https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
เปิดเสรีข้าวชาวนาอ่วม MUSLIMTHAIPOST

 

เปิดเสรีข้าวชาวนาอ่วม


730 ผู้ชม


รายงานผลกระทบการค้าเสรีกับสินค้าเกษตรไทย..............   

เปิดเสรีข้าวชาวนาอ่วม

 

 
วันพฤหัสบดีที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ที่ประชุมรับมือเปิดเขตเสรีสินค้าเกษตร ระบุชาวนากระทบหนัก

ธีระ วงศ์สมุทร

นายธีระ วงศ์สมุทร รมว.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2552 ไทยจะต้องเปิดเสรีสินค้า 23 ชนิด กับชาติอาเซียน จึงได้ประชุมคณะกรรมการนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์เพื่อรับมือ และหาทางลดต้นทุนการผลิต ขณะเดียวกันจะกำหนดมาตรการช่วยเหลือทางการเงินจากกองทุนเอฟทีเอมารองรับ

ทั้งนี้ สินค้าที่มีการเปิดเสรีจะมีเงื่อนไขในการนำเข้า เช่น ต้องเป็นบริษัทนิติบุคคล ใบอนุญาตนำเข้า ใบรับรองปลอดจีเอ็มโอ หนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า และการควบคุมสต๊อก

คณะกรรมการระบุว่า ข้าวเป็นสินค้าที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุด 5 ประเด็น คือ

1.ราคาข้าวในประเทศจะตกต่ำ เนื่องจากมีการนำเข้ามากขึ้น

2.ผู้ส่งออกไทยอาจนำข้าวในประเทศอาเซียนที่ถูกกว่าส่งออกแทน หรือผสมเพื่อส่งออก ในนามข้าวไทย

3.ข้าวในประเทศเพื่อนบ้านอาจมีข้าวจีเอ็มโอเจือปน

4.อาจเกิดปัญหาการสวมสิทธิ

5.การเปิดเสรีจะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในการผลิตข้าวและความมั่นคงของชีวิตชาวนาส่งผลกระทบต่อระบบการผลิตข้าวของประเทศโดยรวม

ขณะที่ประชุมเสนอแนะว่า

1.จะต้องใช้มาตรการแทรกแซงตลาดไม่ให้ราคาสูงกว่าราคาภายนอก เพื่อลดแรงจูงใจการนำเข้า

2.ต่อยอดวิจัยงานเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่จากข้าว

3.นำผลวิจัยมาประยุกต์ใช้และส่งเสริมการตลาด ส่งเสริมการใช้สินค้าที่ผลิตในประเทศ

สำหรับกรณีที่สหรัฐได้พัฒนาข้าวแจสเมน แข่งขันข้าวไทยกระทรวงเกษตรฯ ได้ประสานให้ทูตพาณิชย์ในสหรัฐซื้อตัวอย่างข้าวดังกล่าวเพื่อนำมาศึกษาวิจัยแล้ว ที่มา :  โพสต์ทูเดย์ วันที่ 1 ต.ค. 2552

รายงานผลกระทบการค้าเสรีกับสินค้าเกษตรไทย

นางอัญชลี อุไรกุล รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร(สศก.)เปิดเผยว่าภายหลังจากรัฐบาลมีนโยบาย ตั้งเขตการค้าเสรี (Free Trade Area : FTA) กับประเทศต่าง ๆ อาทิ จีน บาห์เรน อินเดีย ออสเตรเลีย สหรัฐฯ ญี่ปุ่น และเปรู นั้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ได้ทำการศึกษาถึงผลกระทบจากการทำเขตการค้าเสรีต่อ สินค้าเกษตรของไทย ซึ่งขณะนี้การเจรจากับประเทศต่างๆ มีความก้าวหน้าตามลำดับ เช่น เขตการค้าเสรีไทย-จีน ที่กำหนดให้ มีการลดภาษีสินค้ากลุ่มแรกครอบคลุมสินค้าเกษตรในตอนที่ 07-08 ที่เป็นสินค้าเกษตรประเภทผักและผลไม้ รวมผลิตภัณฑ์ มันสำปะหลัง ซึ่งจะมีการลดภาษีระหว่างกันเหลือ 0% ทันที ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2546 โดยจะมีการลงนามระหว่างไทย-จีน ในช่วงที่ ฯพณฯ รองนายกรัฐมนตรี (ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์) และคณะเยือนจีน ระหว่างวันที่ 15-19 มิถุนายน 2546 นี้

สำหรับการตั้ง เขตการค้าเสรีนั้นมีทั้งข้อดีและข้อเสีย สำหรับข้อดีของเขตการค้าเสรีไทย-จีนนั้น เนื่องจากจีนเป็นตลาดใหญ่ เมื่อเทียบกับ ตลาดอื่นๆ และไทย เนื่องจากมีประชากรจำนวนมาก ตลาดมีแนวโน้มสามารถรองรับมันสำปะหลังของไทยได้อีกมาก อีกทั้ง สามารถทดแทนตลาดอียู ซึ่งปัจจุบันส่งออกลดลง และไทยมีศักยภาพที่จะผลิตได้เพิ่มอีก ในปี 2544 และ 2545 ไทยสามารถ ส่งออกมันสำปะหลังอัดเม็ดและมันเส้นมูลค่าไม่ต่ำกว่า 4,000 ล้านบาท และในเดือนมกราคม – เมษายน 2546 มีการส่งออก ไปจีนเพิ่ม 55% จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ส่วนผลไม้เมืองร้อนไทยมีศักยภาพในการส่งออกได้หลายชนิด อาทิ ทุเรียน เงาะ ส้มโอ มังคุด โดยเฉพาะมังคุด นักท่องเที่ยวชาวจีนที่มาเมืองไทยเคยลองชิมแล้วเป็นที่ชื่นชอบมาก เขตการค้าเสรีจึงเป็นแหล่ง รองรับผลไม้ไทยและมีโอกาสขยายตัวเพิ่มอีก

สำหรับข้อเสีย ในปัจจุบันมีการนำเข้าสินค้าเกษตรประเภทผักที่เป็นคู่แข่งกัน เช่น กระเทียม หอมหัวใหญ่ใน ราคาถูกกว่า การเปิดเสรีจะกระทบต่อราคาภายในประเทศ แต่การบริโภคในประเทศมีจำนวนไม่มาก พื้นที่การปลูกน้อยและ คนไทยยังนิยมบริโภคกระเทียมไทยอยู่ เนื่องจากรสชาติ กลิ่น ดีกว่า และนิยมนำไปแปรรูป (เช่น กระเทียมดอง) ใช้ในการปรุง าหารไทย ดังนั้นกระเทียมไทยยังเป็นที่นิยมมากกว่ากระเทียมจีน อย่างไรก็ตามกระทรวงเกษตรฯ จะชี้แจงให้เกษตรกรเข้าใจ และให้เกษตรกรลดการปลูกเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่นแทน โดยรัฐบาลจะให้ความช่วยเหลือต่อไป สำหรับผักผลไม้เมืองหนาวการ เปิดเสรีจะมีการนำเข้าเพิ่ม ซึ่งจีนจะได้ประโยชน์ในการขยายตลาดผลไม้เมืองหนาวด้วย

