no freedom MUSLIMTHAIPOST

 

no freedom


528 ผู้ชม


ไทยไม่มีเสรีภาพทางสื่อมวลชน   

ไทยติดโผประเทศไม่มีเสรีภาพทางสื่อมวลชน


           ที่มาภาพ    https://www.thairath.co.th/column/tech/socialmediathink/168948
         จากการสำรวจเสรีภาพสื่อมวลชนทั่วโลกประจำปี 2554 จาก 196 ประเทศทั่วโลก ปรากฎว่า มีประเทศที่จัดอยู่ในกลุ่มมีเสรีภาพทางสื่อมวลชน 68 ประเทศ กลุ่มกึ่งเสรีภาพ 65 ประเทศ และกลุ่มไม่มีเสรีภาพ 63 ประเทศ และยังมีการจัดอันดับประเทศที่มีเสรีภาพมากที่สุด ไปถึงน้อยที่สุดในโลกด้วย
ประเทศที่ได้รับการยอมรับว่า มีเสรีภาพทางสื่อมวลชนมากที่สุดในโลก คือ ฟินแลนด์ ถูกจัดให้อยู่อันดับที่ 1 อันดับ รองลงมาได้แก่ นอร์เวย์ และสวีเดน  ประเทศที่ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มประเทศที่ไม่มีเสรีภาพทางสื่อมวลชนที่น่าสนใจ ได้แก่ อันดับ 138 ไทย  อันดับที่ 143 มาเลเซีย, อันดับที่ 150 อิรัก และสิงคโปร์, อันดับที่ 163 อัฟกานิสถานและบรูไน, อันดับที่ 177 เวียดนาม, อันดับที่ 184 จีน ลาว และตูนีเซีย, อันดับที่ 191 พม่า, และประเทศที่ถูกจัดอันดับให้เป็นประเทศที่ขาดเสรีภาพทางสื่อมวลชนมากที่สุด ก็คือ เกาหลีเหนือ 
ที่มา    https://www.thairath.co.th/column/tech/socialmediathink/168948
ประเด็นจากข่าว
  ผลการสำรวจเสรีภาพสื่อมวลชนทั่วโลกประจำปี 2554 จาก 196 ประเทศทั่วโลกเชื่อมโยงกับการสำรวจความคิดเห็น 
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง การสำรวจความคิดเห็น
เนื้อหาสาระการเรียนรู้
สาระที่ 5 : การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
มาตรฐาน ค 5.1 : เข้าใจและใช้วิธีการทางสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล
          ตัวชี้วัด  : เข้าใจวิธีการสำรวจความคิดเห็นอย่างง่าย 
ความหมาย:
การสำรวจความคิดเห็นหรือโพล  (poll)  เป็นวิธีเก็บรวบรวมข้อมูล โดยการติดต่อโดยตรงกับผู้ให้ข้อมูลหรือผู้ตอบ  
ประวัติความเป็นมา:
     มนุษย์ชาติได้ใช้การสำรวจความคิดเห็นมาเป็นเวลานานตั้งแต่สมัยโรมและ อียิปต์  โดยพบหลักฐานมีการทำสำมะโนประชากร  ซึ่งเป็นการทำสำมะโนประชากรทั้งหมด  เพื่อจะนำข้อมูล/ข่าวสารที่ได้ไปใช้ในการเก็บภาษี  เกณฑ์ทหาร  และใช้ในวัตถุประสงค์ทางด้านการบริหารอื่นๆ  แต่การสำรวจขนาดใหญ่และอย่างเป็นระบบระเบียบ  ได้เริ่มต้นในศตวรรษที่ 18   โดยนักปฏิรูปทางสังคมชาวอังกฤษ ชื่อ John Howard ได้ทำการศึกษาสภาพความเป็นอยู่ของผู้ถูกคุมขัง ซึ่งมีผลต่อสุขภาพอนามัยของนักโทษ 
             ในขณะที่  Frederic Le Play นักเศรษฐศาสตร์ ชาวฝรั่งเศส ได้พยายามอย่างยิ่งที่จะนำผลของการสำรวจไปใช้ในการวางแผน ส่วนผู้ที่ถือได้ว่า  เป็นผู้ทำการสำรวจอย่างกว้างขวางและถือว่าเป็นที่มา ของการวิจัยในปัจจุบัน ได้แก่  นักสถิติชาวอังกฤษ  ชื่อ Charles Booth ใน  ค.ศ. 1886 โดยได้ทำการศึกษา เรื่อง “ความยากจน” และได้ทำรายงานถึง 17 เล่ม  ความก้าวหน้าของการวิจัยแบบสำรวจในศตวรรษที่ 20  นี้เป็นผลมาจากการเน้นถึงคุณค่าของความรู้และการใช้เหตุผล และผลพลอยได้จากการค้นพบวิธีการสุ่มตัวอย่างโดยอาศัยความน่าจะเป็น (Probability Sampling)   จากการวิจัยทางด้านการเกษตร   โดยศาสตราจารย์  Paul F. Lazarsfeld   แห่งมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย สหรัฐอเมริกา ได้เป็นผู้เปลี่ยนลักษณะของการวิจัยจากการพรรณนา (description) ไปเป็นการวิจัยแบบหาเหตุและผล (causal explanation) มีการทดสอบสมมุติฐาน ซึ่งเป็นแบบฉบับของการวิจัยในปัจจุบัน 
          
