https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ผู้ชายกับการแต่งงาน MUSLIMTHAIPOST

 

ผู้ชายกับการแต่งงาน


856 ผู้ชม


จากผลการสำรวจผู้ชาย 2,500 คนพบว่า ผู้ชายที่พร้อมแต่งงานจะไม่ไปเที่ยวเตร็ดเตร่ตามผับบาร์ เต้นรำ หรือตีสนุกอีกต่อไป   

         ผู้ชายกับการแต่งงาน

                      จากผลการสำรวจผู้ชาย 2,500 คนพบว่า ผู้ชายที่พร้อมแต่งงานจะไม่ไปเที่ยวเตร็ดเตร่ตามผับบาร์ เต้นรำ หรือตีสนุกอีกต่อไป แถมยังพยายามหลีกเลี่ยงไม่เที่ยวอะไรแบบนั้นอีกแล้ว ทั้งที่แต่ก่อนไปประจำไม่เคยขาด 
บางคนสารภาพว่าใช้เวลาหลายปีเสแสร้งทำเป็นสนุกกับการกินดื่ม สูบบุหรี่ และหลีสาวสวยตามผู้ชายกับการแต่งงานสถานที่เที่ยว พอมากเข้าก็เริ่มเบื่อหน่ายอะไรฉาบฉวยแบบนี้ สู้อยู่บ้านไม่ได้ ชิลล์กว่าเยอะเลย
 ผู้ชายประเภทนี้จะรู้สึกว่าชีวิตที่เมาหัวราน้ำนั้นมันช่างไร้สาระและเสียเวลาสิ้นดี แถมยังเจอแต่ผู้หญิงสวยเซ็กซี่ที่เมาเละจนหมดท่า พอชวนกันไปมีเซ็กส์หลังจากเสร็จกิจก็กระอักกระอ่วนไม่รู้จะพูดอะไร...เจอแบบนี้บ่อย ๆ ก็เบื่อนะ...ผู้ชายเขาว่ามาอย่างนั้น

          เพราะไม่มีอะไรที่สามารถเร่งกระบวนการขอแต่งงานของผู้ชายได้ ไม่ใช่ว่าเขาจะไม่ขอ มีผู้ชาย

        https://www.google.co.th/images              ตกหลุมรักและแต่งงานทุกวัน เพียงแต่ผู้ชายมีนาฬิกาในตัวบอกว่าถึงเวลาเมื่อไรก็เมื่อนั้นละ (ซึ่งไม่ใช่ตอนนี้) 
ในระหว่างนั้นจึงเป็นไปไม่ได้ที่จะชักจูงให้ผู้ชายที่กลัวการผูกมัดคิดว่าเราคือสิ่งที่ดีที่สุดที่เคยเกิดขึ้นในชีวิตของเขา (ถึงแม้ว่าเราจะเป็นแบบนั้นก็เถอะ!) ทางที่ดีคือมองหาคนที่เราไม่ต้องลำบากขนาดนั้นดีกว่า ซึ่งต้องอาศัยสัญญาณต่อไปนี้เพื่อแยกแยะผู้ชายที่พร้อมแต่งงานกับผู้ชายที่ยังระเริงอยู่กับชีวิตโสด

                 ผู้ชายกับการแต่งงานผู้ชายกับการแต่งงาน

                                    https://www.google.co.th/images

                     ผู้ชายพร้อมที่จะแต่งงานแล้วถ้าเขาจับจ้องมองเด็กเล็ก ๆ เป็นเวลานานแถมยังถามเราว่าอยากมีลูกน่ารัก ๆ แบบนี้ซักคนมั้ย ผู้ชายยังอยากหนุ่มแน่นแข็งแรงพอที่จะสอนตกปลา เตะฟุตบอล หรือทำกิจกรรมแบบผู้ชายร่วมกัน 
                        ผลการสำรวจพบว่า อายุเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลอย่างมากต่อทัศนคติในเรื่องการแต่งงานของผู้ชาย ผู้ชายที่มีการศึกษาระดับปริญญาทุกคนจะไม่คิดเรื่องแต่งงานอย่างจริงจังจนกว่าจะอายุ 26 เป็นต้นไป และจะลงหลักปักฐานในช่วงอายุ 28-33 ปี ส่วนผู้ชายที่เรียนระดับปริญญาโทขึ้นไป จะแต่งงานในช่วงอายุ 30-36 ปี นอกจากนั้นผลการสำรวจยังบอกว่า ทันทีที่ผู้ชายอายุ 37 ปี โอกาสที่เขาจะแต่งงานก็จะเริ่มลดน้อยลง
 พออายุ 43 เขาก็อาจจะดำรงตนเป็นหนุ่มโสดไปตลอดชีวิต