นางอัญชลี กล่าวอีกว่าการเปิดตลาดเสรีในสินค้าผักและผลไม้ระหว่างไทย-จีน เมื่อเปรียบเทียบขนาดของตลาดของ ทั้ง 2 ประเทศแล้ว ไทยจะได้ประโยชน์อย่างมากในสินค้าที่เกี่ยวข้อง แต่อย่างไรก็ตามการค้าเสรีกับจีนต้องมีการเจรจาทบทวนข้อ ตกลงระหว่างกันในการใช้มาตรการด้านสุขอนามัยพืชในการตรวจโรคแมลง สารตกค้างในผักและผลไม้ ซึ่งถ้าจีนสามารถผ่อน คลายลงได้ก็จะเป็นโอกาสสำหรับผักผลไม้ยิ่งขึ้น

สำหรับการค้าเสรีกับประเทศอื่นๆ เช่น การค้าเสรีสินค้าเกษตรไทยกับออสเตรเลียนั้น ปัญหาสำคัญไม่ใช่อยู่ที่อัตรา ภาษีระหว่างทั้ง 2 ประเทศ ที่จะลดให้แก่กัน เพราะปัจจุบันภาษีนำเข้าสินค้าเกษตรของออสเตรเลียเกือบทั้งหมดเก็บภาษี 0% อยู่แล้ว แต่สิ่งสำคัญที่ต้องมีการเจรจาตกลงกัน คือ ปัญหาด้านสุขอนามัย ซึ่ง ออสเตรเลียกำหนดมาตรฐานค่อนข้างสูง มีวิธีตรวจสอบเข้ม งวด ซึ่งขณะนี้กระทรวงเกษตรฯ กำ ลังเจรจาขอให้ออสเตรเลียเปิดตลาดนำเข้าผลไม้สำคัญของไทย เช่น มังคุด ทุเรียน ลำไย สับปะรด เป็นต้น รวมทั้งไก่ และกุ้ง ซึ่งถ้าสามารถตกลงกันได้และไม่นำมาตรการด้านสุขอนามัยมากีดกันแล้วไทยก็จะได้ประโยชน์ จากการเปิดการค้าเสรีกับออสเตรเลีย ซึ่งบางสินค้าที่เสียประโยชน์รัฐบาลจะได้หาทางช่วยเหลือต่อไป

ข่าว/ข้อมูล: สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร 
วันที่ 19 มิถุนายน 2546

แหล่งที่มา https://www.thaifta.com/

ข้อตกลงเขตการค้าเสรี กับ

ผลกระทบต่อประเทศไทย

 

 

1.      เอฟทีเอคืออะไร

เอฟทีเอ (Free Trade Area) คือการรวมกลุ่มเศรษฐกิจ โดยมีเป้าหมายเพื่อลดภาษีศุลกากรระหว่างกันภายในกลุ่มลงเป็น 0 % ครอบคลุมรายการสินค้าที่ค้าขายระหว่างกันให้มากพอ และใช้อัตราภาษีปกติที่สูงกว่ากับประเทศนอกกลุ่ม  โดยในอดีตที่ผ่านมานั้น การทำเอฟทีเอเน้นการเปิดเสรีด้านสินค้า(goods) โดยการลดเลิกภาษีและอุปสรรคที่ไม่ใช่ภาษีเป็นสำคัญ ตัวอย่างข้อตกลงดังกล่าวเช่น  ข้อตกลงที่ประเทศไทยทำร่วมกับจีน และอินเดีย เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม การทำข้อตกลงเขตการค้าเสรีในระยะหลัง เป็นการทำข้อตกลงที่ครอบคลุมหลายด้าน (comprehensive)  โดยรวมไปถึงการเปิดเสรีด้านบริการ (services)  การลงทุน(Investment) ทรัพย์สินทางปัญญา(Investment) พาณิชย์อิเลคโทรนิคส์(E-commerce) เป็นต้น โดยข้อตกลงดังกล่าวจะสูงกว่าข้อผูกพันที่มีองค์การค้าโลก (WTO plus) เสียอีก ตัวอย่างเช่น ข้อตกลงที่สหรัฐอเมริกาทำกับประเทศสิงคโปร์ และชีลี และข้อตกลงที่จะทำกับประเทศไทย เป็นต้น

 

2.      เอฟทีเอและองค์การการค้าโลก กับ ยุทธศาสตร์ของสหรัฐอเมริกา

องค์การการค้าโลกอนุญาตให้ประเทศสมาชิกทำข้อตกลงเขตการค้าเสรี หากมีการเปิดเสรีโดยครอบคลุมการค้าสินค้า/บริการ ที่มากพอ (substantial)  ทั้งก่อนหน้าและหลังการทำความตกลง รวมทั้งเปิดให้ประเทศสมาชิกอื่นๆตรวจสอบข้อตกลงดังกล่าวได้

ในรอบหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมาสหรัฐอเมริกาและประเทศอุตสาหกรรม ได้ผลักดันให้มีการเปิดเสรีทางการค้าและการลงทุนผ่านองค์การการค้าโลกมาโดยตลอด แต่หลังจากเหตุการณ์ที่ ซีแอตเติ้ล และแคนคูน สหรัฐพบว่าตนเองและประเทศอุตสาหกรรรมอื่นๆ ไม่ประสบผลสำเร็จในการผลักดันหัวข้อการเจรจา และเนื้อหาการเจรจาได้ตามที่ตนพอใจ ไม่ว่าจะเป็นการพยายามจะผลักดันหัวข้อการเจรจาใหม่ (New Issues) หรือการผลักดันเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา ก็ตาม 

