https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ภูมิอากาศโลก(ตอนที่ 2) MUSLIMTHAIPOST

 

ภูมิอากาศโลก(ตอนที่ 2)


577 ผู้ชม



เขตภูมิอากาศแห้งแล้ง ( Dry Climate “ B ” )   

เขตภูมิอากาศแห้งแล้ง หมายถึงบริเวณที่มีอัตราการระเหยของน้ำมากกว่าปริมาณหยาดน้ำฟ้าที่ตกลงมา เป็นเขตภูมิอากาศที่ครอบคลุมพื้นที่บนโลกมากที่สุด พบได้ในเขตร้อนและเขตละติจูดกลาง โดยในเขตร้อนพบระหว่างละติจูดที่ 15 – 20 องศาเหนือ และใต้ และบริเวณละติจูด 30 องศา แบ่งแยกย่อยได้เป็น 2 เขตได้แก่
    1.  เขตภูมิอากาศแบบทะเลทราย ( Desert Climate “ BWh” , “BWk” ) เป็นเขตภูมิอากาศที่มีสภาพความแห้งแล้งมากที่สุด เกือบไม่มีฝนตกเลย เป็นเขตภูมิอากาศที่พบบริเวณระหว่างละติจูดที่ 15 – 30 องศาเหนือ และใต้ เนื่องจากเป็นบริเวณที่มีอากาศร้อนและแห้งแล้งจมตัวลง เป็นอุปสรรคต่อการที่จะมีฝนตก หรือฝนที่เกิดจากการพาความร้อน อีกทั้งยังไม่เกิดปรากฏการณ์แนวปะทะอากาศและเกิดพายุหมุนอีกด้วย บางครั้งเมื่อมีฝนตกก็ไม่ตกลงมาถึงพื้นผิวดินด้วย เนื่องจากระเหยกลายเป็นไอไปเสียก่อนและเป็นเขตที่พายุหมุนเขตร้อนจากขั้วโลกพัดผ่านเข้ามาไม่ถึงในบริเวณนี้ เช่นเดียวกับเขตลมค้าที่เบียดตัวเข้าหากันจากแนวเส้นศูนย์สูตรก็เข้ามาไม่ถึง บริเวณพื้นที่ที่มีลักษณะภูมิอากาศแบบทะเลทราย ได้แก่ สะฮารา ตอนเหนือของแอฟริกาภูมิอากาศโลก(ตอนที่ 2)  ออสเตรเลีย ตะวันตกและตอนกลางของออสเตรเลีย      โกบี – ตากลามากัน มณฑลซินเกียงของจีนและมองโกเลียอิหร่าน ในอิหร่านและอัฟกานิสถาน อาตากามา – เปรู ทางเหนือของชิลีและทางใต้ของเปรู
     อุณหภูมิและปริมาณหยาดน้ำฟ้า สำหรับอุณหภูมิในเขตทะเลทราย หรือเขตแห้งแล้งจะแตกต่างกันออกไปตามที่ตั้งในแต่ละเขตละติจูด ถ้าอุณหภูมิของอากาศเฉลี่ยตลอดปีเท่ากับหรือสูงกว่า 18 องศาเซลเซียส จะเป็นทะเลทรายในเขตร้อน (BWh) แต่ถ้าหากอุณหภูมิเฉลี่ยของอากาศตลอดปีต่ำกว่า 18 องศาเซลเซียส จะเป็นทะเลทรายในเขตอบอุ่น (BWk) โดยทั่วไปแล้วถ้าหากเป็นทะเลทรายในเขตร้อนอุณหภูมิเฉลี่ยของอากาศจะสูงมาก เช่น ทะเลทรายอิน ซาลาห์ วัดอุณหภูมิในร่มได้เฉลี่ย 38 องศาเซลเซียส แต่ถ้าเป็นทะเลทรายในเขตหนาว อุณหภูมิที่วัดได้ในเดือนฤดูร้อนจะมีค่าเฉลี่ย 24 องศาเซลเซียส พิสัยของอุณหภูมิในรอบวันอยู่ระหว่าง 4 – 10 องศาเซลเซียส แต่มักพบว่าทะเลทรายในเขตอบอุ่นพิสัยของอุณหภูมิจะมากกว่าทะเลทรายในเขตร้อน ปริมาณหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ยต่ำกว่า 25 เซนติเมตร แต่ในบริเวณที่อยู่ลึกเข้าไปในแผ่นดินปริมาณน้ำฝนที่ตกเฉลี่ยจะต่ำกว่าคือ 12.5 เซนติเมตร สำหรับในบางแห่งจะมีปริมาณน้ำฝนที่ตกวัดจำนวนไม่ได้ติดต่อกันเป็นเวลานาน เช่น ตอนกลางทะเลทราย อิน ซาลาห์ (In Salah) ในประเทศแอลจีเรีย ซึ่งในช่วงระยะเวลา 15 ปี จะมีฝนตกลงมาเพียง 1.5 เซนติเมตร พืชพรรณธรรมชาติมี ลักษณะใบเล็ก ใบมัน หรือมีหนาม เปลือกหนา ลำต้นสามารถเก็บน้ำไว้ได้ เรียกว่า “ไม้อวบน้ำ “ (Suculent) เช่น ตะบองเพชร หญ้าต้นสั้นๆ ขึ้นกระจัดกระจายอยู่เป็นหย่อมๆ สัตว์ที่อาศัยอยู่ ได้แก่ สัตว์จำพวกที่อาศัยอยู่ในโพรง และออกมาหากินในเวลากลางคืน อันเนื่องมาจากสภาพอากาศ และ อูฐ เป็นสัตว์ที่มีลักษณะพิเศษที่สามารถอาศัยได้ในทะเลทราย  แหล่งน้ำในเขตทะเลทรายส่วนใหญ่ ได้แก่ โอเอซิส (Oasis) หรือบริเวณที่เป็นลำน้ำที่ไหลผ่านดินแดนทะเลทราย เช่น แม่น้ำไทกริส-ยูเฟรติส ตอนล่างของแม่น้ำไนล์ ลุ่มแม่น้ำสินธุ แม่น้ำโคโลราโด เป็นต้น 
  2. เขตภูมิอากาศแบบสเต็ปป์ ( Steppe Climate “ BSh” , “BSk” ) เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าเขตภูมิอากาศกึ่งแห้งแล้ง (Semi – arid) ปรากฏอยู่ในส่วนต่างๆ คือ ทวีปอเมริกาเหนือ ตั้งแต่แนวเส้นเมริเดียนที่ 100 องศาตะวันตก ไปจรดแนวเทือกเขาร็อกกี้ และตั้งแต่แนวละติจูดที่ 20 – 54 องศาเหนือ ในลาตินอเมริกา นอกจากนั้นมักพบอยู่เกือบรอบภูมิอากาศแบบทะเลทรายละติจูดต่ำ ยกเว้นทางด้านทิศตะวันตก เป็นเขตเชื่อมภูมิอากาศทะเลทรายกับอากาศชื้น และมักพบบริเวณขอบของบริเวณที่มีมวลอากาศเขตร้อนที่แห้งแล้ง และอากาศลอยต่ำลง ในปีหนึ่งๆ จะมีระยะหนึ่งที่ลมและพายุหมุนพัดผ่านเข้ามาถึงบริเวณนี้และนำฝนมาตก ทำให้ไม่ถึงเกือบแห้งแล้งเสียทีเดียว อุณหภูมิและปริมาณหยาดน้ำฟ้า ลักษณะอุณหภูมิของอากาศจะคล้ายคลึงกับเขตภูมิอากาศเขตทะเลทราย โดยตำแหน่งละติจูดต่างกันจะทำให้อุณหภูมิของอากาศแตกต่างกัน เช่น เขตภูมิอากาศแบบสเต็ปป์ที่ปรากฏอยู่ในเขตละติจูดต่ำอุณหภูมิโดยเฉลี่ยของอากาศตลอดปีจะเท่าหรือสูงกว่า 18 องศาเซลเซียส เรียกว่า “ ภูมิอากาศสเต็ปป์ในเขตร้อน (BSh) “ ส่วนในเขตละติจูดกลาง อุณหภูมิของอากาศโดยเฉลี่ยจะต่ำกว่า 18 องศาเซลเซียส เรียกว่า “ ภูมิอากาศสเต็ปป์เขตอบอุ่น (BSk) “ ส่วนปริมาณน้ำฝนวัดได้น้อยมาก โดยในเขตละติจูดต่ำมีลักษณะของฝนน้อยและไม่แน่นอน ส่วนที่อยู่ในเขตละติจูดสูงจะมีฝนตกในฤดูหนาวเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากมีแนวอากาศและพายุหมุนนอกเขตร้อนพัดผ่าน และอัตราการระเหยของน้ำมีน้อยในฤดูหนาว
พืชพรรณธรรมชาติส่วนใหญ่เป็นหญ้าต้นสั้นๆ คล้ายกับทุ่งหญ้าแพรี่ มีไม้พุ่มจำพวกตะบองเพชรกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป สัตว์ป่าที่อาศัยอยู่เป็นสัตว์ใหญ่ เช่น วัวกระทิง ควายป่า ม้าป่า กวาง สุนัขป่า และสุนัขจิ้งจอก เป็นต้น 

