https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ธรรมชาติกำลังจะกวาดล้างมนุษย์ผู้ทำลาย MUSLIMTHAIPOST

 

ธรรมชาติกำลังจะกวาดล้างมนุษย์ผู้ทำลาย


767 ผู้ชม


ธรรมชาติกำลังจะกวาดล้างมนุษย์ผู้ทำลายในเร็ว ๆ นี้อย่างไรมาหาคำตอบกัน   

ธรรมชาติกำลังจะกวาดล้างมนุษย์ผู้ทำลาย

ธรรมชาติกำลังจะกวาดล้างมนุษย์ผู้ทำลาย

(ที่มา : www.sawananan.ac.th)

           ในระยะสองสามสัปดาห์จนถึงขณะนี้ปรากฏว่าสภาวะการคุกคามของพายุฤดูร้อนหรือพายุฝนฟ้าคะนองในประเทศไทย เกิดขึ้นบ่อยเหลือเกิน ถ้าได้ติดตามข่าวสารเรื่องนี้นอกเหนือจากการติดตามข่าวความยุ่งเหยิงเรื่องการเมืองไทย ก็คงจะพบตามหน้าหนังสือพิมพ์ คือ ประกาศเตือนภัย พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทย ฉบับที่ 2 ( 72/2552) ลงวันที่ 24 เมษายน 2552 ของกรมอุตุนิยมวิทยา โดยบริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางจากประเทศจีนยังคงปกคลุมประเทศเวียดนามตอนบน คาดว่าจะแผ่เข้ามาถึงประเทศไทยตอนบนในวันพรุ่งนี้ (25 เมษายน 2552 ) ในขณะที่บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อน ลักษณะเช่นนี้จะทำให้ประเทศไทยตอนบนมีพายุฤดูร้อนในช่วงวันที่ 25-28 เมษายน 2552  โดยจะเริ่มในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือก่อน ส่วนภาคกลางและภาคตะวันออกจะได้รับผลกระทบต่อไป จึงขอให้ประชาชนระมัดระวังอันตรายจากพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกที่จะเกิดขึ้นในระยะนี้ไว้ด้วย โดยขอให้หลีกเลี่ยงการอยู่กลางแจ้งหรือใต้ต้นไม้สูงเด่น ป้ายโฆษณาขนาดใหญ่หรือสิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง รวมทั้งควรงดใช้เครื่องมือสื่อสารหรือวัตถุที่อาจเป็นสื่อนำไฟฟ้าในขณะที่เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง 
(หนังสือพิมพ์มติชน วันเสาร์ที่ 25 เมษายน 2552)
          จากประกาศของกรมอุตุนิยมวิทยา ทำให้หลาย ๆ คนคิดไปต่าง ๆ นานา ว่าทำไมเกิดขึ้นบ่อยครั้งมากเหลือเกิน เป็นเพราะอะไร สภาวะโลกร้อนเกี่ยวข้องหรือไม่  มีหลาย ๆ คำถามที่น่าสนใจ พายุฝนฟ้าคะนองคืออะไรมีกระบวนการเกิดอย่างไร โดยบทความนี้เหมาะกับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัยเจอบ่อยนะครับ และยังควรค่าแก่การศึกษาของผู้ที่สนใจทั่วไปด้วย

พายุฤดูร้อนหรือพายุฝนฟ้าคะนอง (Thunderstorms) 