    ที่มา

             https://lifestyle.th.msn.com/
            https://www.google.co.th/images

     เนื้อหาสาระ  รายวิชาคณิตศาสตร์
   มาตรฐาน ค 5.1  สถิติและข้อมูล
    

   1. ความหมายของสถิติ ข้อมูลและข่าวสาร
      1.1 สถิติ (Statistics) อาจพิจารณาได้ 3 ความหมาย คือ

       •สถิติ หมายถึง ตัวเลขที่ใช้บรรยายเหตุการณ์หรือข้อเท็จจริง (facts) ของเรื่องต่างๆ ที่เราต้องการศึกษา เช่น สถิติจำนวนผู้ป่วย สถิติจำนวนคนเกิด สถิติจำนวนคนตาย เป็นต้น

       •สถิติ หมายถึง ศาสตร์หรือวิชาที่ว่าด้วยหลักการและระเบียบวิธีทางสถิติ สถิติใน ความหมาย นี้มักเรียกว่า สถิติศาสตร์ (Statistics)

       •สถิติ หมายถึง ค่าที่คำนวณขึ้นมาจากตัวอย่าง เพื่อแสดงถึงคุณลักษณะบางอย่างของข้อมูลชุดนั้น โดยทั่วไปจะนำค่าสถิติไปใช้ในการประมาณค่าพารามิเตอร์ 
                          ตัวอย่างเช่น ถ้าเราสนใจรายได้เฉลี่ยของคนในหมู่บ้าน แล้วเราสามารถนำรายได้ของทุกคนมา รวมกันแล้วหาค่าเฉลี่ยของรายได้ ค่าเฉลี่ยที่คำนวณได้นี้ถือว่าเป็นค่าพารามิเตอร์
                          แต่ถ้าเราสุ่มตัวอย่างคนในหมู่บ้านมาจำนวนหนึ่งแล้วคำนวณรายได้เฉลี่ย ค่าเฉลี่ยที่ได้นี้จะเป็นค่าสถิติ

      1.2 ข้อมูล (data)หมายถึง ข้อเท็จจริง (facts) ที่เกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ซึ่งอาจเป็นข้อเท็จจริงที่เป็นตัวเลข เช่น จำนวนผู้ป่วยที่ติดเชื้อ HIV ในหมู่บ้าน ราคาของพืชผักและผลไม้ต่างๆ ในหมู่บ้าน เป็นต้น
                   หรืออาจเป็นข้อเท็จจริงที่ไม่ใช่ตัวเลข เช่น การศึกษา หรือ อาชีพของคนในหมู่บ้าน เป็นต้น

      1.3 สารสนเทศหรือข่าวสาร (Information) หมายถึง ผลลัพธ์จากการนำเอาข้อมูลที่สังเกต และบันทึกไว้มาทำการจัดการข้อมูล ประมวลผล เชื่อมโยงความสัมพันธ์ และแปลความหมาย แล้วเลือกนำเสนอขึ้นเป็นสารสนเทศหรือข้อความรู้เพื่อใช้เป็นพื้นฐานสำหรับตัดสินใจปฏิบัติการต่างๆ

   ผู้ชายกับการแต่งงาน ผู้ชายกับการแต่งงาน          
    2. การดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลสถิติ  การดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่อนำมาจัดทำเป็นข้อมูลสถิติมีวิธีการที่ใช้โดยทั่วไปมี 5 วิธี ดังนี้

         2.1 การเก็บรวบรวมข้อมูลจากรายงาน (Reporting System) เป็นผลพลอยได้จากระบบการบริหารงาน เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลจากรายงานที่ทำไว้หรือจากเอกสารประกอบการทำงาน
                           ซึ่งการเก็บรวบรวมข้อมูลจากรายงานส่วนมากใช้เพียงครั้งเดียว จากรายงานดังกล่าว อาจมีข้อมูลเบื้องต้น บางประเภทที่สามารถนำมาประมวลเป็นยอดรวมข้อมูลสถิติได้ วิธีเก็บรวบรวมข้อมูลจากรายงาน
                          ของหน่วยบริหาร นับว่าเป็นวิธีการรวบรวมข้อมูลสถิติโดยไม่ต้องสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานมากนัก ค่าใช้จ่ายที่ใช้ส่วนใหญ่ก็เพื่อการประมวลผล พิมพ์แบบฟอร์มต่างๆ ตลอดจนการพิมพ์ รายงาน วิธีการนี้
                         ใช้กันมากทั้งในหน่วยงาน รัฐบาลและเอกชน

