https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ไม่เก็บค่าสมัครโอเน็ตพิเศษ MUSLIMTHAIPOST

 

ไม่เก็บค่าสมัครโอเน็ตพิเศษ


886 ผู้ชม


โดยการสอบโอเน็ตรอบพิเศษเป็นการสอบเฉพาะนักเรียนชั้น ป.6 และ ม.3 เนื่องจากเหตุสุดวิสัย   

ไม่เก็บค่าสมัครโอเน็ตพิเศษไม่เก็บค่าสมัครโอเน็ตพิเศษ

           รศ.ดร.สัมพันธ์ พันธุ์พฤกษ์ ผู้อำนวยการสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการบริหาร สทศ. ว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบยกเว้นค่าสมัครสอบการทดสอบทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน (โอเน็ต) ปีการศึกษา 2553 รอบพิเศษ จากที่กำหนดเด็กจะต้องจ่ายวิชาละ 100 บาท และยังยกเว้นการเก็บค่ามัดจำสอบโอเน็ตรอบพิเศษจากเดิม สทศ. มีมติให้เก็บเด็กทุกคนที่มาสมัครสอบรอบพิเศษ ต้องจ่ายค่ามัดจำคนละ 300 บาท และถ้าเด็กมาสอบจะคืนให้ ทั้งนี้การยกเว้นดังกล่าวจะให้สำหรับการสอบครั้งนี้เท่านั้น 
          โดยการสอบโอเน็ตรอบพิเศษเป็นการสอบเฉพาะนักเรียนชั้น ป.6 และ ม.3 เนื่องจากเหตุสุดวิสัย เช่น ประสบอุบัติเหตุ เจ็บป่วยกะทันหัน โดยมีนักเรียนที่จะเข้าสอบโอเน็ตรอบพิเศษจำนวน 1,399 คน แยกเป็น 
ป.6 จำนวน 736 คน และ ม.3 จำนวน 663 คน จากนี้ สทศ.จะประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบวันที่ 21 ก.พ. สอบวันที่ 1 มี.ค. และประกาศผลวันที่ 15 มี.ค.นี้ ไม่เก็บค่าสมัครโอเน็ตพิเศษ
          ส่วนการสอบโอเน็ตสำหรับนักเรียน ม.6 ที่จะสอบพร้อม
กันในวันที่ 19-20 ก.พ.นี้ ขณะนี้ สทศ.ได้ตรียมความพร้อมเรียบร้อยแล้ว และฝากนักเรียนทุกคนของให้ปฏิบัติตามระเบียบการเข้าสอบอย่างเคร่งครัด ส่วนนักเรียนที่จะต้องมาสอบในบริเวณที่ชุมนุมของม็อบนั้นขอให้เผื่อเวลาในการมาสอบด้วย และเท่าที่ได้รับรายงานจากสนามสอบในบริเวณดังกล่าวทุกอย่างเรียบร้อยดี สามารถดำเนินการจัดสอบได้ตามปกติ
 
