https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
คณิดศาสตร์ในชีวิตประจำวันกับการพยากรณ์อากาศ MUSLIMTHAIPOST

 

คณิดศาสตร์ในชีวิตประจำวันกับการพยากรณ์อากาศ


716 ผู้ชม


วันที่ 26 เมษายน 2553   

พยากรณ์อากาศ วันนี้ วันที่ 26 เมษายน 2553

 กรุงเทพและปริมณฑล ต่ำสุด: 27 สูงสุด: 35 คณิดศาสตร์ในชีวิตประจำวันกับการพยากรณ์อากาศ
 
  ภาคเหนือ จ.เชียงใหม่ ต่ำสุด: 24 สูงสุด: 38 
 
  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.เลย ต่ำสุด: 24 สูงสุด: 36 
 
  ภาคตะวันออก จ.ชลบุรี ต่ำสุด: 27 สูงสุด: 37 
 
  ภาคใต้ฝั่งตะวันออก จ.สงขลา ต่ำสุด: 26 สูงสุด: 34 
 
  ภาคใต้ฝั่งตะวันตก จ.ภูเก็ต ต่ำสุด: 24 สูงสุด: 36

ข้อมูลจาก : กรมอุตุนิยมวิทยา www.tmd.go.th

สาระความรู้คณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง
พิสัย  =   ค่าสูงสุด  -  ค่าต่ำสุด
ค่ากึ่งกลางพิสัย (Mid - range) ค่ากึ่งกลางพิสัย เท่ากับ ผลบวกของข้อมูลที่มีค่าสูงสุดและค่าต่ำสุดหารด้วยสอง 
พิสัย (Range : R) พิสัย หมายถึง การหาการกระจายของข้อมูลโดยนำข้อมูลที่มีค่าสูงที่สุด ลบกับข้อมูลที่มีค่าต่ำที่สุด 
เพื่อให้ได้ค่าที่เป็นช่วงของการกระจาย ซึ่งสามารถบอกถึงความกว้างของข้อมูลชุดนั้นๆ
สำหรับสูตรที่ใช้ในการหาพิสัย คือ พิสัย (R) = X max – X min

ตัวอย่าง  จงหาพิสัยจากข้อมูลชุดนี้ 25 , 19 , 32 , 29 , 19 , 21 , 22 , 31 , 19 , 20 , 15 , 22 , 23 ,20 
วิธีทำ 
สูตร พิสัย (R) = X max – X min    

                                 = 32 – 15  

                                 = 17 
ดังนั้น ข้อมูลชุดนี้มีพิสัย (R) เท่ากับ 17

ตัวอย่าง หาค่ากึ่งกลางพิสัยของข้อมูล 4 , 7, 9, 11, 15, 22, 17, 20, 16

วิธีทำ จากข้อมูล ค่าสูงสุด เท่ากับ 22 ค่าต่ำสุด เท่ากับ 4

ดังนั้น ค่ากึ่งกลางพิสัย เท่ากับ 13

คำถามในห้องเรียน 
1. ถ้าให้นักเรียนหาพิสัยของแต่ละภาค  ภาคใดสูงสุดและภาคใดต่ำสุดแล้วนำมาเปรียบเทียบกัน 
2. นักเรียนคิดว่าข้อมูลพยากรณ์อากาศของกรมอุตุนิยมวิทยา ตั้งแต่วันที่ 21-26 เมษายน 2553 จะนำเสนอข้อมูลด้วยรูปแบบใด
3. ควรเปรียนเทียบข้อมูลอุณหภูมิด้วยวิธีการใดที่คิดว่าเหมาะสมที่สุดพร้อมทั้งอธิบายเหตุผลประกอบ

กิจกรรมเสนอแนะ 
1. ศึกษาแนวโน้มของข้อมูลการพยากรณ์อากาศช่วงเดือนเมษายน

การบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น ๆ 
กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม

ที่มาของข้อมูล https://www.matichon.co.th/

ที่มาของภาพ https://t1.gstatic.com/images?q=tbn:iVSRKIOg7ON2PM:https://www.tmd.go.th/programs%255Cuploads%255Cmaps%255C2009-05-05_01_UpperWind600m.jpg

ที่มาของภาพ https://t2.gstatic.com/images?q=tbn:CGUe6ZJrcTb00M:https://www.rd1677.com/backoffice/PicUpdate/53483.jpg


 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2109

อัพเดทล่าสุด