คุรุสภาช่วยครูใหม่สุดฤทธิ์ ... กับ เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล MUSLIMTHAIPOST

 

คุรุสภาช่วยครูใหม่สุดฤทธิ์ ... กับ เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล


539 ผู้ชม


คุรุสภานัดถกรอบพิเศษจันทร์นี้ หวังช่วยอนุมัติใบอนุญาตฯ ให้ผู้ที่สอบครูผู้ช่วยสามารถบรรจุได้ทัน 1 มิ.ย.นี้   

คุรุสภาช่วยครูใหม่สุดฤทธิ์ ... กับ เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล
คุรุสภานัดถกรอบพิเศษจันทร์นี้ หวังช่วยอนุมัติใบอนุญาตฯ ให้ผู้ที่สอบครูผู้ช่วยสามารถบรรจุได้ทัน 1 มิ.ย.นี้

     จากกรณีที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) จำนวน 69 คุรุสภาช่วยครูใหม่สุดฤทธิ์ ... กับ เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลเขตพื้นที่ฯ ได้เปิดรับสมัครบุคคลเข้าสอบแข่งขันเพื่อบรรจุเข้ารับราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย ครั้ที่ 1/2553 จำนวน 1,354 อัตรา และได้ประกาศผลการสอบไปแล้ว ปรากฏว่า ผู้ที่สอบได้มีทั้งกลุ่มผู้มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู กลุ่มผู้มีใบรับรองสิทธิ และกลุ่มผู้ที่ยังไม่มีใบใดๆ เลยนั้น นายองค์กร อมรสิรินันท์ เลขาธิการคุรุสภา กล่าวว่า ในการประชุมคณะกรรมการคุรุสภาเมื่อเร็วๆ นี้ ที่ประชุมได้หารือถึงเรื่องดังกล่าวว่าจะแก้ปัญหาให้แก่ผู้ที่สอบได้ในกลุ่มที่ยังไม่มีใอนุญาตฯ อาทิ สพท.อำนาจเจริญ ผู้ที่สอบได้ลำดับที่ 1 ซึ่งจะต้องบรรจุในวันที่ 1 มิ.ย.นี้ ยังไม่มีใบใดๆ เลย เป็นต้น ซึ่งที่ประชุมได้พิจารณาแล้วมีมติให้จัดประชุมบอร์ดคุรุสภานัดพิเศษ ในวันที่ 31 พ.ค.นี้ เพื่อพิจารณาออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูให้แก่ผู้ที่สอบขึ้นบัญชีได้โดยขอให้ สพท.ทั้ง 69 เขตพื้นที่ฯ จะต้องจัดส่งบัญชีรายชื่อผู้สอบได้ทั้งหมดมายังสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา
อ่านข่าวเพิ่มเติมที่ 
 https://www.norsorpor.com/ข่าว/n2030710/คุรุสภาช่วยครูใหม่สุดฤทธิ์
คณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง  ม.6 เรื่อง สถิติ(เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล)

        การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีต่าง ๆ มีความจำเป็นที่จะต้องอาศัยเครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลที่เหมาะสมเพื่อให้ได้ข้อมูลตามจุดประสงค์ของการใช้ข้อมูลนั้น  เครื่องมือที่ใช้กันโดยทั่วไปได้แก่ แบบสอบถาม การสัมภาษณ์ การสังเกต การแจงนับ เป็นต้น   แต่ละแบบมีเทคนิคในการสร้างและการใช้ต่างกัน รวมทั้งข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันด้วย
การสัมภาษณ์คุรุสภาช่วยครูใหม่สุดฤทธิ์ ... กับ เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล
การสัมภาษณ์ กระทำโดยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลโดยตรงเพื่อค้นหาข้อเท็จจริงตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ล่วงหน้า ข้อดีของการสัมภาษณ์คือ สามารถอธิบายวัตถุประสงค์และความจำเป็นในการรวบรวมข้อมูลกับผู้ให้ข้อมูลทราบได้ นอกจากนี้ยังสามารถสอบถามจนได้ข้อมูลตรงกับจุดประสงค์กว่าวิธีอื่น  แต่มีข้อเสียที่ต้องใช้เวลาและงบประมาณมาก
ลักษณะทั่วไปของการสัมภาษณ์   การสัมภาษณ์เป็นเทคนิคที่ใช้รวบรวมข้อมูลโดยตรงเช่นเดียวกันกับแบบสอบถาม แต่แตกต่างกันที่การสัมภาษณ์เป็นการถาม-ตอบ ปากเปล่า  ดังนั้นคำถามที่สร้างขึ้นอาจใช้ในการสอบถามหรือการสัมภาษณ์ก็ได้ แต่วิธีการเลือกเก็บข้อมูล หากกล่าวตามลักษณะเฉพาะของเครื่องมือแล้ว การสัมภาษณ์จะช่วยให้เข้าใจบุคคลได้ดีมาก  โดยเฉพาะในด้านเจตคติ ความสนใจ  ความเชื่อและขบวนการคิด ความสำเร็จของการสัมภาษณ์ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับเจตคติและทักษะของ ผู้สัมภาษณ์ ซึ่งองค์ประกอบที่เอื้อให้เกิดความสำเร็จได้ได้แก่ การเตรียมการอย่างรอบคอบ การสร้างบรรยากาศที่ผ่อนคลายและการเปิดโอกาสให้ผู้ให้สัมภาษณ์แสดงตนอย่างอิสระโดยไม่ขัดขวางหรือกดดัน  ขั้นตอนของการสัมภาษณ์โดยทั่วไปจำแนกเป็น 3 ขั้นใหญ่ ๆ ด้วยกันคือ การเริ่มการสัมภาษณ์ การสัมภาษณ์และการจบการสัมภาษณ์แต่ละขั้นตอนมีสาระสำคัญดังนี้
     การเริ่มสัมภาษณ์    ในช่วงแรกของการสัมภาษณ์ถือว่าเป็นช่วง
เริ่มต้น ผู้สัมภาษณ์มีหน้าที่ชี้แจงให้ผู้ให้สัมภาษณ์ทราบถึงจุดมุ่งหมายในการสัมภาษณ์ และขณะเดียวกันก็สร้างบรรยากาศเป็นมิตร และสายสัมพันธ์อันดีเพื่อก้าวเข้าสู่ขั้นที่ 2
     การสัมภาษณ์ ในช่วงที่ 2 นี้เป็นช่วงของการถามเพื่อให้ได้ข้อมูลตามหัวข้อที่เตรียมมาเพื่อให้ได้ข้อมูลครบถ้วนตามต้องการ  ผู้สัมภาษณ์จำเป็นต้องตื่นตัวตลอดเวลา เพื่อที่จะสามารถรับรู้สิ่งที่ผู้ถูกสัมภาษณ์สื่อสารออกมาได้อย่างถูกต้อง และตอบสนองได้อย่างเหมาะสม
     การจบการสัมภาษณ์ เป็นช่วงเวลาสุดท้ายของการสัมภาษณ์ซึ่งใช้ตรวจสอบข้อมูลต่าง ๆ ที่ถามไปแล้ว ทบทวนคำตอบที่ได้เพื่อสร้างความเข้าใจให้ตรงกันและติดต่อนัดหมายสำหรับการสัมภาษณ์ต่อไปหากจำเป็น
      คุรุสภาช่วยครูใหม่สุดฤทธิ์ ... กับ เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลกระบวนการสัมภาษณ์เพื่อให้การสัมภาษณ์ดำเนินไปได้ราบรื่นเป็นไปตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้  มีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับกระบวนการสัมภาษณ์ไว้ 10 ประการด้วยกัน
      ในช่วงการเริ่มสัมภาษณ์ให้แนะนำตนเอง อธิบายสั้น ๆ ถึงจุดประสงค์ในการสัมภาษณ์ บอกเหตุผลที่เลือกสัมภาษณ์บุคคลผู้นั้น หากมีข้อมูลเกี่ยวกับผู้ให้สัมภาษณ์อยู่ก่อนจะเริ่มต้นได้ง่ายขึ้น
      ให้ผู้ให้สัมภาษณ์ทำตัวตามสบาย ขั้นตอนนี้ดูจะเป็นหลักใหญ่ของการสัมภาษณ์ การพูดคุยอย่างเป็นมิตรในบรรยากาศที่ไม่เคร่งเครียดจะช่วยให้ไม่เกร็ง แต่ขณะเดียวกันผู้สัมภาษณ์ก็ต้องผ่อนคลายและทำตัวเป็นธรรมชาติด้วย
         รักษาเวลาแม้บรรยากาศการสัมภาษณ์จะไม่เคร่งเครียด แต่ก็ต้องมีกำหนดเวลา เพราะทั้งคู่ต่างก็ต้องมีภาระอื่นที่ต้องปฏิบัติ
        ให้มีความเป็นส่วนตัวมากที่สุดระหว่างการสัมภาษณ์ หากเป็นไปได้ควรสัมภาษณ์ในห้องหรือมุมที่ไม่มีผู้อื่นมารบกวนได้  และเมื่ออยู่ในกระบวนการสัมภาษณ์ต้องไม่สนใจสิ่งอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นบุคคลหรือเสียงโทรศัพท์ ถามคำถามและสบตาผู้ให้สัมภาษณ์ขณะถาม  จะเป็นการกระตุ้นให้ทั้งผู้สัมภาษณ์และผู้ให้สัมภาษณ์ใส่ใจกับการสัมภาษณ์ที่ดำเนินอยู่
        หลีกเลี่ยงการลงความเห็นโดยใช้แบบตายตัว แม้จะมีข้อมูลบางอย่างเกี่ยวกับตัวผู้ให้สัมภาษณ์อยู่ก่อน เช่น ถิ่นกำเนิด หรือลักษณะอื่น ๆ ที่แสดงว่าผู้ให้สัมภาษณ์มาจากกลุ่มทางวัฒนธรรมหรือกลุ่มสังคมกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่จะไม่ใช้ลักษณะของกลุ่มนั้นมา   ตัดสินผู้ให้สัมภาษณ์  เช่น คนจีนขยัน คนไทยขี้เกียจ เป็นต้น
        ถามคำถามไปตามคำถามที่เตรียมมาโดยเรียงไปตามลำดับก่อนหน้าที่จะสัมภาษณ์ต้องกำหนดโครงสร้างของคำถามไว้ อาจกำหนดไว้รัดกุมหรือเป็นลักษณะ   แนวทางคำถามก็ได้  แต่ต้องมีการเรียงลำดับเหตุการณ์ ความคิด หรือหลักการอย่างใดอย่างหนึ่งที่มีความต่อเนื่อง  ทั้งนี้จะทำให้สัมภาษณ์ได้ง่ายขึ้นและไม่หลงประเด็น  นอกจากนี้ยังเป็นคุรุสภาช่วยครูใหม่สุดฤทธิ์ ... กับ เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลโอกาสให้  ผู้ให้สัมภาษณ์ได้คิด และทบทวนคำตอบ
        อย่าตอบคำถามเอง บางครั้งผู้ให้สัมภาษณ์ทำท่าเหมือนจะตอบคำถามไปในทิศทางอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่ไม่ได้ตอบออกมาให้ชัดเจน อย่าทึกทักว่านั่นคือคำตอบ ต้องถามคำถามซ้ำหรือให้เขาตอบใหม่  มิฉะนั้นจะเป็นการนำเอาคำตอบของเราไปใส่ให้กับผู้ให้สัมภาษณ์
        พูดช้า ๆ ให้ได้เข้าใจชัดเจน  ด้วยน้ำเสียงที่นุ่มนวลและดังพอควร
        ซักถามเมื่อต้องการข้อมูลเพิ่มเติม แต่ต้องระวังการตั้งคำถามในการซักว่าต้องไม่ชี้นำหรือกดดัน  ตัวอย่างการซักถาม เช่น มีอะไรเพิ่มเติมกว่านี้อีกไหม คุณเข้าใจว่าอย่างไรหรือจะบอกรายละเอียดให้ฟังหน่อยได้ไหม เป็นต้น
        บันทึกคำตอบไปด้วยขณะสัมภาษณ์ อย่าพยายามเรียบเรียงใหม่จากความจำหลังการสัมภาษณ์แล้ว เพราะจะทำให้มีการเติมหรือตัดข้อเท็จจริงออกโดยไม่ตั้งใจ ก่อนจบการสัมภาษณ์เหลือบมองแนวทางคำถามคร่าว ๆ เพื่อให้แน่ใจได้ว่าถามหมดแล้ว
 