     ประโยชน์ของการสำรวจ
    - เพื่อค้นหาความรู้ใหม่ๆ 
    - เพื่อการอธิบาย 
    การสำรวจ จึงเป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ดี  และใช้กันอย่างกว้างขวาง  ตั้งแต่ข้อมูลเกี่ยวกับข้อเท็จจริงของบุคคล   เช่น  อายุ การศึกษา  เพศ  อาชีพ  เป็นต้น  เกี่ยวกับพฤติกรรม  เช่น  การลงคะแนนเลือกตั้ง  ด้านทัศนคติ  เช่น ทัศนคติต่อการทำงาน ทัศนคติต่อครอบครัว เป็นต้น การสำรวจจึงเป็นวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลอย่างกว้างขวางในทางสังคม 
การสำรวจความคิดเห็น มีขั้นตอนและวิธีการที่สำคัญดังนี้ 
               1. การกำหนดขอบเขตของการสำรวจ 
               2. วิธีเลือกตัวอย่าง 
               3. การสร้างแบบสำรวจความคิดเห็น 
               4. การประมวลผลและวิเคราะห์ความคิดเห็น  
ขั้นตอนของการสำรวจความคิดเห็น มีดังต่อไปนี้ 
1. การกำหนดขอบเขตของการสำรวจความคิดเห็น  
                 1.1 กำหนดด้วยพื้นที่ 
                 1.2 กำหนดด้วยลักษณะส่วนตัวของผู้ตอบ 
                 1.3 กำหนดด้วยการมีส่วนได้ส่วนเสียกับเรื่องที่จะทำการสำรวจความคิดเห็น 
2. วิธีเลือกตัวอย่าง 
               
       2.1  ตัวอย่างที่ดีต้องมีตัวอย่างครบทุกลักษณะของประชากร  โดยเฉพาะลักษณะที่มีผลทำให้ความคิดเห็นแตกต่างกัน
        วิธีการกำหนดจำนวนหรือขนาดของตัวอย่าง ตามที่ระบุในข้อ 2.1 ต้องมีจำนวนมากพอและสอดคล้องกับจำนวนประชากร ตามหลักสถิติ ซึ่งเป็นที่ยอมรับในวงวิชาการ มีดังนี้ 
                  1) จำนวนตัวอย่างที่สำนักงานสถิติแห่งชาติ ใช้ในการสำรวจความคิดเห็น โดยใช้ระดับการเสนอผลเป็นหลักในการกำหนดจำนวนหรือขนาดของตัวอย่าง
    ระดับการเสนอผล             จำนวนตัวอย่าง 
 
    -ระดับจังหวัดอย่างเดียว         1,100 - 4,800 
     -ระดับประเทศอย่างเดียว         2,000
     -ระดับประเทศและภาค         5,600 - 10,000 
     -ทั้งระดับจังหวัด ภาคและประเทศ     31,000 - 62,000,000 
 