                            หน่วยงานของรัฐที่มีข้อมูลสถิติที่รวบรวมจากรายงาน ได้แก่ กรมศุลกากรมีระบบ การรายงานเกี่ยวกับ การส่งสินค้าออก และการนำสินค้าเข้า ใบสำคัญหรือเอกสารที่ใช้ในการแจ้งการนำเข้าและ ส่งออกนั้น 
                            จะเป็นแหล่งของข้อมูลเบื้องต้น ซึ่งสามารถจะประมวลยอดรวมข้อมูลสถิติ แสดงปริมาณการค้าระหว่างประเทศได้ กรมสรรพากร มีแบบรายงาน ยื่นเสียภาษี ที่เรียกว่า ภงด .9 
                           ซึ่งสามารถรวบรวมข้อมูลสถิติเกี่ยวกับรายได้ของประชากร และกระทรวงศึกษาธิการ มีรายงานผลการปฏิบัติงานของโรงเรียนภายในสังกัดของกรมต่างๆ ซึ่งสามารถนำมาใช้ในการประมวลผลสถิติทางการศึกษาได้ 
                           นอกจากนี้ ก็มีแบบรายงานของหน่วยราชการส่วนท้องถิ่นเกี่ยวกับรายได้ - รายจ่าย รายจ่ายเกี่ยวกับการลงทุน งบแสดงฐานะทางการเงิน และแบบรายงานผู้ได้รับอนุมัติให้ก่อสร้าง ซึ่งทำให้ได้ข้อมูลสถิติต่างๆ 
                           ที่สามารถนำมาใช้ในการคำนวณบัญชีต่างๆ ในบัญชีประชาชาติได้ สำหรับหน่วยงานเอกชนนั้น ได้แก่ ข้อมูลเกี่ยวกับการผลิต การใช้วัตถุดิบ ซึ่งรวบรวมได้จากรายงานของฝ่ายผลิต สถิติแสดงปริมาณการขายสินค้า
                           ก็รวบรวมได้จากรายงานของพนักงานขายแต่ละคน เป็นต้น

         2.2 การเก็บรวบรวมข้อมูลจากทะเบียน (Registration) เป็นข้อมูลสถิติที่รวบรวมจากระบบทะเบียน มีลักษณะคล้ายกับการรวบรวมจากรายงานตรงที่เป็นผลพลอยได้เช่นเดียวกัน
                           จะต่างกันตรงที่ แหล่งเบื้องต้นของข้อมูลเป็นเอกสารการทะเบียนซึ่งการเก็บมีลักษณะต่อเนื่อง มีการปรับแก้หรือเปลี่ยนแปลง ให้ถูกต้องทันสมัย ทำให้ได้สถิติที่ต่อเนื่องเป็นอนุกรมเวลา ข้อมูลที่เก็บโดยวิธีการทะเบียน 
                           มีข้อรายการไม่มากนัก เนื่องจากระบบทะเบียนเป็นระบบข้อมูลที่ค่อนข้างใหญ่ มีพระราชบัญญัติคุ้มครอง หรือบังคับ การที่จะเปลี่ยนระบบทะเบียนเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ต้องการ ย่อมไม่อยู่ในวิสัยที่จะทำได้ง่ายนัก
                           คุณภาพของข้อมูลสถิติที่ได้ขึ้นอยู่กับคุณภาพของการทะเบียนซึ่งข้อมูลบางอย่างอาจจะไม่ถูกต้องทันสมัย ตามความเป็นจริง  ตัวอย่างข้อมูลสถิติที่รวบรวมจากระบบทะเบียน ได้แก่ สถิติจำนวนประชากรที่กรมการปกครอง
                          ดำเนินการเก็บรวบรวมจากทะเบียนราษฎร์ ประกอบด้วย จำนวนประชากร จำแนกตามเพศเป็นรายจังหวัด อำเภอ ตำบล นอกจากทะเบียนราษฎร์แล้วก็มีทะเบียนยานพาหนะของกรมตำรวจที่จะทำให้ได้ข้อมูลสถิติ
                           จำนวน รถยนต์ จำแนกตามชนิดหรือประเภทของรถยนต์ ทะเบียนโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งทำให้ทราบจำนวนโรงงานอุตสาหกรรม จำแนกตามประเภทของโรงงาน เป็นต้น