ธรรมชาติกำลังจะกวาดล้างมนุษย์ผู้ทำลาย

ที่มา : pics.manager.co.th

          นิยาม พายุฝนฟ้าคะนองโดยทั่วไปเป็นพายุที่เกิดเฉพาะท้องถิ่น เกิดจากเมฆคิวมูโลนิมบัส มีฟ้าแลบ (lightning) กับฟ้าร้อง (thunder) รวมอยู่ด้วย นอกจากนั้นมักจะมีลมกระโชกแรง (strong gust) และฝนตกหนักเกิดขึ้น บางครั้งมีลูกเห็บ (hail) ตกลงมาด้วย พายุฝนฟ้าคะนองนี้เป็นพายุที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาอันสั้น มีน้อยครั้งที่เกิดขึ้นนานกว่า 2 ชั่วโมง (กรมอุตุนิยมวิทยา , 2521) พายุฟ้าคะนอง เป็นลมกระโชกแรงที่เกิดจากเมฆ ที่ก่อตัวทางดิ่งอย่างรุนแรงมียอดเมฆสูงมาก ฐานเมฆมีสีดำ มีเสียงฟ้าร้อง ฟ้าคะนอง ฟ้าผ่าอย่างรุนแรงและถี่ มักจะมีลูกเห็บตกลงมาด้วย (สุกิจ เย็นทรวง , 2534)

สาเหตุการเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง
          พายุฝนฟ้าคะนองที่เกิดขึ้นในแต่ละครั้งนั้น สาเหตุเนื่องมาจากสภาวะอากาศที่เอื้ออำนวยต่อการก่อตัวของพายุ ในเขตร้อนแถบใกล้เส้นศูนย์สูตร อากาศจะมีความชื้นมาก และมีอุณหภูมิสูง (อากาศร้อนชื้น) ทำให้อากาศหรือบรรยากาศมีอาการไม่ทรงตัว ทำให้มวลอากาศยกตัวขึ้นสู่เบื้องบน จะก่อให้เกิดกระแสอากาศเคลื่อนที่ขึ้นในแนวดิ่งอย่างเป็นอิสระในระยะเริ่มต้น ช่วงที่เคลื่อนที่ขึ้นนั้นอากาศจะเย็นตัวลง ไอน้ำจะเริ่มกลั่นตัว และมวลอากาศจะเริ่มก่อตัวเป็นเมฆคิวมูลัส จะเกิดความร้อนแฝงอันเนื่องมาจากการกลั่นตัวของไอน้ำในก้อนเมฆ ทำให้เซลล์เมฆเจริญเติบโตมากขึ้น เมื่อกระแสอากาศเคลื่อนที่ขึ้นถึงจุดอิ่มตัวแล้ว จะมีกระแสอากาศเคลื่อนที่ลงบางส่วน และในที่สุดจะกลายเป็นกระแสอากาศเคลื่อนที่ลงอย่างเดียว ซึ่งระยะวงจรชีวิตของพายุฝนฟ้าคะนองนี้จะประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ 

ธรรมชาติกำลังจะกวาดล้างมนุษย์ผู้ทำลาย


ที่มา https://www.srh.noaa.gov

ธรรมชาติกำลังจะกวาดล้างมนุษย์ผู้ทำลาย 
ที่มา water.rid.go.th

- ระยะเจริญเติบโต (Cumulus Stage)
- ระยะเติบโตเต็มที่ (Mature Stage)
- ระยะสลายตัว (Dissipating Stage)

การก่อตัวของพายุฝนฟ้าคะนอง
          พายุฝนฟ้าคะนองเป็นผลเนื่องจากอากาศมีความชื้นมาก และมีอุณหภูมิสูงทำให้อากาศไม่เสถียรภาพ ยกตัวขึ้นและมีการคลุกเคล้าของอากาศจากระดับล่างขึ้นบน และบนลงล่าง ซึ่งในเขตละติจูดกลางพายุฝนฟ้าคะนองนี้มักจะก่อตัวได้สูงถึง 40,000-50,000 ฟุต และจะสูงกว่านี้ในเขตโซนร้อน สำหรับการก่อตัวของพายุฝนฟ้าคะนองนั้น แบ่งขั้นตอนระยะเวลาที่ก่อตัวไว้ดังนี้ (Riehl , 1954) 
1. ระยะเริ่มก่อตัวเป็นเมฆคิวมูลัส (Cumulus stage) 