2) หาจำนวนตัวอย่างจากการคำนวณ โดยใช้สูตร   ภาพ normol
    วิธีเลือกตัวอย่างเพื่อใช้ในการสำรวจความคิดเห็น มีหลายวิธีดังนี้ 
        การสุ่มโดยอาศัยความน่าจะเป็น (Probability Sampling) เป็นการสุ่มที่คำนึงถึงความน่าจะเป็น หรือโอกาสที่สมาชิกแต่ละหน่วยที่จะได้รับเลือก ซึ่งทุกหน่วยของประชากรมีความน่าจะเป็น หรือโอกาสที่จะได้รับเลือกคงที่ กลุ่มตัวอย่างที่เลือกแบบนี้ จะเป็นตัวแทนที่ดีของประชากรเป้าหมาย ดีกว่าตัวอย่างที่เลือกโดยไม่คำนึงถึงความน่าจะเป็น การสุ่มโดยอาศัยความน่าจะเป็นมีดังนี้ 
          2.1) การสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (Simple Random Sampling) 
                         เหมาะสมที่จะใช้กับการสำรวจความคิดเห็นจากประชากรที่มีขนาดเล็ก และมีกรอบของการสุ่มตัวอย่าง (Sampling Frame) ที่สมบูรณ์ แต่ถ้าประชากรมีขนาดใหญ่มาก จะทำให้เสียเวลาในการทำกรอบของการสุ่มตัวอย่าง และเสียเวลาในการสุ่มตัวอย่างมาก วิธีที่นิยมใช้ ได้แก่ การจับสลาก การใช้ตารางเลขสุ่ม การหมุนวงล้อ การสุ่มอย่างเป็นระบบ เป็นต้น 
             2.2) การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling)
                                          การเลือกตัวอย่างแบบนี้เหมาะสมที่จะใช้กับการสำรวจความคิดเห็น จากกลุ่มที่มีกรอบของการสุ่มตัวอย่างที่สมบูรณ์และสามารถ  แบ่งเป็นกลุ่มย่อย ๆ ได้ ตามเขตที่อยู่อาศัยของผู้ตอบหรือแบ่งตามลักษณะของผู้ตอบ แบ่งเป็น 4 แบบดังนี้ 
        แบบชั้นภูมิอย่างไม่เป็นสัดส่วน (Non – Proportional Stratified Random Sampling)  
        แบบชั้นภูมิอย่างเป็นสัดส่วน ( Proportional Stratified Random Sampling)  
        การเลือกตัวอย่างแบบหลายขั้น (Multi – Stage Sampling) ก
       การเลือกตัวอย่างแบบกำหนดโควตา (Quota Sampling) 
3.) การสร้างแบบสำรวจความคิดเห็น 
      3.1 ลักษณะของแบบสำรวจความคิดเห็นที่ดี แบบสำรวจความคิดเห็นที่ดีควรประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
            ส่วนที่ 1 คือ ส่วนที่จัดไว้เก็บรวบรวมลักษณะของผู้ตอบที่คาดว่า จะมีผลทำให้คำตอบที่แสดงความคิดเห็นเกิดความแตกต่างกันจากผู้ตอบที่มีลักษณะ อื่น เช่น เพศ อายุ วุฒิการศึกษา รายได้ สถานภาพสมรส เป็นต้น 
            ส่วนที่ 2 คือ ส่วนที่จัดไว้เก็บรวบรวมความคิดเห็นของผู้ตอบในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ต้องการสำรวจ 
            ส่วนที่ 3 คือ ส่วนที่จัดไว้รับข้อเสนอแนะต่าง ๆ ของผู้ตอบเกี่ยวกับเรื่องที่สำรวจความคิดเห็นนั้น  
            • ข้อคำถามเกี่ยวกับความคิดเห็นในเรื่องที่ต้องการสำรวจนั้นต้องไม่เป็นคำถามนำ   
            • จำนวนข้อคำถามต้องไม่มากเกินไป  
            • ข้อคำถามในแบบสำรวจแต่ละข้อต้องมีความสัมพันธ์สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการสำรวจ   
            • ผู้ตอบคำถามควรมีความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับเรื่องที่ทำการสำรวจเป็น อย่างดี มิฉะนั้น ผลการ สำรวจจะไม่สามารถนำไปใช้ สรุปผลรวมร่วมกับความคิดเห็นของผู้ตอบรายอื่น ๆ ได้ 
    3.2 การประมวลผลและวิเคราะห์ความคิดเห็นการประมวลผลและวิเคราะห์ผลการสำรวจความคิดเห็นโดยทั่ว ๆ ไปจะประกอบไปด้วย
           1) ร้อยละของผู้ตอบแบบสำรวจความคิดเห็นในแต่ละด้านที่เกี่ยวข้อง
                •  สำหรับกรณีที่ถามเกี่ยวกับความเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง จะต้อง จำแนกตามระดับความคิดเห็น ได้แก่ เห็นด้วย  ค่อนข้างเห็นด้วย เห็นด้วยปานกลาง ค่อนข้างไม่เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย หรือเห็นด้วย ไม่มีความเห็น ไม่เห็นด้วย 
                •  สำหรับกรณีที่ถามความคิดเห็นเกี่ยวกับความพึงพอใจ จะต้องจำแนกระดับตามระดับความพึงพอใจ ได้แก่ พอใจมาก พอใจค่อนข้าง  มาก พอใจปานกลาง พอใจค่อนข้างน้อย พอใจน้อย
                •  สำหรับกรณีที่ถามความคิดเห็นเกี่ยวกับความสนใจหรือความต้องการ จะต้องจำแนก ตามระดับความสนใจ หรือความต้องการ ได้แก่ สนใจมาก สนใจค่อนข้างมาก สนใจปานกลาง สนใจค่อนข้างน้อย สนใจน้อย
            2) สำหรับระดับความคิดเห็นเฉลี่ย สามารถแทนค่าระดับความคิดเห็นในแต่ละด้านของผู้ตอบแต่ละคน ดังนี้    
    เห็นด้วยอย่างยิ่ง  มีค่าเป็น    5
     เห็นด้วย มีค่าเป็น         4
     เฉย ๆ มีค่าเป็น         3
    ไม่เห็นด้วย มีค่าเป็น         2
     ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งมีค่าเป็น     1
 
