https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
สึนามิถล่ม แผ่นดินไหวญี่ปุ่น 8.8 ริกเตอร์ เตือนสึนามิ มา ฟิลิปปินส์ - อินโดนีเซีย MUSLIMTHAIPOST

 

สึนามิถล่ม แผ่นดินไหวญี่ปุ่น 8.8 ริกเตอร์ เตือนสึนามิ มา ฟิลิปปินส์ - อินโดนีเซีย


1,295 ผู้ชม


ศูนย์เตือนภัยสึนามิประจำมหาสมุทรแปซิฟิกได้ออกมาประกาศเตือนภัยสึนามิ โดยได้แจ้งเตือนไปยังประเทศ รัสเซีย เกาะมาร์คัส, หมู่เกาะมารีน่า, ไต้หวัน, เกาะกวม, ฟิลิปปินส์, อินโดนีเซีย และ ฮาวาย   
สึนามิถล่ม แผ่นดินไหวญี่ปุ่น 8.8 ริกเตอร์ เตือนสึนามิ มา ฟิลิปปินส์ - อินโดนีเซีย

แผ่นดินไหว...สึนามิ

         ศูนย์เตือนภัยสึนามิประจำมหาสมุทรแปซิฟิกได้ออกมาประกาศเตือนภัยสึนามิ โดยได้แจ้งเตือนไปยังประเทศ รัสเซีย เกาะมาร์คัส, หมู่เกาะมารีน่า, ไต้หวัน, เกาะกวม, ฟิลิปปินส์, อินโดนีเซีย และ ฮาวาย อาจได้รับผลกระทบจากการเกิดสึนามิในครั้งนี้ศูนย์เตือนภัยสึนามิประจำมหาสมุทรแปซิฟิกได้ออกมาประกาศเตือนภัยสึนามิ โดยได้แจ้งเตือนไปยังประเทศรัสเซีย เกาะมาร์คัส, หมู่เกาะมารีน่า, ไต้หวัน, เกาะกวม, ฟิลิปปินส์, อินโดนีเซีย และ ฮาวาย อาจได้รับผลกระทบจากการเกิดสึนามิในครั้งนี้
ประเด็นข่าว : https://news.sanook.com/ 
https://www.youtube.com/watch?v=y1f7r45ofaw&feature=player_embedded 
https://4.bp.blogspot.com/_-JrZDkhtCCI/TS5wK71cEvI/AAAAAAAAACU/vR29Sa7B_SI/s1600/1.jpeg


ภาพเหตุการณ์จากแผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่น 8.8 ริกเตอร์
<iframe width="420" height="315" src="//www.youtube.com/embed/y1f7r45ofaw" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>
ที่มา : https://www.youtube.com/watch?v=y1f7r45ofaw&feature=player_embedded


สำหรับคนไทยที่ต้องการติดต่อญาติที่ญี่ปุ่น ให้ติดต่อผ่านกรมการกงศุล 
หมายเลข 02 575-1046-9  นอกเวลาราชการ 02 643 5000

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ทุกระดับชั้น
สาระที่  5   พลังงาน 
            มาตรฐาน  ว 5.1  เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างพลังงานกับการดำรงชีวิต  การเปลี่ยนรูปพลังงาน  ปฏิสัมพันธ์ระหว่างสารและพลังงาน  ผลของการใช้พลังงานต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม  มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้  สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

สาระที่ 6
   กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก
            มาตรฐาน  ว 6.1  เข้าใจกระบวนการต่าง ๆ   ที่เกิดขึ้นบนผิวโลกและภายในโลก   ความสัมพันธ์ของกระบวนการต่าง ๆ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ  ภูมิประเทศ และสัณฐานของโลก  มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์  สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์

สาระความรู้เกี่ยวกับ สึนามิ

สึนามิ เป็นภาษาญี่ปุ่นแปลว่า Harbour Wave คำแรก สึ แปลว่า harbour คำที่สอง นามิ แปลว่า

