https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
เมื่อพระจันทร์ยิ้มกะพริบตาข้างเดียว MUSLIMTHAIPOST

 

เมื่อพระจันทร์ยิ้มกะพริบตาข้างเดียว


881 ผู้ชม


พระจันทร์ยิ้มเป็นปรากฎการณ์ทางธรรมชาติ ที่ใครๆเห็นแล้วต้องดีใจ และต่างก็ชื่นชมแต่ในครั้งนี้ทำไมพระจันทร์์ยิ้มกะพริบตาข้างเดียว   

เมื่อพระจันทร์ยิ้ม.......กะพริบตาข้างเดียว แต่กระต่ายและสาวเจ้าทำไมสวยงาม

เมื่อพระจันทร์ยิ้มกะพริบตาข้างเดียว

https://www.oknation.net/blog/home/blog_data/448/10448/images/moonandgirl.jpg

        น.ส.ประพีร์ วิราพร เลขาธิการสมาคมดาราศาสตร์ไทย กล่าวถึงปรากฏการณ์ดวงจันทร์บังดาวศุกร์ ในค่ำวันเดียวกันนี้ ว่าปรากฏการณ์ดังกล่าวเกิดจากการเรียงตัวกันของดาวศุกร์ ดวงจันทร์ และโลก ที่เคลื่อนที่มาอยู่ในระนาบเดียวกัน ซึ่งตรงกับวันขึ้น 2 ค่ำ ดวงจันทร์จะปรากฏอยู่ในกลุ่มดาววัว สูงจากขอบฟ้าทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ประมาณ 37 องศา ดาวศุกร์   จะเริ่มสัมผัสดวงจันทร์ในเวลาประมาณ   18.11 น. โดยจะสังเกตเห็นดาวศุกร์ค่อย ๆ ลับหายไปด้านหลังของดวงจันทร์ และดาวศุกร์จะเริ่มพ้นออกมาจากดวงจันทร์ในเวลาประมาณ 19.24 น. สูงจากขอบฟ้าทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 22 องศา (คำนวณจากจังหวัดเชียงใหม่) ซึ่งการสังเกตในแต่ละพื้นที่ ช่วงเวลาของการบังจะเริ่มและสิ้นสุดไม่เท่ากัน

เมื่อพระจันทร์ยิ้มกะพริบตาข้างเดียว

ที่มาhttps://statics.atcloud.com/files/comments/58/581819/images/1_original.jpg

        น.ส.ประพีร์ กล่าวต่อว่า ก่อนที่ดวงจันทร์จะบังดาวศุกร์ จะเห็นดวงจันทร์กับดาวศุกร์อยู่ใกล้กันมาก ซึ่งช่วงนี้อาจเรียกว่าปรากฏการณ์ดาวเคียงเดือน หากมองว่าเป็นปรากฏการณ์พระจันทร์ยิ้ม ก็สามารถจินตนาการได้แต่เป็นปรากฏการณ์พระจันทร์ยิ้มแบบมีตาข้างเดียว จึงไม่สวยงาม

        ถ้าทุกคนอยากดูพระจันทร์ยิ้มที่สวยงามแล้วละก็  ต้องคอยชมในวันที่  30  มิถุนายน  2554  ได้ต่อไป

เนื้อหา  สำหรับกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ทุกระดับชั้น  และผู้ที่สนใจ

ประเด็นคำถาม
        1.  พระจันทร์ยิ้มเกิดจากปรากฎการณ์ได้อย่างไร
        2.  อธิบายหรือเล่าสาเหตุของการเกิดพระจันทร์ยิ้มได้อย่างไร
        3.  จะดูพระจันทร์ยิ้มได้อีกเมื่อใด

      
กิจกรรมเสนอแนะ
        1.  การรายงานข่าวหน้าชั้นเรียน
        2.  การจัดป้ายนิเทศในชั้นเรียน  เรื่อง  พระจันทร์ยิ้ม
        3.  สืบค้นข้อมูล  พระจันทร์ยิ้มและเหตุการณ์อื่นๆของพระจันทร์ยิ้ม

การบูรณาการ
        1.  กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา  และศาสนาวัฒนธรรม  เรื่อง  การดูดาว.ปรากฎการณ์ทางธรรมชาติ
        2.  กลุ่มสาระการเรียนรู้กอท.  การจัดป้ายนิเทศ  เรื่อง  พระจันทร์ยิ้ม
        3.  กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ  การวาดภาพ  เกี่ยวกับพระจันทร์ยิ้ม

ที่มา

        https://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=38&contentID=66237

        https://www.oknation.net/blog/home/blog_data/448/10448/images/moonandgirl.jpg

        https://statics.atcloud.com/files/comments/58/581819/images/1_original.jpg

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2517

อัพเดทล่าสุด