https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ราคาทองรูปพรรณ วันที่ 13 สิงหาคม 2554 MUSLIMTHAIPOST

 

ราคาทองรูปพรรณ วันที่ 13 สิงหาคม 2554


995 ผู้ชม


รับซื้อบาทละ 24,392.44 บาท ขายออกบาทละ 25,250.00 บาท   

ราคาทองคำแท่ง / ราคาทองรูปพรรณราคาทองรูปพรรณ วันที่ 13 สิงหาคม 2554

ราคาทองคำแท่ง 
รับซื้อ       บาทละ 24,750.00 บาท 
ขายออก   บาทละ 24,850.00 บาท

ราคาทองรูปพรรณ
รับซื้อ       บาทละ 24,392.44 บาท 
ขายออก   บาทละ 25,250.00 บาท
ที่มาของข้อมูล https://www.norsorpor.com/ข่าว/n2558153/ราคาทองคำประจำวันที่%2013%20สิงหาคม%202554
คณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง
ความรู้พื้นฐานการนำเสนอข้อมูล
           

          โดยปกติการเก็บรวบรวมข้อมูล มักจะได้ข้อมูลตามรูปแบบของการเก็บข้อมูลนั้นๆ ทำให้ข้อมูลที่ได้อาจไม่เป็นระเบียบ การนำข้อมูลเหล่านั้นมาใช้อาจทำได้ยาก วิธีการแก้ไขปัญหานี้คือการนำข้อมูลนั้นๆ มาจัดให้เป็นระเบียบ เพื่อให้มองเห็นลักษณะสำคัญของข้อมูลชัดเจนขึ้น เห็นความสัมพันธ์กันในกลุ่มข้อมูลตามความต้องการของผู้ใช้ข้อมูล สามารถอ่านข้อมูลได้ง่าย และสามารถทำความเข้าใจได้รวดเร็วและน่าสนใจมากยิ่งขึ้น เราเรียกกระบวนการดังกล่าวนี้ว่า การนำเสนอข้อมูล (Data Presentation)

          การนำเสนอข้อมูล เป็นการนำเอาข้อเท็จจริง ข้อมูล รายละเอียดต่างๆ ที่เก็บรวบรวมข้อมูลมาจัดให้เป็น ระเบียบ เพื่อมุ่งที่ให้ผู้ใช้ข้อมูลมองเห็นลักษณะสำคัญ ของข้อมูลเหล่านั้น และสามารถอ่านรายละเอียด หรือเปรียบเทียบข้อเท็จจริง ข้อมูล รายละเอียดเหล่านั้นได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และตรงตามความต้องการ ของผู้ใช้ข้อมูล อาจกล่าวได้ว่า วัตถุประสงค์สำคัญของการนำเสนอข้อมูลก็เพื่อจะนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้ มาเสนอหรือเผยแพร่ให้ผู้สนใจข้อมูลนั้นๆ ทราบ หรือ สามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ได้
           ราคาทองรูปพรรณ วันที่ 13 สิงหาคม 2554 การนำเสนอข้อมูลเป็นขั้นตอนในการเตรียมข้อมูลให้พร้อมสำหรับ การวิเคราะห์และการแปลความหมาย สรุปผลข้อมูล เพื่อนำสารสนเทศนั้นไปใช้ใน การตัดสินใจสำหรับการทำงานต่อไป รวมถึงการเลือกวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลจากรูปแบบและลักษณะสำคัญของข้อมูลนั้นๆ ได้ถูกต้องอีกด้วย โดยทั่วไปการนำเสนอข้อมูลอาจทำได้ใน 2 ลักษณะใหญ่ๆ คือ
1. การนำเสนอข้อมูลอย่างไม่เป็นแบบแผน (informal presentation) หมายถึง การนำเสนอข้อมูลที่ไม่มีกฎเกณฑ์ หรือแบบแผนที่แน่นอนตายตัว เป็นการอธิบายลักษณะของข้อมูลตามเนื้อหาข้อมูล ที่นิยมใช้มีสองวิธีคือ การนำเสนอข้อมูลในรูปบทความหรือข้อความเรียง และการนำเสนอข้อมูล ในรูปบทความกึ่งตาราง
2. การนำเสนอข้อมูลอย่างเป็นแบบแผน (formal presentation) หมายถึง การนำเสนอข้อมูลที่มีกฎเกณฑ์ซึ่งจะต้องปฏิบัติตามมาตรฐานที่กำหนดไว้เป็นแบบอย่าง การนำเสนอข้อมูลประเภทนี้ที่นิยมคือ การนำเสนอข้อมูลในรูปตาราง การนำเสนอข้อมูลในรูปกราฟหรือแผนภูมิ

