https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
บัญญัติ 9 ประการของการพัฒนาการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ MUSLIMTHAIPOST

 

บัญญัติ 9 ประการของการพัฒนาการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์


583 ผู้ชม


โจทย์ปัญหาเป็นปัญหาที่ทุกโรงเรียนต้องประสบและยากแก่การแก้ปัญหา ลองมาดูวิธีการแก้ดังนี้   

ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน  ผู้สอนต้องเน้นการพัฒนาความคิด  ความสามารถในการแก้ปัญหา  โดยการจัดสภาพการณ์ให้เอื้อต่อการเรียนรู้  ส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักคิด  อันเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญในการนำผู้เรียนไปสู่เป้าหมายที่หลักสูตรต้องการ โดยมีขั้นตอนดังนี้

1.  การวิเคราะห์ผู้เรียน  ในสภาพการจัดการเรียนการสอนโดยทั่วไป ครูคณิตศาสตร์ไม่ว่าจะสอนในระดับใดจะต้องพบปัญหาความแตกต่างทางด้านความสามารถในการเรียนของนักเรียนอยู่เสมอบางคนรู้เร็ว  บางคนรู้ได้ช้า ครูผู้สอนต้องเริ่มต้นด้วยการวิเคราะห์ผู้เรียนก่อน

2.  การเลือก-สร้างโจทย์ปัญหา  ในการเลือกโจทย์ปัญหาเพื่อนำไปจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ควรเลือกโจทย์ปัญหาที่มีเนื้อเรื่องที่นักเรียนสนใจสอดคล้องกับเรื่องที่กำลังเรียนและเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน สถานการณ์ในโจทย์ควรเป็นเรื่องที่สามารถใช้สื่อที่เป็นของจริงหรือของจำลองประกอบการสอนได้

3.  การวิเคราะห์โจทย์    การวิเคระห์โจทย์นับเป็นขั้นตอนที่สำคัญในการเรียนการสอนโจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์  เพราะหากผู้เรียนสามารถแยกแยะได้ว่า  โจทย์กำหนดอะไรให้  โจทย์ต้องการทราบอะไร  สิ่งที่โจทย์กำหนดให้นั้นมีความสัมพันธ์กันอย่างไร

4.  การเขียนประโยคสัญลักษณ์  ประโยคสัญลักษณ์หมายถึง  ประโยคที่ใช้สัญลักษณ์อันประกอบด้วยตัวเลข  เครื่องหมายแทนจำนวนและข้อความ ก่อนที่นักเรียนจะสามารถเขียนประโยคสัญลักษณ์ได้ควรจะได้ทราบความหมายบัญญัติ 9 ประการของการพัฒนาการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์และสัญลักษณ์ของคำต่างๆ เช่น  บวก ลบ คูณ  หาร เท่ากับ  ไม่เท่ากับ มากกว่า  น้อยกว่า  แล้วจึงเริ่มฝึกฝน

5.  การประมาณคำตอบ  การประมาณคำตอบคือกระบวนการหาค่าโดยประมาณ เพื่อนำไปสู่การตัดสินใจ  หรือพิจารณาความเป็นไปได้ของผลลัพธ์การประมาณคำตอบจึงเป็นทักษะอย่างหนึ่งที่ครูควรฝึกให้นักเรียนฝึกปฏิบัติจนเกิดเป็นนิสัยก่อนลงมือแก้ปัญหาทุกครั้ง

6.  การเสริมสร้างทักษะการคำนวณ   ทักษะการคิดคำนวณ คือ  การที่นักเรียนสามารถบวก ลบ  คูณหาร  ได้ถูกต้องแม่นยำและรวดเร็ว  ในการเรียนการสอนคณิตศาสตร์  การฝึกทักษะการคำนวณเป็นส่วนสำคัญที่ควรฝึกให้เกิดขึ้นกับนักเรียนโดยจัดกิจกรรมหลาย ๆ อย่างที่จะส่งเสริมให้นักเรียนคิดและลงมือปฏิบัติ

7.  ฝึกการแก้ปัญหาหลายๆวิธี  โจทย์ปัญหาเดียวอาจมีวิธีการคิดหาคำตอบได้หลายวิธี  ครูไม่ควรจำกัดขอบเขตของการคิด  ว่าจะต้องทำตามวิธีการและขั้นตอนที่ครูสอนเท่านั้น  นักเรียนจะไม่สามารถแก้ปัญหาที่มีข้อความแตกต่างจากที่เคยพบในห้องเรียนได้ ในทางกลับกันควรส่งเสริมนักเรียนที่มีแนวคิดแตกต่างออกไปจากที่ครูสอน แต่สามารถหาคำตอบได้ถูกต้องตรงกันกับวิธีที่ครู

8. การพัฒนาความสามารถทางภาษา  เนื่องจากโจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ประกอบด้วยข้อความและตัวเลข  สาเหตุหนึ่งที่นักเรียนไม่สามารถทำโจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ได้นั้น  เนื่องจากขาดความเข้าใจในเรื่องภาษา  ขาดทักษะในการอ่าน การเก็บใจความ  และความหมายของคำต่างๆ 

9.  การใช้สื่อประกอบการเรียนการสอน  สื่อการสอนเป็นสิ่งจำเป็นที่ครูควรใช้ประกอบการสอนการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์  เพราะจะช่วยให้นักเรียนเข้าใจในสิ่งที่เป็นนามธรรมในโจทย์มากขึ้น  ช่วยในการจินตนาการและการคิดค้นหาคำตอบ  สื่อการสอนอาจเป็นของจริง หรือรูปภาพ  ก็ได้

บัญญัติ  9  ประการนี้อาจจะไม่ใช่สูตรสำเร็จตายตัวก็ได้  ขึ้นอยู่กับครูผู้สอนที่จะต้องวิเคราะห์สภาพการณ์จัดการเรียนการสอน นะค่ะ
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=665

อัพเดทล่าสุด