การทำเขตการค้าเสรี ไม่ว่าจะเป็นแบบการตกลงสองฝ่าย (Bilateral) หรือ แบบภูมิภาค (Regional)ก็ดี ทำให้อำนาจการเจรจาของประเทศกำลังพัฒนาลดลง การที่สหรัฐประสบผลสำเร็จในการทำเขตการค้าเสรีอเมริกาเหนือ (NAFTA) ทำให้สหรัฐมีอำนาจมากขึ้นในการผลักดันให้เกิดการเจรจาเขตการค้าเสรีอเมริกากลาง (CAFTA) และเขตการค้าเสรีแห่งทวีปอเมริกา (FTAA) การที่สหรัฐทำเขตการค้าเสรีกับโมร็อกโกและบาห์เรน ทำให้สหรัฐสามารถเจาะเข้าไปในประเทศกลุ่มอาหรับได้ เช่นเดียวกับที่สหรัฐใช้สิงคโปร์และไทยเพื่อเจาะเข้าไปในกลุ่มอาเซียน การทำเช่นนี้ทำให้อำนาจของประเทศกำลังพัฒนาซึ่งที่แคนคูนได้รวมกันเป็นกลุ่มใหม่เช่นกลุ่ม G20+ ต้องอ่อนแรง

ไม่ว่าเราจะชอบหรือไม่ชอบองค์การค้าโลกก็ตาม แต่การตกลงแบบสองฝ่ายทำให้ประเทศกำลังพัฒนาตกอยู่ในในฝ่ายที่เสียเปรียบยิ่งกว่าการเจรจาในองค์การการค้าโลก และการทำเอฟทีเอของสหรัฐไม่ได้หมายความว่าสหรัฐจะละทิ้งองค์การการค้าโลก แต่การดำเนินการยุทธศาสตร์เช่นนี้ ในระยะยาวจะเป็นการเพิ่มอำนาจการเจรจาของสหรัฐในองค์การการค้าโลก

 

3.      รัฐบาลทักษิณกับเอฟทีเอ

เมื่อการทำเอฟทีเอเป็นยุทธศาสตร์ใหญ่ของสหรัฐอเมริกา ทำไมรัฐบาลไทยภายใต้การนำของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร จึงแสดงตนประหนึ่งเป็นผู้นำที่ต้องการขับเคลื่อนเรื่องเอฟทีเอเสียเอง มีเหตุผลประกอบในเรื่องนี้ 3 ประการสำคัญคือ

1) แนวความคิดของรัฐบาลทักษิณคือการเปิดเสรีทางการค้าอย่างเต็มที่ ดังจะเห็นได้จากนโยบายการแปรรูปรัฐวิสาหกิจอย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็น การไฟฟ้าฝ่ายผลิต การประปานครหลวง และแม้แต่องค์การเภสัชกรรม เป็นต้น  รัฐบาลทักษิณเชื่อว่าการเปิดเสรีจะทำให้ยกประสิทธิภาพการผลิตของประเทศขึ้น การผลิตใดที่แข่งขันไม่ได้ก็เลิกไปเสีย โดยหาตระหนักไม่ว่า

หนึ่ง การเปิดเสรีในข้อตกลงองค์การค้าโลกหรือเอฟทีเอก็ดีหลายประเทศไม่ได้เปิดเสรีจริง  เช่น สหรัฐไม่ยอมเปิดเสรีน้ำตาลให้ออสเตรเลียภายใต้ข้อตกลงเอฟทีเอระหว่างสองประเทศ อีกทั้งยังคงสนับสนุนภาคการเกษตรของตนด้วยจำนวนเงินมหาศาล

สอง การเปิดเสรีอาจทำให้เกิดผลกระทบต่อสาขาการผลิตที่ยังแข่งขันไม่ได้ หรือแข่งขันได้แต่เจอปัญหาการที่คู่สัญญาไม่ยอมลดการสนับสนุนและเอาเปรียบด้วยมาตการกีดกันทางการค้าต่างๆ ผลกระทบที่ว่านี้สำหรับประเทศเกษตรกรรมเช่นไทย นั้นหมายถึงครอบครัวเกษตรกรนับแสนนับล้านครอบครัวอาจต้องสูญเสียอาชีพไปในที่สุดก็ได้ ดังจะได้กล่าวต่อไป

2) การทำเอฟทีเอกับประเทศต่างๆในขณะที่ตนเองเป็นผู้กุมอำนาจรัฐ ทำให้กลุ่มธุรกิจของทักษิณและคณะสามารถเลือกได้ว่าจะยอมแลกผลประโยชน์ใดกับเรื่องใด ในแง่นี้รัฐบาลจะปกป้องประโยชน์และเอื้อประโยชน์ในกิจการด้านโทรคมนาคม ยานยนต์ เกษตร บันเทิง และเมรัย ในสาขาที่กลุ่มคณะของพวกตนได้ประโยชน์อย่างเต็มที่  และยอมแลกกับผลประโยชน์ของประเทศบางเรื่องซึ่งเกี่ยวข้องกับสาขาที่ไม่มีอำนาจการต่อรองพอ  เช่น การทำการเกษตรของเกษตรกรรายย่อย  เป็นต้น

3) การตัดสินใจการทำเอฟทีอย่างรีบเร่งของทักษิณ ไม่ใช่เหตุผลผลที่ว่า “รวดเร็วกว่าดีกว่า” (economy of peed) แต่เพราะว่าการทำสัญญาการค้าทวิภาคีกับต่างประเทศซึ่งมีผลผูกพันไปในอนาคต  แม้ว่าตนเองได้หลุดพ้นไปจากวงจรอำนาจทางการเมือง แต่ข้อตกลงทางการค้าที่ทำไว้เป็นจำนวนมากจะทำให้วางโครงสร้างความมั่นคงให้แก่ธุรกิจของตนเอาไว้ ไม่ว่ากลุ่มใดจะเข้ามาบริหารประเทศในอนาคตก็ตาม ในทางตรงกันข้ามผลกระทบที่เกิดขึ้นกับประเทศนั้นจะเป็นผลกระทบที่ยาวนานไปชั่วลูกชั่วหลานควบคู่ไปพร้อมๆกันด้วย

 

4.      สถานะการทำเอฟทีเอของไทยกับประเทศต่างๆ

 

1) ไทย-จีน 

ได้มีการลงนามในความตกลงเร่งลดภาษีสินค้าผักและผลไม้ ระหว่างไทย-จีน เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2003 ณ กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน สาระสำคัญของความตกลงครอบคลุมเรื่องการลดภาษีสินค้าผักและผลไม้ทุกรายการ ตามพิกัดศุลกากรตอนที่ 07-08 (116 รายการ ตามพิกัดศุลกากร 6 หลัก) ให้เหลือ 0% ภายในวันที่ 1 ตุลาคม 2003 โดยกระทรวงการคลังได้ออกประกาศลดภาษีในสินค้าดังกล่าว รวมทั้งกรมการค้าต่างประเทศได้ออกหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า เพื่อให้มีการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแล้ว

ขณะนี้ผลกระทบของข้อตกลงได้เกิดขึ้นแล้ว ดังในกรณีผลกระทบของหอมใหญ่ และผลไม้เมืองหนาว เป็นต้น

