต่อมที่บริเวณผิวหนังน้อยมาก หรือไม่มีเลยในบางกลุ่มและบางชนิด ผิวหนังหยาบหนา กระด้างและแห้งซึ่งจะช่วยป้องกันการระเหยของน้ำออกจากร่างกาย และป้องกันอันตรายแก่ผิวหนัง สัตว์เลื้อยคลานมีผิวหนังที่ประกอบด้วยอิพิเดอร์มิสที่บางและหนา มีเดอร์มิสที่มีเซลล์เม็ดสี (chromatophore) ช่วยทำให้ผิวหนังของสัตว์เลื้อยคลาน มีสีสันต่าง ๆ เช่น สีเกล็ดของงู สีเกล็ดของจระเข้หรือสีเกล็ดของกิ้งก่า เป็นต้น เกล็ด  ส่วนใหญ่เกิดจากอิพิเดอร์มิส ซึ่งในสัตว์เลื้อยคลานบางชนิด จะมีเกล็ดถาวรตลอดชีวิต ตั้งแต่ออกจากไข่จนถึงตัวเต็มวัย เช่นจระเข้า แต่สำหรับสัตว์เลื้อยคลานบางชนิดเช่นจิ้งจก งูหรือกิ้งก่า จะทำการสร้างเกล็ดขึ้นมาใหม่ภายใต้ชั้นผิวหนังที่มีเกล็ดเดิมปกคลุมอยู่

          การสร้างเกล็ดใหม่จะช่วยทำให้เกล็ดเดิมที่บริเวณชั้นผิวหนัง เกิดการลอกหลุดออกทั้งชั้น เช่นการลอกคราบของงู โดยงูจะทิ้งเกล็ดเดิมเอาไว้ทั้งหมด ด้วยวิธีการปลิ้นออก โดยที่คราบจะยังคงรูปไม่ฉีกขาด แต่สำหรับลิซาร์ดหรือสัตว์จำพวกกิ้งก่า จะใช้วิธีการทำให้เกล็ดที่ปกคลุมผิวหนังอยู่เดิมนั้น เกิดการแตกแยกออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วเกล็ดใหม่จะขึ้นมาแทนที่เกล็ดเดิมที่หลุดออกไป

         เต่าจะมีกระดองที่เป็นผิวหนังชื้อเยื่อบุผิว ซึ่งกระดองเต่านั้นจะเป็นแผ่นเกล็ดปกคลุมร่างกาย (epidermal horny shield scutes) และผิวหนังชั้นในที่มีแผ่นกระดูก (dermal hony plate) ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของกระดูก มีลักษณะติดอยู่กับด้านในของแผ่นเกล็ด ซ้อนกันเป็นชั้นจนกลายเป็นกระดองของเต่า ที่มีความแข็งแรงคงทน สำหรับช่วยป้องกันอันตรายต่าง ๆ ให้แก่เต่า กระดองเต่าบริเวณด้านหลังเรียกว่าคาราเพส (carapace) มีลักษณะเหมือนกับรูปโดม ขนาดของกระดองเต่าจะขึ้นอยู่กับลักษณะภายนอกและขนาดของเต่าเป็นสำคัญ

         กระดูกสันหลังและกระดูกซี่โครงของเต่า จะขยายตัวออกและเชื่อมติดกันเป็นเนื้อเดียว ติดกับบริเวณผิวด้านในของเกล็ด สำหรับกระดองเต่าบริเวณด้านท้องเรียกว่าพลาสทรอน (plastron) จะมีกระดูกรองรับบริเวณแขน ขาและส่วนกระดูกบริเวณอกที่แบนลงไป และจะเกาะติดกับบริเวณด้านในของเกล็ดบริเวณด้านท้องของกระดองเต่า แผ่นเกล็ดและแผ่นกระดูกจะมีการเรียงตัวอย่างสวยงามและเหลื่อมซ้อนกันอย่างเป็นระเบียบ ซึ่งระหว่างกระดองเต่าบริเวณด้านหลังและกระดองเต่าบริเวณด้านท้อง จะมีเยื่อหรือกระดูกที่เชื่อมต่อทางด้านข้าง แต่สำหรับเต่าบางชนิดนั้นจะไม่มีแผ่นเกล็ด 
ผิวหนังบริเวณลำตัวจะมีความอ่อนนุ่มและเหนียงคล้ายคลึงกับผิวหนังแทน