การนำเสนอข้อมูลด้วยตาราง
         เป็นการจัดรูปในการนำเสนอข้อมูลในลักษณะแถว (row) และสดมภ์ (column) แถว หมายถึง การเรียงตามแนวนอน สดมภ์ หมายถึง การเรียงตามแนวตั้ง เพื่อจัดข้อมูลให้เป็นระเบียบหรือการจัดข้อมูลให้อยู่ในรูปที่อ่านความหมาย ได้ทั้งแถวตั้งและแถวนอน สัมพันธ์กัน ลักษณะของตารางไม่ตายตัว ขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายของผู้จัดทำ ถ้าต้องการที่จะให้ตารางเป็นที่เก็บข้อความทางสถิติอย่างละเอียด ตารางนั้นจะต้องมีขนาดและขอบเขตกว้างขว้างมากพอโดยทั่วไปการนำเสนอข้อมูลในรูปตาราง  จะจำแนกตามลักษณะต่างๆ ที่แบ่งตามหัวเรื่อง โดยแบ่งเป็น 3 ชนิด คือ
     2.1.1 ตารางแบบทางเดียว (one-way table) หมายถึง ตารางที่มีการจำแนกเพียงลักษณะเดียวเท่านั้น เช่น จำนวนของลูกจ้างภาคเอกชนและภาครัฐบาลที่ได้รับผลประโยชน์เพิ่มเติม ไตรมาส 3 พ.ศ. 2551
     2.1.2 ตารางแบบสองทาง (two-way table) หมายถึง ตารางที่มีการจำแนกลักษณะสองลักษณะ เช่น จำนวนผู้ย้ายถิ่นเข้ามาในกรุงเทพมหานคร จำแนกตามสถานที่อยู่ก่อนย้าย และภาคที่อยู่ในปัจจุบัน พ.ศ. 2549
     2.1.3 ตารางแบบหลายทาง (multi-way table) หมายถึง ตารางที่มีการจำแนกตั้งแต่สามลักษณะ (three-way table) ขึ้นไปนั่นเอง เช่น อัตราการมีส่วนร่วมในกำลังแรงงานของประชากร จำแนกตามเพศ ภาค และเขตการปกครอง ไตรมาสที่ 3 พ.ศ. 2551

