https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ชวนชมเหลืองสยาม...พันธุ์ชวนดูสมชื่อชวนชม... MUSLIMTHAIPOST

 

ชวนชมเหลืองสยาม...พันธุ์ชวนดูสมชื่อชวนชม...


2,457 ผู้ชม


ชวนชมสายพันธุ์ใหม่ สวย น่าชมและปลูก   

        

ชวนชมเหลืองสยาม...พันธุ์ชวนดูสมชื่อชวนชม...

                              ที่มาของภาพ : https://banchuanchom.blogspot.com/2010_03_16_archive.html

       การขยายพันธุ์ชวนชมในปัจจุบันนิยมใช้วิธีเขี่ยเกสรมากกว่าวิธีอื่น เนื่องจากเมื่อได้ลูกไม้ใหม่ ออกมาสีของดอกจะโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ไม่ซ้ำกับสายพันธุ์เดิมๆที่พบเห็นจนชินตา ที่สำคัญกลีบของ ดอกจะต้องซ้อนกันอย่างน้อย 2 ชั้นขึ้นไป ซึ่ง "ชวนชมเหลืองสยาม" เป็นตัวใหม่ที่เกิดจากการเขี่ยเกสรโดย ฝีมือเจ้าของ "สวนชวนชมหัสดี" ตั้งอยู่คลอง 10 อ.หนองเสือ จ.ปทุมธานี แต่เจ้าของไม่ได้ระบุว่า "ชวนชมเหลืองสยาม" 
"นายเกษตร" (ไทยรัฐออนไลน์ วันอังคารที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ.2553 )


ชวนชมเหลืองสยาม
ชื่อวิทยาศาสตร์   Adenium obesum(forsk) 

         ชื่อสามัญ PINK BIGNONIA, MOCK AZALEA, DESERT ROSE, LMPALA LILY
               

                วงศ์ APOCYNACEAE 
     


ลักษณะ

         ชวนชมเหลืองสยาม มีชื่อวิทยาศาสตร์ เหมือนกับชวนชมทั่วไปคือ ลักษณะเป็นไม้พุ่มสูง 1-1.5 เมตร ลำต้นกลม ผิวต้นเกลี้ยง เป็นมัน สีเขียวปนเทา ทุกส่วนของต้นมียางขาว ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับถี่บริเวณปลายยอด ใบเป็นรูปช้อน ปลายมนกว้าง โคนเรียว ก้านใบสั้น แผ่นใบค่อนข้างหนา สีเขียวสด ดอก ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง แต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยหลายดอก ดอกจะทยอยบานครั้งละ 3-4 ดอก ลักษณะดอกโคนเชื่อมกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็นกลีบดอก 5 กลีบ กลีบดอกเรียงซ้อนกัน 3 ชั้น โดยกลีบดอกด้านนอกสุดจะมีขนาดใหญ่กว่ากลีบที่อยู่ถัดเข้าไปตามลำดับ กลีบดอกเป็นรูปกลมมน เป็นสีเหลืองปนสีเขียวอ่อน และที่โดดเด่นคือร่องกลางกลีบดอก จะมีแต้มสีแดงอมชมพูลากขึ้นจากโคนกลีบดอกไปจนจดปลายกลีบ ตามที่กล่าวข้างต้น ทำให้เวลามีดอกดกและดอกบานพร้อมกันดูสวยงามมาก "ผล" เป็นฝัก มีเมล็ดจำนวนมาก ดอกออกทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ปักชำกิ่ง ตอนกิ่ง และเสียบยอด

แหล่งขาย
         มีต้นขายที่ ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร ทุกวันพุธ-พฤหัสฯ บริเวณโครงการ 5 แผง "คุณประพันธุ์" ราคาสอบถามกันเองครับ.

สาระการเรียนรู้
         กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
         มาตรฐาน ว1.1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต
         เรื่อง การสืบพันธุ์ของพืชดอก


         

          

การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของพืชมีดอก

          พืชก็มีการสืบพันธุทั้งการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ
        การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของพืชดอกจะต้องมีการรวมกันของเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้กับเซลล์สืบพันธุ์เพศเมียซึ่งเกิดขึ้นในดอก ดังนั้นดอกจึงเป็นอวัยวะสืบพันธุ์ของพืชดอก  

 โครงสร้างของดอก
     

ชวนชมเหลืองสยาม...พันธุ์ชวนดูสมชื่อชวนชม...