2) ไทย-อินเดีย 

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายอดิศัย โพธารามิก) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์และอุตสาหกรรมแห่งอินเดีย (H.E. Mr. Arun Jaitley) ได้มีการลงนามกรอบความตกลงว่าด้วยการจัดตั้งเขตการค้าเสรีไทย-อินเดีย เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2003 ณ ทำเนียบรัฐบาล สาระสำคัญของร่างกรอบความตกลงฯ ครอบคลุมการเปิดเสรีในด้านต่างๆ ดังนี้

- ด้านการค้าสินค้า  การเปิดเจรจาการค้าสินค้าจะเริ่มต้นภายในเดือน มกราคม 2004 และให้แล้วเสร็จภายในเดือนมีนาคม 2005  โดยกำหนดให้เปิดเสรีโดยจะลดภาษีเหลือร้อยละ 0 ภายในปี 2010

- ด้านการค้าบริการและการลงทุน  ได้กำหนดให้ทยอยเปิดเสรีในรายสาขาที่มีความพร้อมก่อน โดยจะเริ่มต้นเจรจารายละเอียดตั้งแต่เดือนมกราคม 2004 และให้เสร็จสิ้นภายในเดือนมกราคม 2006

- การลดภาษีสินค้าบางส่วนทันที (Early Harvest Scheme: EHS) ทยอยลดภาษีแต่ละปีลงในอัตราร้อยละ 50  75  และ 100 ของอัตราภาษี MFN applied rates ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2004 จนถึงวันที่ 1 มีนาคม 2006 ตามลำดับ ครอบคลุมสินค้ารวม 84 รายการ เช่น เงาะ ลำไย มังคุด ทุเรียน องุ่น ข้าวสาลี อาหารทะเลกระป๋อง (ปลาซาร์ดีน ปลาแซลมอน ปลาแมกเคอเรล และปู) และสินค้าอุตสาหกรรมที่ไทยมีศักยภาพในการส่งออก อาทิ อัญมณีและเครื่องประดับ (พลอยสี) เม็ดพลาสติก เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ พัดลม ตู้เย็น เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ เครื่องสีข้าว หม้อแปลงไฟฟ้า เครื่องประมวลผลข้อมูล วงจรพิมพ์ ส่วนประกอบของเฟอร์นิเจอร์ บอลล์แบริ่ง และส่วนประกอบของเครื่องยนต์ เป็นต้น

อย่างไรก็ตามขณะนี้ผลการเจรจายังไม่คืบหน้าเพราะมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในประเทศอินเดีย อีกทั้งยังคงมีกลุ่มหลายกลุ่มในอินเดียที่คัดค้านอยู่

3) ไทย-บาห์เรน 

- ได้ลงนามกรอบความตกลงการเป็นพันธมิตรทางเศรษฐกิจไทย-บาห์เรน (CEP) เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2002  โดยได้จัดทำรายการสินค้าที่จะลดภาษีในเบื้องต้น (Early Harvest) จำนวน 626 รายการ โดยมีอัตราภาษีอยู่ที่ ร้อยละ 0 และร้อยละ 3และลดลงเป็น 0 ภายในวันที่ 1 มกราคม 2005

- สำหรับการลดภาษีสินค้าส่วนที่เหลือ ประมาณ 5,000 รายการ ฝ่ายไทยได้เสนอให้มีการจัดกลุ่มสินค้าเป็น 3 กลุ่ม และใช้รูปแบบ/วิธีการลดภาษี ดังนี้

- Fast Track  ประกอบด้วยสินค้าประมาณร้อยละ 40 ของสินค้าส่วนที่เหลือทั้งหมด และลดภาษีลงเหลือร้อยละ 0 ภายในวันที่ 1 มกราคม 2005

- Normal Track ประกอบด้วยสินค้าประมาณร้อยละ 40 ของสินค้าส่วนที่เหลือทั้งหมดและลดภาษีลงเหลือร้อยละ 0 ภายในวันที่ 1 มกราคม 2007

- Other Products ประกอบด้วยสินค้าประมาณร้อยละ 20 ของสินค้าส่วนที่เหลือทั้งหมด และลดภาษีลงเหลือร้อยละ 0 ภายในวันที่ 1 มกราคม 2010

 

4) ไทย-เปรู 

- ได้ลงนามในกรอบความตกลงว่าด้วยการเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้นระหว่างไทยและเปรู เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2003 ซึ่งจะเริ่มเจรจาตั้งแต่ต้นปี 2004 และคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2005 ทั้งนี้เขตการค้าเสรีไทย-เปรู จะมีผลสมบูรณ์ภายในปี 2015

- กรอบความตกลงดังกล่าวมีสาระสำคัญ   ที่จะเจรจาเปิดเสรีและส่งเสริมการค้าสินค้าโดยทั้งสองฝ่ายจะลดหรือยกเลิกภาษีศุลกากร และลดอุปสรรคที่ไม่ใช่ภาษีสำหรับสินค้าภายในปี ค.ศ. 2015 รวมทั้งจะเปิดเสรีการค้าบริการ การลงทุนระหว่างประเทศ และอำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายสินค้าและบริการระหว่างเขตแดนของทั้งสองประเทศ และจะขยายความร่วมมือในสาขาบริการอื่นๆ โดยเริ่มจากความตกลงที่มีอยู่แล้วในปัจจุบัน เช่น ในด้านการท่องเที่ยว และการขนส่ง เป็นต้น

- การดำเนินการต่อไป   เริ่มเจรจาภายในมกราคม ค.ศ. 2004 เป็นอย่างช้าและให้เสร็จสิ้นในปี 2005

 

5) ไทย-ออสเตรเลีย

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเห็นชอบกับข้อตกลงเขตการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลียแล้วเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2547 ที่ผ่านมา โดยคาดว่าจะมีการลงนามได้ภายในเร็วๆนี้ เพื่อให้ข้อตกลงมีผลบังคับใช้ภายในวันที่ 1 มกราคม 2548

สินค้าส่วนใหญ่ของทั้งสองประเทศจะลดภาษีเหลือ 0 ภายใน 5 ปี ส่วนสินค้าที่เหลือจะทยอยลดโดยไทยจะมีระยะเวลาการลดภาษีที่ยาวกว่าออสเตรเลีย โดยจะค่อยๆ ทยอยลดจนเหลือ 0 ทุกรายการภายใน 20 ปี ขณะที่ออสเตรเลียจะใช้เวลา 5 ปี ยกเว้นสินค้าที่ออสเตรเลียจัดไว้เป็นสินค้าอ่อนไหว คือ เครื่องนุ่งห่ม ประมาณ 300 รายการ จะใช้เวลาลดภาษี 10 ปี  อย่างไรก็ตาม ในปีแรกที่ความตกลงมีผลใช้บังคับ จะลดภาษีให้ไทยครึ่งหนึ่งทันทีจากอัตราปัจจุบันร้อยละ 25 เหลือร้อยละ 12.5

