https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ปรากฎการณ์ดาวเคียงเดือน MUSLIMTHAIPOST

 

ปรากฎการณ์ดาวเคียงเดือน


770 ผู้ชม


"เห็นดาวเคียงเดือน เหมือนเตือนความจำ" ร้องถูกหรือเปล่าไม่ทราบ มันคืออะไรเหรอ   

13-15 มี.ค. นี้ เชิญชมดาวเคียงเดือน

ปรากฎการณ์ดาวเคียงเดือน

นักดาราศาสตร์ไทย เผยว่า ตั้งแต่หัวค่ำวันที่ 13 -15 มีนาคม 2555 ขอบฟ้าทิศตะวันตก จะเกิดปรากฏการณ์ดาวศุกร์เคียงคู่ดาวพฤหัสบดีหรือที่เรียกกันว่า ปรากฏการณ์ดาวเคียงเดือน ในระยะห่างกันประมาณ 3 องศา แม้ในระยะทางจริงในอวกาศจะอยู่ห่างไกลกันมาก ดาวศุกร์จะสว่างสุกใสมากกว่าดาวพฤหัสบดี เพราะได้รับแสงอาทิตย์มากกว่าดาวพฤหัสบดีถึง 50 เท่า

ในคืนวันที่ 25 มีนาคม จะเกิดปรากฏการณ์พระจันทร์เสี้ยวเกือบจุมพิตดาวพฤหัสบดี ซึ่งจะมองเห็นได้ชัดเจนในแถบอเมริกาเหนือ

วันที่ 26 มีนาคม จะมีปรากฏการณ์ดาวล้อมเดือน โดยดวงจันทร์ขึ้น 4 ค่ำ โคจร อยู่ ระหว่างกลางดาวศุกร์และดาวพฤหัสบดี ดาวศุกร์จะอยู่ด้านบน ของดวงจันทร์ ห่างดวงจันทร์ประมาณ 3 องศา 34 ลิปดา

ดาวพฤหัสบดีอยู่ด้านล่าง ห่างดวงจันทร์ประมาณ 5 องศา 25 ลิปดา โดยสามารถมองเห็นได้ชัดในที่ที่ท้องฟ้าโล่ง ไม่มีอาคารบดบัง

ข้อมูลโดย https://www.talkystory.com/

สาระความรู้
ปรากฏการณ์ดาวเคียงเดือน หรือ ปรากฏการณ์พระจันทร์ยิ้ม เป็นปรากฏการณ์ที่มีลักษณะเหมือนคนกำลังยิ้ม โดยดาวคู่ดังกล่าว ได้แก่ดาวศุกร์ อยู่เคียงกับ ดาวพฤหัสบดี มองใกล้กันเพียง 2 องศา ในระยะบนท้องฟ้า และจะมีดวงจันทร์เสี้ยว ขึ้น 3 ค่ำ อยู่ข้างล่างดาวทั้งสองดวง ที่ห่างดาว เพียง 2 องศา ซึ่งสามารถสังเกตได้ในประเทศไทยครั้งล่าสุดเมื่อ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2551

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ปรากฏการณ์ดาวเคียงเดือนจะเกิด 2 ครั้งห่างกันประมาณ 10 เดือน ทุก 2 ปีครึ่ง มีลักษณะเป็นดวงดาว 3 ดวง ซึ่งได้แก่ ดาวศุกร์ (ดาวประจำเมือง) ดาวพฤหัสฯ และ ดวงจันทร์ โคจรเข้ามาใกล้กัน โดยดวงจันทร์หงายอยู่ด้านล่าง ดาวอีก2ดวง และ อยู่ในระยะที่สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน แต่ปรากฏการณ์นี้จะมองเห็นได้ไม่นานนัก เพราะดาวจะตกเร็วลับจากขอบฟ้าจากการที่โลกหมุนรอบตัวเองตลอดเวลา

เคยเกิดปรากฏการณ์ดาวเคียงเดือนมาแล้วในวันที่ 1 กุมภาพันธ์1 ธันวาคม พ.ศ. 2551, 16 พฤษภาคม 2553 เวลา 19.24 น. จากนั้น จะเกิดขึ้นอีกครั้งในช่วงใกล้สว่างของ วันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 และช่วงค่ำวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2555
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=4619

อัพเดทล่าสุด