 คลื่น ปัจจุบันใช้เป็นคำเรียก กลุ่มคลื่นที่มีความยาวคลื่นมากๆขนาดหลายร้อยไมล์ นับจากยอดคลื่นที่ไล่ตามกันไป เกิดขึ้นจากการที่น้ำทะเลในปริมาตรเป็นจำนวนมากมายมหาศาล ถูกผลักดันให้เคลื่อนที่ในแนวดิ่ง ด้วยเหตุมาจากการเคลื่อนไหวของเปลือกโลกส่วนที่อยู่ใต้ทะเลลึก บางครั้งก็เรียกว่า seismic wave เพราะส่วนใหญ่เกิดจากการเคลื่อนไหวดังกล่าว เรามักจะสับสนกับคำว่า สึนามิ กับ tidal wave ซึ่งเกิดจากน้ำขึ้นน้ำลง แต่ สึนามิ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องอะไรกับการขึ้นลงของน้ำเลย 
สึนามิ ส่วนใหญ่ เกิดจากการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกใต้ทะเลอย่างฉับพลัน 
อาจจะเป็นการเกิดแผ่นดินถล่มยุบตัวลง หรือเปลือกโลกถูกดันขึ้นหรือยุบตัวลง ทำให้มีน้ำทะเลปริมาตรมหาศาลถูกดันขึ้นหรือทรุดตัวลงอย่างฉับพลัน พลังงานจำนวนมหาศาลก็ถ่ายเทไปให้เกิดการเคลื่อนตัวของน้ำทะเลเป็น คลื่นสึนามิ ที่เหนือทะเลลึก จะดูไม่ต่างไปจากคลื่นทั่วๆไปเลย จึงไม่สามารถสังเกตได้ด้วยวิธีปกติ แม้แต่คนบนเรือเหนือทะเลลึกที่ คลื่นสึนามิ เคลื่อนผ่านใต้ท้องเรือไป ก็จะไม่รู้สึกอะไร เพราะเหนือทะเลลึก คลื่นนี้ สูงจากระดับน้ำทะเลปกติเพียงไม่กี่ฟุตเท่านั้น จึงไม่สามารถแม้แต่จะบอกได้ด้วยภาพถ่ายจากเครื่องบิน หรือยานอวกาศ
นอกจากนี้แล้ว สึนามิ ยังเกิดได้จากการเกิดแผ่นดินถล่มใต้ทะเล 
หรือ ใกล้ฝั่งที่ทำให้มวลของดินและหิน ไปเคลื่อนย้ายแทนที่มวลน้ำทะเล หรือภูเขาไฟระเบิดใกล้ทะเล ส่งผลให้เกิดการโยนสาดดินหินลงน้ำ จนเกิดเป็นคลื่น สึนามิ ได้ ดังเช่น การระเบิดของภูเขาไฟ คระคะตัว ในปี ค.ศ. 1883 ซึ่งส่งคลื่น สึนามิ ออกไปทำลายล้างชีวิตและทรัพย์สินของผู้คนในเอเชีย มีจำนวนผู้ตายถึงประมาณ 36,000 ชีวิต 
นอกเหนือไปจากนั้น ในกรณีที่มีความเป็นไปได้ไม่สูงมากนัก 
คือการที่เกิดอุกกาบาตตกใส่โลก ดังเช่นที่เกิดขึ้นเมื่อ 65 ล้านปีมาแล้ว ทำลายล้างชีวิตบนโลกเป็นส่วนใหญ่ สรุป แล้วก็คือ สึนามิ จะเกิดขึ้นเมื่อ น้ำทะเลในปริมาตรมหาศาล ถูกผลักดันให้เคลื่อนออกจากตำแหน่งเดิมในแนวดิ่ง อย่างฉับพลันกระทันหันชั่วพริบตา ด้วยพลังงานมหาศาล น้ำทะเลก็จะกระจายตัวออกเป็นคลื่น สึนามิ ที่เมื่อไปถึงฝั่งใด ความพินาศสูญเสียก็จะตามมาอย่างตั้งตัวไม่ติด