ที่มาของภาพ : https://scigroup10.wordpress.com/2009/08/

                ดอกของพืชแต่ละชนิดจะมีจำนวนดอกบนก้านดอกไม่เท่ากัน จึงสามารถแบ่งดอกออกเป็น 2 ประเภท คือ

ดอกเดียว (solotary flower) และช่อดอก (inflorescences flower)

                ดอกเดี่ยว หมายถึง ดอกหนึ่งดอกที่พัฒนามาจากตาดอกหนึ่งตา ดังนั้นดอกเดี่ยวจึงมีหนึ่งดอกบนก้านดอกหนึ่งก้าน เช่น ดอกมะเขือเปราะ จำปี บัว เป็นต้น

                ช่อดอก หมายถึง ดอกหลายดอกที่อยู่บนก้านดอกหนึ่งก้าน เช่น เข็ม ผักบุ้ง มะลิ กะเพรา กล้วย กล้วยไม้ ข้าวเป็นต้น แต่การจัดเรียงตัว และการแตกกิ่งก้านของช่อดอกมีความหลากหลาย นักวิทยาศาสตร์ใช้ลักษณะการจัดเรียงตัวและการแตกกิ่งก้านของช่อดอกจำแนกช่อดอกออกเป็นแบบต่างๆ

                ช่อดอกบางชนิดมีลักษณะคล้ายดอกเดี่ยว ดอกย่อยเกิดตรงปลายก้านช่อดอกเดียวกัน ไม่มีก้านดอกย่อยดอกย่อยเรียงกันอยู่บนฐานรองดอกที่โค้งนูนคล้ายหัว เช่น ทานตะวัน ดาวเรือง บานชื่น บานไม่รู้โรย ดาวกระจาย เป็นต้น
                        ช่อดอกแบบนี้ประกอบด้วยดอกย่อยๆ 2 ชนิด คือ ดอกวงนอกอยู่รอบนอกของดอก และดอกวงในอยู่ตรงกลางดอกดอกวงนอกมี 1 ชั้น หรือหลายชั้นเป็นดอกสมบูรณ์เพศ หรือไม่สมบูรณ์เพศก็ได้ ส่วนมากเป็นดอกเพศเมียส่วนดอกวงในมักเป็นดอกสมบูรณ์เพศมีกลีบดอกเชื่อมกันเป็นรูปทรงกระบอกอยู่เหนือรังไข่

ชวนชมเหลืองสยาม...พันธุ์ชวนดูสมชื่อชวนชม...

ภาพแสดงช่อดอกแบบต่างๆ : https://www.britannica.com/EBchecked/topic-art/287757/385/Common-types-of-inflorescences-among-the-angiosperms

การสร้างเซลล์สืบพันธุ์ของพืชดอก

                การสร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้ของพืชดอกจะเกิดขึ้นภายใน อับเรณู (anther) โดยมีไมโครสปอร์มาเทอร์เซลล์ (microspore mother cell) แบ่งเซลล์แบบไมโอซิสได้ 4 ไมโครสปอร์ (microspore) แต่ละเซลล์มีโครโมโซมเท่ากับ n  หลังจากนั้นนิวเคลียสของไมโครสปอร์จะแบ่งแบบไมโทซิส ได้ 2 นิวเคลียส คือ เจเนอเรทิฟนิวเคลียส (generative  nucleus) และทิวบ์นิวเคลียส (tube nucleus) เรียกเซลล์ในระยะนี้ว่า ละอองเรณู(pollen grain) หรือแกมีโทไฟต์เพศผู้ (male gametophyte) ละอองเรณูจะมีผนังหนา ผนังชั้นนอกอาจมีผิวเรียบหรือเป็นหนามเล็กๆแตกต่างกันออกไปตามแต่ละชนิดของพืช เมื่อละอองเรณูแก่เต็มท ี่อับเรณูจะแตกออก
ทำให้ละอองเรณูกระจายออกไปพร้อมที่จะผสมพันธุ์ต่อไปได้

