https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
โรคกรดไหลย้อน MUSLIMTHAIPOST

 

โรคกรดไหลย้อน


516 ผู้ชม


อาการของโรคกรดไหลย้อน   

ภาวะกรดไหลย้อน

                คุณเคยรู้สึกเจ็บแสบแถวหน้าอกมั้ย โดยเฉพาะหลังกินอาหาร หรือขณะนอน  ทั้งหมดนี้ไม่ใช่ความผิดปกติที่เกิดกับระบบหัวใจและหลอดเลือด แต่เกิดจากกรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นมาบริเวณหน้าอกและคอหอย   กว่า3 ใน 4 ของผู้ป่วยภาวะนี้จะมีอาการส่วนใหญ่ในขณะนอนตอนกลางคืน ทำให้ผู้ป่วยทรมานได้ไม่น้อยกว่าอาการปวดแน่นหน้าอกที่เกิดจากโรคหัวใจเลยทีเดียว   แต่ทั้งนี้อาการที่ปวดรุนแรงไม่ได้หมายถึงความรุนแรงของโรค หรืออันตรายที่เกิดขึ้นมากขึ้นด้วย  นอกจากอาการหลักๆดังกล่าวแล้ว อาจพบอาการบางอย่างร่วมกัน เช่น รู้สึกแน่นท้อง วิงเวียน อยากอาเจียนหลังจากกินอาหาร รู้สึกเหมือนมีอะไรค้างอยู่ในลำคอและอยากจะเอาออกมา  เจ็บคอมาก ไอแห้งๆ     

                ก่อนที่จะพูดถึงสาเหตุหรือกลไกของภาวะกรดไหลย้อนกลับ  ขออธิบายคร่าวๆถึงสรีระตั้งแต่ช่องปากลงไปถึงลำไส้  เมื่อเรารับประทานอาหารเข้าไป อาหารจะผ่านช่องปากลงไปที่หลอดอาหารซึ่งเป็นท่อตรง ลงไปยังกระเพาะอาหารซึ่งมีสภาพเป็นกรด ( กระเพาะอาหารจะทำหน้าที่ย่อยอาหารพวกโปรตีนหรือเนื้อสัตว์) ทั้งนี้ที่ปลายหลอดอาหารที่เชื่อมต่อกับกระเพาะอาหาร จะมีลักษณะเป็นหูรูด   หลังจากนั้นอาหารก็จะผ่านไปยังลำไส้เล็กซึ่งมีลักษณะเป็นท่อกลวงยาวซึ่งขดกันอยู่ในช่องท้องเพื่อย่อยอาหารอีกครั้ง แล้วอาหารที่ย่อยเสร็จจึงเดินทางไปยังลำไส้ใหญ่เพื่อดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย     สำหรับภาวะกรดไหลย้อนกลับแล้ว กรดจะไหลย้อนกลับขึ้นมาจากกระเพาะไปยังหลอดอาหาร และในบางครั้งก็ผ่านมายังช่องปาก ซึ่งสวนทางกับทิศทางของอาหารเมื่อเรารับประทาน                     

        สาเหตุของภาวะกรดไหลย้อนกลับ

1.    กล้ามเนื้อหูรูดบริเวณตอนท้ายของหลอดอาหารทำงานผิดปกติ  ทำให้กรดไหลย้อนกลับจากกระเพาะขึ้นไปที่หลอดอาหาร  

2.    กล้ามเนื้อของกระเพาะอาหารบีบตัวช้ากว่าปกติ ทำให้อาหารเคลื่อนตัวช้ากว่าปกติ ดังนั้นกรดจึงมีโอกาสที่จะไหลย้อนขึ้นมาจากกระเพาะมากกว่าปกติ

3.    หอบหืด กว่าครึ่งหนึ่งของผู้ที่เป็นหอบหืดมักมีภาวะกรดไหลย้อนกลับ  เนื่องจากอาการไอหรือจามในขณะที่เป็นหอบหืดนั้นจะทำให้ความดันบริเวณช่องอกเปลี่ยนไป กระตุ้นให้กรดไหลย้อนกลับได้ง่าย

