https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ประวัติศาสตร์น่ารู้ .... MUSLIMTHAIPOST

 

ประวัติศาสตร์น่ารู้ ....


617 ผู้ชม


ประวัติศาสตร์เป็นเรื่องราวหรือเหตุการณ์ในอดีตเกี่ยวด้วยเรื่องราวทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม ตลอดจนปรัชญาที่มนุษย์ได้คิดได้สร้างและสั่งสมไว้   

ประวัติศาสตร์ คืออะไร

คำว่า "ประวัติศาสตร์" (History) ได้มีนักประวัติศาสตร์ และนักวิชาการให้ความหมายไว้หลายนัย

 

ประวัติศาสตร์ คือ เรื่องราวสำคัญจริง ๆ ของสังคมมนุษย์ซึ่งได้เกิดขึ้นในอดีต

ประวัติศาสตร์ คือ การถ่ายทอดประสบการณ์ทางวัฒนธรรม

ประวัติศาสตร์ คือ การศึกษาเรื่องราวที่เกิดขึ้นในอดีต

ประวัติศาสตร์ คือ การบันทึกเรื่องราวสำคัญ ๆ ของมนุษย์

ประวัติศาสตร์ คือ ความทรงจำที่เกี่ยวกับประสบการณ์ของมนุษย์ที่เกิดขึ้นในอดีต

ประวัติศาสตร์ คือ เรื่อราวหรือเหตุการณ์ที่สำคัญที่เกิดขึ้นจริง ๆ ในอดีตของมนุษย์ ทั้งด้านการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม

ประวัติศาสตร์น่ารู้ ....

         ประวัติศาสตร์ คือ บันทึกเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริง โดยมีหลักฐานที่ทำการพิสูจน์ยืนยันโดยกระบวนการทางประวัติศาสตร์ และเหตุการณ์ดังกล่าวนี้มีผลกระทบต่อสังคมโดยรวมทั้งด้านมนุษยชาติ ความมั่นคงของประเทศ และสังคมโดยรวม

 

ประวัติศาสตร์ สำคัญอย่างไร

 

         ประวัติศาสตร์เป็นเรื่องราวหรือเหตุการณ์ในอดีตเกี่ยวด้วยเรื่องราวทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม ตลอดจนปรัชญาที่มนุษย์ได้คิดได้สร้างและสั่งสมไว้จนเป็นแนวโน้มให้เป็นมวล ความรู้ ประสบการณ์ และเรื่องราวทั้งหลายของมนุษย์ ซึ่งได้มีการแปรเปลี่ยนเกิดการพัฒนาตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบัน

การเรียนประวัติศาสตร์จึงเป็นการเรียนเรื่องราวและเหตุการณ์ในอดีตของมนุษย์เพื่อ

1. รู้และเข้าใจอดีตเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตปัจจุบัน

2. เกิดความเข้าใจตนเองและนำเสนอข้อเท็จจริงให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างมีเหตุผล

3. เกิดความภาคภูมิใจโนบ้านเมืองของตนเอง

4. เกิดสำนึกทางประวัติศาสตร์ คือ กระบวนการไต่สวนข้อเท็จจริง

ประวัติศาสตร์น่ารู้ ....

วิธีการทางประวัติศาสตร์ คืออะไร

       วิธีการทางประวัติศาสตร์ (Historical Method) คือ กระบวนการในการค้นคว้าหาข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ มีขั้นตอนสำคัญดังนี้

1. ขั้นกำหนดหัวข้อเรื่องหรือข้อสมมติฐาน

2. ขั้นแสวงหาความรู้โดยการรวบรวมหาหลักฐานหรือข้อมูล

3.ขั้นวิเคราะห์และประเมินข้อมูลหรือหลักฐานเพี่อให้ได้ข้อมลและเอกสารที่มีคุณค่าน่าเชื่อถือ

4. ขั้นตีความและสังเคราะห์ข้อความ หลักฐาน หรือข้อมูล

5. ขั้นนำเสนอผลสรุปหรือการตีความ

 

หลักฐานทางประวัติศาสตร์ คืออะไร

 