สึนามิถล่ม แผ่นดินไหวญี่ปุ่น 8.8 ริกเตอร์ เตือนสึนามิ มา ฟิลิปปินส์ - อินโดนีเซียลักษณะทางกายภาพของคลื่นสึนามิ 

         l ความยาวคลื่น คือระยะห่างจากยอดคลื่นหนึ่งไปยังยอดคลื่นถัดไป
             P คือคาบเวลาระหว่างยอดคลื่นหนึ่งเดินทางมาถึงที่ที่ยอดคลื่นก่อนหน้าเพิ่งผ่านไป
              Amplitude ของคลื่น คือความสูงของยอดคลื่นนับจากระดับน้ำทะเล
               ความเร็วของคลื่น (velocity - V) คลื่นทะเลทั่วๆไปมีความเร็วประมาณ 90 กม./ชั่วโมง แต่ คลื่น สึนามิ อาจจะมีความเร็วได้ถึง 950 กม./ชั่วโมง ซึ่งก็พอๆกับความเร็วของเครื่องบินพาณิชย์ทีเดียว โดยจะขึ้นอยู่กับความลึกที่เกิดแผ่นดินถล่มใต้ทะเล ถ้าแผ่นดินไหวยิ่งเกิดที่ก้นทะเลลึกเท่าไหร่ ความเร็วของ สึนามิ ก็จะสูงขึ้นมากเท่านั้น เพราะปริมาตรน้ำที่ถูกเคลื่อนออกจากที่เดิม จะมีมากขึ้นไปตามความลึก คลื่น สึนามิ จึงสามารถเคลื่อนที่ผ่านท้องทะเลอันกว้างใหญ่ได้ภายในเวลาไม่นาน

สึนามิถล่ม แผ่นดินไหวญี่ปุ่น 8.8 ริกเตอร์ เตือนสึนามิ มา ฟิลิปปินส์ - อินโดนีเซีย

คลื่น สึนามิ ต่างจากคลื่นทะเลทั่วๆไป 
  คลื่น ทะเลทั่วไปเกิดจากลมพัดผลักดันน้ำส่วนที่อยู่ติดผิว จะมีคาบการเดินทางเพียง 20-30 วินาทีจากยอดคลื่นหนึ่งไปยังอีกยอดหนึ่ง และระยะห่างระหว่างยอดคลื่น หรือความยาวคลื่น มีเพียง 100-200 เมตร
แต่คลื่น สึนามิ มีคาบตั้งแต่ สิบนาทีไปจนถึงสองชั่วโมง และ ความยาวคลื่นมากกว่า 500 กิโลเมตรขึ้นไป คลื่น สึนามิ ถูกจัดว่า เป็นคลื่นน้ำตื้น คลื่นที่ถูกจัดว่าเป็น คลื่นน้ำตื้น คือ คลื่นที่ ค่าอัตราส่วนระหว่าง ความลึกของน้ำ และ ความยาวคลื่น ต่ำมาก 
อัตรา การสูญเสียพลังงานของคลื่น จะผกผันกับความยาวคลื่น(ระยะห่างระหว่างยอดคลื่น)ยกกำลังสอง เนื่องจาก สึนามี มีความยาวคลื่นมากๆ ยิ่งยกกำลังสองเข้าไปอีก จึงสูญเสียพลังงานไปน้อยมากๆในขณะที่มันเคลื่อนตัวผ่านผืนสมุทร  และเนื่องจาก สึนามิ เป็น คลื่นน้ำตื้น จะมีความเร็วเท่ากับ

V = g * d

g คืออัตราเร่งของแรงโน้มถ่วงโลก ซึ่งมีค่า 9.8 เมตร/วินาที2 และ d คือความลึกของพื้นทะเล
สมมติ ว่า แผ่นดินไหวเกิดที่ท้องทะเลลึก 6,100 เมตร สึนามิจะเดินทางด้วยความเร็วประมาณ 880 กม./ชม. จะสามารถเดินทางข้ามฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิคด้วยเวลาน้อยกว่า 24 ชั่วโมงเสียอีก