สำหรับสินค้าประเทศไทย ประมาณร้อยละ 49 ของรายการสินค้าทั้งหมด 5,505 รายการ จะลดภาษีเป็นศูนย์ทันที ณ วันที่ความตกลงฯ มีผลบังคับใช้ (ปีพ.ศ. 2548) คิดเป็นมูลค่า 2,161.7 ล้านเหรียญออสเตรเลีย เช่น ธัญพืช (ข้าวสาลีและมอลต์) เส้นใยใช้ในการทอ ครั่ง โกโก้ สินแร่ อัญมณี เชื้อเพลิง (ถ่านหินแอนทราไซต์ น้ำมันปิโตรเลียมดิบที่ได้จากแร่บิทูมินัส น้ำมันเบนซิน น้ำมันก๊าด เศษน้ำมัน)  เคมีภัณฑ์ รถยนต์นั่งขนาดเกิน 3,000 c.c.เป็นต้น

สินค้าที่เหลือประมาณร้อยละ 44 ซึ่งเป็นสินค้าพร้อมลดภาษีของไทย จะค่อยๆ ทยอยลดภาษีเป็นศูนย์ภายใน 2553 (5 ปี) ได้แก่ ผักผลไม้ พลาสติก กระดาษ สิ่งทอ เสื้อผ้า เหล็ก เครื่องจักร อุปกรณ์ไฟฟ้า

สินค้าอ่อนไหวของไทย จะค่อยๆ ทยอยลดภาษีเป็นศูนย์ใน 10-20 ปี ได้แก่ นมข้น บัตเตอร์มิลค์ น้ำผึ้ง ส้ม องุ่น มันฝรั่งปรุงแต่ง ไวน์ แอลบูมิน สิ่งพิมพ์ แป้น แผงคอนโซลและฐานรองรับอื่นๆ สิ่งทอ เสื้อผ้า เหล็ก เนื้อ นม หางนม เนย เนยแข็ง เครื่องในสัตว์ มันฝรั่ง น้ำตาล กาแฟ ข้าวโพด ชา นมและครีม

ด้านการเปิดตลาดบริการและการลงทุน ออสเตรเลียให้ไทยเข้าไปตั้งธุรกิจได้ 100% ยกเว้นหนังสือพิมพ์ กระจายเสียง การบินระหว่างประเทศและท่าอากาศยาน และออสเตรเลียเปิดตลาดในธุรกิจซ่อมรถยนต์ บริการมือถือและดาวเทียม สอนภาษาอังกฤษ-ไทย สอนอาหารไทย นวดไทย เหมืองแร่ และอุตสาหกรรมการผลิตสินค้าทุกประเภท โดยลงทุนตรงไม่เกิน 50%

 

6)  ไทย-ญี่ปุ่น

- ไทยและญี่ปุ่นได้เจรจาจัดทำ Closer Economic Partnership (CEP) ครอบคลุม FTA และความร่วมมือทางวิชาการ  ในการดำเนินงานได้มีการจัดตั้งคณะทำงานขึ้นเพื่อเตรียมสาระเบื้องต้นสำหรับการจัดทำความตกลง Japan-Thailand Economic Partnership (JTEP)

- การค้าบริการ ฝ่ายไทยได้ยื่นเอกสาร Area of interest list โดยเพิ่มเติมรายการที่ไทยสนใจ ได้แก่ ช่างซ่อมรถ ช่างทำผม ช่างเสริมสวย และช่างตัดเย็บเสื้อผ้า ต่อฝ่ายญี่ปุ่น สำหรับสิ่งที่ญี่ปุ่นให้ความสนใจเป็นพิเศษจะเน้นที่การค้าบริการ mode 3 โดยญี่ปุ่นต้องการให้บริษัทญี่ปุ่นได้รับการประติบัติเยี่ยงคนชาติ และไม่มีข้อจำกัดในการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย โดยเฉพาะในสาขาการเงิน และการขนส่งสินค้าทางบก

- ความร่วมมือด้านอื่น ๆ  ฝ่ายญี่ปุ่นต้องการให้ไทยมีความร่วมมือที่ลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา  นโยบายการแข่งขัน การค้าผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และการส่งเสริมการค้าและการลงทุน

 

7) ข้อตกลงเขตการค้าเสรีไทย-สหรัฐอเมริกา

ขณะที่กระบวนการจัดทำข้อตกลงเขตการค้าเสรีของรัฐบาลไทยกับสหรัฐอเมริกายังคงดำเนินไปโดยปราศจากความโปร่งใส  ฝ่ายสหรัฐอเมริกากลับเริ่มต้นกระบวนการเจรจากับไทยอย่างเปิดเผยและมีกลไกที่เกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับสภาคองเกรสอย่างชัดเจน ภายใต้กฎหมาย Trade Promotion Authority Act (section 2104)         ซึ่งผ่านการพิจารณาของสภาคองเกรสเมื่อเดือนกรกฎาคม 2545 นั้น สำนักงานตัวแทนการค้าของสหรัฐจะต้องยื่นหนังสือแจ้งวัตถุประสงค์และเป้าหมายในการเจรจาการค้า(notification letter)ต่อสภาคองเกรสของสหรัฐ หนังสือฉบับหนึ่งจะส่งไปยังวุฒิสภา และอีกฉบับหนึ่งซึ่งมีข้อความเดียวกันจะส่งไปยังสภาผู้แทนสหรัฐ โดยการเจรจากับฝ่ายไทยจะมีขึ้นอย่างเป็นทางการหลังจากหนังสือแจ้งเจตจำนงได้ส่งต่อสภาเป็นเวลาอย่างน้อย 90 วัน

             

จากการวิเคราะห์จดหมายแจ้งความจำนง (Notification Letter) ซึ่งส่งไปยังสภาทั้งสองของสหรัฐ ชี้ชัดว่าสหรัฐฯ ต้องการให้ไทยเปิดตลาดสินค้าเกษตรกรรม การบริการอย่างเต็มที่  เช่นเดียวกับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา รวมถึงให้สิทธิพิเศษกับนักลงทุนและนักธุรกิจสหรัฐฯ ในประเทศไทย ตามรายละเอียดโดยสรุปดังต่อไปนี้

1.      สหรัฐฯ ต้องการให้ไทยขจัดภาษีศุลกากรขาเข้า และมาตรการที่ไม่ใช่ภาษีให้หมดไป รวมถึงห้ามให้ประเทศไทยมีกฎระเบียบภายที่จะกระทบสินค้าที่เป็นผลผลิตจากเทคโนโลยีใหม่ของสหรัฐฯ (GMOs และอื่นๆ)

