https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
การนับศักราช และการเทียบศักราช MUSLIMTHAIPOST

 

การนับศักราช และการเทียบศักราช


1,046 ผู้ชม


การนับศักราช คือการนับปีตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเพื่อคำนวณเวลาและฤดูกาลในรอบปีมีมาตั้งแต่สมัยโบราณ   

การนับศักราชแบ่งเป็นการนับศักราชแบบไทย และการนับศักราชแบบสากล
              การนับศักราชแบบไทย มีดังนี้
                           ๑.มหาศักราช(ม.ศ.)
               มหาศักราชเกิดขึ้นในประเทศอินเดียภายหลังพุทธศักราช ๖๒๑ ปีแพร่หลายเข้ามาสู่ประเทศไทย
ผ่านทางพวกพราหมณ์เป็นผู้นำเข้ามาพร้อมกับตำราโหราศาสตร์ ในประเทศไทยใช้มหาศักราชก่อนศักราชอื่นๆ
ตั้งแต่สมัยก่อนสุโขทัยจนถึงสมัยอยุธยาตอนกลางพบหลักฐานที่ใช้มากในศิลาจารึกสมัยสุโขทัย

การนับศักราช และการเทียบศักราช

 ที่มา : data:image/jpg;base64

                           ๒.พุทธศักราช(พ.ศ.)
              พุทธศักราชเกิดขึ้นในประเทศอินเดียและแพร่หลายในประเทศที่ตนนับถือพุทธศาสนาเป็นหลัก 
การนับพุทธศักราชเริ่มตั้งแต่ปีที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานแต่มีวิธีการนับแตกต่างกันในไทยยึดหลักการ
นับ  พ.ศ.๑ เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว ๑ ปี ไทยใช้พุทธศักราชมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ในสมัยอยุธยาบางรัชกาลใช้
พุทธศักราชร่วมกับศักราชอื่นและใช้แพร่หลายในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และประกาศใช้อย่างเป็นทางการ
เมื่อปีพ.ศ.๒๔๕๕ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว 

การนับศักราช และการเทียบศักราช

ที่มา  : https://t3.gstatic.com/images?q=tbn:8WZbCnOp13EPtM

                          ๓.จุลศักราช(จ.ศ.)
               จุลศักราชเกิดขึ้นในประเทศพม่าภายหลังพุทธศักราช ๑๑๘๑ ปีแพร่หลายเข้ามาสู่ประเทศไทย 
และเริ่มใช้จุลศักราชมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยและต่อมาใช้อย่างแพร่หลายในสมัยอยุธยาตอนปลายและต่อเนื่องมาจนถึง
สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พบหลักฐานที่ใช้จุลศักราช เช่น พงศาวดารกรุงศรี อยุธยา กฎหมายตราสามดวง เป็นต้น ปัจจุบันยังใช้จุลศักราชในเอกสารบางประเภท เช่น ตำราโหราศาสตร์

การนับศักราช และการเทียบศักราช                     

ที่มา : https://t2.gstatic.com/images?q=tbn:jNIak5ikcSp-zM    

                         ๔.รัตนโกสินทร์ศก(ร.ศ.)
                รัตนโกสินทร์ศกเป็นการนับศักราชที่ใช้เฉพาะประเทศไทยในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมา
ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๓๒ โดยเริ่มนับร.ศ.๑เมื่อปีพ.ศ.๒๓๒๕ ซึ่งเป็นปีที่สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ไทยเริ่มใช้การนับแบบร.ศ.
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและต่อมาสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวเปลี่ยนไปใช้การนับพุทธศักราชจนถึงปัจจุบัน หลักฐานที่ใช้รัตนโกสินทร์ศก เช่น พระราชหัตเลขารัชกาลที่ ๕ และจดหมายพระราชกรณียกิจรายวันในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

การนับศักราช และการเทียบศักราช  

ที่มา : https://gotoknow.org/file/acqclchula/prarachahattaleka.jpg

การนับศักราชแบบสากล มีดังนี้
                   ศักราชที่ใช้กันแพร่หลายเป็นสากลในปัจจุบัน คือ คริสต์ศักราช(ค.ศ.) นอกจากนี้ยังมีฮิจเราะห์ศักราช(ฮ.ศ.)
ซึ่งมีนับถืออิสลามทั่วโลกใช้
                         .คริสต์ศักราช (ค.ศ.)
                  เริ่มนับศักราชที่ ๑ โดยนับเมื่อพระเยชูศาสนาของศาสนาคริสต์ประสูติหลังพุทธศักราช ๕๔๓ ปีเป็นศักราชที่ใช้กันแพร่หลายทั่วโลกอันเนื่องมาจากประเทศมหาอำนาจ เช่น อังกฤษ และฝรั่งเศสใช้คริสต์ศักราชเมื่อเข้าไปจับจองอาณานิคมจึงนำคริสต์ศักราชเข้าไปดินแดนนั้นด้วยหลักฐานที่ปรากฏ เช่น หนังสือสัญญาทางพระราชไมตรีประเทศอังกฤษ แล ประเทศสยาม คริสต์ศักราช ๑๘๒๖  และหนังสือสัญญาทางพระราชไมตรีประเทศอเมริกา แล ประเทศสยาม คริสต์ศักราช ๑๘๓๓ เป็นต้น
 