สึนามิถล่ม แผ่นดินไหวญี่ปุ่น 8.8 ริกเตอร์ เตือนสึนามิ มา ฟิลิปปินส์ - อินโดนีเซียเมื่อ สึนามิ เดินทางมาถึงชายฝั่ง ก้นทะเลที่ตื้นขึ้นก็จะทำให้ความเร็วของคลื่นลดลง เพราะความเร็วของคลื่นสัมพันธ์กับค่าความลึกโดยตรง แต่คาบยังคงที่ พลังงานรวมที่มีค่าคงที่ ก็ถูกถ่ายเทไปดันตัวให้คลื่นสูงขึ้น 

จาก ค่าความเร็ว V = l/P


                  ค่า V ลดลง, P คงที่ ค่า l ก็ต้องลดลง

ผลก็คือ น้ำทะเลถูกอัดเข้ามาทำให้คลื่นสูงขึ้น ขึ้นอยู่กับสภาพชายฝั่งว่าเป็นอ่าวแคบหรือกว้าง ในชายฝั่งที่แคบ คลื่นสึนามิ จะมีความสูงได้หลายๆเมตรทีเดียว
ถ้ายอดคลื่นเข้าถึงฝั่ง ก่อน ก็จะเกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า dragdown คือดูเหมือนระดับน้ำจะลดลงอย่างกระทันหัน ขอบน้ำทะเลจะหดตัวออกจากฝั่งไปเป็นร้อยๆเมตรอย่างฉับพลัน และในทันที่ที่ยอดคลื่นต่อมาไล่มาถึง ก็จะเป็นกำแพงคลื่นสูงมาก ขึ้นอยู่กับโครงร่างของชายหาด จะมีความสูงของคลื่นต่างกัน 
ดังนั้น คลื่นสึนามิ จากแหล่งเดียวกัน จะเกิดผลที่ต่างกันกับชายหาดที่ไม่เหมือนกันได้ 
น้ำ ที่ท่วมเข้าฝั่งกระทันหัน อาจไปไกลได้ถึง 300 เมตร แต่คลื่น สึนามิ สามารถเดินทางขึ้นไปตามปากแม่น้ำหรือลำคลองที่ไหลลงทะเลตรงนั้นได้ด้วย หากรู้ตัวว่าจะมีคลื่นสึนามิ ผู้คนเพียงแต่อพยพออกไปจากฝั่งเพียงแค่เดิน 15 นาที และให้อยู่ห่างจากแหล่งน้ำที่ไหลลงทะเลเข้าไว้ ก็จะปลอดภัยแล้ว

สึนามิถล่ม แผ่นดินไหวญี่ปุ่น 8.8 ริกเตอร์ เตือนสึนามิ มา ฟิลิปปินส์ - อินโดนีเซียการเกิดแผ่นดินถล่มใต้ท้องทะเลลึก มักจะมาจากการเคลื่อนตัวของแผ่นเปลือกโลกสองแผ่นที่ดันเข้าหากัน แรงเสียดทานจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

จนเมื่อถึงจุดที่แรงปะทะจากแผ่นเปลือกโลกมีเหนือค่าแรงเสียดทานแล้ว ก็จะเกิดการเคลื่อนตัวอย่างฉับพลัน การเคลื่อนตัวที่แผ่นหนึ่งมุดเข้าใต้อีกแผ่น เรียกว่า Subduction ทำให้เปลือกโลกตรงรอยต่อ ถูกหนุนสูงขึ้นหรือทรุดฮวบยวบตัวลง น้ำทะเลเหนือส่วนนั้นก็ถูกดันหรือดูดเข้ามาแทนที่อย่างฉับพลัน การเคลื่อนตัวของน้ำในปริมาตรหลายๆล้านตัน ทำให้เกิดคลื่นสะท้อนออกไปทุกทิศ เป็นแหล่งกำเนิดของ คลื่นสึนามิ นั่นเอง

