https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
มหันตภัยของไทย ภาวะโลกร้อน MUSLIMTHAIPOST

 

มหันตภัยของไทย ภาวะโลกร้อน


503 ผู้ชม


เหตุการณ์แผ่นดินยุบในหลายพื้นที่ของประเทศไทยเหมือนกับเป็นสิ่งบอกเหตุ.........โลกใกล้ถึงจุดวิกฤตจริงหรือ   

                                        มหันตภัยของไทย ภาวะโลกร้อน

                       ที่มา : https://www.khaosod.co.th/news-photo/khaosod/2010/01/p0114050153p1.jpg

เนื้อหา  สำหรับกลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ระดับชั้นม.ต้นและม.ปลาย
เนื้อเรื่อง   เหตุการณ์แผ่นดินยุบในหลายพื้นที่ของประเทศไทยและในปัจจุบันเกิดขึ้นบ่อยครั้ง
ไม่ว่าจะที่บ้านวัดกลาง จังหวัดตรัง ที่บ้านหนองราง อำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมาหรือที่ล่าสุด
การยุบตัวของถนนในจังหวัดปทุมธานี และยังจะเกิดอีกหลายพื้นที่ ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา 
ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยการเปลี่ยนแปลงของโลก ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ยืนยันว่า จากผลการศึกษาของคุณเลิศสิน รักษาสกุลวงศ์ ผอ.สำนักธรณีวิทยา
กรมทรัพยากรธรณี พบว่าหลังจากการเกิดแผ่นดินไหว มักจะมีการยุบของแผ่นดิน หรือแผ่นดินถล่มติดตามมา
ในเมืองไทยพื้นที่ซึ่งมีโอกาสเสี่ยงเกิดแผ่นดินยุบตัว หลังเกิดแผ่นดินไหว มีมากถึง 49 จังหวัด
จังหวัดที่มีโอกาสเกิดแผ่นดินยุบสูงมี 23 จังหวัด ได้แก่ กาญจนบุรี นครราชสีมา เพชรบูรณ์ สระแก้ว ขอนแก่น นครสวรรค์ แม่ฮ่องสอน สุโขทัย ฉะเชิงเทรา น่าน ระนอง สุราษฎร์ธานี ชัยนาท ปราจีนบุรี ราชบุรี อุดรธานี ชุมพร พะเยา ลำปาง อุทัยธานี เชียงใหม่ พัทลุง และ เลย จังหวัดที่มีโอกาสเกิดแต่ไม่ถึงกับเสี่ยงสูง มี 26 จังหวัด คือ กระบี่ ตาก สตูล นครศรีธรรมราช เพชรบุรี กำแพงเพชร แพร่ สระบุรี จันทบุรี นราธิวาส ยะลา สุพรรณบุรี ชลบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ระยอง หนองบัวลำภู ชัยภูมิ ปัตตานี ลพบุรี อุตรดิตถ์ เชียงราย พังงา ลำพูน ตรัง สงขลา และพิษณุโลก
ประเด็นการอภิปราย
          ๑.อะไรคือมูลเหตุแผ่นดินยุบ จงอภิปราย
          ๒.นักเรียนคิดอย่างไรกับมหันตภัย ภาวะโลกร้อน 
          ๓.นักเรียนจะรณรงค์อย่างไรเพื่อไม่ให้เกิดภาวะโลกร้อน
กิจกรรมเสนอแนะ ควรนำนักเรียนไปศึกษาจากแหล่งแผ่นดินยุบ
การบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆ
          บูรณการเข้ากับกลุ่มสาระการเรียนวิทยาศาสตร์ เรื่องดิน 
อ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล/ภาพประกอบ

          https://www.khaosod.co.th/news-photo/khaosod/2010/01/p0114050153p1.jpg
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2393

อัพเดทล่าสุด