แม่เต่าทะเลกับลูกเต่าเผือก
 ภาพที่  3  กิ้งก่า
      ( ที่มา  https://www.baichaploo.com/dairy/22102009rai46.jpg )


          การจำแนกชนิดของสัตว์เลื้อยคลาน

          ชนิดของสัตว์เลื้อยคลานในปัจจุบัน จากเดิมที่เคยมีมากถึง 12 กลุ่ม ในยุคปัจจุบันหลังจากการสูญพันธุ์ของไดโนเสาร์ เหลือจำนวนสัตว์เลื้อยคลานเพียงแค่ 4 กลุ่ม ดังนี้

          Order Squamata 
สัตว์เลื้อยคลานในอันดับนี้ มีผิวหนังเป็นเกล็ดปกคลุมร่างกายสำหรับป้องกันตัว มีฟันเกาะอยู่กับขากรรไกร มีกระดูกสันหลังที่เว้าบริเวณด้านหน้า ทวารหนักเป็นช่องตามแนวขวาง 
ได้แก่งูซึ่งมีจำนวนประมาณ 3,000 ชนิด และสัตว์จำพวกลิซาร์ดหรือกิ้งก่าและงู ซึ่งมีจำนวนประมาณ 3,800 ชนิด

          Order Testudines 
สัตว์เลื้อยคลานในอันดับนี้ มีร่างกายที่มีสิ่งห่อหุ้ม มีลักษณะเป็นแผ่นกระดูกที่เกิดจากชั้นผิวหนังเดอร์มิส ขากรรไกรไม่มีฟัน กระดูกสันหลังและกระดูกซี่โครงเชื่อมต่อกันเป็นเนื้อเดียวกัน 
เป็นโครงร่างหรือกระดองภายใน ทารหนักเป็นช่องตามแนวยาว ได้แก่เต่าซึ่งมีจำนวนประมาณ 250 ชนิด

          Order Crocodilia 
สัตว์เลื้อยคลานในอันดับนี้ มีกระดูกสันหลังที่มีลักษณะเว้าบริเวณด้านหน้า ขาคู่หน้ามักจะมีนิ้วเท้า 5 นิ้ว และขาคู่หลังมี 4 นิ้วเสมอ ทวารหนักเป็นช่องตามแนวยาว 
ได้แก่จระเข้และแอลลิเกเตอร์ ซึ่งมีจำนวนประมาณ 25 ชนิด

          Order Rhynchocephalia 
สัตว์เลื้อยคลานในอันดับนี้ มีกระดูกสันหลังที่เว้าทั้ง 2 ด้าน มีนัยน์ตาอยู่บริเวณกลางศีรษะ (parietal eye) ทวารหนักเป็นช่องตามแนวขวาง ได้แก่ทัวทาราซึ่ง
เป็นสัตว์เลื้อยคลานเพียงชนิดเดียวในอันดับนี้

          สัตว์จำพวกลิซาร์ดและงู

          สัตว์จำพวกลิซาร์ด ได้แก่กิ้งก่าชนิดต่าง ๆ และงู ถือเป็นผลจากการวิวัฒนาการล่าสุดในสายของสัตว์เลื้อยคลาน ซึ่งถือว่าเป็นการวิวัฒนาการร่างกายที่ดีที่สุด ในสายของสัตว์จำพวกลิซาร์ดและงู มีจำนวนประมาณร้อยละ 95 ของสัตว์เลื้อยคลาน ที่สามารถรอดชีวิตจากการสูญพันธุ์ในยุคครีเทเซียส ในขณะที่ไดโนเสาร์ที่มีวิวัฒนาการที่เจริญอย่างถึงขีดสุด ความสำเร็จในการเอาตัวรอดของสัตว์จำพวกลิซาร์ด เกิดจากการที่มีการวิวัฒนาการขากรรไกร ทำให้เกิดความคล่องตัวและการเคลื่อนไหวไปมา งูมีการวิวัฒนาการจนถึงขีดสุดในยุคครีเทเซียสตอนปลาย ซึ่งอาจจะเป็นการวิวัฒนาการมาจากสัตว์จำพวกลิซาร์ด ทำให้มีขากรรไกรที่คล่องตัวเช่นเดียวกัน แต่สำหรับงูที่จัดอยู่ในกลุ่มที่ฝังตัวเองภายในดินได้มี
การพัฒนาการตัวเองให้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม ทำให้สามารถกินเหยื่อที่มีขนาดใหญ่กว่าตัวเองได้เหลายเท่า

