ไปเชียงราย..หาโอกาส..ตักบาตร "เป็งปุ๊ด" MUSLIMTHAIPOST

 

ไปเชียงราย..หาโอกาส..ตักบาตร "เป็งปุ๊ด"


564 ผู้ชม


การตักบาตรเป็งปุ๊ด หรือตักบาตรเที่ยงคืน ประเพณีท้องถิ่นของชาวล้านนา   

ไปเชียงราย..หาโอกาส..ตักบาตร "เป็งปุ๊ด"

ไปเชียงราย..หาโอกาส..ตักบาตร "เป็งปุ๊ด"

ที่มา: https://www.chiangraifocus.com

        โดยจะตักบาตรในเวลาเที่ยงคืน ซึ่งจะจัดขึ้นในวันพระที่ตรงกับวันพุธ “เป็งปุ๊ด” เป็นภาษาล้านนา เป็ง หมายถึง วันเพ็ญพระจันทร์เต็มดวง ซึ่งก็คือวันพระ ส่วน ปุ๊ด หมายถึง วันพุธ ดังนั้น การตักบาตรจึงจัดขึ้นในวันพระที่ตรงกับวันพุธ นั่นเอง

ไปเชียงราย..หาโอกาส..ตักบาตร "เป็งปุ๊ด"

ที่มา: https://www.chiangraifocus.com

        เมื่อ วันที่ 28 เมษายน 2553 เวลา 00.30 น. ชาวจังหวัดเชียงราย ได้จัดพิธีทำบุญตักบาตรข้าวสารอาหารแห้ง เนื่องในประเพณีวัน "เป็งปุ๊ด" ซึ่งเป็นวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ ตรงกับวันพุธพอดี 
        แต่เดิม การตักบาตร "เป็งปุ๊ด" เป็นประเพณีของชาวพม่า เมื่อมีการผสมผสานทางวัฒนธรรมระหว่างพม่ากับล้านนา ทำให้เกิดการกลมกลืนทางวัฒนธรรม และปฏิบัติสืบทอดต่อกันมา จนกลายเป็นประเพณีท้องถิ่นของภาคเหนือ โดยมีความเชื่อว่าเป็นการบูชาพระอุปคุตที่จำศีลอยู่ใต้ทะเล และจะแปลงกายเป็นสามเณรมาโปรดสัตว์ เมื่อใครได้ใส่บาตรกับพระอุปคุตแล้ว จะเป็นสิริมงคล ทำให้ร่ำรวย

ไปเชียงราย..หาโอกาส..ตักบาตร "เป็งปุ๊ด"

พระอุปคุต

ไปเชียงราย..หาโอกาส..ตักบาตร "เป็งปุ๊ด"

ไปเชียงราย..หาโอกาส..ตักบาตร "เป็งปุ๊ด"

ที่มา: https://www.chiangraifocus.com

        ชาวเชียงราย จึงร่วมใจกันจัดประเพณีนี้ เพื่อเป็นการสืบทอดความเชื่อ ความศรัทธาในพระพุทธศาสนา และสืบทอดประเพณีที่ดีงามของท้องถิ่น ให้คงอยู่ต่อไปและถือเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นเชียงรายอีกด้วย (ที่มา มติชนออนไลน์ วันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2553 เวลา 12:35:21 น. )

        ประเพณีเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมที่เกิดจากการสร้างสรรค์ของคนในสังคม ซึ่งเราควรทำความเข้าใจวัฒนธรรม เกี่ยวกับความหมาย ความสำคัญ และประเภทของวัฒนธรรมว่ามีอย่างไรบ้าง 
        
ตามความหมายของพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ได้นิยามความหมายของวัฒนธรรม ไว้ 4 ประเด็น คือ
        1. สิ่งที่ทำให้เจริญงอกงามแก่หมู่คณะ
        2. วิถีชีวิตของหมู่คณะ
        3. ลักษณะที่แสดงถึงความเจริญงอกงาม ความเป็นระเบียบเรียบร้อยความกลมเกลียวก้าวหน้าของชาติและศีลธรรมอันดีของประชาชน
        4. พฤติกรรมและสิ่งที่คนในหมู่ผลิตสร้างขึ้นด้วยการเรียนรู้จากกันและกันและร่วมใช้อยู่ในหมู่พวกของตน
        วัฒนธรรม จึงหมายถึง ความเจริญงอกงาม เป็นมรดกของสังคมที่เกิดจากการเรียนรู้ สร้างสรรค์ของคนในสังคม มีการปฏิบัติ สืบทอดต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่นเป็นวิถีชีวิตที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละสังคม  
        วัฒนธรรมบางอย่างอาจดำรงคงอยู่ แต่ในขณะที่บางอย่างอาจเลือนหายไปตามค่านิยมที่เปลี่ยนแปลงไปของสังคม 
ประเภทของวัฒนธรรม
วัฒนธรรมตามลักษณะของวัฒนธรรม