                การสร้างเซลล์สืบพันธุ์เพศเมียของพืชดอกเกิดขึ้นภายในรังไข่ ภายในรังไข่อาจมีหนึ่งออวุล (ovule)หรือหลายออวุล ภายในออวุลมีหลายเซลล์ แต่จะมีเซลล์หนึ่งที่มีขนาดใหญ่ เรียกว่า เมกะสปอร์มาเทอร์เซลล์ (megaspore mother cell) มีจำนวนโครโมโซม 2n ต่อมาจะแบ่งเซลล์แบบไมโอซิสได้ 4 เซลล์สลายไป 3 เซลล์ เหลือ 1 เซลล์ เรียกว่า เมกะสปอร์ (megaspore) หลังจากนั้นนิวเคลียสของเมกะสปอร์จะแบ่งแบบไมโทซิส 3 ครั้ง ได้ 8 นิวเคลียส และมีไซโทพลาซึมล้อมรอบ เป็น 7 เซลล์    3 เซลล์อยู่ตรงข้ามกับไมโครไพล์  (micropyle) เรียกว่า แอนติแดล (antipodals) ตรงกลาง 1 เซลล์มี 2 นิวเคลียสเรียก เซลล์โพลาร์นิวคลีไอ (polar nuclei cell)  ด้านไมโครไพล์มี 3 เซลล์ ตรงกลางเป็นเซลล์ไข่ (egg cell) และ2 ข้างเรียก ซินเนอร์จิดส์ (synergids) ในระยะนี้ 1 เมกะสปอร์ได้พัฒนามาเป็นแกมีโทไฟต์ที่เรียกว่า ถุงเอ็มบริโอ (embryo sac) หรือ
แกมีโทไฟต์เพศเมีย (female gametophyte)

 

การถ่ายละอองเรณู

                พืชดอกแต่ล่ะชนิดมีละอองเรณูและรังไข่ที่มีรูปร่างลักษณะ และจำนวนที่แตกต่างกัน
เมื่ออับเรณูแก่เต็มที่ผนังของอับเรณูจะแตกออกละอองเรณูจะกระจายออกไปตกบนยอดเกสรตัวเมียโดยอาศัยสื่อต่างๆพาไป เช่น ลม น้ำ แมลง สัตว์ รวมทั้งมนุษย์ เป็นต้น ปรากฏการณ์ที่ละอองเรณูตกลงสู่ยอดเกสรตัวเมียเรียกว่า การถ่ายละอองเรณู (pollination)

                 

การปฏิสนธิซ้อน

                เมื่อละอองเรณูตกลงบนยอดเกสรเพศเมีย ทิวบ์นิวเคลียสของละอองเรณูแต่ละอันจะสร้างหลอดละอองเรณูด้วยการงอกหลอดลงไปตามก้านเกสรเพศเมียผ่านทาง
รูไมโครไพล์ของออวุล ระยะนี้เจเนอเรทิฟนิวเคลียสจะแบบนิวเคลียสแบบไมโทซิสได้ 2 สเปิร์มนิวเคลียส (sperm nucleus) สเปิร์มนิวเคลียสหนึ่งจะผสมกับเซลล์ไข่ได้ไซโกต ส่วนอีกสเปิร์มนิวเคลียสจะเข้าผสมกับเซลล์โพลาร์นิวเคลียสไอได้ เอนโดสเปิร์ม (endosperm) เรียกการผสม 2 ครั้งของสเปิร์มนิวเคลียสนี้ว่า การปฏิสนธิซ้อน (double fertilization)
(https://nd-biology.tripod.com/mysite/nd_biology_17.html)

ชวนชมเหลืองสยาม...พันธุ์ชวนดูสมชื่อชวนชม...

                                               ภาพการปฏิสนธิซ้อน : https://ankerz-bangetz.blogspot.com/


คำถามสู่การอภิปราย
1. ดอกชวนชมเหลืองสยามมีลักษณะเด่นอย่างไร
2. ใช้การผสมพันธุ์แบบใดในการปรับปรุงพันธุ์
3. พืชดอกมีลักษณธการปฏิสนธิซ้อนหมายความว่าอย่างไร


กิจกรรมเพิ่ม...เสริมความรู้
1. ศึกษาพันธุ์ของชวนชมชนิดต่างๆ

อ้างอิง
https://nd-biology.tripod.com/mysite/nd_biology_17.html
ไทยรัฐออนไลน์ วันอังคารที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ.2553
 https://ankerz-bangetz.blogspot.com/

  
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2874

อัพเดทล่าสุด