https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
พ่อขุนรามคำแหง MUSLIMTHAIPOST

 

พ่อขุนรามคำแหง


1,265 ผู้ชม


พ่อขุนรามคำแห่งมหาราชผู้ทรงประดิษฐอักษรไทย   
วันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช  

          พ่อขุนรามคำแหงมหาราช พระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์พระร่วง กรุงสุโขทัย ทรงทำนุบำรุงปกครองบ้านเมืองด้วยพระเมตตาธรรมต่อไพร่ฟ้า อาณาประชาราษฎร์ทรงสร้างสรรค์มรดกทางศิลปะและวัฒนธรรมที่สำคัญๆ ของชาติไว้อย่างอเนกอนันต์มรดกของชาติที่สำคัญที่สุดก็คือ พ่อขุนรามคำแหงมหาราชได้ทรงคิดประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นเมื่อประมาณปีพุทธศักราช 1826 อันเป็นต้นกำเนิดของอักษรไทยที่ใช้กันในทุกวันนี้
          นอกจากนี้พระองค์ท่านยังได้ทรงรวบรวมแคว้นต่างๆ เข้าด้วยกันจนเป็นราชอาณาจักรไทยที่กว้างใหญ่ไพศาลกว่าทุกยุคสมัยที่ผ่านมา พระราชกรณียกิจอันเป็นคุณประโยชน์แก่ประโยชน์แก่ประเทศชาติของพระองค์ท่านล้วนแต่เป็นการวางรากฐาน แห่งความเจริญไว้ให้แก่ประเทศชาติและปวงชนชาวไทยทุกคนสืบทอดต่อกันมาเป็นระยะเวลายาวนานมากว่า 718 ปี
          ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่าน ดังที่ได้ประจักษ์รัฐบาลและปวงชนชาวไทย จึงได้พร้อมใจกันถวายพระราชสมัญญาแด่พระองค์ท่านเป็น "มหาราช" พระองค์แรกของชาติไทย และได้ร่วมกันสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์ของพระองค์ท่านขึ้นไว้เพื่อสักการะ ณ บริเวณอุทยานประวัติศาสตร์ จังหวัดสุโขทัย โดยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีอัญเชิญดวงพระวิญญาณของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช จากศาลพระแม่ย่าไปสถิต ณ พระบรมราชานุสาวรีย์ฯ แล้วทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช เมื่อวันที่17 พฤศจิกายน พ.ศ.2528 โดยจังหวัดสุโขทัยได้จัดให้มีพิธีถวายบังคมมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2528 เป็นต้นมา นับแต่นั้นมาประมาณสามปีคือในเดือนธันวาคม พ.ศ.2531 สำนักงานสภาจังหวัดสุโขทัย ได้มีหนังสือเสนอต่อ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ขอให้มีการกำหนด "วันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช" ขึ้น โดยถือเอา วันที่ 17 พฤศจิกายน ซึ่งเป็นวันที่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินเพื่อทรงประกอบพระราชพิธีและทรงเปิดพระบรมราชานุสาวรีย์ฯ เป็น "วันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช" 
ต่อมาคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ คณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทย และจัดเอกสารทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี ได้พิจารณาทบทวนเรื่องการกำหนดวันสำคัญทางประวัติศาสตร์โดยคำนึงถึงความเหมาะสม และความถูกต้องตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ซึ่งคณะกรรมการฯ ได้เสนอความคิดเห็นว่า ควรจะเป็นเหตุผลที่ว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพบหลักศิลาจารึกของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ซึ่งตรงกับวันศุกร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2376 เมื่อได้มีการนำเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ในคราวประชุม เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ.2532 แล้ว ในที่สุดคณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติตามที่สำนักงานเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ ในการกำหนดวันสำคัญทางประวัติศาสตร์ของชาติ ซึ่งคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ และคณะกรรมการชำระประวัติศาสตร์ไทยและจัดพิมพ์เอกสารทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี ได้พิจารณาเห็นชอบด้วยแล้ว ดังนั้นวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2533 จึงเป็น "วันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช" วันสำคัญทางประวัติศาสตร์วันหนึ่งซึ่งถูกกำหนดขึ้นอย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรก


 
 
 
 
 