2.      ไทยต้องสนับสนุนจุดยืนของสหรัฐฯ ในองค์การการค้าโลก (WTO) ที่ต้องการยกเลิกการอุดหนุนการส่งออกสินค้าเกษตรของประเทศอื่นๆ แต่ขณะเดียวกันประเทศไทยจะต้องยอมรับการแทรกแซงตลาดในรูปแบบที่สหรัฐฯ ดำเนินการ เช่น การช่วยเหลือด้านเงินกู้แก่ผู้ส่งออก การสนับสนุนภาคการผลิตการเกษตร และมาตรการการทุ่มตลาด ที่แฝงมากับการช่วยเหลือด้านอาหาร (Food Aid) ของทางสหรัฐฯ

3.      ประเทศไทยจะต้องตอบแทนสิทธิพิเศษทางการค้า (GSP) ที่ทางสหรัฐฯ ได้ให้กับไทยไม่ว่าจะเป็นสินค้าเกษตรหรือสิ่งทอ

4.      ประเทศไทยจะต้องเปิดตลาดให้สิทธิกับนักลงทุนจากสหรัฐฯมากกว่าที่เคยระบุไว้แล้วในสนธิสัญญาไมตรีฯ (Treaty of Amity) ซึ่งนอกจะต้องเปิดตลาดให้ทางสหรัฐฯเข้ามาให้บริการที่เป็นสาธารณูปโภคพื้นฐาน เช่น ไฟฟ้า ประปา แล้วยังต้องเปิดตลาดธุรกิจการเงิน การสื่อสารโทรคมนาคม วิชาชีพเฉพาะ และอื่นๆ อีกด้วย

5.      นักลงทุนไทยในสหรัฐฯ จะต้องไม่ได้รับสิทธิมากไปกว่านักลงทุนสหรัฐฯ เอง   แต่นักลงทุนสหรัฐฯ ในประเทศไทยจะต้องไม่ได้รับการปฏิบัติไม่ด้อยไปกว่านักลงทุนชาติอื่นๆ หรือนักลงทุนไทยเอง   นอกจากนี้ นักลงทุนสหรัฐฯ ในประเทศไทย จะต้องได้รับสิทธิตามกฎหมายไม่น้อยไปกว่าที่เขาได้รับในประเทศสหรัฐฯ ที่สำคัญอย่างยิ่งคือนักลงทุนเอกชนสหรัฐฯ จะมีสิทธิที่จะฟ้องร้องรัฐบาลไทยได้

6.      ประเทศไทยต้องมีมาตรฐานทางกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญามากไปกว่าข้อตกลงเรื่อง TRIPs ในองค์การการค้าโลก รวมทั้งข้อตกลงอื่น เช่น World Intellectual Property Organization (WIPO) Copyright Treaty, the WIPO Performances and Phonograms Treaty และ  Patent Cooperation Treaty ซึ่งจะมีผลทำให้บริษัทสหรัฐสามารถจดสิทธิบัตรครั้งเดียวแต่ครอบคลุมได้ทั่วโลก อายุการคุ้มครองลิขสิทธิ์เพิ่มเป็น 70 ปี และการใช้อินเตอร์เน็ตท่องเว็บอาจถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ทางอินเตอร์เน็ตเพราะถือว่าเป็น”การทำซ้ำชั่วคราว” เป็นต้น

การปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาที่สูงไปกว่าข้อตกลงทริปส์รวมไปถึงการบีบบังคับให้ประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิกของอนุสัญญา UPOV ปี 1991 และการยอมรับระบบสิทธิบัตรในสิ่งมีชีวิต ซึ่งจะทำให้เกษตรกรที่ซื้อเมล็ดพันธุ์ไม่สามารถเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ไปปลูกต่อ การแลกเปลี่ยนเมล็ดพันธุ์ระหว่างกัน รวมถึงการเข้ามาผูกขาดทรัพยากรชีวภาพในรูปแบบต่างๆไปพร้อมๆกันด้วย

7.      ประเทศไทยจะต้องมีกระบวนการและการบังคับใช้เทียบเท่ากับกฎหมายของสหรัฐ ต้องจับกุมผู้กระทำผิดที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา และรวมถึงเครื่องมืออื่นใดที่ใช้ในการผลิตสินค้าดังกล่าว อีกทั้งจะต้องมีบันทึกหลักฐานต่างๆเอาไว้  ผู้กระทำผิดตามกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาถือว่าเป็นอาชญากรมีความผิดอาญาแผ่นดินหาใช่เป็นความผิดส่วนตัวซึ่งจะยอมความกันได้ไม่

8.      รัฐบาลไทยจะไม่สามารถเก็บภาษีสินค้าและบริการทางอินเตอร์เนตจากสหรัฐฯ ได้

9.      นักธุรกิจและบริการของสหรัฐฯ จะต้องได้รับสิทธิในการประมูลการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ไม่ด้อยไปกว่านักธุรกิจหรือบริการสัญชาติไทย

10.  สหรัฐฯ ยังจะคงสิทธิในการใช้มาตรการปกป้องตลาดภายในหากมีผลเสียเกิดขึ้นจากการเปิดตลาดให้กับสินค้าไทย นอกจากนี้สหรัฐฯ ยืนยันว่าจะไม่เปลี่ยนกฎหมายและมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดของตนที่มีอยู่

 

จากเป้าหมายที่เป็นรูปธรรมข้างต้นทำให้เห็นชัดเจนว่า ขอบเขตของ FTA มิได้มีเพียงแค่ประเด็นทางการค้าเท่านั้น  แต่รัฐบาลไทยจะต้องให้อภิสิทธิ์กับนักลงทุนสหรัฐฯ ในการที่จะเข้ามาแสวงหากำไรในประเทศไทย ต้องอนุวัติกฎหมายและกฎระเบียบภายในให้สอดคล้องกับข้อตกลง FTA ที่จะเกิดขึ้น นักลงทุนสหรัฐฯ สามารถฟ้องร้องรัฐบาลไทยได้ ซึ่งกระบวนการยุติข้อพิพาทจะไม่เกิดขึ้นภายในประเทศ หรือภายใต้ระบบตุลาการไทย นี่คือข้อตกลงระหว่างประเทศที่ส่งผลกระทบต่ออธิปไตยของประเทศโดยตรง และส่งผลกระทบต่อประชาชนทั้งประเทศ

 

5.      ผลกระทบที่จะเกิดขึ้น

 