ขอขอบคุณ : https://variety.teenee.com/science/4100.html 

ประวัติสึนามิ ภัยธรรมชาติที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์

        หากย้อนไปเมื่อครั้งที่เกิด คลื่นสึนามิ ในทะเลอันดามันครั้งที่รุนแรงมากที่สุดในประวัติศาสตร์ เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547 โดยมีผู้คนเสียชีวิตถึงประมาณ 220,000 คน นับเป็นภัยทางธรรมชาติที่มีผู้เสียชีวิตมากเป็นอันดับ 3 ของโลกเท่าที่มีการบันทึกไว้ โดยภัยธรรมชาติที่มีผู้เสียชีวิตมากเป็นอันดับ 1 เกิดจากพายุไซโคลนพัดผ่านประเทศบังกลาเทศ เมื่อ พ.ศ. 2513 มีผู้เสียชีวิตประมาณ 3000,000 คน และภัยทางธรรมชาติที่มีผู้เสียชีวิตมากเป็นอันดับ 2 เกิดจากแผ่นดินไหวทาง ภาคตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศจีน เมื่อ พ.ศ. 2519 มีผู้เสียชีวิตประมาณ 255,000 คน

 สึนามิถล่ม แผ่นดินไหวญี่ปุ่น 8.8 ริกเตอร์ เตือนสึนามิ มา ฟิลิปปินส์ - อินโดนีเซีย   สึนามิถล่ม แผ่นดินไหวญี่ปุ่น 8.8 ริกเตอร์ เตือนสึนามิ มา ฟิลิปปินส์ - อินโดนีเซีย   สึนามิถล่ม แผ่นดินไหวญี่ปุ่น 8.8 ริกเตอร์ เตือนสึนามิ มา ฟิลิปปินส์ - อินโดนีเซีย   สึนามิถล่ม แผ่นดินไหวญี่ปุ่น 8.8 ริกเตอร์ เตือนสึนามิ มา ฟิลิปปินส์ - อินโดนีเซีย

สึนามิถล่ม แผ่นดินไหวญี่ปุ่น 8.8 ริกเตอร์ เตือนสึนามิ มา ฟิลิปปินส์ - อินโดนีเซีย   สึนามิถล่ม แผ่นดินไหวญี่ปุ่น 8.8 ริกเตอร์ เตือนสึนามิ มา ฟิลิปปินส์ - อินโดนีเซีย   สึนามิถล่ม แผ่นดินไหวญี่ปุ่น 8.8 ริกเตอร์ เตือนสึนามิ มา ฟิลิปปินส์ - อินโดนีเซีย   สึนามิถล่ม แผ่นดินไหวญี่ปุ่น 8.8 ริกเตอร์ เตือนสึนามิ มา ฟิลิปปินส์ - อินโดนีเซีย

         ในกรณีของประเทศไทย พิบัติภัยจากคลื่นสึนามิได้ก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชนทั่วทั้ง ประเทศ เพราะมีการสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินของผู้คนเป็นจำนวนมากใน 6 จังหวัดภาคใต้ที่มีพื้นที่อยู่ติดกับชายฝั่งทะเลอันดามัน  คือ ภูเก็ต พังงา ระนอง กระบี่ ตรัง และสตูล โดยเฉพาะที่จังหวัด พังงา กระบี่ และภูเก็ต มีการสูญเสียมากที่สุด เป็นพิบัติภัยทางธรรมชาติที่ เกิดขึ้นอย่างรุนแรงและรวดเร็ว โดยไม่มีผู้ใดคาดคิดมาก่อน จึงไม่ได้มีการ ระมัดระวังและป้องกันไว้ล่วงหน้า

