https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
แผนจัดการเรียนรู้ ครูวิทย์มือใหม่ เรื่อง ระบบย่อยอาหาร MUSLIMTHAIPOST

 

แผนจัดการเรียนรู้ ครูวิทย์มือใหม่ เรื่อง ระบบย่อยอาหาร


3,560 ผู้ชม


ระบบย่อยอาหารคือการเปลี่ยนแปลงขนาดโมเลกุลของอาหารให้เล็กลง มีหน้าที่ย่อยและ ดูดซึมสารอาหารเพื่อไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย   
แผนการจัดการเรียนรู้ที่   1    กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์    ชั้นประถมศึกษาปีที่  6
หน่วยการเรียนรู้ที่  1   เรื่อง ร่างกายมนุษย์                          เวลา    12     ชั่วโมง
เรื่อง     ระบบย่อยอาหาร                                  เวลา    2    ชั่วโมง
สอนวันที่.....................เดือน.........................................พ.ศ.................................
สาระที่  1  :  สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต
มาตรฐาน  ว  1.1 :  เข้าใจหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตความสัมพันธ์ของโครงสร้างและหน้าที่ของ  
                             ระบบต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิตที่ทำงานสัมพันธ์กันมีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้  
                             สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ และนำความรู้ไปใช้
สาระสำคัญ
    ระบบย่อยอาหารคือการเปลี่ยนแปลงขนาดโมเลกุลของอาหารให้เล็กลง   มีหน้าที่ย่อยและ
ดูดซึมสารอาหารเพื่อไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย   ระบบย่อยอาหารจะประกอบด้วยปาก  
หลอดอาหาร   กระเพาะอาหาร   ลำไส้เล็ก   ลำไส้ใหญ่   จนถึงทวารหนักในที่สุด
ตัวชี้วัดชั้นปี     อธิบายการทำงานที่สัมพันธ์กันของระบบย่อยอาหาร ของมนุษย์
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
    1.   นักเรียนสามารถบอกหน้าที่ของอวัยวะย่อยอาหารได้
    2.   นักเรียนสามารถอธิบายการทำงานของระบบย่อยอาหารได้
    3.   นักเรียนสามารถป้องกันและบำรุงรักษาระบบย่อยอาหารได้
    4.   นักเรียนสามารถบอกประโยชน์ของอวัยวะระบบย่อยอาหารได้
สาระการเรียนรู้
    1.   หน้าที่ของอวัยวะย่อยอาหาร
    2.   การทำงานของอวัยวะระบบย่อยอาหาร
    3.   การป้องกันและบำรุงรักษาอวัยวะระบบย่อยอาหาร
    4.   ประโยชน์ของอวัยวะระบบย่อยอาหาร
กระบวนการเรียนรู้
    ขั้นที่ 1  ปลุกเร้าความสนใจ
        1.   ครูนำรูปภาพเกี่ยวกับระบบย่อยอาหารมาให้นักเรียนดูแล้วซักถามสนทนาเกี่ยวกับภาพ          -   ภาพที่เห็นคือส่วนใดของร่างกายบ้าง ( ปาก   ลำคอ   ลำไส้เล็ก   กระเพาะอาหาร   ลำไส้ใหญ่  ทวารหนัก)   
        -   ครูชี้ระบบย่อยอาหารแล้วถามว่า  “อวัยวะส่วนนี้ทำหน้าที่อะไร”  ( ย่อยอาหาร)
        -   นักเรียนคิดว่าการย่อยอาหารจะเริ่มขึ้นที่ใด  ( ปาก)
        -   นักเรียนคิดว่าการย่อยอาหารจะสิ้นสุดที่ใด  (ทวารหนัก)
        -   อาหารที่เหลือจากการย่อยแล้วเรียกว่าอะไร (กากอาหารหรืออุจจาระ)
        -   เมื่อเรารับประทานอาหารแล้วอาหารจะไปรวมอยู่ที่ใดก่อน(  กระเพาะอาหาร)
        -   วันนี้เราจะเรียนรู้เรื่อง “ระบบการย่อยอาหาร”
        2.   ครูพูดชักนำเพื่อให้นักเรียนร่วมกันตั้งประเด็นปัญหาให้ได้ว่า “เราจะทราบได้อย่างไรว่า การย่อยอาหารของร่างกายมีขั้นตอนและกระบวนการอย่างไร”