ธรรมชาติกำลังจะกวาดล้างมนุษย์ผู้ทำลาย
ที่มา https://www.kolumbus.fi


           เป็นระยะเริ่มแรกของการก่อตัว เนื่องจากอุณหภูมิของอากาศสูงกว่าบริเวณข้างเคียง ทำให้อากาศไม่เสถียรภาพ (unstable) อากาศมีการยกตัวลอยสูงขึ้น มีความเร็วเฉลี่ย 1-2 เมตร/วินาที ที่ใกล้ฐานเมฆ และมากกว่า 10 เมตร/วินาทีที่ใกล้
ยอดเมฆ จนกระทั่งมีการควบแน่น กลั่นตัวเป็นหยดน้ำ รวมตัวกันเป็นเมฆก้อน เมฆชนิดนี้มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 0.1-10 กิโลเมตร ซึ่งในระยะที่เริ่มก่อตัวนี้จะมีเพียงกระแสอากาศไหลขึ้น (updraft) เพียงอย่างเดียว

2. ระยะเจริญเติบโตเต็มที่ (Mature stage)

ธรรมชาติกำลังจะกวาดล้างมนุษย์ผู้ทำลาย

ที่มา ; https://www.peane1.com

          เป็นระยะที่พัฒนาต่อจากระยะที่ 1 (Cumulus stage) แล้วเจริญเติบโตขึ้นในแนวดิ่งเรื่อย ๆ จากเมฆคิวมูลัสก้อนใหญ่ เป็นคิวมูโลนิมบัส (เมฆฝนฟ้าคะนอง) ในที่สุด โดยมีการคลุกเคล้าของอากาศในระดับล่างขึ้นบน และบนลงล่าง (both updraft and downdraft) ซึ่งในช่วงนี้จะมีหยดน้ำหรืออนุภาคน้ำแข็งตกลงมาจากฐานเมฆอย่างชัดเจน โดยที่ทั้งกระแสอากาศที่ไหลขึ้นและไหลลงยังคงดำเนินต่อไปนั้น มักจะมีกำลังสูงสุดในส่วนบนของเมฆในระยะแรกของการเจริญเติบโตเต็มที่ และต่อมากระแสไหลขึ้นมักจะไม่รุนแรง แต่กระแสอากาศที่ไหลลง หรือจมลงนั้นจะถูกดันให้แผ่ออกทางข้างที่ใกล้พื้นโลก  แล้วม้วนตัวขึ้นอีกในแนวดิ่งอย่างรวดเร็วและรุนแรง ทำให้เกิดลมกระโชกแรง เนื่องจากกระแสที่ไหลลงมีกำลังแรงมาก โดยที่กระแสไหลลงนี้มีอุณหภูมิต่ำกว่าอากาศที่อยู่ล้อมรอบ ดังนั้นลมกระโชกแรงนี้เกิดจากกระแสไหลลงที่แรงของอากาศเย็น ซึ่งจะมีทั้งฝนหนักตามลงมาด้วย และ
บางครั้งมีลูกเห็บตกลงมากับกระแสไหลลงนี้

ธรรมชาติกำลังจะกวาดล้างมนุษย์ผู้ทำลาย

ที่มา : https://www.bloggang.com

3. ระยะสลายตัว (Dissipating stage) 