ย้อนอดีต "สึนามิ" ถล่มทั่วโลก

        6,100 ปีก่อนคริสต์ศักราช  เป็นคลื่นสึนามิใต้น้ำที่เกิดขึ้นในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ

เกาะซานโตรินี่ ในปี 1650 ก่อน ค.ศ. คลื่นสึนามิจากภูเขาไฟระเบิดในเกาะซานโตรินี่ ซึ่งภูเขาไฟในเกาะซานโตรินี่ของกรีซระเบิดขึ้น ทำให้เกิดคลื่นใต้น้ำ "สึนามิ" ที่มีความสูงตั้งแต่ 100 เมตรถึง 150 เมตร ซึ่งถาโถมเข้าถล่มชายฝั่งทางด้านเหนือของเกาะครีต

สึนามิถล่ม แผ่นดินไหวญี่ปุ่น 8.8 ริกเตอร์ เตือนสึนามิ มา ฟิลิปปินส์ - อินโดนีเซีย

เกาะซานโตรินี่ 
ที่มา : https://i299.photobucket.com/albums/mm295/unniezz/5.jpg

เมืองลิสบอน ประเทศโปรตุเกส เกิดแผ่นดินไหวในปี พ.ศ. 2298 (ค.ศ. 1755) ชาวโปรตุเกสจำนวนหลายหมื่นคนรอดชีวิตจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่ ลิสบอนในปี พ.ศ. 2298 (ค.ศ. 1755) แต่กลับต้องเสียชีวิตไปทันที ด้วยคลื่นสึนามิที่โถมเข้าทำลายหลังเกิดแผ่นดินไหวได้เพียงไม่กี่นาที

เกาะกรากะตัว ในประเทศอินโดนีเซีย ภูเขาไฟเกิดการระเบิดอย่างรุนแรงเมื่อปี พ.ศ. 2426 (ค.ศ. 1883) หินเหลวละลายใต้ปล่องภูเขาไฟถูกพ่นออกมาจำนวนมาก เกิดโพรงขนาดใหญ่ขึ้นใต้ดิน ทำให้พื้นแผ่นดินที่อยู่เบื้องบนและพื้นทะเลยุบตัวลง ส่งผลให้เกิดระลอกคลื่นสึนามิขนาดใหญ่ขึ้น

สึนามิแปซิฟิก แผ่นดินไหวในหมู่เกาะอลิวเตียน ในปี พ.ศ. 2489 (ค.ศ. 1946) ก่อให้เกิดคลื่นสึนามิที่ถาโถมเข้าสู่ฮาวายและอะลาสก้า ทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวน 165 คน มหันตภัยสึนามิที่เกิดขึ้นในครั้งนั้นส่งผลให้เกิดการก่อสร้างระบบเตือนภัย

สึนามิชิลี แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ชิลี มีระดับความรุนแรง 9.5 ริกเตอร์ซึ่งเป็นระดับที่รุนแรงที่สุดเท่าที่เคยมีการบันทึกไว้ ก่อให้เกิดคลื่นสึนามิที่สร้างความวิบัติหายนะอย่างรุนแรงที่สุดในคริสต์ ศตวรรษที่ 20

สึนามิถล่ม แผ่นดินไหวญี่ปุ่น 8.8 ริกเตอร์ เตือนสึนามิ มา ฟิลิปปินส์ - อินโดนีเซีย

คลื่นสึนามิในประเทศชิลี เมื่อวันที่ 30 กรกฏาคม ปี 1995
ที่มา : https://www.rspg.org/thaigov_rspg/tsunami/pic023.jpg

สึนามิกู๊ดฟราย์เดย์ แผ่นดินไหวกู๊ดฟรายเดย์ขนาด 9.2 ริกเตอร์ที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2507 (ค.ศ. 1964) ก่อให้เกิดคลื่นสินามิถาโถมเข้าถล่มชายฝั่งอะลาสก้า, บริติช โคลัมเบีย, แคลิฟอร์เนียและชายฝั่งเมืองแปซิฟิกนอร์ธเวสต์ในสหรัฐอเมริกา ทำให้ประชาชนเสียชีวิต 122 คน

สึนามิในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 - เกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย

สึนามิในเอเชียใต้ พ.ศ. 2067 (ค.ศ. 1524) - ใกล้เมือง Dabhol รัฐมหารัชตะ ประเทศอินเดีย
2 เมษายน พ.ศ. 2305 (ค.ศ. 1762) - ชายฝั่งอาระคัน ประเทศพม่า
16 มิถุนายน พ.ศ. 2362 (ค.ศ. 1819 - Rann of Kachchh รัฐกุจาราช ประเทศอินเดีย
31 ตุลาคม พ.ศ. 2390 (ค.ศ. 1847) - หมู่เกาะนิโคบาร์ใหญ่
31 ธันวาคม พ.ศ. 2424 (ค.ศ. 1881) - หมู่เกาะคาร์นิโคบาร์
26 สิงหาคม พ.ศ. 2426 (ค.ศ. 1883) - ภูเขาไฟกรากะตัวระเบิด
28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2488 (ค.ศ. 1945) - ชายฝั่ง Mekran บาลูจิสถาน

สึนามิในอเมริกาและแคริบเบียน

11 ตุลาคม พ.ศ. 2461 (ค.ศ. 1918) - เปอร์โตริโก 
18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2472 (ค.ศ. 1929) - นิวฟาวนด์แลนด์ 
4 สิงหาคม พ.ศ. 2489 (ค.ศ. 1946) - สาธารณรัฐโดมินิกัน 
18 สิงหาคม พ.ศ. 2489 (ค.ศ. 1946) - สาธารณรัฐโดมินิกัน 
14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2383 (ค.ศ. 1840) - เกรท สเวลล์ในแม่น้ำเดลาแวร์ 
17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2415 (ค.ศ. 1872) - มลรัฐเมน 
9 มกราคม พ.ศ. 2469 (ค.ศ. 1926) - มลรัฐเมนอิง
19 พฤษภาคม พ.ศ. 2507 (ค.ศ. 1964)

        หากดูสถิติการเกิด "สึนามิ" เห็นได้ว่า ภัยธรรมชาตินี้เกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ การเตรียมความพร้อม สถานที่ปลอดภัย สัญญาณเตือนภัยจึงเป็นสิ่งสำคัญในเบื้องต้นที่ทุกหน่วยงานต้องให้การสนับ สนุน ด้วยเพราะยังไม่มีตัวชี้วัดที่แน่นอนว่า 
"สึนามิ ภัยร้าย"
 จะเกิดขึ้น ณ เวลาใด

ย้อนรอย..สึนามิ...Thailand 2004 : 24 ธันวาคม  2547

<iframe width="420" height="315" src="//www.youtube.com/embed/_We4kW0HdhM" frameborder="0" allowfullscreen></iframe> 

ที่มา : https://www.youtube.com

คำถาม
1. สึนามิคืออะไร  เกิดจากสาเหตุใด
2. เรามีวิธีการสังเกตได้อย่างไรว่าจะเกิดสึนามิ

กิจกรรมเสนอแนะ
1. ให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตถึงปรากฏการณ์ธรรีพิบัติ  แล้วเกิดคลื่นสึนามิทั้งที่เกิดในประเทศไทยและต่างประเทศ
2. ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกี่ยวข้องกับการเกิดคลื่นสึนามิ ...คลิก...
3. ทำแบบทดสอบออนไลน์  
...คลิก...

การบูรณาการ
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม เกี่ยวกับภูมิศาสตร์  การเปลี่ยนแปลงของโลก
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ  เกี่ยวกับคำศัพท์
 

 

ขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบ : sanook.com
แหล่งข้อมูล
https://www.sema.go.th/files/Content/Technic/k4/0032/TSUNAMI/test1.htm
https://www.sema.go.th/files/Content/Technic/k4/0032/TSUNAMI/index.htm 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3550

อัพเดทล่าสุด