    ขั้นที่ 2   สำรวจและแสวงหาความรู้
        1.   แบ่งกลุ่มนักเรียนออกเป็น  5  กลุ่ม  แล้วเลือกประธานและเลขานุการกลุ่มเพื่อทำหน้าที่ร่วมกันงานจะได้เสร็จตามเป้าหมาย
        2.   แต่ละกลุ่มรับแจกใบความรู้เรื่อง “ระบบย่อยอาหาร”  เพื่อประกอบการเขียนรายงาน หรือเป็นแหล่งข้อมูลในการสรุปองค์ความรู้  แล้วนำเสนอหน้าชั้นเรียนต่อไป
        3.   แต่ละกลุ่มรับแจกใบงานดังนี้
            -   ใบงานที่  1  เรื่อง  “หน้าที่และและประโยชน์ระบบย่อยอาหาร”
            -   ใบงานที่  2   เรื่อง  “การบำรุงรักษาระบบย่อยอาหาร”
            -   ใบงานที่  3  เรื่อง  “การทำงานของระบบย่อยอาหาร”
        4.     แต่ละกลุ่มร่วมกันปฏิบัติกิจกรรมตามขั้นตอนที่กำหนดในใบงาน  เพื่อนำเสนอหน้าชั้นเรียนต่อไป
    ขั้นที่ 3   อธิบายและลงข้อสรุป
        1.   ผู้แทนแต่ละกลุ่มนำเสนอข้อมูลตามแนวใบงานที่  1, 2  และ 3  หน้าชั้นเรียน   เพื่อ 
แสดงความคิดเห็น
        2.   นักเรียนร่วมกันอธิบาย   แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่เรียนอย่างหลากหลายเพื่อ
นำไปสู่การสรุปสาระและองค์ความรู้ที่ได้รับ
        3.  นักเรียนช่วยกันสรุปอีกครั้ง โดยใช้ผลงานจากใบงาน   การรายงาน  และรูปภาพอวัยวะ ระบบย่อยอาหารมาประกอบ   เพื่อให้ได้ข้อสรุปที่ว่า  “ระบบการย่อยอาหาร   คือ     
ระบบการเปลี่ยนแปลงขนาดโมเลกุลของอาหารให้เล็กลง  อวัยวะในระบบย่อยอาหาร  ประกอบด้วย   ปาก   ในปากมีลิ้น  ฟัน  น้ำลาย ทำหน้าที่บดคลุกเคล้าอาหารผ่านหลอด อาหารลงสู่กระเพาะ  
ลำไส้เล็ก  ทำหน้าที่ย่อยอาหารโดยน้ำย่อย   จนอาหารมีขนาดเล็กลงสามารถดูดซึมไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายได้  กากอาหารที่เหลือจากการย่อยจะถูกส่งไปยัง ลำไส้ใหญ่และขับออกทางทวารหนัก”        
        4.  นักเรียนศึกษาบทเรียนสำเร็จรูป   เล่มที่  1  เรื่อง  ระบบย่อยอาหาร   ครูชี้แจงขั้นตอนการปฏิบัติ  ดังนี้  
        -   ศึกษาขั้นตอนการเรียนบทเรียนสำเร็จรูปตามคำชี้แจงการเรียนบทเรียนสำเร็จรูป
        -   ทำแบบทดสอบก่อนเรียนเป็นรายบุคคล
                -   อ่านบทเรียนสำเร็จรูปร่วมกันในกลุ่มทีละกรอบ  อ่านคำถามและช่วยกันตอบคำถาม  ห้ามเปิดดูคำตอบก่อน  ถ้าไม่เข้าใจให้ปรึกษากันในกลุ่ม   หรือศึกษาเนื้อหาอีกรอบ
        -   เมื่อศึกษาและตามคำถามครบทุกกรอบแล้วให้ทำแบบทดสอบหลังเรียนเป็นรายบุคคล
        5.  ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับการทำงานระบบย่อยอาหาร   หน้าที่และประโยชน์ ของระบบย่อยอาหาร   และการระวังรักษาระบบย่อยอาหาร  ได้ดังนี้
    อวัยวะระบบย่อยอาหาร   ประกอบด้วย ปาก    ภายในปากมี  ลิ้น   ฟัน  น้ำลาย  ช่วยในการ    
บดคลุกเคล้าอาหารจากนั้นอาหารจะผ่านลงสู่หลอดอาหารและได้รับการบีบรัดให้เคลื่อนที่ลงสู่
กระเพราะอาหาร กระเพาะอาหาร  จะทำการย่อยอาหารที่ถูกส่งมาจากปากโดยมีน้ำย่อยจากกระเพาะอาหารชื่อเพปซิน   ช่วยย่อยสารอาหารพวกโปรตีน  ให้มีขนาดเล็กลงสารอาหารที่ถูกย่อยแล้วจากกระเพาะอาหารจะผ่านลงสู่ลำไส้เล็ก
    ลำไส้เล็ก  ซึ่งมีน้ำย่อยหลายชนิดที่สามารถย่อยสารอาหารให้มีขนาดเล็กที่สุดจนสามารถซึมผ่านเข้าสู่หลอดเลือดและลำเลียงไปกับเลือดเพื่อเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย
    ลำไส้ใหญ่   เป็นอวัยวะที่ไม่เกิดกระบวนการย่อยอาหารแต่เป็นทางผ่านของอาหารที่เหลือจากกระบวนการย่อยอาหารจากลำไส้เล็ก   ซึ่งจะเคลื่อนเข้าสู่ลำไส้ใหญ่  เพื่อผ่านออกสู่ทวารหนักต่อไป   ลำไส้ใหญ่ไม่มีน้ำย่อยอาหารในการย่อยอาหาร    แต่ลำไส้ใหญ่สามารถดูดสิ่งที่ยังมีประโยชน์จาก
กากอาหาร เช่น  เกลือแร่   วิตามิน  น้ำตาลกลูโคส  น้ำ  เข้าสู่หลอดเลือดเพื่อร่างกายนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป 
    นอกจากนี้  ตับสร้างน้ำดีและส่งน้ำดีมาที่ลำไส้เล็ก  เพื่อช่วยทำให้สารอาหารประเภทไขมัน
มีขนาดเล็กลง   ตับอ่อนสร้างน้ำย่อยหลายชนิดมาช่วยย่อยสารอาหารที่กระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก   ซึ่งมีทั้งย่อยสารอาหารประเภทแป้ง   ไขมัน  และโปรตีน
    การดูแลระบบย่อยอาหาร    ควรรับประทานผักและผลไม้  ควรเคี้ยวอาหารให้ละเอียด 
อย่ารับประทานอาหารรสจัด  และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ     
        6.   จากข้อสรุปให้นักเรียนทุกคนบันทึกลงในสมุดส่วนตัว 
    ขั้นที่  4   ขยายความรู้
        1.  นักเรียนร่วมกันอภิปรายแสดงความคิดว่า “ทำอย่างไรระบบย่อยอาหารของเราจึงจะ 
ทำงานอย่างได้ผลไม่มีปัญหาในเรื่องระบบทางเดินอาหาร”   เช่นไม่เป็นโรคท้องร่วง  ไม่ท้องผูก   
ไม่อาเจียน   เป็นต้น
        2.  นักเรียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการระวังรักษาระบบย่อยอาหารแล้วปรับปรุง   
ผลงานตนเอง
    ขั้นที่  5  ประเมิน
        1.   นักเรียนร่วมกันสรุปเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร  หน้าที่ของระบบย่อยอาหารและ
การระวังรักษาระบบย่อยอาหาร
        2.   ให้นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน
กระบวนการวัดผลประเมินผล
    1.   ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
    2.   สังเกตพฤติกรรมรายบุคคล
    3.   สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
    4.   การนำเสนอผลงาน
    5.   การตรวจผลงาน
 เครื่องมือ
    1.   แบบประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติงานด้านจิตพิสัย
    2.   แบบประเมินพฤติกรรมทักษะการปฏิบัติงาน
    3.   แบบทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียน      
เกณฑ์การประเมิน
    1.  สังเกตพฤติกรรมด้านจิตพิสัย ผ่านเกณฑ์คุณภาพปานกลางร้อยละ  50
    2.สังเกตพฤติกรรมทักษะการปฏิบัติงาน  ผ่านเกณฑ์คุณภาพปานกลางร้อยละ  50
    3.การตรวจผลการทดสอบก่อนเรียน- หลังเรียน  ผ่านเกณฑ์คุณภาพปานกลางร้อยละ  50
สื่อ/แหล่งการเรียนรู้               
1.แผ่นภาพอวัยวะภายในระบบย่อยอาหาร
2.ใบความรู้  เรื่อง  ระบบย่อยอาหาร
3.ใบงานที่  1  เรื่อง หน้าที่และประโยชน์ระบบย่อยอาหาร
4.ใบงานที่  2  เรื่อง  การบำรุงรักษาระบบย่อยอาหาร
5.ใบงานที่  3  เรื่อง  การทำงานของระบบย่อยอาหาร
6.หนังสือแบบเรียนกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ชั้น  ป.6  และเอกสารอ่านเพิ่มเติม
7.บทเรียนสำเร็จรูป  เล่มที่  1  เรื่อง  ระบบการย่อยอาหาร
แหล่งสื่อเพิ่มเติม
school.obec.go.th/schoolvit/chapter/unit1/foodsys.php 
school.obec.go.th/sms_toungsorn/page3.htm
zazana.com
digestionsystem.blogspot.com
school.obec.go.th 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=4678

อัพเดทล่าสุด