        หลักฐานทางประวัติศาสตร์ คือ ร่องรอยการกระทำของมนุษย์ในอดีตที่ใช้เป็นเครื่องมือสำคัญในการสืบค้นแสวงหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสังคมมนุษย์ในอดีตที่ผ่านมา ดังนั้น ผู้ศึกษาจึงต้องมีความเข้าใจลักษณะของหลักeฐานประเภทต่าง ๆ ก่อน จึงสามารถใช้หลักฐานได้ถูกต้อง

        

        "หลักฐาน" ที่ใช้ในการศึกษาทางประวัติศาสตร์มีอยู่หลากหลาย เพื่อให้เข้าใจลักษณะของหลักฐานและนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ นักประวัติศาสตร์จึงจำแนกหลักฐานออกเป็นประเภทต่าง ๆ ดังนี้

 

1. ประเภทหลักฐานที่แบ่งตามลักษณะยุคสมัย จำแนกได้ 2 ประเภท คือ

1.I หลักฐานสมัยก่อนประวัติศาสตร์ คือ หลักฐานที่เกิดขึ้นในยุคสมัยที่ยังไม่มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ในยุคนี้ถือว่า "หลัก ฐานทางโบราณคดี" เป็นหลักฐานที่สำคัญที่สุด ตัวอย่างเช่น ซากโครงกระดูกมนุษย์ โครงกระดูกสัตว์ เครื่องมือเครื่องใช้ เครื่องประดับ ร่องรอยการตั้งถิ่นฐาน และ ชุมชน รูปภาพเขียนสีบนผนังถ้ำ สถานที่ฝังศพ

1.2. หลักฐานสมัยประวัติศาสตร์  คือ หลักฐานที่สร้างขึ้นในสมัยที่มนุษย์สามารถประดิษฐ์ ตัวอักษรและบันทึกบนวัสดุต่าง  เช่น ดินเผา ศิลา หนังสัตว์ ผ้าไหม ซีกไม้ไผ่ และกระดาษ

ซากโบราณสถานโบราณวัตถุ เครื่องมือเครื่องใช้ เครื่องประดับ นอกจากนั้นยังมีหลักฐานที่สำคัญ คือ หลักฐานประเภทลายลักษณ์อักษร ได้แก่ ศิลาจารึก ตำนาน พงศาวดาร จดหมายเหตุ บันทึก   และประกาศทางราชการ

 

2. ประเภทของหลักฐานที่แบ่งตามลักษณะการบันทึก จำแนกได้เป็น 2 ประเภท

 

2.1. หลักฐานประเภทลายลักษณ์อักษร  คือ หลักฐานต่าง ๆ ที่บันทึกด้วยตัวอักษร เช่น จารึก ตำนาน พงศาวดาร จดหมายเหตุ บันทึกความทรงจำ ชีวประวัติ จดหมายส่วนตัว เอกสารทางวิชาการ หนังสือพิมพ์ วารสาร กฎหมาย วรรณกรรม ตำรา งานวิจัยและวิทยานิพนธ์ เป็นต้น การศึกษาค้นคว้า งานประวัติศาสตร์ของไทยมักนิยมใช้หลักeฐานประเภทลายลักษณ์อักษรอ้างอิงมากที่สุด จนกล่าวได้ว่าเป็นแก่นของงานประวัติศาสตร์

 

2.2 หลักฐานไม่เป็นลายลักษณ์อักษร  คือ หลักฐานทางโบราณคดีทั้งที่สร้างขึ้นในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ เช่น โบราณสถาน โบราณวัตถุ ซากโครงกระดูกและสัตว์ต่าง ๆ เครื่องมือเครื่องใช้ เครื่องประดับ ภาชนะเครื่องปั้นดินเผา ซากเมืองโบราณ ป้อมค่าย คูคลอง และอื่น ๆ นอกจากนี้ยังมีหลักฐานประเภทโสตทัศนศึกษา เช่น ภาพถ่าย สไลด์ แผนที่ เทปบันทึกเสียง แผ่นเสียง ภาพยนตร์ ดวงตราไปรษณียากร และยังรวมถึงหลักฐานประเพณี การบอกเล่าเกี่ยวกับธรรมเนียมประเพณีปฏิบัติในอดีต ตลอดจนหลักฐานการสัมภาษณ์บุคคลต่าง ๆ ไว้ในประเภทหลักฐานไม่เป็นลายลักษณ์อักษรด้วย

ประวัติศาสตร์น่ารู้ ....