ที่มาของข้อมูล https://www.thaipost.net/news/180211/34528

คณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง นำเสนอข้อมูลด้วยตาราง
แถว (row) หมายถึง การเรียงตามแนวนอน
สดมภ์ (colum) หมายถึง การเรียงตามแนวตั้ง
องค์ประกอบ
1. หมายเลขตาราง – ลำดับที่ของตารางที่แสดง
2. ชื่อเรื่อง – ชื่อของตารางสถิติ
3. หมายเหตุคำนำ – อธิบายเนื้อหาให้ชัดเจนขึ้น
4. หัวขั้ว – ชื่อของสิ่งที่ศึกษา
5. ตัวขั้ว – เซตของสมาชิกสิ่งที่ศึกษา
6. ต้นขั้ว - ประกอบด้วยหัวขั้วและต้นขั้ว
7. ตัวเรื่อง – ประกอบด้วยข้อมูลที่เป็นตัวเลข
8. หัวสดมภ์ –ระบุสิ่งที่ศึกษาได้กระทำ
9. หัวเรื่อง – อธิบายข้อมูลแต่ละสดมภ์
10. หมายเหตุล่าง – อธิบายบางตอนให้ชัดเจน
11. หมายเหตุแหล่งที่มา - ที่มาของข้อมูล
ตารางที่ดีควรอ่านง่าย ไม่เก็บค่าสมัครโอเน็ตพิเศษเปรียบเทียบข้อมูลได้เร็ว และเหมาะกับกระดาษที่นำเสนอ 
1. ตารางแจกแจงความถี่ (freqency table) หรือตารางแจกแจงที่มีตัวเรื่องแสดงความถี่ของข้อมูล 
2. ตารางทางเดียว (one-way table) เป็นตารางที่จำแนกรายการบนหัวเรื่อง หรือต้นขั้วเพียงด้านเดียว หรือจำแนกเพียงลักษณะเดียว ส่วนตัวเรื่องแสดงค่าข้อมูล 
3. ตารางสองทาง (two-way table) เป็นตารางที่มีการจำแนกรายการบนหัวเรื่อง และต้นขั้วทั้งสอง
4. ตารางหลายทาง (multi – way table) หมายถึง ตารางที่มีการจำแนกรายการบนหัวเรื่อง หรือต้นขั้ว ให้ย่อยออกไปจากตารางสองทาง 
ข้อสังเกตการสร้างตารางสถิติ 
1.ถ้ามีตารางที่จะมากกว่าหนึ่งตาราง ให้ใส่หมายเลขแต่ละตารางเรียงลำดับกันไปด้วย 
2.ชื่อตารางควรอยู่กึ่งกลางและเหนือตาราง 
3.ถ้าเป็นข้อมูลที่เก็บรวบรวมไม่ได้หรือไม่รับ ควรแทนด้วยเครื่องหมาย – 
4.ไม่ใช้เครื่องหมาย (”) ในกรณีที่มีตัวเลขซ้ำกัน 
5.ควรหลีกเลี่ยงการใช้คำย่อ 
สรุป : ตารางสถิติเป็นการนำเสนอข้อมูลอย่างเป็นแบบแผนที่นิยมใช้กันมากที่สุดในหนังสือพิมพ์ วารสาร และสิ่งตีพิมพ์อื่นๆ สามารถแสดงข้อมูลได้ละเอียด ชัดเจน กะทัดรัด และรัดกุม
ที่มาของข้อมูล https://202.143.141.162/web_offline/srp/031954315.htm
เนื้อหา https://www.googlemath.ob.tc/home/page1-5.html
แบบฝึกหัด https://it.thanyarat.ac.th/stat/exch2.aspx
แบบทดสอบ https://it.thanyarat.ac.th/stat/closetest1.aspx

คำถามในห้องเรียน
ไม่เก็บค่าสมัครโอเน็ตพิเศษจากข้อมูล "การสอบโอเน็ตรอบพิเศษเป็นการสอบเฉพาะนักเรียนชั้น ป.6 และ ม.3 สอบโอเน็ตรอบพิเศษจำนวน 1,399 คน แยกเป็น ป.6 จำนวน 736 คน และ ม.3 จำนวน 663 คน " นักเรียนควรนำเสนอ
ข้อมูลอย่างไรจึงเหมาะสมและเพราะเหตุใด

ข้อเสนอแนะ
สทศ.ควรประชาสัมพันธ์ให้ทั่วถึงและครอบคลุมใช้หลายช่องทาง

การบูรณาการกับกลุ่มสาระอื่นๆ
กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา

สาระที่  4  การสร้างเสริมสุขภาพ  สมรรถภาพและการป้องกันโรค
มาตรฐาน พ 4.1 เห็นคุณค่าและมีทักษะในการสร้างเสริมสุขภาพ  การดำรงสุขภาพ การป้องกันโรคและการสร้างเสริมสมรรถภาพเพื่อสุขภาพ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
สาระที่ 1  การอ่าน
มาตรฐาน  ท 1.1 ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิดเพื่อนำไปใช้ตัดสินใจ แก้ปัญหาในการดำเนินชีวิตและมีนิสัยรักการอ่าน     
ที่มาของภาพ https://t2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTHaiAceENtj8DiyVqJ-Oo7ye6K9bBMbGUdH8YlA-J6RgxdZxfGYQ
ที่มาของภาพ https://oxygen.readyplanet.com/images/1198517303/888.jpg
ที่มาของภาพ https://na-zii.exteen.com/images/PaeMFU47.jpg
ที่มาของภาพ https://t1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcRkMI-BOD1x2gRDy-yIXyxPpkBliQLny2jV0sQ5jQ9RmM1BQSCC
ที่มาของภาพ https://4.bp.blogspot.com/_v9r-wO6chMg/TKyfVhiOCtI/AAAAAAAAAEQ/XTn13MIaOqA/s1600/%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%9A-book.jpg

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3508

อัพเดทล่าสุด