การรักษาโดยการกินยาช่วยลดกรดในกระเพาะนั้นไม่ไช่วิธีที่ถูกต้องเพราะเมื่อกรดในกระเพาะลดลง ย่อมกระทบต่อประสิทธิภาพในการย่อยอาหาร  ยาpropulsid เป็นยาที่เคยใช้รักษาภาวะกรดไหลย้อน แต่ปัจจุบันเลิกใช้แล้วเนื่องจากเป็นอันตราย ถึงขั้นเสียชีวิต  ดังนั้นวิธีทางธรรมชาติจึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่ปลอดภัยกว่า

     ภาวะกรดไหลย้อนกับวิธีธรรมชาติ

1.    กระเทียม เนื่องจากกระเทียมมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่เป็นอันตราย เช่น  เชื้อ H. Pyloris ที่แม้แต่กรดในกระเพาะอาหารก็ไม่สามารถทำลายเชื้อชนิดนี้ได้ และกระเทียมยังช่วยปรับสมดุลของเชื้อแบคทีเรียจำเป็นต่อร่างกายที่อาศัยอยู่ในลำไส้อีกด้วย  แต่ทั้งนี้กระเทียมที่กินต้องเป็นกระเทียมที่ผ่านการบด หรือตำ หรือเคี้ยวให้ละเอียดก่อนกลืน ไม่ใช่การกลืนทั้งกลีบ เพื่อให้สารอัลลิซินในกระเทียมสามารถสัมผัสกับทางเดินอาหารโดยตรง (คุณสามารถผสมกระเทียมลงไปคั้นพร้อมกับน้ำผัก-ผลไม้อย่างอื่นก็ได้)

2.    ควรกินอาหารประเภทprobiotic (ซึ่งหมายถึงอาหารที่มีจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย และจุลินทรีย์เหล่านั้นยังมีชีวิต ได้แก่ โยเกิร์ต คีเฟอร์ เป็นต้น) เป็นประจำ

3.    ควรดื่มน้ำให้เพียงพอเพื่อช่วยลดความเข้มข้นของกรด  สังเกตได้จากสีของปัสสาวะจะเป็นสีค่อนข้างใส ไม่เป็นเป็นสีเหลืองเข้ม

4.    การวิจัยพบว่าการดื่มชาคาร์โมมายด์สามารถลดอาการของภาวะกรดไหลย้อนได้ แต่ยังไม่สามารถอธิบายกลไกที่ชัดเจนได้

5.    งดสูบบุหรี่ เพราะการสูบบุหรี่จะทำให้กล้ามเนื้อหูรูดเหนือกระเพาะคลายตัว กรดจึงโอกาสไหลย้อนกลับมากขึ้น

6.    หลีกเลี่ยงการดื่มการดื่มสุรา เนื่องจากเป็นการกระตุ้นให้กระเพาะหลั่งกรดมากขึ้น

7.    อย่ากินอาหารตอนดึก โดยเฉพาะ 3 ชั่วโมงก่อนนอน เพราะทุกครั้งที่กินอาหาร กรดจะหลั่งออกมาจากกระเพาะเพิ่มขึ้น และเมื่อนอน จะเพิ่มความเสี่ยงให้กรดไหลย้อนกลับ  นอกจากนี้หลังกินอาหารเสร็จทุกครั้งไม่ควรเข้านอนทันที

8.    การนอนโดยศีรษะสูงขึ้น  จะช่วยลดความเสี่ยงของภาวะกรดไหลย้อนได้เนื่องจากแรงดึงดูดโลกจะดึงให้กรดจากกระเพาะไม่ให้ไหลขึ้นมา

9.    ในรายที่มีน้ำหนักเกินหรือคนอ้วน จะมีโอกาสที่จะเกิดกรดไหลย้อนกลับขณะนอนมากกว่าคนปกติ ดังนั้นการลดในน้ำหนักในผู้ที่ภาวะกรดไหลย้อนจะช่วยลดอาการต่างๆได้

 สาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ทุกระดับชั้นและทุกคนที่สนใจ

ประเด็นคำถามเพื่อนำไปสู่การอภิปรายในห้องเรียน

นักเรียนควรศึกษาอาการกรดไลหย้อนเพื่ออะไร

กิจกรรมเสนอแนะ

นักเรียนควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากห้องสมุดและข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต

การบูรณาการ ภาษาไทย อ่านออกเสียง อ่านจับใจความ อ่านคำยาก

ภาษาอังกฤษ คำศัพท์   ศีลป วาดภาพ

ที่มาแหล่งข้อมูลhttps://www.goodhealth.co.th/new_page_123.htm

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=4520

อัพเดทล่าสุด