ภาวะโลกร้อน MUSLIMTHAIPOST

 

ภาวะโลกร้อน


1,045 ผู้ชม


ภาวะโลกที่ร้อนขึ้น จากภาวะเรือนกระจก จากการเผาไหม้ของไฮโดรคาร์บอน   

ภาวะโลกร้อน

           ปัจจุบันโลกได้รับผลกระทบจากภาวะโลกร้อน ซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์และสิ่งมีชีวิตต่างๆ ทั่วโลกอย่างรุนแรง สาเหตุที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่เป็นจำ คือ ภาวะโลกที่ร้อนขึ้น จากภาวะเรือนกระจก จากการเผาไหม้ของไฮโดรคาร์บอน ซึ่งเกิดจากการกระทำของมนุษย์เป็นส่วนใหญ่  ซึ่งความเป็นจริงแล้ว การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกมีผลเกี่ยวข้องกับหลายๆปัจจัย  ดังเช่น อุณหภูมิความร้อนจากแสงอาทิตย์   จากอุณหภูมิของอากาศ จาก ปริมาณของน้ำฝนจากการระเหยของน้ำ  จากการไหลของกระแสลมและกระแสน้ำในมหาสมุทร
ซึ่งเกี่ยวข้องกับการที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์  การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศยังเป็นเพราะปรากฏการณ์เอลนีโญ ปรากฏการณ์ลานีญา และเอ็นโซม์ตามกระแสน้ำอุ่น ซึ่งเป็นปัจจัยภายนอก ที่มนุษย์ไม่สามารถควบคุมปรากฏการณ์ต่างๆที่เกิดจากธรรมชาตินี้ได้  ดังนั้นในปัจจุบัน เราจะเห็นการโต้เถียงของเหล่านักวิชาการและนักวิทยาศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญ ตลอดจนถึงบุคคลทั่วไป ซึ่งแบ่งเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายที่เชื่อและเห็นด้วยว่าความแปรปรวนของดินฟ้าอากาศและภาวะโลกร้อนในปัจจุบันเกิดขึ้นมาจากปัจจัยหลัก คือ กิจกรรมต่างๆ และการกระทำของมนุษย์ กับอีกฝ่ายหนึ่งมีความเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงของสภาพดินฟ้าอากาศ และภาวะโลกร้อนที่กำลังเกิดขึ้นนี้ เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เป็นวงจรที่เกิดขึ้นตามวิถีของโลกมนุษย์มีส่วนที่เกี่ยวข้องให้เกิดเพียงเล็กน้อย  ความกังวลต่อปัญหาในการเปลี่ยนแปลงสภาพปรากฏการณ์ธรรมชาติ สภาพภูมิอากาศของโลกเริ่มมากขึ้น จนมีการจัดตั้งคณะกรรมการระหว่างประเทศว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหรือไอพีซีซี (IntergovernmentPanel on Climate Change;IPCC) ในปี ค.ศ. 1988 จาก World MeteorologicalOrganization (WMO) และ U.N.2 ตุลยวรรธ สุทธิแพทย์Environment Program (UNEP) 


 