การนับศักราช และการเทียบศักราช                     

ที่มา : https://t0.gstatic.com/images?q=tbn:_rVEdW95haJRGM

                       ๒.ฮิจเราะห์ศักราช(ฮ.ศ.)
                เป็นการนับศักราชที่ประเทศส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม เริ่มนับฮิจเราะห์ศักราชที่ ๑ในปีที่ท่านนบีมูฮำมัดพร้อมกับสาวกอพยพจากเมืองเมกกะไปอยู่ที่เมืองเมดินะ ฮิจเราะห์ศักราช มีเคาะลีฟฮ์ โอมาร์ หรือกาหลิบ โอมาร์ เป็นผู้ก่อตั้ง ชาวมุสลิมทั่วโลกใช้ฮิจเราะห์ศักราชในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาของตน

การนับศักราช และการเทียบศักราช


ที่มา : https://t0.gstatic.com/images?q=tbn:ctxImN8_lK1w1M 

การเทียบศักราช  
                  การเปรียบเทียบการนับศักราชแบบต่างๆกับพุทธศักราช มีหลักการเทียบดังนี้
 ๑.การเทียบมหาศักราชกับพุทธศักราช  คือ 
                                 พุทธศักราช   =    ปัจจุบันม.ศ. + ๖๒๑    หรือ พ.ศ. – ๖๒๑   =  ม.ศ.
 ๒.การเทียบจุลศักราชกับพุทธศักราช   คือ  
                                 พุทธศักราช   =    ปัจจุบันจ.ศ. + ๑๑๘๑ หรือ พ.ศ. – ๑๑๘๑  =  จ.ศ.
 ๓.การเทียบรัตนโกสินทร์ศกกับพุทธศักราช  คือ
                                 พุทธศักราช   =    ปัจจุบัน ร.ศ.  +  ๒๓๒๔ หรือ  พ.ศ. – ๒๓๒๔ = ร.ศ.
 ๔.การเทียบคริสต์ศักราชกับพุทธศักราช  คือ  
                                 พุทธศักราช   =    ปัจจุบันค.ศ. + ๕๔๓  หรือ  พ.ศ. – ๕๔๓  =  ค.ศ.
 ๕.การเทียบฮิจเราะห์ศักราชกับพุทธศักราช  คือ 
                                 พุทธศักราช   =    ปัจจุบัน ฮ.ศ. + ๑๑๒๒ หรือ พ.ศ. – ๑๑๒๒  =  ฮ.ศ.

การอภิปราย
          ๑.การนับศักราชแบบไทยมีวิธีการนับอย่างไร จงอภิปราย
          ๒.อภิปราย คริสต์ศักราชเป็นศักราชสากลใช้กันแพร่หลายทั่วโลกอันเนื่องมาจากสาเหตุใด
          ๓.ให้นักเรียนนำวัน เดือน ปีเกิดของตนเองเทียบศักราชแบบต่างๆ
          ๔.ให้นักเรียนอภิปรายการนับศักราชและเทียบศักราชมีความสำคัญอย่างไร

กิจกรรมเสนอแนะ ควรให้นักเรียนค้นคว้าหลักฐานที่ปรากฏการบันทึกศักราชแบบต่างๆจากเวบไซด์เพิ่มเติม
การบูรณาการเข้ากับกลุ่มสาระอื่นๆ 

         ใช้บูรณาการเข้ากับกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์การคิดคำนวณ   โครงงานการสำรวจ
อ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล/ภาพประกอบ
          หนังสือ กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สาระประวัติศาสตร์ ระดับชั้นม.๑ของสำนักพิมพ์พว.

          data:image/jpg;base64

          https://t3.gstatic.com/images?q=tbn:8WZbCnOp13EPtM

          https://t2.gstatic.com/images?q=tbn:jNIak5ikcSp-zM    

          https://gotoknow.org/file/acqclchula/prarachahattaleka.jpg

          https://t0.gstatic.com/images?q=tbn:_rVEdW95haJRGM

          https://t0.gstatic.com/images?q=tbn:ctxImN8_lK1w1M 

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2436

อัพเดทล่าสุด