         เต่า
 
        เต่า จัดเป็นสัตว์เลื้อยคลานเพียงกลุ่มเดียว ที่ยังคงลักษณะเฉพาะของสัตว์เลื้อยคลานในยุคโบราณอยู่หลายประการ เต่าเป็นสัตว์เลื้อยคลานที่มีชีวิตตั้งแต่ในยุคไตรแอสสิคจนถึงยุคปัจจุบัน โดยมีการปรับเปลี่ยนสภาพร่างกายที่น้อยมาก เต่ามีกระดองซึ่งแปรเปลี่ยนสภาพจากกระดูกเกล็ดที่ห่อหุ้มร่างกาย เป็นแผ่นเกล็ดที่สำหรับปกป้องตัวเองจากศัตรู สามารถหดหัวและขาเข้าไปหลบซ่อนภายในกระดองได้ ซึ่งลักษณะของการหดหัวของเต่า ส่วนใหญ่เต่าจะหดหัวเข้าไปภายในกระดองในลักษณะรูปตัว S คือการหดหัวในแนวตั้ง แต่มีเต่าที่อาศัยในแถบอเมริกาใต้และออสเตรเลียกลุ่มหนึ่ง จะหดหัวเข้า
กระดองในลักษณะของการหดหัวแบบขวาง ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มที่เรียกว่าเต่าหัวข้าง เช่นเต่าคอยาวที่อาศัยในออสเตรเลีย

       แต่สำหรับเต่าที่อาศัยในยุคไตรแอสสิค จะมีส่วนคอที่มีความแข็งทำให้ไม่สามารถหดหัวเข้าไปภายในกระดองได้ ขากรรไกรของเต่าไม่มีฟันแต่จะมี horny cutting surface ที่มีความคมอยู่แทน มีนิ้วเท้าที่มีเล็บไว้สำหรับขุดและคุ้ยทรายในฤดูวางไข่ แต่บางชนิดมีการปรับเปลี่ยนสภาพร่างกายจากเท้าทั้ง 4 ให้กลายสภาพเป็นพายสำหรับว่ายน้ำ เช่นเต่าทะเลเป็นต้น มีฟีนิสหรืออวัยวะเพศที่โคลเอดา (cloacal penis) ในการปฏิสนธิภายใน เต่าทุกชนิดจะวางไข่เพื่อฟักออกมาเป็นตัวก่อน ก่อนเจริญเติบโตเป็นตัวเต็มวัย ไข่เต่ามีลักษณะกลม ยาวและรี เปลือกนอกนิ่มและมีสารหินปูนเป็นเยื่อคล้ายกับแผ่นหนังห่อหุ้มอยู่

       เต่าเป็นสัตว์เลื้อยคลานที่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ทั้งบนบก ในแหล่งน้ำจืดและทะเล ซึ่งมีคำที่ใช้เรียกเต่าโดยเฉพาะด้วยกัน 4 คำซึ่งจะใช้ในคามหมายที่มีความแตกต่างกันคือ turtles, terrapins, tortoise และ soft-shelled turtles โดยมีรายละเอียดเฉพาะ ดังนี้
      เทอร์เทิล (turtles) เป็นคำที่ใช้เรียกเต่าที่จัดอยู่ในประเภทสะเทินน้ำสะเทินบกด้วย เรียกว่า amphibous turtles ซึ่งอาศัยอยู่ใน
      แหล่งน้ำจืด ตามบิง บ่อคลองและในทะเล 
      เทอร์ราพิน (terrapins) เป็นคำที่ใช้เรียกเต่าที่มีกระดองแข็ง และใช้เรียกเต่าน้ำจืด 
      เทอร์ทอยส์ (tortoise) เป็นคำที่ใช้เรียกเต่าที่อาศัยบนบก 
      เทอร์เทิลเปลือกอ่อนนุ่ม (soft-shelled turtles เป็นคำที่ใช้เรียกตะพาบน้ำ ลักษณะลำตัวไม่มีเกล็ด จึงมีผิวหนังที่คลุมกระดองที่มีควมเหนียวคล้ายกับหนัง 
                                          แม่เต่าทะเลกับลูกเต่าเผือก
                                                                           ภาพที่  4  เต่าบก