ราคาทองรูปพรรณ วันที่ 13 สิงหาคม 2554การนำเสนอข้อมูลด้วยแผนที่
            การนำเสนอข้อมูลด้วยแผนภูมิจะช่วยให้ผู้อ่านสามารถเห็นลักษณะที่เด่นชัดของข้อมูลได้อย่างชัดเจนและรวดเร็ว แผนภูมิเป็นสิ่งที่จะช่วยดึงดูดความสนใจของบุคคลทั่วไปเพราะง่ายที่จะเข้าใจมากกว่าแบบตาราง และยังช่วยให้เห็นถึงความสัมพันธ์หรือการเปรียบเทียบซึ่งกันและกันได้ง่ายอีกด้วย แผนภูมิส่วนมากมักแสดงเฉพาะผลของข้อมูลที่มีจำนวนรายการเปรียบเทียบน้อย แต่ถ้าหากผลของข้อมูลที่มีจำนวนรายการเปรียบเทียบมากๆ ก็ควรแสดงด้วยตาราง สำหรับค่าที่ปรากฏอยู่ในแผนภูมินั้นส่วนมากเป็นค่าโดยประมาณ ด้วยเหตุนี้เวลาที่แสดงแผนภูมิจึงมักแสดงร่วมกับตาราง
          2.2.1 แผนภูมิเส้น (line chart) คือเส้นกราฟที่เกิดจากการลากเส้นเชื่อมต่อกันระหว่างจุด (plot) ต่อจุดตามลำดับซึ่งจุดต่างๆ เหล่านั้น    ได้จากการลงจุด (plotting) ระหว่างค่า x และ y วัตถุประสงค์ของการนำเสนอด้วยแผนภูมิเส้น ก็เพื่อที่จะให้มองเห็นการกระเพื่อมขึ้นลง (fluctuation) หรือแนวโน้ม (trend) ของกราฟ หรือข้อมูลใด ๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา ซึ่งกล่าวได้ว่าเป็นข้อมูลที่เป็นไปตามอนุกรมของเวลา นิยมนำเสนอในรูปกราฟเชิงเส้น ซึ่งอาจเป็นกราฟเส้นตรงหรือกราฟเส้นโค้งก็ได้ เพื่อใช้ประโยชน์ในการศึกษาความเป็นไปของข้อมูลหรือใช้ในการพยากรณ์ข้อมูลในอนาคต
          2.2.2 แผนภูมิแท่ง (bar chart) คือกราฟที่ประกอบด้วยรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า (เรียกว่า แท่ง) จำนวนหนึ่ง โดยมีลักษณะเป็นแท่งสูงหรือยาวที่เปลี่ยนแปลงตามขนาด แต่มีความกว้างเท่ากันหมด เราอาจเรียงแท่งเหล่านี้ในทางตั้งหรือทางนอนก็ได้ โดยเว้นระยะช่องว่างตามสมควรและจะต้องเขียนโครงเรื่องจำแนกแต่ละแท่งให้ชัดเจนด้วย แผนภูมิแท่งอาจจะมีการระบายสีหรือแรเงาเพื่อให้ดูเด่น และในกรณีที่มีการเปรียบเทียบกันหลายแท่ง เช่น แผนภูมิแท่งซับซ้อนหรือเชิงประกอบ จำเป็นจะต้องระบายสีหรือแรเงา เพื่อจำแนกความแตกต่างของแผนภูมิแต่ละชุดที่นำมาเปรียบเทียบกันนั้น วัตถุประสงค์ของการนำเสนอข้อมูลในรูปแผนภูมิแท่งเพื่อแสดงความเปลี่ยนแปลงและการเปรียบเทียบข้อมูล 
          2.2.3 แผนภูมิวงกลม (pie chart) เป็นการนำเสนอข้อมูลโดยใช้พื้นที่วงกลมแบ่งออกเป็นส่วนย่อยต่างๆ กัน ตามจำนวนข้อมูล การนำเสนอแบบนี้จะต้องแปลงจำนวนข้อมูลให้เป็นอัตราร้อยละก่อน แล้วจึงแบ่งพื้นที่วงกลมตามอัตราร้อยละ ข้อมูลที่จะนำเสนอด้วยวิธีนี้จะต้องเป็นข้อมูลที่สมบูรณ์และจบอยู่เฉพาะเรื่องที่จะนำเสนอและต้องเป็นข้อมูลของทั้งหมดด้วย การสร้างแผนภูมิวงกลมเราอาจจะแบ่งจากจุดศูนย์กลางของวงกลมโดยเทียบให้ 360 องศา เป็น 100 เปอร์เซ็นต์ (%) แล้วคำนวณว่าอัตราร้อยละของข้อมูลจะได้เป็นมุมเท่าใด แล้วจึงลากเส้นแบ่งพร้อมทั้งแลเงาหรือระบายสีให้เห็นเด่นชัด 
ที่มาของข้อมูล https://thailocal.nso.go.th/nso-cms/ิbasic_knowledge.html
ที่มาของภาพ https://learners.in.th/file/araya_jojo/gold1.jpg
ที่มาของภาพ https://www.tnews.co.th/html/picture/tnews_1258340976_2692.jpg
ที่มาของภาพ https://reg.ksu.ac.th/Teacher/kanlaya/Image684.gif
ที่มาของภาพ https://t1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQLDkLAj8q0zv_xbuurlQXSknUyZMPyj8yQQb26oPM4y5-ruzWi6g
ที่มาของภาพhttps://greatfriends.biz/upload/imgs22/_____________________________________________________untitled.JPG

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=4286

อัพเดทล่าสุด