ถ้าเป็นข้อความเชิงนิเสธจะตีค่ากลับกันกับข้อมูลเชิงนิมาน คือ 
             เห็นด้วยอย่างยิ่ง มีค่าเป็น     1
     เห็นด้วย มีค่าเป็น         2
     เฉย ๆ มีค่าเป็น         3
     ไม่เห็นด้วย มีค่าเป็น         4
     ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง มีค่าเป็น     5
 
    3.3 สำหรับค่าเฉลี่ยของระดับความคิดเห็นที่คำนวณได้ อาจแปลความหมายได้ดังนี้
    ค่าเฉลี่ยความคิดเห็น         ความหมาย 
     1.0 - 1.80             ไม่เห็นด้วย 
     1.81 - 2.60             ค่อนข้างไม่ไม่เห็นด้วย 
     2.61 - 3.40             เห็นด้วยปานกลาง 
     3.41 - 4.20             ค่อนข้างเห็นด้วย 
     4.21 - 5.00             เห็นด้วย 
 
สิ่งที่ควรทราบ
             1. สำหรับค่าเฉลี่ยของระดับความคิดเห็นในทุก ๆ ด้าน ของผู้ตอบแบบสำรวจความคิดเห็นแต่ละคน ถ้านำมาหาระดับความสัมพันธ์กับลักษณะต่าง ๆ ของผู้ตอบ เช่น เพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ สถานภาพสมรส เป็นต้น แล้วจะทำให้เราทราบว่าลักษณะใดของผู้ตอบที่มีผลทำให้ระดับความคิดเห็นแตก ต่างกัน และลักษณะใดที่ส่งผลกระทบต่อระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่ทำการสำรวจ มากน้อยกว่ากัน  
             2. ผู้สำรวจความคิดเห็นมักจะนำผลสำรวจไปใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ดังนี้ 
             2.1 นำไปปรับปรุงแก้ไขวิธีการปฏิบัติงานหรือวิธีดำเนินงาน ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และตรงตาม  ความต้องการของลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 
             2.2 ใช้ในการกำหนดกลยุทธ์ หรือกำหนดยุทธศาสตร์ ทิศทางขององค์กร โครงการต่าง ๆ เป็นต้น 
             2.3 ใช้ประกอบการตัดสินใจและวางแผนที่จะดำเนินการต่อไปหรือไม่
 
ประเด็นคำถามเกี่ยวกับเนื้อหา
    1.ในการกำหนดขอบเขตของการสำรวจความคิดเห็น เรื่อง เสรีภาพสื่อมวลชนทั่วโลกประจำปี 2554 ใช้เกณฑ์เกี่ยวกับอะไร
    2.จากผลการสำรวจครั้งนี้ วิเคราะห์ผลการสำรวจจัดกลุ่มเสรีภาพเป็นกี่กลุ่มอะไรบ้าง
    3.สาเหตที่ทำให้ลำดับของสื่อเสรีภาพของไทยลดลง 
กิจกรรมเสนอแนะ
    จัดกิจกรรมให้นักเรียนได้ลงมือสำรวจความคิดเห็นอย่างง่ายที่เป็นระบบ
การบูรณาการ
    - สื่อ เสรีภาพ  กลุ่มสาระสังคมศึกษา
    - ภาษา         กลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ
  
อ้างอิงแหล่งที่มา
    https://www.googlemath.ob.tc/home/page2-3.html
    https://www.thairath.co.th/column/tech/socialmediathink/168948

ภาพกิจกรรมนักวิจัยรุ่นเยาว์  ร่วมเป็นอาสาสมัครนักวิจัยกับมหาวิทยาลัยมหิดล 

                                เราชาวพรตพิทพยัต  สพม เขต  2    มกราคม 2554



  
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3802

อัพเดทล่าสุด