1) กรณีกระเทียมและผลไม้เมืองหนาวราคาตกเพราะข้อตกลงเขตการค้าเสรีไทย-จีน

จากการเปิดเผยของนายวิกรม กรมดิษฐ์ รองประธานสภาธุรกิจไทย-จีน พบว่า จากการที่รัฐบาลได้ตกลงเปิดเขตการค้าเสรี หรือเอฟทีเอไทย-จีนในส่วนสินค้าผัก-ผลไม้ ตั้งแต่เดือน ต.ค.ที่ผ่านมา ปรากฏว่าการนำเข้าสินค้าผัก-ผลไม้จากจีนเพิ่มขึ้นสูงมาก โดยเฉพาะแอปเปิ้ล สาลี่ กระเทียมและหอมหัวใหญ่ โดยสถิติผัก-ผลไม้จากจีนเพิ่มขึ้นถึง 300% คิดเป็นมูลค่ากว่า 3,000 ล้านบาท

ผลกระทบที่เกิดขึ้นอย่างชัดเจน ได้แก่ พื้นที่เพาะปลูกกระเทียมของไทยจากเดิมที่มีอยู่ 1.3 แสนไร่ แต่หลังเปิดเสรีต้องลดพื้นที่เพาะปลูกลงทันที 50,000 ไร่ เพราะกระเทียมจากจีนเข้ามาตีตลาด และในการลดพื้นที่ รัฐบาลโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ต้องเข้าไปให้เงินอุดหนุน โดยหากเปลี่ยนไปเพาะปลูกไม้ยืนต้น ต้องให้เงินอุดหนุน 2,000 บาทต่อไร่ แต่หากเป็นเพาะปลูกพืช ผัก อย่างอื่นก็ต้องจ่ายเงินอุดหนุนให้ 500 บาทต่อไร่ เกษตรกรที่ปลูกหอมกระเทียมได้รับความลำบากมาก

สินค้าจีนที่ส่งเข้ามาไทย ได้รับความสะดวกมาก แต่ไทยส่งไปจีน เจอทั้งการขอใบอนุญาตที่ยุ่งยาก รวมทั้งการตรวจสอบสารตกค้างที่เข้มงวด อย่างลำไยจากไทยเข้าไปถูกตรวจพบสารตกค้าง จีนออกข่าวแจ้งผู้บริโภคทันที ทำให้ผู้บริโภคไม่มั่นใจ โอกาสสินค้าไทยได้รับความนิยมลดลงและมีปัญหาข้อแตกต่าง ระหว่างต้นทุนการขนส่งที่ไทยส่งไปแพงกว่า 2-3 เท่า

            ผลกระทบจากการเปิดเขตการค้าเสรีไทยจีนยังส่งผลกระทบต่อโครงการหลวง ซึ่งส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกพืชเมืองหนาวเช่น แอปเปิ้ล สาลี่ ท้อ มะคาเดเมีย  เป็นต้น ต่อไปเกษตรกรที่ปลูกผลไม้เหล่านี้จะไม่สามารถปลูกพืชเมืองหนาวได้อีกต่อไป ซึ่งจะสร้างปัญหาทั้งทางเศรษฐกิจ ความมั่นคง และปัญหาทางนิเวศวิทยาในพื้นที่สูงในประเทศไทย

 

2)กรณีผลกระทบต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม-โคเนื้อในประเทศไทย กรณีข้อตกลงเขตการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย

ประเทศไทยนำเข้า นมและผลิตภัณฑ์นม จาก ออสเตรเลีย เป็นจำนวน 60% ของปริมาณการนำเข้า นมผง ทั้งหมด (คิดเป็นเงินประมาณ 10,000 ล้านบาท / ปี, กรมศุลกากร 45')  อัตราภาษีเดิมที่ใช้เรียกเก็บ กดดันรายได้ของ ผู้เลี้ยงโคนมไทย มากอยู่แล้ว  หากจะเปิดการค้าเสรี จะทำให้ผู้ผลิตน้ำนมดิบได้รับผลกระทบถึงขั้นสูญสลายอาชีพ (คิดจากเกษตรกร 150,000 คน  มีรายได้ 8, 760  ล้าน บาท / ปี) 

สหกรณ์โคนมเป็นระบบสหกรณ์ที่เข้มแข็งที่สุด  เกษตรกรที่เลี้ยงวัวมีเศรษฐกิจแบบพอเพียง เกษตรกรทำงานทุกวัน   วันๆละ10 ชั่วโมง ซึ่งอยู่อย่างมั่นคง และ พอเพียง เป็นตัวอย่างที่เห็นได้อย่างเด่นชัด ตามแนวพระราชดำรินั้น  จะเสื่อมสลายหายไปจากสังคมไทย หลังจากลงนามเพียงไม่กี่ปี    ทั้งๆที่การผลิต น้ำนมดิบของเรา  ยังไม่เพียงพอกับความต้องการในประเทศ  เราผลิตได้ 2,100 ตัน/วัน ในขณะที่ความต้องการ วันละ 4,000 ตัน/วัน 

ต้นทุนการผลิตน้ำนมดิบของเรา  จัดอยู่ในกลุ่มปานกลาง เท่าๆกับประเทศ ที่มีเทคโนโลยีสูง อย่าง เช่น อเมริกา  เดนมาร์ค  เนเธอร์แลนด์ (10-14 บาท/กก) ต่ำกว่า ญี่ปุ่น สวิสเซอร์แลนด์ นอร์เวย์ (18-28 บาท/กก)  

ต้นทุนการผลิตน้ำนมดิบของ ออสเตรเลีย และ นิวซีแลนด์ มีต้นทุนการผลิตต่ำมาก เนื่องจาก มีทรัพยากรธรรมชาติ ที่ดิน และ ฝนตกตลอดทั้งปี 11 เดือน (6-7 บาท/กก)  ดังนั้น ทุกประเทศ ใน EU, USA จึงต้องมีมาตรการหลายอย่างเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรของเขา แต่ประเทศไทยกำลังทำตรงกันข้าม

อาชีพเลี้ยงวัวและการจัดตั้งสหกรณ์โคนมเป็นสิ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประทานให้กับเกษตรกรมานานกว่า 40 ปีแล้ว แต่ข้อตกลงการค้าเสรีที่รัฐบาลไทยด่วนทำกับออสเตรเลียจะทำลายสิ่งนี้ลงไปอย่างสิ้นเชิง

 