                             ( ที่มา https://www.epofclinic.com/images/qwb_image2852551230811.jpg  )

      เต่าสัตว์ในอันดับ Testudinesเต่าประเภทสะเทินน้ำสะเทินบก อาศัยตามห้วยหนองคลองบึงหรือตามแม่น้ำ ชอบขึ้นมานอนผึ่งแสงแดดตามบริเวณชายฝั่ง จัดเป็นเต่าขนาดใหญ่ที่กินสัตว์อื่นเป็นอาหาร มีนิสัยดุร้ายและแข็งแรง ขากรรไกรมีความแข็งแรงใช้สำหรับงับเหยื่อ 
      เต่าทะเล เป็นสัตว์เลื้อยคลานในยุคไตรแอสสิคอีกชนิดหนึ่ง ดำรงชีวิตอยู่ในทะเลเขตร้อนและในบริเวณใกล้เคียงกับเขตร้อน 
      เต่าทะเลจะอาศัยในทะเลเกือบตลอดชีวิต ยกเว้นฤดูวางไข่ที่จะขึ้นบกเพื่อวางไข่ตามชายหาดเท่านั้น ขามีการเปลี่ยนแปลงจากสัตว์ที่อาศัยบนบก เปลี่ยนเป็นขาที่มีลักษณะเหมือนใบพายของเรือ เพื่อใช้ชีวิตในท้องทะเล

       เต่าน้ำจืดมีกระดองเป็นแผ่นเกล็ดปกคลุมร่างกาย มีความหนา แข็งแรง ส่วนใหญ่อาศัยตามแหล่งน้ำจืดทั่วไป มีหลายชนิดที่อาศัยบนบกมากกว่าในน้ำ ในประเทศไทยพบเต่ากระอานที่เป็นเต่าบกเพียงแห่งเดียวที่ทะเลสาบสงขลา กินหอยทากและปูเป็นอาหาร แต่ถ้าขาดแคลนก็จะกินพืชน้ำแทน เต่าบกเช่นเต่าหีบเมื่อออกจากไข่และเป็นตัวอ่อน จะอาศัยใกล้กับแหล่งน้ำจืด เมื่อเจริญเติบโตเป็นตัวเต็มวัยจะออกห่างจากแหล่งน้ำ มีลักษณะเด่นคือบริเวณตอนกลางของกระดอง
ด้านท้ง จะมีบานพับตามขวาง แบ่งกระดองด้านท้องออกเป็น 2 ส่วน เวลาถูกรบกวนหรือพบเห็นศัตรู จะพับกระดองด้านท้องเข้าหากัน อาศัยตามชายฝั่งทะเล ลักษณะกระดองมีความแข็งแรง มีลวดลายของกระดองสวยงาม เป็นวงแหวนบนแผ่นเกล็ด

         เต่าบก จัดเป็นเต่าขนาดกลางและใหญ่ตามลำดับ เต่าบกที่อาศัยในหมู่เกาะกาลาปากอส จัดเป็นเต่าบกที่มีขนาดใหญ่ที่สุด น้ำหนักตัวประมาณ 230 กิโลกรัม อายุมากกว่า 200 ปี เคลื่อนที่ช้ามากด้วยอัตราความเร็ว 300 เมตร/ชั่วโมง 
 ในประเทศไทยพบเต่าบกได้ทุกแห่งของภูมิภาค เช่นเต่าหกที่อาศัยตามเขาสูงในป่าดงดิบ พบได้ในแถบไทรโยค 
 เขาวังหิน นครศรีธรรมราช เต่าเขาสูบที่อาศัยอยู่ตามภูเขาสูงในประเทศไทย เต่าเหลืองที่มีกระดองสีเหลือง ชอบอาศัยตามภูเขาสูงหรือเนินเขาที่แห้งแล้งในป่าผลัดใบ และตะพาบน้ำ จัดเป็นสัตว์เลื้อยคลานที่กระดองมีความอ่อนนุ่ม ผิวหน้าที่ปกคลุมกระดองมีความเหนียว ทำให้มองดูเหมือนกับไม่มีเกล็ดแผ่ปกคลุม พบได้ทุกแห่งในประเทศไทย
 
