https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
เรขาคณิตกับชีวิตของมด MUSLIMTHAIPOST

 

เรขาคณิตกับชีวิตของมด


835 ผู้ชม


ทำไมมดถึงไม่หลงทางในขณะที่เดินทางออกจากรัง และจะสังเกตเห็นว่ามดสามารถเดินทางกลับรังได้ถูกไม่หลงทาง  

                  เรขาคณิตกับชีวิตของมด                                                   

          จากบทความเรื่อง เรขาคณิตกับสิ่งมีชีวิตเล็กๆ ท่านผู้อ่านทราบหรือไม่ว่า สิ่งมีชีวิตขนาดกระจ้อยร่อยอย่างมดก็จำเป็นต้องใช้เรขาคณิตกับเขาด้วยเหมือนกัน โดยธรรมชาติของมด มดจะเดินทางบนเส้นทางที่กำหนดไว้โดยฟีโรโมน เส้นทางที่ว่าแตกแขนงออกเป็นหลายแยก หลายสาย  แต่มดตัวน้อยก็ยังสามารถหาทางกลับรังได้

สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ระดับช่วงชั้นที่  1 ,2, 3

เนื้อหา  

 คณะนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเชฟฟิลด์ สหราชอาณาจักร Duncan Jackson และคณะ

ได้ทำการศึกษาพฤติกรรมของมดและตั้งข้อสังเกตว่ามดสปีชีส์ Monomorium Pharaonis และแมลงที่กัดกินใบ

หลายสปีชีส์สร้างทางเดินออกจากรัง โดยแต่ละเส้นทางที่แตกแขนงออกไปนั้นจะทำมุมระหว่าง 50 – 60 องศา 
ในการเดินทางกลับรัง เมื่อมดพบทางแยก มันจะเลือกทางที่เบี่ยงน้อยที่สุด คณะของ Duncan ได้ทำการทดลองให้มดเดินทางในเส้นทางจำลอง
ที่คณะของเขาสร้างขึ้น โดยกำหนดให้แต่ละเส้นทางมีทางแยกแตกแขนงออกไปโดยทำมุมขนาดต่าง ๆ กัน แล้วสังเกตว่ามดจะหาทางกลับรังถูกหรือไม่
 ผลการทดลองพบว่า มุมที่ดีที่สุดสำหรับมดก็คือ 60 องศา เมื่อเพิ่มขนาดของมุมจาก 60 องศาไปจนถึง 120 องศา โอกาสที่มดจะกลับรังถูกยิ่งน้อยลง 
 ดังนั้นในการสร้างทางเดินของมด เส้นทางที่แตกแขนงออกไปจะทำมุมประมาณ 60 องศา เพื่อลดโอกาสที่จะเสียพลังงานโดยใช่เหตุเนื่องจากเดินหลงทาง 
เห็นหรือไม่ว่า ฟีโรโมนอย่างเดียวไม่พอที่จะช่วยให้มดไม่หลงทาง ต้องมีเรขาคณิตเป็นปัจจัยเสริมด้วย

เรขาคณิตกับชีวิตของมด 

ประเด็นคำถามเพื่อนำไปสู่การอภิปรายในชั้นเรียน

  •  มดหาทางกลับรังถูกได้อย่างไร?
  •   มดเคยหลงทางบ้างหรือไม่?
  •   ทำไมมดถึงได้เดินต่อแถวกันเป็นระเบียบ

กิจกรรมเสนอแนะ

       1.   การสอนนักเรียนในเรื่องเรขาคณิตโดยการนำวิธีการเดินทางของมดมาประยุกต์ใช้ได้

       2.    นำไปประยุกต์ใช้กับการสอนเรื่อง มุม  ในระดับชั้นประถมศึกษา

การบูรณาการกับกลุ่มสาระอื่น  

             บูรณาการร่วมกับวิชา  ภาษาไทย   วิทยาศาสตร์    การงานอาชีพและเทคโนโลยี

 ที่มา : Anna Gosline, “New angle on ants' scents of direction” in NewScientist.com news service 15 Dec 2004, url: https://www.newscientist.com/article.ns?id=dn6801
ภาพมดจาก https://www.cogsci.indiana.edu/farg/harry/bio/zoo/idx retrieved 16/12/04
ภาพการ์ตูนมดจาก https://ant.edb.miyakyo-u.ac.jp/INTRODUCTION/Gakken79E/Page_06.html retrieved 17/12/04

ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=115

อัพเดทล่าสุด