ข้อดีและข้อจำกัดในการสัมภาษณ์

        ข้อดีของการใช้การสัมภาษณ์เก็บข้อมูลคือ เหมาะกับผู้ตอบที่ด้อยความสามารถในการอ่าน - เขียน และเหมาะกับการสืบค้นหาความจริงส่วนยังไม่เข้าใจชัดเจน แต่การสัมภาษณ์ก็มีจุดอ่อนในเรื่องการสิ้นเปลืองเวลา และในบางกรณีผู้ให้สัมภาษณ์ก็หลีกเลี่ยงที่จะให้ความจริงซึ่งเป็นที่ไม่ยอมรับของสังคม

คำถาม
ในห้องเรียน
1. นักเรียนคิดว่า  ถ้าเป็นการเก็บข้อมูล โดยการสัมภาษณ์ จากการสอบครูผู้ช่วย ครั้งที่ 1/2553 จำนวน 1,354 อัตรา พบปัญหาหรืออุปสรรคใดบ้าง เพราะเหตุใด
2. ถ้าให้นักเรียนเก็บรวบรวมข้อมูล จากครูผู้ช่วยที่เข้าสอบจำนวน 1,354 อัตรา คิดว่าจะมีจำนวนคนที่ไม่มีใบประกอบวิชาชีพครู  ควรจะเลือกใช้วิธีใดในการเก็บข้อมูลในการสอบครั้งนี้

ข้อเสนอแนะ
1. การรับสมัครสอบครูผู้ช่วย ครูต้องมีคุณสมบัติครบทุกข้อ  ควรหาแนวทางในการแก้ปัญหาอย่างไรเมื่อไม่มีใบประกอบวิชาชีพครูแต่สอบบรรจุได้
บูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆ 
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา  ศาสนา และวัฒนธรรม

อัพเดทล่าสุด