https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
การแก้โจทย์ปัญหา ห.ร.ม.โดยนักเรียนใช้กระบวนการวิจัย MUSLIMTHAIPOST

 

การแก้โจทย์ปัญหา ห.ร.ม.โดยนักเรียนใช้กระบวนการวิจัย


624 ผู้ชม


เป็นการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์โดยนักเรียนใช้กระบวนการวิจัย เชื่อมโยงกับวิชาวิทยาศาสตร์   

การจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์โดยนักเรียนใช้กระบวนการวิจัย


     กระบวนการวิจัยเป็นการแสวงหาความรู้อย่างเป็นระบบ ประกอบด้วย ๔ ขั้นตอน ดังนี้
     1.  ตั้งคำถาม การตั้งคำถาม เป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดในการวิจัย ซึ่งผู้วิจัยจะต้องระบุให้ชัดเจนว่า การวิจัยครั้งนั้นๆ  
มีคำถามสำคัญหรือโจทย์ที่มุ่งแสวงหาคำตอบคืออะไร ในแวดวงการวิจัยจะมีคำที่เกี่ยวข้องกับการตั้งคำถามอยู่ 2 คำ คือ (1) โจทย์ปัญหาการวิจัย เป็นการตั้งคำถามหลักของการวิจัย 1 คำถาม มักได้มาจากการวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างสภาพปัจจุบันและสภาพความคาดหวังที่พึงประสงค์ และ (2) คำถามการวิจัย เป็นการตั้งประเด็นคำถามย่อยเพื่อนำไปสู่
การแก้ไขปัญหาการวิจัยให้สำเร็จลุล่วง สามารถกำหนดได้มากกว่า 1 คำถาม
      2. เตรียมการค้นหาคำตอบ เมื่อนักวิจัยได้การตั้งคำถามที่เป็นลักษณะของโจทย์ปัญหาการวิจัยแล้ว จึงมาถึงขั้นของการเตรียมการค้นหาคำตอบ เป็นขั้นที่นักวิจัยต้องขบคิดเกี่ยวกับปัญหาหรือข้อสงสัยในขั้นตอนที่ 1 ว่าสาเหตุ แนวทางแก้ไขที่จะเป็นไปได้ และแนวทางแก้ไขที่นักวิจัยเลือกนำมาใช้มากที่สุดเพื่อจัดการกับปัญหาการวิจัยคืออะไร รวมทั้งการคาดคะเนคำตอบที่จะได้จากการดำเนินการนั้นๆ ด้วย เมื่อมีความชัดเจนก็สามารถนำมาออกแบบหรือวางการดำเนินการวิจัยเพื่อตอบคำถามการวิจัยอย่างมีประสิทธิภาพได้ ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการกำหนดกลุ่มเป้าหมายการวิจัย การออกแบบวิธีการเก็บข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูล 
      3. ค้นหาและตรวจสอบคำตอบ การค้นหาคำตอบเป็นการนำแผนการวิจัยที่ได้ออกแบบไว้ไปปฏิบัติจริง ทั้งกิจกรรมการแก้ไขปัญหาการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อศึกษาผลที่เกิดขึ้น และการตรวจสอบสิ่งที่ได้ในแต่ละระยะว่าเป็นหนทางนำไปสู่คำตอบของการแก้ปัญหาที่แท้จริงหรือไม่ จำเป็นต้องปรับปรุงการดำเนินงานส่วนใดเพื่อให้ได้คำตอบที่เชื่อถือได้
      4. สรุปและนำเสนอผลการค้นหาคำตอบ การสรุปผลการวิจัยเป็นการสกัดสิ่งที่ได้ดำเนินการตลอดระยะเวลาการวิจัย เพื่อตอบโจทย์ปัญหาการวิจัย หรือคำถามการวิจัยที่ตั้งไว้

การแก้โจทย์ปัญหา ห.ร.ม.โดยนักเรียนใช้กระบวนการวิจัย

 https://www.kmitl.ac.th/agritech/ac/spproject/2552/jeabgift/internet.jpg

กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1  เรื่องการแก้โจทย์ปัญหา ห.ร.ม.
สาระที่ 1  จำนวนและการดำเนินการ
มาตรฐาน  ค 1.4    เข้าใจระบบจำนวนและนำสมบัติเกี่ยวกับจำนวนไปใช้
   ตัวชี้วัด  ม.  1/1  นำความรู้และสมบัติเกี่ยวกับจำนวนเต็มไปใช้

คำถามชวนคิด
      1. ในชีวิตประจำวันมีปัญหามากมายที่เราสามารถแก้ได้โดยง่ายและรวดเร็วเมื่อใช้ความรู้เรื่องตัวหารร่วมมาก  เช่น  ชาวสวนต้องการล้อมรั้วรอบที่ดินซึ่งเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง  48  เมตรและยาว  76   เมตร  โดยปักเสาแต่ละต้นให้ห่างเท่าๆกัน  เขาจะปักเสาให้ห่างกันเท่าไรได้บ้าง   
      2.  ดารามีลูกอมอยู่ 3 ชนิดได้แก่ ลูกอมมายมิ้น 12 เม็ด ลูกอม X.O. 24  เม็ด และลูกอมโกปีโก 36 เม็ด  ถ้าดาราต้องการนำลูกอมมายมิ้น  ลูกอม X.O. และลูกอมโกปีโกมากองให้ได้มากที่สุด  ไม่ให้เหลือเศษและไม่มีการคละกันของลูกอมมายมิ้น  ลูกอม X.O. และลูกอมโกปีโก  ดาราจะจัดกองได้มากที่สุดกี่กอง


กิจกรรมเสนอแนะ
       ให้นักเรียนกลุ่มๆละ 4-5 คน ในการแบ่งสิ่งของที่ครูกำหนดให้โดยแบ่งให้ได้มากที่สุด และไม่เหลือเศษ โดยครูเป็นผู้กำหนดเวลากลุ่มไหนเสร็จก่อนเป็นผู้ชนะ

บูรณาการสู่ความเป็นเลิศ
        - สาระการเรียนรู้การวิทยาศาสตร์

อ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล/ภาพประกอบ
สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
https://www.kmitl.ac.th/agritech/ac/spproject/2552/jeabgift/internet.jpg

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=4550

อัพเดทล่าสุด