3. ประเภทหลักฐานทื่แบ่งตามลักษณะความสำคัญ จำแนกได้ 2 ประเภท คือ

 

3.1.หลักฐานชั้นต้นหรือปฐมภูมิ เป็นหลักฐานที่เกิดขึ้นหรือเขียนขึ้นโนช่วงระยะเวลาเดียวกับเหตุการณ์หรือใกล้เคียงกับเวลาที่เกิดเหตุการณ์นั้น จึงจัดเป็น "หลักฐานร่วมสมัย" ลักษณะของหลักฐานจะมีหลักฐานแบบลายลักษณ์อักษร หลักฐานวัตถุ หลักฐานคำบอกเล่า และการสัมภาษณ์

3.2. หลักฐานชั้นรอง หรือ ทุติยภูมิ   คือ หลักฐานที่รวบรวม เรียบเรียง หรือเขียนขึ้นหลังจากเกิดเหตุการณ์โดยอาศัยหลักฐานชั้นต้น รูปแบบของหลักฐานจึงเป็นประเภทบทความ สารานุกรม หนังสือและผลงานการศึกษาค้นคว้าทางวิชาการเป็นส่วนมาก

ประวัติศาสตร์น่ารู้ ....

การแบ่งยุคประวัติศาสตร์

               

การแบ่งช่วงสมัยประวัติศาสตร์

    ในการศึกษาค้นคว้าเรื่องราวของมนุษย์ในอดีต นักประวัติศาสตร์ได้จำแนกยุคต่าง ๆ ออกอย่างกว้าง ๆ เป็น 2 สมัยโดยถือเอาหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรเป็นสำคัญ คือ สมัยก่อนประวัติศาสตร์และสมัยประวัติศาสตร์

 

 

1. สมัยก่อนประวัติศาสตร์ (Pre-History Age)

       หมายถึง สมัยทีเริมต้นตังแต่มนุษย์รู้จักดัดแปลง.วัสดุที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ อันหมายถึง การมีวัฒนธรรมซึ่งทำให้มนุษย์แตกต่างจากสัตว์ แต่โนช่วงสมัยนี้มนุษย์ยังไม่มีตัวหนังสือเป็นลายลักษณ์อักษร ไม่มีการจดบันทึกเหตุการณ์ต่าง ๆ ให้เราสามารถเข้าใจเรื่องราวต่าง ๆ ได้ ดังนั้นเรื่องราวสมัยก่อนประวัติศาสตร์จึงเป็นการสันนิษฐานและการตีความจากหลักฐานทางโบราณคดี

สมัยก่อนประวัติศาสตร์สามารถแบ่งย่อยได้หลายวิธี เช่น การแบ่งยุคตามลักษณะวัสดุที่มนุษย์นำมาใช้ เช่น ยุคหิน ยุคโลหะ การแบ่งยุคตามเครื่องมือและลักษณะของเครื่องใช้ เช่น หินกะเทาะ หินมีบ่า ภาชนะดินเผา และการแบ่งยุคตามลักษณะเศรษฐกิจและสังคม

ประวัติศาสตร์น่ารู้ ....

1.1. การแบ่งยุคตามลักษณะของเครื่องมือเครื่องใช้ ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ เมื่อมนุษย์ได้ดัดแปลงวัสดุตามธรรมชาติทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ก่อเกิดเป็นวัฒนธรรมขึ้น การแบ่งยุคสมัยนี้จึงใช้ชนิดของวัสดุและลักษณะของเครื่องมือเครื่องใช้เป็นหลัก สามารถแบ่งได้กว้าง ๆ เป็น 2 ยุค คือ ยุคหิน และยุคโลหะ