          วันที่ 17 มกราคมของทุกปี จึงถือเป็นวันสำคัญทางประวัติศาสตร์ คือ วันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช จังหวัดสุโขทัยได้จัดให้มี งานวันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช เป็นประจำทุกปี เพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพ่อขุนรามคำแหงมหาราชที่มึต่อประชาชนชาวไทย กิจกรรมในงานประกอบด้วย พิธีบวงสรวงพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ขบวนแห่สักการะพ่อขุนรามคำแหงมหาราชของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน รัฐวิสาหกิจ และประชาชน มีการแสดงศิลปะพื้นบ้าน และพิธีสวดสรภัญญะ ฯลฯ สถานที่จัดงานคือ บริเวณพระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหงมหาราช อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย โรงเรียนสุโขทัยวิทยาคม (เฉพาะการแสดงช้างศึก และศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว)
            มหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่ได้อัญเชิญพระนามพ่อขุนรามคำแหงมหาราช องค์มหาบูรพกษัตริย์ของประเทศไทยผู้ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจอันเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติอย่างยิ่งใหญ่ไพศาลมาแล้วในอดีต มาตั้งเป็นชื่อของมหาวิทยาลัย จัดเป็นมหาวิทยาลัยแห่งที่ 10 ที่ได้จัดให้มีการศึกษามาตั้งแต่ปีการศึกษา 2514 ในระยะแรกได้ใช้อาคารสถานที่ปัจจุบันเป็นที่ตั้งชั่วคราว
            ต่อมาได้รับอนุมัติจากรัฐบาลให้ใช้สถานที่นี้เป็นที่ตั้งถาวรได้ตลอดไปใน พ.ศ.2515 นับแต่ได้สถานที่เป็นที่ตั้งถาวรแล้ว มหาวิทยาลัยได้เร่งดำเนินการก่อสร้างอาคารและปรับปรุงสถานที่ให้ทันกับการเปิดสอนของแต่ละปีมาโดยลำดับ ถาวรวัตถุสิ่งแรกที่มหาวิทยาลัยเห็นว่าจำเป็นจะต้องก่อสร้างก่อน ก็คือที่ประดิษฐานพระบรมรูปพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ซึ่งมหาวิทยาลัยได้อัญเชิญมาเป็นเครื่องหมายและนามของมหาวิทยาลัย นับจากวันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระดำเนินมาทรงประกอบพิธีเปิดพระบรมรูปพ่อขุนรามคำแหงมหาราช และพระราชทานปริญญาบัตร แก่ผู้สำเร็จการศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2518 แล้ว มหาวิทยาลัยได้กำหนดให้วันที่ 26 พฤศจิกายน เป็นวันคล้ายวันสถาปนามหาวิทยาลัยเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่มหาวิทยาลัย โดยได้จัดให้มีพิธีบวงสรวงและกระทำพิธีสักการะพระบรมรูปพ่อขุนรามคำแหงมหาราช 
             ต่อมาในปี พ.ศ.2533 คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติให้วันที่ 17 มกราคม ของทุกปี เป็น "วันพ่อขุนรามคำแหงมหาราช" มหาวิทยาลัยจึงได้จัดให้มีพิธีบวงสรวง และกระทำพิธีสักการะพระบรมรูปพ่อขุนรามคำแหงมหาราชซึ่งประดิษฐาน ณ บริเวณลานพ่อขุนซึ่งเป็นศูนย์กลางของมหาวิทยาลัยทุกปีเสมอมา

กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

สาระที่ 4 ประวัติศาสตรื

มฐ. ส. 4.3   เล่าวีรกรรมของบรรรพบุรุษไทยที่มีส่วนปกป้องประเทศชาติ

ประเด็นกเพื่อการนำไปสู่อภิปรายในห้องเรียน

นักเรียนควรศึกษาประวัติพ่อขุนรามคำแหงให้ละเอียด

นักเรียนมีวิธีการค้นคว้าประวัติของท่านได้อย่างไร

กิจกรรมเสนอแนะ  นักเรียนควรจัดป้ายนิเทศหน้าห้องเรียน

นักเรียนควรสืบค้นข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต

การบูรณาการ  ศีลป  วาดภาพพ่อขุนราคำแหงมหาราช

ภาษาไทย  เขียนประวัติพ่อขุนรามคำแหงมหาราช

อ้างอิงแหล่งที่มา https://www.info.ru.ac.th/province/sukhotai/pday.htm

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=4205

อัพเดทล่าสุด