https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
กัมมันตรังสี ในทะเลญี่ปุ่นอาจทำให้ สัตว์กลายพันธุ์ MUSLIMTHAIPOST

 

กัมมันตรังสี ในทะเลญี่ปุ่นอาจทำให้ สัตว์กลายพันธุ์


637 ผู้ชม


จะกลายพันธุ์อย่างไรนะ แล้วจะเกิดอันตรายต่อมนุษย์ไหม   
นักวิชาการหวั่นสารกัมมันตรังสีที่แพร่สู่น้ำทะเล โดยรอบโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ฟุกิชิมา อาจส่งผลให้สัตว์ทะเลกลายพันธุ์ 


นายอานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา  รักษาการ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (สทอภ.) ได้ออกมาเปิดเผยถึงความวิตกกังวลเกี่ยวกับการกลายพันธุ์ของสัตว์ทะเล ที่อาศัยอยู่รอบ ๆ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ฟุกิชิมา ว่า หลัง จากที่ทราบว่ามีการรั่วไหลของสารกัมมันตรังสีเข้าสู่อากาศ ก็ทำให้นักวิชาการหลาย ๆ คน เริ่มกังวลใจว่า สารกัมมันตรังสีที่แพร่ออกมา และปนเปื้อนอยู่ในน้ำทะเลบริเวณรอบ ๆ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ฟุกิชิมา จะทำให้สัตว์ทะเลกลายพันธุ์หรือไม่ เนื่องจากในสารกัมมันตรังสีที่ แพร่ออกมานั้น มีกลุ่มสารกัมมันตรังสีที่ให้เบต้าอยู่ด้วย และสารในกลุ่มนี้เอง  ที่มีผลทำให้สัตว์ทะเลที่ได้รับกัมมันตรังสีเกิดการกลายพันธุ์ แต่ขณะนี้ก็ยังไม่มีการรายงานถึงการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศน์ใต้ทะเล โดยรอบโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ฟุกิชิมา แต่อย่างใด
อย่าง ไรก็ตาม ทางประเทศไทย ก็ได้มอบหมายให้สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.) คอยติดตามข่าวสารเกี่ยวกับเรื่องสารกัมมันตรังสี ตลอดจนการตรวจสอบการปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีอย่างใกล้ชิด เผื่อมีสารกัมมันตรังสีเพิ่มมากผิดปกติจะได้หาทางแก้ไขปัญหาต่อไป
ที่มา : พี่กบเดิร์น และขอขอบคุณ กรุงเทพธุรกิจ
สาระความรู้
การกลายพันธุ์ หมายถึง ภาวะที่สิ่งมีชีวิตไม่สามารถคงลักษณะทางพันธุกรรมไว้ ได้ ซึ่งคำว่าลักษณะทางพันธุกรรมนี้มีความหมายไม่เท่ากัน บางคนอาจมองแค่ลักษณะทางพันธุกรรมที่ปรากฏออกมา (phenotype) บางคนอาจมองลึกไปจนถึงเนื้อหาของจีนที่กำหนดลักษณะทางพันธุกรรมนั้น (genotype) หากมีการเปลี่ยนแปลงในระดับ genotype แล้วก็เรียกว่าเกิดการกลายพันธุ์ แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่ 
1. การกลายที่เซลล์ร่างกาย การกลายที่เซลล์ร่างกาย จะเกิดกับยีนในเซลล์ต่างๆ ของร่างกายเปลี่ยนแปลงในลักษณะนี้ไม่ถ่ายทอดไปสู่ลูกหลาน เช่น โรคมะเร็ง เนื้องอก เป็นต้น
        2. การกลายที่เซลล์สืบพันธุ์ การกลายที่เซลล์สืบพันธุ์ เกิดกับยีนในเซลล์สืบพันธุ์ทำให้แอลลีลผิดปกติสามารถ ถ่ายทอดไปสู่ลูกหลานได้ การกลายนอกจากจะมีสาเหตุมาจากธรรมชาติแล้ว มนุษย์ก็ยังเป็นต้นเหตุ ทำให้เกิดการกลายต่างๆ เช่น การใช้สารเคมีปราบศัตรูพืช เป็นต้น 

ที่มา : ttp://www.ssnm.agr.ku.ac.th

คำถามน่าคิด
* เราควรป้องกันตนเองอย่างไรจึงจะปลอดภัย จากผลกระทบถ้าเกิดขึ้นจริงๆ ?
ความรู้เพิ่มเติม
 ความผิดปกติของโครโมโซม หรือ การเปลี่ยนแปลงของโครโมโซม โครโมโซมเป็น โครงสร้างที่อิสระที่อยู่ภายในนิวเคลียส ซึ่งเห็นได้ชัดในช่วงที่มีการแบ่งเซลล์ โครโมโซม ประกอบด้วยหน่วยพันธุกรรม หรือยีน โครโมโซมเป็นแหล่งที่มียีนมากมาย ซึ่งเมื่อมีการแบ่ง เซลล์แบบไมโตซิส หรือ ไมโอซิส ความผิดพลาดอาจเกิดขึ้นได้โดยอาจมีผลทำให้จำนวน โครโมโซมเพิ่มขึ้น หรือ ลดน้อยลง หรือ ชิ้นส่วนของโครโมโซมเพิ่มขึ้นมาหรือขาดหาย ไป ปรากฏการณ์เหล่านี้ยังส่งผลต่อลักษณะฟีโนไทป์ของคนได้หลายรูปแบบ ดังนั้นพอจะจัด แบ่งความผิดพลาดของโครโมโซมได้ 2 ประเภทใหญ่ คือ
        1. ความผิดปกติของโครงสร้างของโครโมโซม เช่น การที่เนื้อโครโมโซมขาดหายไป เพิ่มขึ้นมาหรือสลับที่จากเดิม จึงมีผลทำให้รูปร่างของโครโมโซมผิดไปจากเดิม
        2. ความผิดพลาดของจำนวนโครโมโซมซึ่งอาจจะมีจำนวนโครโมโซมเพิ่มมากขึ้นหรือ ลดจำนวนไปจากเดิมที่มีอยู่ 
      กลุ่มอาการ คริดูชาต์ (Cri-du-chat syndrome หรือ Cat-cry syndrome) เป็นความผิดปกติของโครโมโซมที่มีรูปร่างผิดปกติลักษณะของผู้ป่วยคือ มีปัญญาอ่อนศีรษะเล็กกว่าปกติการเจริญเติบโตช้า หน้ากลม ใบหูอยู่ต่ำกว่าปกติและคนไข้มีเสียงร้องแหลมคล้ายเสียงแมวร้องซึ่งเป็นที่มา ของชื่อนี้ สาเหตุของโรค เนื่องจากมี โครโมโซมคู่ที่5ผิดปกติไป 1 โครโมโซม โดยมีส่วนหนึ่งของโครโมโซมขาดหายไปทำให้มีแขนข้างสั้นของโครโมโซมสั้น กว่าปกติ พบในเด็กหญิงมากกว่าเด็กชาย
ที่มา : https://pwsthailand.pantown.com
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3596

อัพเดทล่าสุด