ภูมิอากาศโลก(ตอนที่ 2)

ทุ่งหญ้าสเตปป์ในมองโกเลีย

 

คำถามเพื่ออภิปราย
     1. พืชพรรณธรรมชาติส่วนใหญ่ของภูมิอากาศในเขตนี้เป็นอย่างไร
     2. เขตภูมิอากาศแบบทะเลทราย ( Desert Climate “ BWh” , “BWk” ) พบบริเวณใดของโลก
     3. เขตภูมิอากาศแห้งแล้ง มีผลต่อการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์อย่างไร
ที่มารูปภาพ:https://t2.gstatic.com/images?q=tbn:VEESCtcto48z6M:https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/b/b8/Prokudin-Gorskii-18.jpg/270px-Prokudin-Gorskii-18.jpg

สาระภูมิศาสตร์
เหมาะสำหรับช่วงชั้นที่3-4

ที่มาของข้อมูล : https://www.rmutphysics.com/CHARUD/naturemystery/sci3/geology/4/index_ch_4-5.htm

https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/9/95/Mongolia_Ger.jpg/270px-Mongolia_Ger.jpg
ที่มารูปภาพ:https://t2.gstatic.com/images?q=tbn:VEESCtcto48z6M:https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/b/b8/Prokudin-Gorskii-18.jpg/270px-Prokudin-Gorskii-18.jpg

ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1835

อัพเดทล่าสุด