ภาวะโลกร้อน

ปรากฏการณ์เอลนีโญ และ ลานีญา

ภาวะโลกร้อน


                                        ปัญหาอีกอย่างในสภาวะการเกิดภาวะโลกร้อน คือก่อให้เกิด สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมแก่การฟักตัวของเชื้อโรคและศัตรูพืช ที่เป็นอาหารของมนุษย์บางชนิด โดยเฉพาะในแถบร้อนชื้นของโลก เชื้อโรคจะมีปริมาณเพิ่มขึ้นมากในอีก 20 ปีข้างหน้า และจะเกิดการระบาดของโรคอย่างรุนแรงทั้งโรคมาลาเรีย ไข้เลือดออก ไข้ส่า อหิวาตกโรค และโรคอาหารเป็นพิษ เป็นต้นสภาวะโลกร้อนส่งผลกระทบต่อประเทศไทย  จากการศึกษาพบว่า มีอุณหภูมิสูงขึ้นประมาณ 1  องศาเซลเซียส ในช่วง 40 ปีที่ผ่านมา ซึ่งถ้าหากอุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้น 2- 4  องศาเซลเซียส จะทำให้พายุไต้ฝุ่นเปลี่ยนทิศทาง เกิดภาวะของความรุนแรง และมีจำนวนเพิ่มขึ้นร้อยละ 10-20 ในอนาคต นอกจากนี้ ฤดูร้อนจะขยายเวลายาวนานขึ้นทำให้สภาพอากาศร้อนมากขึ้น  ในขณะที่ฤดูหนาวจะสั้นลง สภาพอากาศหนาวเย็นมากขึ้น ซึ่งสอดรับกับ รศ.ธนวัฒน์  จารุพงษ์สกุล  ภาควิชาธรณีวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า “บ้านเรามีแนวโน้มจะเกิดปริมาณฝนตกในฤดูสั้นลงหรือฤดูฝนสั้นลง ขณะที่ฤดูหนาวจะมีฝนตกเพิ่มขึ้น และจะเป็นฝนทิ้งช่วง ตกครั้งละมากๆ นอกจากนี้โอกาสที่พายุโซนร้อนและไต้ฝุ่นจะเปลี่ยนทิศพัดเข้าสู่ประเทศไทยทางอ่าวไทยโดยตรงมีมากขึ้นโดยจะส่งผลให้เกิดอุทกภัยและโคลนถล่ม โดยเฉพาะบริเวณชายฝั่งตะวันออก ภาคใต้ฝั่งตะวันออกและกรุงเทพมหานคร ”
                   ดังนั้นเราจึงต้องเรียนรู้สภาพความเป็นมาของสภาพอากาศในอดีตที่ผ่านมาดูบ้างว่ามีความเป็นมาอย่างไรบ้าง  เพื่อประเมินและศึกษาความเปลี่ยนแปลงสภาพดินฟ้าอากาศที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์การเกิดภาวการณ์เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก ซึ่งทำให้เกิดผลต่อการดำรงอยู่ชีวิตของสิ่งมีชีวิตต่างๆบนโลก  เริ่มเกิดขึ้นภายหลังจากการเกิดมหาทวีปปันเจียในยุคเปอร์เมียน


 

ภาวะโลกร้อน

             เมื่อประมาณ 300 ล้านปีที่แล้ว  แผ่นดินของโลกทั้งหมดอยู่บริเวณเส้นศูนย์สูตรและได้รับความร้อนโดยตรงจากดวงอาทิตย์ อากาศบริเวณนี้จะอบอุ่น และเมื่อเริ่มเกิดการแยกตัวของมหาสมุทร 


 