        1.วัฒนธรรมทางวัตถุ เช่น เครื่องมือ เครื่องใช้ ในชีวิตประจำวัน เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย อาจเรียกว่าปัจจัย 4 ซึ่งสามารถจับต้องได้ เห็นเป็นรูปร่างลักษณะที่ชัดเจน เป็นต้น
        2.วัฒนธรรมทางจิตใจ เช่น ความเชื่อ ความศรัทธา ความงดงามทางศิลปะ วรรณคดี ระเบียบแบบแผนประเพณีที่ปฏิบัติ เป็นต้น 
วัฒนธรรมตามการจัดหมวดหมู่ของกระทรวงวัฒนธรรม พ.ศ.2485
        1.คติธรรม หมายถึง วัฒนธรรมเกี่ยวกับหลักการดำเนินชีวิต ซึ่งส่วนใหญ่มีที่มาจากหลักธรรมทางศาสนา การอบรมสั่งสอน การขัดเกลาทางสังคม
        2.เนติธรรม หมายถึง วัฒนธรรมทางกฎหมาย เพื่อการบังคับและควบคุมพฤติกรรมของสมาชิกในสังคม ให้มีระเบียบ รวมทั้งแนวทางการปฏิบัติตนขนบธรรมเนียมประเพณีต่างๆ 
        3.วัตถุธรรม หมายถึง วัฒนธรรมด้านสิ่งประดิษฐ์ที่มองเห็นและสัมผัสได้ เช่น เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค บ้านเรือน
        4.สหธรรม หมายถึง วัฒนธรรมทางสังคม เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขและปลอดภัย รวมทั้งระเบียบมารยาทที่ใช้ติดต่อภายในสังคม เช่น การไหว้ การแต่งกาย เป็นต้น
วัฒนธรรมตามแหล่งกำเนิด
        1.วัฒนธรรมหลัก คือ วัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์โดยรวมของชาติ อาจเรียกว่าวัฒนธรรมหลวง ซึ่งเกิดจากค่านิยมในการประพฤติปฏิบัติของคนในสังคมอย่างกว้างขวาง จนกลายเป็นสิ่งที่รับรู้และสามารถปฏิบัติกันได้โดยทั่วไป เช่น การไหว้ การแต่งกาย นาฎศิลป์ มารยาทในการรับประทานอาหาร แบบแผนประเพณี การทำบุญตักบาตร แบบแผนพิธีการต่าง ๆ 
        2.วัฒนธรรมรอง คือ วัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น อาจเรียกว่าวัฒนธรรมท้องถิ่น หรือวัฒนธรรมราษฎร์ เป็นลักษณะเฉพาะซึ่งไม่เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย เช่น ประเพณีวิ่งควาย จังหวัดชลบุรี ประเพณีไหลเรือไฟ จังหวัดนครพนม การทำบุญตักบาตร เป็งปุ๊ด ของภาคเหนือ การแต่งกายของชนเผ่าต่าง ๆ การระบำรำฟ้อน เป็นต้น 
ความสำคัญของวัฒนธรรมไทย 
        1.เป็นเครื่องแสดงเอกลักษณ์ของชาติ
        2.วัฒนธรรมช่วยให้ประเทศชาติเจริญก้าวหน้า
        3.เป็นการสร้างระเบียบแก่สังคมไทย ให้มีระเบียบแบบแผนที่ชัดเจนเป็นรูปแบบเดียวกัน 
        4.วัฒนธรรมเป็นตัวกำหนดรูปแบบของสถาบันทางสังคมไทย 
        5.วัฒนธรรมทำให้เกิดความสามัคคีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน 
ลักษณะของวัฒนธรรมไทย
        1.เป็นมรดกของสังคม 
        2.เป็นวิถีชีวิตหรือเป็นแบบแผนของการดำเนินชีวิตของมนุษย์ 
        3.เป็นพฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้ของคนไทยที่ปฏิบัติสืบทอดต่อกันมา
        4. เป็นสิ่งที่ไม่คงที่ตายตัว สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม ค่านิยม ความเชื่อ และความศรัทธาที่เปลี่ยนแปลงไป 
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม 
สาระหน้าที่พลเมืองฯ มัธยมศึกษาตอนปลาย
มาตรฐานที่ 2.1 ตัวชี้วัดข้อที่ 5
        1.ท้องถิ่นของนักเรียน มีวัฒนธรรมที่เป็นขนบธรรมเนียมประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นอะไรบ้าง 
        2.วัฒนธรรมมีทั้งวัฒนธรรมที่ดีงาม และวัฒนธรรมที่ไม่ดี นักเรียนคิดว่าวัฒนธรรมใดบ้างที่เป็นสิ่งที่ของสังคมไทย และวัฒนธรรมใดบ้างที่ควรได้รับการแก้ไข หรือเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เป็นวัฒนธรรมที่ดีงามต่อสังคมไทยต่อไป
        3.นักเรียนจะมีวิธีการในการดำรงรักษาไว้ซึ่งวัฒนธรรมไทย และวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ดีงามให้ดำรงอยู่คู่สังคมไทยต่อไปได้อย่างไร
กิจกรรมเสนอแนะ
        ให้นักเรียนศึกษาประเพณี วัฒนธรรม ที่เป็นเอกลักษณ์ในท้องถิ่นของนักเรียน คนละ 1 เรื่อง และนำเสนอหน้าชั้นเรียน
แหล่งที่มา
เนื้อหา 
https://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1272432934&grpid=03&catid
https://www.chiangraifocus.com/forums/index.php?pic=14548.msg122651;topicseen
ภาพ
https://www.cots.go.th/images/att_news/1259748876.jpg
https://www.chiangraifocus.com/

บูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้ ศิลปะ

แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2252

อัพเดทล่าสุด