จระเข้และแอลลิเกเตอร์

        จระเข้และแอลลิเกเตอร์ จัดเป็นสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ ที่สืบสายพันธุ์มาตั้งแต่ยุคจูแรคสิคและครีเทเซียส 
        จระเข้มีการปรับสภาพร่างกายในการอยู่รอดจากการสูญพันธุ์มากกว่า 100 ล้านปีมาแล้ว ปัจจุบันมีจระเข้ที่มีชีวิตอยู่เพียง 21 ชนิดเท่านั้น
        จระเข้ส่วนใหญ่จะมีจมูกที่ยาว เป็นเอกลักษณ์เฉพาะที่แตกต่างจากแอลลิเกเตอร์ ที่มีจมูกที่สั้นและป้านกว่ามาก 
        จระเข้มีขากรรไกรที่แข็งแรงรวมทั้งฟันที่แหลมคม ลัษณะลำตัวใหญ่และดุร้าย ทำให้ดูน่าเกรงขาม 
        จระเข้เป็นสัตว์กินเนื้อทุกชนิดซึ่งรวมทั้งมนุษย์ด้วย
        จระเข้ที่กินมนุษย์เป็นอาหาร มีแหล่งอาศัยในแถบทวีปแอฟริกาและทวีปเอเชีย

                                          แม่เต่าทะเลกับลูกเต่าเผือก
                                                                          ภาพที่  5  จระเข้

                   ( ที่มา https://www.giggza.com/wp-content/uploads/2009/10/108_20080623135034_.jpg )
              ดังนั้น จะเห็นได้ว่าเต่าทะเลส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ในทะเล ยกเว้นเวลาวางไข่ จะขึ้นมาวางบนบก
อย่างแม่เต่าเทียนทะเลตัวนี้นั้นเองค่ะ พอลูกเต่าฟักเป็นตัวและโตขึ้นก็จะลงไปใช้ชีวิตในทะเล รวมทั้งเจ้าลูกเต่าเผือกตัวนั้นด้วยนะคะ
 

คำถาม VIP ชวนคิด
 
        1. เต่าจัดเป็นสัตว์ประเภทใด
        2. เต่าทะเลและเต่าน้ำจืดแตกต่างกันอย่างไร
        3. เต่าจัดเป็นสัตว์เลื้อยคลานประเภทใด
        4. งูมีลักษณะพิเศษอย่างไร
        5. จระเข้มีลักาณะพิเศษอย่างไร
กิจกรรมเสนอแนะ

        1.ให้นักเรียนยกตัวอย่างชนิดของสัตว์เลื้อยคลานที่นักเรียนรู้จัก
        2.ให้นักเรียนลองอธิบายลักษณะพิเศษของเต่าทะเล
        3.ให้นักเรียนลองเสนอวิธีการอนุรักษ์เต่าทะเล และสัตว์เลื่อยคลานอื่น ๆ 
   
การบูรณาการ

        1. ให้นักเรียนแบ่งประเภทของสัตว์เลื้อยคลานที่นักเรียนที่รู้จัก มีประเภทใดบ้าง
        2. ให้นักเรียนวาดภาพสัตว์เลื้อยคลานมา 1 ชนิด
        3. ให้นักเรียนเขียนเรียงความเกี่ยวกับการอนุรักษ์เต่าทะเล
        6. ให้นักเรียนนับชนิดของเต่าน้ำจืดและเต่าทะเลที่นักเรียนรู้จัก
        7. ให้นักเรียนศึกษาภูมิประเทศแบบใดที่เหมาะกับการดำรงชีวิตของเต่าทะเล
      
แหล่งข้อมูลอ้างอิง

        1. https://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRJM016QXdOemM1T1E9PQ==
          2. https://th.wikipedia.org/wiki/สัตว์เลื้อยคลาน
          3. https://www.giggza.com/wp-content/uploads/2009/10/108_20080623135034_.jpg
          4.https://pirun.ku.ac.th/~b4841047/04.jpg
          5. https://www.baichaploo.com/dairy/22102009rai46.jpg
          6.https://www.giggza.com/wp-content/uploads/2009/10/108_20080623135034_.jpg
          7.
https://www.epofclinic.com/images/qwb_image2852551230811.jpg

ที่มา :https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2440

อัพเดทล่าสุด