GIS ตระการตา! สีสัน-ศิลปะบนผิวโลก MUSLIMTHAIPOST

 

GIS ตระการตา! สีสัน-ศิลปะบนผิวโลก


722 ผู้ชม


เครื่องมือที่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อช่วยในการนำเข้า จัดเก็บ จัดเตรียม ดัดแปลง แก้ไข จัดการ และวิเคราะห์ พร้อมทั้งแสดงผลข้อมูลเชิงพื้นที่ ตามวัตถุประสงค์ต่างๆ ที่กำหนดไว้   
GIS ตระการตา! สีสัน-ศิลปะบนผิวโลก

ตระการตา! สีสัน-ศิลปะบนผิวโลก

           สำนักข่าวต่างประเทศ ได้เผยแพร่ภาพถ่ายพื้นผิวโลกชุดล่าสุด ที่ดูแตกต่างจากถ่ายภาพผิวโลกทั่วไป ด้วยการใช้กล้องถ่ายภาพประสิทธิภาพสูงจากดาวเทียม Landsat 5 และ Landsat 7 และเพิ่มลูกเล่นใส่สีเข้าไปในภาพ รวมทั้งสภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศ ช่วงเวลา และจังหวะในช่วงเวลาถ่ายภาพ ทำให้ภาพผิวโลกชุดนี้ กลายเป็นงานศิลปะที่แสนตระการตาและดูแปลกแตกต่าง จนไม่น่าเชื่อว่า นี่คือพื้นผิวโลกของเรา  ที่มา : https://news.sanook.com/

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ช่วงชั้นที่ 4
สาระที่ 6
   กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก
  มาตรฐาน  ว 6.1  เข้าใจกระบวนการต่าง ๆ   ที่เกิดขึ้นบนผิวโลกและภายในโลก   ความสัมพันธ์ของกระบวนการต่าง ๆ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ  ภูมิประเทศ และสัณฐานของโลก  มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์  สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
  
สาระที่ 7   ดาราศาสตร์และอวกาศ
    มาตรฐาน ว 7.2   เข้าใจความสำคัญของเทคโนโลยีอวกาศที่นำมาใช้ในการสำรวจอวกาศและทรัพยากรธรรมชาติ  ด้านการเกษตรและการสื่อสาร  สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์อย่างมีคุณธรรมต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม
  
สาระที่ 8   ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  มาตรฐาน  ว 8.1 ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์  ในการสืบเสาะหาความรู้  การแก้ปัญหา  รู้ว่าปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มีรูปแบบที่แน่นอน  สามารถอธิบายและตรวจสอบได้  ภายใต้ข้อมูลและเครื่องมือที่มีอยู่ในช่วงเวลานั้น ๆ เข้าใจว่าวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อมมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน

       ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System: GIS) หมายถึง เครื่องมือที่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อช่วยในการนำเข้า จัดเก็บ จัดเตรียม ดัดแปลง แก้ไข จัดการ และวิเคราะห์ พร้อมทั้งแสดงผลข้อมูลเชิงพื้นที่ ตามวัตถุประสงค์ต่างๆ ที่กำหนดไว้ ดังนั้น GIS จึงเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์เพื่อใช้ในการจัดการ และบริหารการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและสามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงข้อมูลด้านพื้นที่ ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากเป็นระบบที่เกี่ยวข้องกับระบบการไหลเวียนของข้อมูล และการผสมผสานข้อมูลจากแหล่งต่างๆ เช่น ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) หรือข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) เพื่อให้ได้สารสนเทศที่มีคุณค่าและสามารถนำไปใช้ในการบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ  คลิกอ่านเนื้อหาเพิ่มเติม

GIS ตระการตา! สีสัน-ศิลปะบนผิวโลก  GIS ตระการตา! สีสัน-ศิลปะบนผิวโลก  GIS ตระการตา! สีสัน-ศิลปะบนผิวโลก
GIS ตระการตา! สีสัน-ศิลปะบนผิวโลก  GIS ตระการตา! สีสัน-ศิลปะบนผิวโลก  GIS ตระการตา! สีสัน-ศิลปะบนผิวโลก

        ดาวเทียม LANDSAT เป็นต้นกำเนิดของ ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรโลก ดาวเทียมชนิดนี้จะบรรจุเครื่องบันทึกข้อมูลชนิดที่ไม่ใช้กล้องถ่ายรูป  ข้อมูลที่ได้รับสารสามารถนำมาแปลความหมายได้โดยใช้เทคนิคทางการแปลภาพถ่ายทางอากาศและการแปลโดยใช้คอมพิวเตอร์กลุ่มของดาวเทียมสำรวจทรัพยากรโลกระบบอัตโนมัติประกอบไปด้วยดาวเทียมที่บรรจุเครื่องบันทึกข้อมูลซึ่งบันทึกในช่วงคลื่นที่มองเห็นได้  คลิกอ่านเนื้อหาเพิ่มเติม

ศึกษาเพิ่มเติม
ความก้าวหน้าเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ  :  ดร.สุรชัย รัตนเสริมพงศ์  ผู้อำนวยการศูนย์ภูมิสารสนเทศ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน)

ที่มา : https://news.sanook.com/ 
https://kmcenter.rid.go.th/kmc14/gis_km14/gis_km14%2843%29.pdf 
ขอบคุณ : ดร.อนุเผ่า อบแพทย์  วิศวกร ฝ่ายผลิตข้อมูลดาวเทียม ศูนย์ดาวเทียมภาคพื้นดิน ( Earth Observation Center)  สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน)  The Geo-Informatics and Space Technology Development Agency (Public Organization)

 ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3346

อัพเดทล่าสุด