https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
การปฏิบัติต่อศพของผู้เสียชีวิตด้วยโรคปอดอักเสบรุนแรง (SARS). MUSLIMTHAIPOST

 

การปฏิบัติต่อศพของผู้เสียชีวิตด้วยโรคปอดอักเสบรุนแรง (SARS).


650 ผู้ชม

การปฏิบัติต่อศพของผู้เสียชีวิตด้วยโรคปอดอักเสบรุนแรง (SARS).


การปฏิบัติต่อศพของผู้เสียชีวิตด้วยโรคปอดอักเสบรุนแรง (SARS).

ถาม: เมื่อมีมุสลิมเสียชีวิตจากโรคปอดอักเสบรุนแรงหรือที่เรียกกันว่า “ซาร์ส”เราไม่ต้องอาบน้ำศพได้หรือไม่เพราะโรคนี้มีความร้ายแรงและสามารถติดต่อได้ง่ายในขณะที่มุสลิมที่ไม่ได้รับการฝึกอบรมจะต้องจัดการศพในมัสญิดและในศูนย์กลางอิสลาม ?

ตอบ: เชคอะหมัด คุตตี้ นักวิชาการผู้อาวุโสที่สถาบันอิสลามแห่งโตรอนโต แคนาดาได้กล่าวว่า :-

    “ก่อนอื่นมันเป็นเรื่องสำคัญสำหรับมุสลิมที่จะต้องป้องกันตัวเองให้พ้นจากโรคภัยร้ายแรงดังกล่าว เราจะต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทุกอย่าง การฝ่าฝืนกฎเหล่านี้ซึ่งเป็นอันตรายต่อเราและต่อความเสี่ยงทางด้านสุขภาพของคนอื่นจะถือว่าเป็นบาปอันน่ารังเกียจในสายตาของอัลลอฮฺ ยิ่งไปกว่านั้น เราจะต้องวิงวอนต่ออัลลอฮฺให้ทรงคุ้มครองเราให้พ้นจากโรคดังกล่าวด้วย คำวิงวอน (หรือดุอาอ์)โดยทั่วไปมีดังนี้คือ :

อัลลอฮุมม่ะ อินนี อะอูซุบิกะ มินซัยยิอัล อัสกอมิ วะอัลอัดวาอ์ วะอัลอะฮ์วาอิ วะอัลอัคลาก (โอ้อัลลอฮฺ ฉันขอความคุ้มครองจากพระองค์ให้พ้นจากการเจ็บไข้ได้ป่วยและโรคร้ายแรงและจากความต้องการอันไร้สาระและศีลธรรมที่เสื่อมทราม)
ส่วนในเรื่องของกฎการปฏิบัติต่อศพนั้น เราจะต้องรู้ว่ากฎของอิสลามมีความยืดหยุ่นในกรณีฉุกเฉิน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระดับและขอบเขตของความฉุกเฉินและความจำเป็นของแต่ละกรณี
พูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ เราได้รับอนุญาตให้ข้ามขั้นตอนการอาบน้ำศพหรือแม้แต่การทำตะยัมมุม (การทำความสะอาดด้วยฝุ่นหรือทรายเพื่อเป็นสัญลักษณ์) ก็ต่อเมื่อการทำเช่นนั้นถือว่าเป็นการเสียและเป็นอันตรายต่อสุขภาพของคนที่ทำหน้าที่ดังกล่าว ในกรณีเช่นนั้น เราสามารถข้ามขั้นตอนการอาบน้ำศพไปได้โดยนำศพไปฝังและนมาซให้แก่ศพที่หลุมฝังศพหลังจากฝังไปแล้ว
แต่ถ้าหากว่าแน่ใจว่าบุคคลที่จัดการศพได้รับการฝึกอบรมมาอย่างดีและสามารถจัดการอาบน้ำศพได้ เราก็ไม่ได้รับอนุญาตให้ข้ามขั้นตอนการอาบน้ำศพหรือการทำตะยัมมุม เพราะในกรณีเช่นนี้ คนที่ได้รับการฝึกอบรมมาสามารถที่จะจัดการได้ และมันก็เป็นหน้าที่ของสังคมที่จะต้องให้แน่ใจว่าจะต้องมีคนที่ได้รับการฝึกอบรมให้จัดการทำหน้าที่นี้ นี่เป็นหน้าที่ของสังคม (ฟัรฎ์กิฟายะฮ) พูดอีกอย่างหนึ่งก็คือถ้าหากสังคมละทิ้งหน้าที่ สมาชิกทั้งหมดของสังคมจะมีความผิดในสายตาของอัลลอฮฺ แต่ถ้าหากสังคมใดมีบุคลากรที่ได้รับการฝึกอบรมให้ทำหน้าที่ดังกล่าวแล้ว คนอื่นๆในสังคมนั้นก็พ้นจากหน้าที่นี้ ถ้าหากว่าเจ้าหน้าที่สาธารณสุขกำหนดว่าคนที่จะอาบน้ำศพได้จะต้องเป็นคนที่ได้รับการฝึกมาเท่านั้น ใครก็ตามที่ฝ่าฝืนก็จะถูกถือว่าทำผิดเพราะการทำเช่นนั้นอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของคนในสังคม ถ้าหากผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขของเมืองกำหนดว่าการนำศพที่ติดโรคเช่นนั้นเข้ามายังมัสญิดหรือสถานที่สาธารณะที่ไม่มีเครื่องมือหรืออุปกรณ์เพียงพอ การอาบน้ำศพก็จะต้องทำที่โรงพยาบาลหรือสถานที่จัดการศพที่มีอุปกรณ์หรือเครื่องมือที่ควบคุมโรคได้
ถ้าหากว่ามีการระบุว่าการอาบน้ำศพก็ยังเป็นการเสี่ยงเกินไป ดังนั้น สิ่งที่ถัดไปก็คือการทำตะยัมมุมด้วยการใช้อุปกรณ์หรือเครื่องมือที่มีการป้องกันอย่างดีหลังจากเอาศพออกจากถุงห่อศพถ้าหากถือว่าปลอดภัย แต่ถ้าหากถือว่าไม่ปลอดภัยก็ให้ทำตะยัมมุมบนถุงห่อศพเลย อัลลอฮได้ทรงกล่าวว่า “อัลลอฮฺทรงต้องการให้สูเจ้าสะดวก พระองค์ไม่ต้องการให้สูเจ้าต้องยากลำบาก” (กุรอาน 2:185) และ “จงยำเกรงอัลลอฮฺให้มากที่สุดเท่าที่สูเจ้าสามารถ” (กุรอาน 64:16)
และท่านนบีมุฮัมมัด การปฏิบัติต่อศพของผู้เสียชีวิตด้วยโรคปอดอักเสบรุนแรง (SARS). ก็ได้กล่าวว่า : “เมื่อฉันสั่งท่านให้ทำอะไรบางอย่าง จงทำมันให้ดีที่สุดเท่าที่ท่านสามารถ”
เมื่อทำตะยัมมุมแล้ว การนมาซให้แก่ศพก็สามารถทำได้ที่สุสานก่อนการฝัง ในกรณีนี้ หีบศพสามารถวางไว้บนพื้นสุสานและให้คนเข้าแถวหลังอิมามเพื่อนมาซให้แก่ศพ อย่างไรก็แล้วแต่ การนมาซให้แก่ศพหลังจากที่ฝังไปแล้วก็เป็นที่อนุญาต”


แปลโดย: อ.บรรจง บินกาซัน คัดลอกจาก: ไทยมุสลิมช็อป

อัพเดทล่าสุด