อารยธรรมลำสะแทด MUSLIMTHAIPOST

 

อารยธรรมลำสะแทด


497 ผู้ชม


ลำสะแทด เป็นลำน้ำไหลผ่านอำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา มีแหล่งอารยธรรมโบราณเกิดขึ้นคือปราสาทหินนางรำตั้งอยู่ที่บ้านนางรำ หมู่ที่ ๑ ตำบลนางรำ อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา   

 อารยธรรมลำสะแทด       

ที่มา : https://www.skn.ac.th/skl/project/korage92/k-1.jpg  

            ปราสาทหินนางรำ มีอายุราวพุทธศตวรรษ ที่ ๑๗ - ๑๘ ในสมัยพระเจ้า  ชัยวรมันที่ ๗สำหรับการสร้างปราสาทหินนางรำขึ้นนั้นก็เพื่อใช้เป็นสถานที่รักษาพยาบาลผู้ป่วย หรือเรียกว่า "อโรคยาศาลา"   

            อโรคยาศาล  หรือ  โรงพยาบาล  นั้นเอง และการสร้างอโรคยาศาลนั้น ก็จะสร้างไว้เป็นระยะๆ ประมาณ ๑๐ - ๑๕ กิโลเมตรซึ่งเป็นระยะของการเดินทาง ดังนั้นเราจึงได้เห็นสิ่งก่อสร้างเหล่านี้ในบริเวณอีสานตอนล่าง และ  อโรคยาศาลนี้ มีไว้เพื่อให้ผู้ที่เดินทางมีที่พักค้างคืน และเป็นที่ซึ่งชาวชุมชนใช้เพื่อ เป็นสถานพยาบาล โดยจะมีพรามหณ์ประจำ ที่คอยประกอบพิธีทำน้ำมนตร์ให้แก่ผู้ที่มาทำการรักษา
เนื้อหา สำหรับกลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ระดับชั้น ทุกระดับ
เนื้อเรื่อง ปราสาทหินนางรำนั้น สร้างด้วยวัสดุ 3 ประเภท คือ ศิลาแลง หินทราย และ อิฐ ประกอบไปด้วย ศาสนสถาน จำนวนหลายหลังด้วยกันคือประสาทประธาน จำนวน 3 หลัง ตั้งอยู่บนฐานเดียวกันหันหน้าไปทางทิศ ตะวันออก ด้านหน้าของปราสาทประธาน องค์ด้านเหนือ และใต้มีวิหารขนาดเล็กอยู่ด้านละหนึ่งหลัง ทั้งหมดล้อม รอบด้วยกำแพงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีประตูทางเข้า - ออก ทางทิศตะวันออกประตูเดียว นอกกำแพงล้อมรอบด้วย สระน้ำเว้นเฉพาะทางเดิน นอกกำแพงทางทิศตะวันออก มีสิ่งก่อสร้างด้วยศิลาแลงอยู่หนึ่งแห่ง สันนิษฐานว่าอาจ เป็นพลับพลาที่ประทับ
การอภิปราย
          ๑.จงอภิปราย คำว่า อโรคยาศาล และมูลเหตุของการสร้างอโรคยาศาล
          ๒.นักเรียนมีความคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับการสร้างอโรคยาศาล จงอภิปราย
กิจกรรมเสนอแนะ ควรนำนักเรียนไปศึกษาแหล่งเรียนรู้ปราสาทหินนางรำที่ตั้งอยู่อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา
การบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆ
          ใช้บูรณาการเข้ากับการสอนกลุ่มสาระภาษาไทยในการแต่งคำประพันธ์ และกลุ่มสาระศิลป ในการวาดภาพรูปปราสาท
อ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล/ภาพประกอบ

           https://www.oknation.net/blog/home/blog_data/871/11871/images/nrm8.jpg

           https://www.skn.ac.th/skl/project/korage92/k-1.jpg
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2325

อัพเดทล่าสุด