ธรรมชาติกำลังจะกวาดล้างมนุษย์ผู้ทำลาย

ที่มา : https://www.environnet.in.th
ธรรมชาติกำลังจะกวาดล้างมนุษย์ผู้ทำลาย

ที่มา : https://gotoknow.org

          ระยะสลายตัวนี้จะเริ่มตั้งแต่ไม่มีการไหลขึ้นของกระแสอากาศ (Updraft disappears) แต่กระแสอากาศที่ไหลลงยังคงดำเนินต่อไปและยังมีฝนอยู่ จนกระทั่งอุณหภูมิอากาศที่เย็นกว่ารอบ ๆ จะค่อย ๆ เพิ่มขึ้นจนเท่ารอบข้างเคียง และไม่มีการกลั่นตัวเกิดขึ้นต่อไปอีก ต่อมากระแสไหลลงก็จะอ่อนไปด้วย จนกระทั่งสลายตัวไปในที่สุด ในขณะที่ไอน้ำกลั่นตัวเป็นหยดน้ำในเมฆที่ก่อตัวในแนวตั้งคิวมูโลนิมบัสนี้ ความร้อนแฝงจะถูกปล่อยออกที่ระดับความสูงของเมฆ และพลังงานนี้ทำให้เกิดกระแสอากาศไหลขึ้น 
(updrafts) และกระแสอากาศไหลลง (downfrafts) แทนการเคลื่อนไหวแบบ eddy ที่ใหญ่โต ในลักษณะนี้ถ้าความชื้นมีเพียงพอก็จะเป็นเมฆคิวมูโลนิมบัสได้ แต่ถ้าในกรณีที่ความชื้นไม่เพียงพอที่จะกลั่นตัวเป็นหยดน้ำ ก็จะเกิดเป็นเพียงกระแสอากาศปั่นป่วน (turbulance) ซึ่งเครื่องบินมักจะได้รับความเสียหาย ทั้งที่ไม่มีเมฆคิวมูโลนิมบัสเลย โดยเฉพาะในเขตร้อนแห้งแล้ง 
(บำรุง สรัคคานนท์ , 2529) ที่กล่าวมานี้เป็นการแบ่งระยะเวลาช่วงเวลาการก่อตัวในเมฆแต่ละก้อนเท่านั้น โดยแท้จริงแล้วการเกิดพายุฝนฟ้าคะนองอาจมิได้เกิดจากเมฆคิวมูโลนิมบัสก้อนเดียว แต่อาจเป็นเมฆหลายก้อนซึ่งแต่ละก้อนก็จะมีระยะช่วงการก่อตัวทั้ง 
3 ระยะในเวลาที่ต่างกันไป

รูปแบบของพายุฝนฟ้าคะนอง
          1. พายุฝนฟ้าคะนองเกิดจากมวลอากาศ เกิดขึ้นจากโลกได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์ ทำให้พื้นดินรับความร้อนตามอากาศเหนือพื้นดินจึงมีการยกตัวลอยสูงขึ้นเกิดเป็นเมฆคิวมูลัส และสามารถพัฒนากลายเป็นพายุฝนฟ้าคะนองได้ ในตอนบ่ายและเย็น
          2. พายุฝนฟ้าคะนองเกิดจากแนวปะทะ อาจเกิดจากแนวปะทะอากาศเย็น หรือแนวปะทะอากาศอุ่นก็ได้ ถ้าเกิดจากแนวปะทะอากาศเย็นจะมีลักษณะมวลอากาศเย็นเคลื่อนที่เข้าไปใต้มวลอากาศอุ่น ยกตัวให้มวลอากาศอุ่นลอยสูงขึ้นและเย็นตัวลงกลายเป็นพายุฝนฟ้าคะนองได้ ถ้าเกิดจากแนวปะทะอากาศอุ่นจะมีลักษณะมวลอากาศอุ่นเคลื่อนที่อยู่เหนือมวลอากาศเย็น ทำให้มวลอากาศอุ่นลอยตัวสูงขึ้น เย็นตัวลงและขยายตัวออกกลายเป็นพายุฝนฟ้าคะนองได้ 
          3. พายุฝนฟ้าคะนองเกิดบริเวณภูเขา เกิดจากการที่มวลอากาศยกตัวสูงขึ้นตามความลาดชันของภูเขา มวลอากาศจะเย็นลงและขยายตัวออก กลายเป็นพายุฝนฟ้าคะนอง ซึ่งมีความร้ายแรงกว่า 2 แบบที่กล่าวคือ เมฆจะก่อตัวในแนวตั้งสูงมาก อากาศ
ปั่นป่วนมาก

ลักษณะอากาศขณะเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง
          1. เมฆทวีจำนวนมากขึ้นอย่างรวดเร็ว
          2. ลดพัดแรง และลมกระโชกเป็นครั้งคราว อาจทำให้สิ่งก่อสร้างหักพังหรือต้นไม้หักโค่นได้
          3. ฝนเริ่มตกและตกหนักในเวลาต่อมา อาจทำให้เกิดน้ำท่วมได้
          4. บางครั้งเกิดลูกเห็บตกลงมา ซึ่งทำความเสียหายให้กับพืช ผัก ผลไม้ สัตว์เลี้ยง และสิ่งก่อสร้าง
          5. เกิดฟ้าแลบ ฟ้าร้อง และฟ้าผ่า ฟ้าผ่าอาจทำลายชีวิตของมนุษย์และสัตว์เลี้ยงได้
          6. อาจเกิดลมงวงซึ่งทำลายชีวิตมนุษย์ สัตว์ ต้นไม้ และสิ่งก่อสร้างได้

ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากพายุฝนฟ้าคะนอง
          พายุฝนฟ้าคะนองเกิดจากความแตกต่างกันของอุณหภูมิของอากาศร้อน และเย็นปะทะกัน ซึ่งความรุนแรงจะมากมาย
ขนาดไหนนั้น ก็ขึ้นอยู่กับว่าอากาศสองกระแสมีอุณหภูมิแตกต่างกันมากขนาดไหน ถ้าแตกต่างกันมากก็จะก่อให้เกิดพายุ
ฝนฟ้าคะนองที่รุนแรงมาก สามารถสรุปผลกระทบจากพายุฝนฟ้าคะนองได้ ดังต่อไปนี้
- ลมกระโชก ลมแรงฯ ทำให้อาคารบ้านเรือนที่ไม่แข็งแรงพังทลายเสียหาย ต้นไม้หักโค่นล้ม แผ่นป้ายโฆษณาโค่น
- ฝนตกหนักก่อให้เกิดน้ำท่วมขัง และเกิดน้ำท่วมฉับพลันในที่ราบลุ่ม ที่ต่ำ และเชิงเขา
- ขณะเกิดพายุจะมีฟ้าผ่าร่วมด้วย อาจทำให้มนุษย์และสัตว์เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต
- ขณะเกิดพายุอาจมีลูกเห็บขนาดใหญ่ตกลงมา ทำความเสียหายให้กับอาคารบ้านเรือนและพืชผลทางการเกษตร
- พายุทอร์นาโด ทำลายชีวิตมนุษย์และสัตว์ อาคารบ้านเรือน สิ่งก่อสร้าง ต้นไม้ ฯลฯ


ธรรมชาติกำลังจะกวาดล้างมนุษย์ผู้ทำลาย

ที่มา : https://www.thaigoodview.com

ธรรมชาติกำลังจะกวาดล้างมนุษย์ผู้ทำลาย

ที่มา : news.nipa.co.th

การเตรียมพร้อมและหลบเลี่ยงภัยอันตรายจากพายุฝนฟ้าคะนอง
          1. ไม่ควรออกไปยืนในที่โล่งแจ้ง ระมัดระวังวัสดุสิ่งของปลิวทำอันตรายและระมัดระวัง ต้นไม้ใหญ่ล้มทับ
          2. ขณะปรากฏฝนฟ้าคะนอง ควรอยู่ภายในอาคารที่มั่นคงแข็งแรงจะปลอดภัย จนกว่าพายุจะสงบลง
          3. ออกห่างจากวัตถุที่เป็นสื่อไฟฟ้าทุกชนิด เช่น ลวด โลหะ ท่อน้ำ แนวรั้วบ้าน รถแทรกเตอร์ รถจักรยานยนต์ รางรถไฟ 
              ต้นไม้สูง ต้นไม้โดดเดี่ยวในที่โล่งแจ้ง เป็นต้น
          4. ไม่ควรใช้อุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น วิทยุ โทรทัศน์ เป็นต้น ควรงดใช้โทรศัพท์ชั่วคราว นอกจากกรณีฉุกเฉิน
          
5. ออกห่างจากชายฝั่ง หรือทะเลเมื่อปรากฏพายุฝนฟ้าคะนอง หรือเมื่อมีคลื่นลมแรง เพราะอาจถูกคลื่นกวาดลงทะเลได้
          6. ระมัดระวังน้ำป่าไหลหลาก แผ่นดินเลื่อนถล่มจากเชิงเขา หรือพื้นที่สูงลงสู่ที่ราบรวมทั้งคลื่นน้ำทะเลที่เกิดจากพายุซัดฝั่ง
          7.ไม่ควรอยู่ในที่ต่ำ ซึ่งอาจเกิดน้ำท่วมฉับพลันได้
          8.ควรตรวจตราสภาพของอาคารบ้านเรือนให้อยู่ในสภาพที่แข็งแรงและปลอดภัยอยู่เสมอ รวมทั้งต้นไม้ ป้ายโฆษณา 
             