1) ยุคหิน เป็นยุคที่มนุษย์รู้จักใช้หินเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ และอาวุธที่ส่วนใหญ่ทำจากหินซึ่งมีทั้งหินกะเทาะ หินกรวด เนึ่องจากนี้ก็ยังมีเครื่องมือที่ทำจากไม้ กระดกสัตว์และเขาสัตว์ แต่วัสดุดังกล่าวผุกร่อนไม่คงทนเท่าหิน จึงไม่เหลือเป็นหลักฐานถึงปัจจุบันมากนัก ในยุคหินได้จัดแบ่งยุคย่อยๆ ตามลักษณะของการขัดแต่ง และความประณีตของเครื่องมือเครื่องใช้ ตลอดจนพัฒนาการของชีวิตความเป็นอยู่ได้ 3 ยุค

ก. ยุคหินเก่า มีอายุระหว่าง 500,000-10,000 ปี ได้พบเครื่องมือหินกะเทาะอย่างหยาบๆ ที่บ้านเก่า จ.กาญจนบุรี และที่ อ.เชียงแสน จ.เชียงราย เรื่องราวของมนุษย์สมัยหินเก่าในประเทศไทยมีน้อยมาก มนุษย์ในยุคนี้อาศัยอยู่ในถ้ำ รู้จักทำเครื่องมือจากหินอย่างหยาบ ๆ ไม่มีการขัดฝน มนุษย์ยังดำรงชีวิตอยู่ตามธรรมชาติ เลี้ยงชีพด้วยการล่าสัตว์และเก็บผลไม้เป็นอาหาร ไม่มีการสะสมอาหาร

ข. ยุคหินกลาง มีอายุระหว่าง 10,000-7,000 ปี ได้พบโครงกระดูกเก่าแก่ และเครื่องมือหินกะเทาะเป็นจำนวนมากที่ถ้ำพระ อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี และพบเครื่องปั้นดินเผาที่ถ้ำผี อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน มนุษย์ในสมัยนี้อาศัยอยู่ตามถ้ำและหินผาใกล้ลำห้วยหรือแม่น้ำ เลี้ยงชีพด้วยการล่าสัตว์ และหาผลไม้กินเป็นอาหาร รู้จักก่อไฟหุงหาอาหารในถ้ำ รู้จักปรับปรุงเครื่องมือจากหินให้ประณีตยิ่งขึ้นและขนาดเล็กลง นำกระดูกสัตว์ เปลือกหอยมาใช้ทำเครื่องมือ รู้จักทำภาชนะดินเผา เช่น หม้อ จาน ชาม หม้อน้ำ รู้จักเพาะปลูก รู้จักใส่เครื่องประดับ รู้จักใช้เรือขุด มีพิธีกรรมเกี่ยวกับคนตาย

ค. ยุคหินใหม่ มีอายุระหว่าง 7,000-3,000 ปี จากหลักฐานเครื่องมือที่พบสันนิษฐานได้ว่าสมัยนี้มนุษย์ตั้งหลักแหล่งกระจายอยู่ทั่วประเทศไทยแล้ว มนุษย์สมัยนี้ออกจากถ้ำและเนินผามาตั้งบ้านเรือนกันเป็นกลุ่มที่ราบบริเวณริมแม่น้ำ รู้จักนำเครื่องมือหินมาขัดให้เรียบแหลมคม และหยิบถือได้สะดวก รู้จักทำขวานหินขัด รู้จักเพาะปลูกควบคู่ไปกับการล่าสัตว์และเลี้ยงสัตว์ ทำเครื่องจักสาน ทอผ้า รู้จักทำเครื่องมือเครื่องใช้ด้วยดินเผา หม้อ จาน ฯลฯ ภาชนะเหล่านี้มีสีต่าง ๆ ทั้งสีดำ แดง อมน้ำตาลหรือ เทา และสีเหลือง มีความบาง ผิวขัดเป็นเงา ทำลูกกระสุนดินเผา นำกระดูกมาทำเป็นอาวุธ เช่น ลูกศร ปลายหอก สิ่ว มีดสั้น เข็มรูน้อย รู้จักทำเครื่องประดับ มีประเพณีการฝังศพที่ประณีตกว่าเดิม

ประวัติศาสตร์น่ารู้ ....