         2.3การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีสำมะโน ( Census ) เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลสถิติของทุกๆ หน่วยของประชากรที่สนใจศึกษาภายในพื้นที่ที่กำหนด และภายในระยะเวลาที่กำหนด 
                          การเก็บรวบรวม ข้อมูลสถิติด้วยวิธีนี้ จะทำให้ได้ข้อมูลในระดับพื้นที่ย่อย เช่น หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ และทำให้ได้ ข้อมูลที่เป็นค่าจริงตามพระราชบัญญัติสถิติ พ . ศ .2508 ได้บัญญัติไว้ว่า 
                         สำนักงานสถิติแห่งชาติเป็นหน่วยงานเดียวที่สามารถจัดทำสำมะโนได้ และการเก็บรวบรวมข้อมูลสถิติด้วยวิธีการสำมะโน เป็นงานที่ต้องใช้เงิน งบประมาณ เวลาและกำลังคนเป็นจำนวนมาก สำนักงานสถิติแห่งชาติ
                         จึงไม่สามารถจัดทำสำมะโนได้ในทุกๆ ปี ส่วนใหญ่จะจัดทำสำมะโนทุกๆ 10 ปี หรือ 5 ปี สำมะโนที่สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้จัดทำ คือ สำมะโนประชากรและเคหะ ( ปีล่าสุด พ . ศ . 2543)
                         สำมะโนการเกษตร ( ปีล่าสุด พ . ศ . 2546) สำมะโน ประมงทะเล ( ปีล่า สุด พ . ศ . 2538) สำมะโนอุตสาหกรรม ( ปีล่าสุด พ . ศ . 2540) 
                         และสำมะโนธุรกิจทางการค้าและธุรกิจทางการบริการ ( ปีล่า สุด พ . ศ . 2545)

         2.4 การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีสำรวจ (Sample Survey) เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลสถิติ จากบางหน่วยของประชากรด้วยวิธีการเลือกตัวอย่าง การเก็บรวบ รวมข้อมูลสถิติด้วยวิธีนี้ 
                         จะทำให้ได้ ข้อมูลในระดับรวม เช่น จังหวัด ภาค เขตการปกครอง และรวมทั่วประเทศ และข้อมูลที่ได้จะเป็นค่าโดยประมาณ การสำรวจเป็นวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ใช้งบประมาณ เวลา และกำลังคนไม่มากนัก
                         จึงสามารถจัดทำได้เป็นประจำทุกปี หรือ ทุก 2 ปี ปัจจุบันการสำรวจเป็นวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลสถิติที่มีความสำคัญ และใช้กันอย่างแพร่หลายมากที่สุด ทั้งในวงการราชการและเอกชน ไม่ว่าจะเป็น การสำรวจ
                         เพื่อหาข้อมูลทางด้านการเกษตร อุตสาหกรรม สาธารณสุข การคมนาคม การศึกษา และ ข้อมูล ทางเศรษฐกิจและสังคมอื่นๆ รวมทั้งการหยั่งเสียงประชามติ การวิจัยตลาด ฯลฯ สำหรับสำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้จัดทำ
                         โครงการสำรวจที่สำคัญๆ หลายโครงการ เช่น การสำรวจภาวะการทำงานของประชากร ( การสำรวจแรงงาน ) การสำรวจการย้ายถิ่นของประชากร การสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของ ครัวเรือน การสำรวจการใช้พลังงาน
                         ของครัวเรือน การสำรวจการเปลี่ยนแปลงของประชากร การสำรวจวิทยุ - โทรทัศน์และหนังสือพิมพ์ การสำรวจอนามัยและสวัสดิการ การสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับเด็กและเยาวชน การสำรวจภาวะการครองชีพของข้าราชการพลเรือนสามัญ 
                          การสำรวจข้อมูลระดับหมู่บ้าน เป็นต้น

          2.5วิธีการทดลอง (Experimental Design) การเก็บรวบรวมข้อมูล โดยวิธีนี้จะต้องอาศัยวิชาสถิติในเรื่องการวางแผนการทดลองมาช่วย การวิจัยทางสังคมส่วนใหญ่จะใช้วิธีนี้ไม่ได้
                         โดยมากจะใช้กับการทดลองทางด้านเกษตร วิทยาศาสตร์ การแพทย์ เช่น ทดสอบผลของการใช้ปุ๋ยชนิดต่างๆ ต่อ การเจริญเติบโตของพืช เป็นต้น ในการทดลองจะพยายามควบคุมปัจจัยอื่นที่ไม่ต้องการทดสอบให้มากที่สุด
                         เท่าที่จะมากได้ แต่ให้ปัจจัยที่จะทดสอบนั้นเปลี่ยนแปลงได้แล้วคอยติดตามบันทึกข้อมูล ซึ่งเป็นผลของการทดลองจากหน่วยทดลองของแต่ละกลุ่มตามแผนการทดลองนั้นๆ

        อ้างอิง

         https://service.nso.go.th/nso/knowledge/estat/esta1_6.html

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3564

อัพเดทล่าสุด