เสาไฟฟ้า ฯลฯ ซึ่งอาจทำให้โค่นล้มทับได้
          9.ไม่ควรสวมใส่เครื่องประดับที่เป็นโลหะ เช่น ทองเหลือง ทองแดง เป็นต้น
        10.ไม่อยู่ในที่โล่งแจ้ง หรือถือวัตถุโลหะ เช่น ร่ม เป็นต้น ในขณะเกิดปรากฏการณ์พายุฝนฟ้าคะนอง


จากข้อมูลเบื้องต้นและคำถามที่ตามมาขอยกเอาประเด็นคำถามที่น่าสนใจ และช่วยกันตอบคำถามกัน
          1. ถ้าจะบอกว่าสภาวะโลกร้อนมีส่วนทำให้เกิดพายุฤดูร้อนบ่อยครั้งขึ้น ใช่หรือไม่มีปัจจัยเกี่ยวข้องอย่างไร
          2. ทำไมเวลาเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง ถึงได้เตือนในการห้ามใช้อุปกรณ์ไฟฟ้า 
          3. ไม่ควรอยู่ในที่โล่งแจ้ง หรือถือวัตถุโลหะ แล้วถ้ากำลังขับรถยนต์จะเกิดฟ้าผ่ารถยนต์หรือไม่
          4. การทำฝนเทียมลักษณะการก่อตัวของเมฆเหมือนกับพายุฤดูร้อนหรือไม่ อย่างไร
          5. ลองจินตนาการดูว่าถ้าพายุลักษณะนี้เกิดขึ้นเดือนละ 5 ครั้ง ในประเทศไทยจะมีวิธีแก้ไขอย่างไร

           การเกิดพายุมีหลายประเภท ซึ่งมีลักษณะการเกิดและความแรงที่แตกต่างกัน สามารถที่จะศึกษาเพิ่มเติมได้นะครับที่เว็ปไซต์ของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หนังสือวิชาภูมิศาสตร์กายภาพทั้งระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือในระดับอุดมศึกษา ในกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ก็สามารถที่จะศึกษาในเนื้อหาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมศึกษา หรือตำราภาษาอังกฤษเกี่ยวกับ
ภูมิอากาศได้นะครับ 

ไฟล์เอกสารธรรมชาติกำลังจะกวาดล้างมนุษย์ผู้ทำลาย

นายประจวบ  กำเนิดสิงห์ : โรงเรียนบุณฑริกวิทยาคาร ต. โพนงาม อ.บุณฑริก จ. อุบลราชธานี 34230 
                                       สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 5

ข้อมูลอ้างอิง :  
https://www.environnet.in.th/evdb/info/diaster/disaster05.html
https://www.sawananan.ac.th/knowleage/images/pic_new/2008/2008-06-13/clclone_rr.jpg
https://pics.manager.co.th/Images/551000005430308.JPEG

https://www.srh.noaa.gov/srh/jetstream/tropics/images/waterpower.jpg
https://water.rid.go.th/flood/flood/day30032006.files/image005.jpg

https://www.kolumbus.fi/jkald/images2/cumulonimbus.jpg
https://www.peane1.com/udon/post/upfile/00000635001300L.jpg

https://www.aksorn.com/images/lib/sci/096.jpg
https://www.bloggang.com/data/angkool/picture/1117632365.jpg
https://www.environnet.in.th/news/displayimg.asp?ID=2760

https://gotoknow.org/file/nontalee/jaolaao20.jpg
https://www.thaigoodview.com/files/u2688/ottawa_lightning_by_andrew_knapp.jpg
https://news.nipa.co.th/image/manager/local/15522_552000003143301.JPEG

  
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=16

อัพเดทล่าสุด