2) ยุคโลหะ เป็นยุคที่มนุษย์รู้จักนำโลหะมาเป็นเครื่องมือเครื่องใช้แทนหิน มีอายุระหว่าง 5,000-2,000 ปีมาแล้ว แบ่งย่อยออกเป็น 2 ยุค คือ

ก. ยุคสำริด เป็นยุคที่มนุษย์รู้จักนำทองแดงและดีบุกมาหลอมรวมกันเป็นสำริด ทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ เครื่องประดับ หลักฐานสำคัญ คือ กลองมโหระทึก สำหรับประกอบพิธีกรรมต่างๆ นอกจากนั้นก็มีขวาน หอก กำไล เบ็ด เป็นต้น

ข.ยุคเหล็ก เป็นยุคที่มนุษย์รู้จักการถลุงเหล็ก เพื่อเอาโลหะเหล็กซึ่งแข็งแกร่งกว่าสำริดมาใช้ประโยชน์ ทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้และอาวุธ เช่น ใบหอก ขวาน มีด

1.2 การแบ่งยุคก่อนประวัติศาสตร์ ตามลักษณะเศรษฐกิจและสังคมมนุษย์

นอกจากการแบ่งยุคตามชนิดของวัสดุและเครื่องมือเครื่องใช้แล้ว ยังพบว่าบางครั้งนักวิชาการอธิบายยุคสมัยก่อนประวัติศาสตร์โดยพิจารณาตามหลักเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งแบ่งได้ดังนี้

1) สังคมล่าสัตว์ (สังคมนายพราน) เป็นยุคที่มนุษย์ยังเร่ร่อน ดำรงชีวิตด้วยการติดตามฝูงสัตว์เพื่อการล่าเป็นอาหาร มีความเป็นอยู่ที่สอดคล้องกันกลมกลืนกับธรรมชาติ ไม่มีการตั้งหลักแหล่งหรือสร้างที่พัก

2) สังคมกลกรรม มนุษย์รู้จักเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ ทำให้เกิดความจำเป็นต้องตั้งหลักแหล่งอยู่รวมเป็นชุมชนขนาดเล็ก มีการประกอบพิธีกรรมเกี่ยวกับความอุดมสมบูรณ์และพิธีศพ

3) สังคมเมือง ส่วนใหญ่เกิดจากชุมชน ที่มีความเจริญเข้มแข็งอยู่ในชัยภูมิที่เหมาะสมและอุดมสมบูรณ์ มีการติดต่อค้าขายกับชุมชนอื่นทั้งในและนอกภูมิภาค การปรับตัวทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการค้าขายทำให้เกิดการขยายตัวชุมชนขึ้นเป็นบ้านเมืองและมีอารยธรรมแบบผสมผสาน

ประวัติศาสตร์น่ารู้ ....

2. สมัยประวัติศาสตร์ (History Age)

      เป็นสมัยที่มนุษย์รู้จักคิดประดิษฐ์ตัวอักษรขึ้นแล้วเพื่อบันทึกเรื่องราวของตนจนกลายเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ทำให้เราสามารถเข้าใจเรื่องราวต่าง ๆ ได้ชัดเจนโดยอาจจารึกลงบนแผ่นหิน แผ่นดินเหนียว แผ่นอิฐ หรือเขียนลงบนผ้าอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นต้น ในยุคนี้มนุษย์มีความ1เจริญมากขึ้นกว่าเดิม และรู้จักใช้เทคโนโลยีมากขึ้น ในการศึกษาสมัยประวัติศาสตร์อาจใช้หลักฐานทางโบราณคดีมาเป็นหลักฐานสนับสนุนได้

สมัยประวัติศาสตร์สามารถแบ่งย่อยได้ตามเรื่องราวในประวัติศาสตร์ คือ เปลี่ยนราชวงศ์ การย้ายเมืองหลวง เช่น สมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา สมัยธนบุรี

ประวัติศาสตร์น่ารู้ ....

ประเด็นคำถามจากสาระการเรียนรู้ : 

ประวัติศาสตร์หมายถึงอะไร

ทำไมเราจึงต้องศึกษาประวัติศาสตร์

ยุคทางประวัติศาสตร์มีกี่ยุค ได้แก่ยุคอะไรบ้าง

==================================================================

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1380

อัพเดทล่าสุด