นอกจากโคนมซึ่งมีการเลี้ยงราว 4 แสนตัวในประเทศไทยแล้ว ข้อตกลงดังกล่าวยังจะกระทบต่อการเลี้ยงโคเนื้อของเกษตรกรในประเทศไทย ซึ่งมีอยู่ประมาณ 5-6 ล้านตัวอีกด้วย เกษตรกรไทยส่วนใหญ่เลี้ยงวัวในระบบหัวไร่ปลายนา เป็นเศรษฐกิจแบบพอเพียงที่ช่วยสร้างปุ๋ยให้แก่ดิน สร้างระบบเกษตรกรรมที่ยั่งยืนไม่ต้องพึ่งพาปุ๋ยเคมี  อาชีพเหล่านี้จะได้รับผลกระทบ ทำลายทางเลือกในการประกอบอาชีพ และทำลายระบบเกษตรกรรมที่ยั่งยืนลงไปพร้อมๆกันด้วย ทั้งนี้เนื่องจากเนื้อวัวของออสเตรเลียมีต้นทุนถูกกว่า

 

3)กรณีการผลักดันจีเอ็มโอในประเทศไทย

หลังจากประเทศไทยประกาศเริ่มต้นการทำเอฟทีเอกับสหรัฐอเมริกา บริษัทข้ามชาติและนักการเมืองที่ได้รับการสนับสนุนจากบรรษัทข้ามชาติเข้ามาเข้าพบนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2547 และเข้าพบนายสุวิทย์ คุณกิตติเมื่อวันที่ 8 มกราคม 2547 เพื่อกดดันให้ประเทศไทยอนุญาตให้มีการปลูกพืชจีเอ็มโอในเชิงพาณิชย์

บริษัทข้ามชาติมอนซานโต้แถลงต่อรัฐสภาสหรัฐเมื่อวันที่ 8 เมษายน 2548 ว่าต้องการให้ไทยยกเลิกการห้ามปลูกทดสอบพืชจีเอ็มโอ  ทั้งๆที่มติการห้ามการปลูกทดลองในประเทศไทยนั้น เกิดขึ้นจากความบกพร่องและไม่รับผิดชอบของมอนซานโต้เอง ที่ปล่อยให้ฝ้ายจีเอ็มโอหลุดลอดออกไปนอกแปลงทดลอง ซึ่งถือว่าเป็นความเสียหายอย่างร้ายแรงเมื่อปี 2542

ขณะนี้นายสุวิทย์ คุณกิตติ นายเนวิน ชิดชอบ และนายสมศักดิ์ เทพสุทิน กำลังดำเนินการเพื่อให้มีการยกเลิกมติครม.เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2544 เรื่องห้ามการปลูกทดลองจีเอ็มโอในระดับไร่นา จนกว่าจะมีกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพบังคับใช้ก่อน ทั้งนี้นายสุวิทย์ คุณกิตติ กำลังเตรียมการยกเลิกคณะกรรมการร่างกฎหมายความปลอดภัยทางชีวภาพ เพื่อเปิดทางให้บริษัทมอนซานโต้ได้เข้ามาทดลองปลูกจีเอ็มโอได้โดยสะดวก

ถ้าหากประเทศไทยอนุมัติให้ปลูกจีเอ็มโอได้ ภาคเกษตรของไทยจะอยู่ในมือของบริษัทข้ามชาติที่ว่าทั้งหมด เพราะเมล็ดพันธุ์พืชจีเอ็มโอ 90% ของโลกปัจจุบันอยู่ในมือของบริษัทมอนซานโต้บริษัทเดียว การควบคุมเมล็ดพันธุ์จะทำให้ควบคุมตลาดสารเคมีเกษตรได้ด้วย เพราะว่า 75% ของพันธุ์พืชจีเอ็มโอ เป็นพันธุ์พืชที่ตัดต่อพันธุกรรมให้ต้องฉีดสารเคมีปราบวัชพืชของบริษัทผลิตพืชจีเอ็มโอไปพร้อมๆกันด้วย

อนึ่งราคาเมล็ดพันธุ์พืชจีเอ็มโอบางชนิดสูงกว่าพันธุ์พืชทั่วไปหลายเท่าตัว เช่น เมล็ดพันธุ์ฝ้ายจีเอ็มโอราคา 600 บาทต่อกก. แต่เมล็ดฝ้ายทั่วไปราคาเพียง 15 บาทต่อกก.เท่านั้น

 

4) ประสบการณ์เอฟทีเอจากเม็กซิโก

เม็กซิโกลงนามในเขตการค้าเสรี NAFTA ร่วมกับสหรัฐและแคนาดาเมื่อสิบปีที่แล้ว (1994) ปัจจุบันชาวไร่ข้าวโพดเม็กซิกันต้องล้มละลายอพยพไปหาอาชีพอื่นเพราะ ข้าวโพดราคาถูกซึ่งเกิดจาการสนับสนุนของรัฐบาลสหรัฐไหลทะลักเข้ามาในเม็กซิโก เพราะการที่รัฐบาลเม็กซิโกต้องทะยอยลดภาษีข้าวโพด  ทั้งๆที่ภาษีนำเข้าข้าวโพดจะถูกลดให้เหลือ 0% ภายในปี 2008 ก็ตาม

เม็กซิโกเหมือนกับประเทศไทย ตรงที่ดินแดนของเม็กซิโกเป็นดินแดนที่มีความหลากหลายและเป็นแหล่งกำเนิดของพันธุ์ข้าวโพด เช่นเดียวกับที่ประเทศไทยเป็นแหล่งกำเนิดและมีความหลากหลายของพันธุ์ข้าว  ชาวเม็กซิโกันเคยปลูกข้าวโพดเลี้ยงตัวเองมาได้โดยตัวเองมาตลอดแต่ปัจจุบัน เม็กซิโกต้องนำเข้าข้าวโพดจากสหรัฐมากกว่า 6.4 ล้านตัน/ปี และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ชาวนาเม็กซิกันมากกว่าล้านครอบครัวต้องอพยพออกจากภาคเกษตรกรรมเพราะผลของการทำเอฟทีเอกับสหรัฐอเมริกา

นอกจากต้องนำเข้าข้าวโพดในปริมาณมหาศาลแล้ว เม็กซิโกยังนำเข้าถั่วเหลืองจากสหรัฐเพิ่มขึ้น 50% นำเข้าข้าวสาลีเพิ่มขึ้น 73% เนื้อวัวแปรรูป (processed beef) เพิ่มขึ้น   233% และนำเข้าข้าวเพิ่มขึ้นถึง  135%

การนำเข้าสินค้าอาหารจากสหรัฐไม่ได้ทำให้ผู้บริโภคเม็กซิกันดีขึ้นแต่ประการใดไม่ เนื่องจากราคาอาหารหลักที่ชาวเม็กซิกันรับประทานคือ tortillas มีราคาเพิ่มขึ้นถึง 300 % เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนการลงนามใน NAFTA

เม็กซิโกจึงเป็นตัวอย่างแห่งหายนะของการทำเอฟทีเอ

 

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1680

อัพเดทล่าสุด