ภาวะโลกร้อน

               เมื่อประมาณ 150 ล้านปีที่แล้ว และเริ่มมีมหาสมุทรเกิดขึ้น และภูมิอากาศของโลกในขณะนั้นก็เริ่มได้รับอิทธิพลจากกระแสน้ำในมหาสมุทร ทำให้เกิดฤดูกาลต่างๆ หลังจากนั้นสิ่งมีชีวิตในยุคต่างๆ ก็ได้เกิดขึ้น พร้อมกับมีวิวัฒนาการผ่านยุคสมัยต่างๆ มาจนถึงปัจจุบัน    จากการศึกษาและการเรียนรู้เกี่ยวกับสภาพภาวะอากาศในยุคโบราณ เรียกว่า Paleoclimatology พบว่า มีการเปลี่ยนแปลง  เกิดยุคน้ำแข็งสลับกับยุคอบอุ่น เป็นวงจรมาอย่างยาวนาน ในช่วงอบอุ่นเป็นยุคที่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต จะมีการเจริญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตเพิ่มจำนวนมากขึ้น แต่ในช่วงยุคน้ำแข็งหรืออากาศหนาวก็จะเกิดการลดจำนวนของสิ่งมีชีวิตลง มีการสูญพันธ์ของสิ่งมีชีวิตสลับกันไปใน มีส่วนของผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิต ภาวะโลกร้อนทำให้เกิดผลกระทบหลายอย่าง โดยเฉพาะกับระบบนิเวศโดยรวม  เช่น อาจทำให้บริเวณพื้นที่บางส่วน กลายเป็นทะเลทราย แต่บางพื้นที่อาจประสบปัญหาน้ำท่วมหนัก เนื่องจากฝนตกอย่างรุนแรงขึ้น น้ำแข็งบริเวณขั้วโลกและบนยอดเขาสูงๆอาจละลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งภูเขาน้ำแข็ง ก้อนน้ำแข็งจะละลายได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ปริมาณของน้ำทะเลเพิ่มปริมาณที่สูงขึ้น พื้นที่ชายฝั่งทะเลจะได้รับผลกระทบ บางพื้นที่อาจจมหายไปอย่างถาวร ระดับของน้ำทะเลทางขั้วโลกเพิ่มขึ้น และไหลลงสู่ทั่วโลกทำให้เกิดน้ำท่วมได้ในทุกทวีป 
                 จากการศึกษาและสำรวจข้อมูล  พบว่า เพนกวินจักรพรรดิในทวีปแอนตาร์กติกาหรือขั้วโลกใต้มีจำนวนคู่ผสมพันธุ์ลดลงจาก 300 คู่ เหลือเพียง 9 คู่รวมถึงสัตว์ใหญ่อื่นๆ อีกหลายชนิดที่ได้รับผลกระทบ  สัตว์ที่อาศัยอยู่ในขั้วโลก เช่น แมวน้ำ หมีขาว ระบบนิเวศทางทะเล ก็เป็นอีกระบบนิเวศหนึ่งที่จะได้รับผลกระทบจากภาวะโลกร้อน เนื่องจากระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น และอุณหภูมิของผิวน้ำที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ปริมาณของพืชและสัตว์ทะเลบางชนิดสูญพันธ์ได้  รวมถึงการเกิดปรากฏการณ์ปะการังฟอกสีทั้งในอ่าวไทยและฝั่งทะเลอันดามัน สัตว์แทบทุกชนิด จะได้รับผลกระทบจากภาวะโลกร้อนนี้ แต่สัตว์บางกลุ่มที่อาศัยอุณหภูมิและความชื้นในการดำรงเผ่าพันธุ์จะยิ่งได้รับผลกระทบรุนแรงยิ่งขึ้น เช่น เหล่าสัตว์ต่างๆที่อาศัยอุณหภูมิในการกำหนดเพศ ซึ่งจะเป็นพวกสัตว์เลือดเย็น ประเภทสัตว์เลื้อยคลาน เช่น จระเข้ เต่า จะมีอัตราส่วนของเพศที่เกิดขึ้นมาผิดเพี้ยนไปจากสภาพอากาศปกติ ทำให้อัตราการสืบพันธ์และดำรงเผ่าพันธุ์ลดลง จนถึงปัจจุบันนี้ ตั้งแต่โลกเริ่มเย็นตัวลง เมื่อ 4600 ล้านปีก่อน จนถึงเริ่มเกิดสิ่งมีชีวิตและวิวัฒนาการสิ่งมีชีวิต เกิดการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตอย่างใหญ่หลวงเป็นวงรอบขึ้นแล้ว 5 ครั้งซึ่งครั้งสุดท้ายเกิดเมื่อยุคน้ำแข็งที่ผ่านมาภาวะโลกร้อนกับผลกระทบลดลงมาก  และสิ่งมีชีวิตต่างๆจะต้องมีการปรับตัวและวิวัฒนาการอีกครั้ง ในการเกิดการสูญพันธุ์ใหญ่แต่ละครั้ง สภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างมากนี้จะเป็นสาเหตุร่วมเสมอ มนุษย์ที่ครองโลกอยู่ในยุคปัจจุบัน จึงควรได้ตระหนักถึงภัยและภยันตรายต่างๆของสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน และต้องร่วมมือกันป้องกันสาเหตุที่ทำให้เกิดปรากฏการณ์ต่างๆนี้อย่างจริงจัง
วิธีแก้ไขปัญหาดังกล่าว ที่สามารถบรรเทาผลอันที่จะทำให้เกิดความรุนแรงลงได้บ้างคือ
1. ลดการใช้น้ำมัน โดยใช้เท่าที่จำเป็น
2. การเลือกบริโภคหรือใช่ของที่ปลูกหรือผลิตในท้องถิ่น
3. เลือกใช่เครื่องใช่ไฟฟ้าที่ประหยัดไฟฟ้า
4. ใช่ชีวิตอย่างเรียบง่าย เน้นเศรษฐกิจพอเพียง
5. บริหารจัดการเก็บขยะอย่างถูกวิธี
6. ช่วยกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ


           


ที่มาข้อมูล : https://www.thaihealth.or.th/healthcontent/article/6411
ที่มาข้อมูล : www.vet.cmu.ac.th/webmed/work/journal/.../1_2550.pdf

ประเด็นคำถาม

1. เราจะมีวิธีการช่วยภาวะโลกร้อนไอย่างไรบ้าง

2. เราจะมีวิธีการแก้ไขปัญหาปรากกการณ์อัลนิโญ และปรากฏการณ์ลานีญาได้อย่างไรบ้าง

3.สาเหตุของการเกิดภาวะโลกร้อนคืออะไร

4. เราจะมีวิธีการเตรียมตัวอย่างไรในการรับมือภาวะโลกร้อน
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3810

อัพเดทล่าสุด