https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
สารสนเทศทางภูมิศาสตร์น่ารู้ MUSLIMTHAIPOST

 

สารสนเทศทางภูมิศาสตร์น่ารู้


509 ผู้ชม


ความรู้ทางสารสนเทศทางภูมิศาสตร์   
       ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศทางภูมิศาสตร์

        ปรากฎการณ์ทางธรรมชาติหลายชนิดมีอิทธิพลบางต่อโลก ซึ่งเมื่อเกิด เหตุการณ์ อุปกรณ์ตรวจจับคลื่นที่อยู่ห่างไกล ออกไปนับหมื่นกิโลเมตรก็ยังสามารถรับความเคลื่อนไหวได้
          ณ วันนี้ นักธรณีวิทยายังไม่ประสบความสำเร็จในการทำนายว่าเหตุการณ์แผ่นดินไหวจะอุบัติเมื่อไร และ ณ ที่ใด ถึงระดับดีมากเลย 
        ดังนั้น ความเสียหายหรือความหายนะต่างๆ จึงไม่เหมือนกันถึงแม้เราจะขาดความสามารถระดับสูงในการพยากรณ์ภัยแผ่นดินไหวก็ตาม แต่นักธรณีวิทยาก็พอมีความรู้ว่า ก่อนที่จะมีเหตุการณ์ แผ่นดินไหวอย่างรุนแรงนั้น แผ่นดินไหวอย่างนุ่มนวลก่อน และโดยอาศัยการติดตั้งอุปกรณ์ ณ ตำแหน่งต่างๆ สัญญาณที่อุปกรณ์เหล่านี้ได้รับจะถูกนำมาสังเคราะห์เพื่อให้รู้ตำแหน่งเวลาและความเป็นไปได้ที่จะมีเหตุการณ์ต่าง
ที่มาข่าว https://www.ipst.ac.th/thaiversion/publications/in_sci/earthquake.html

       
         ดังนั้นเราก็ต้องเข้าใจในระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ เพื่อความสะดวกและปลอดภัยในการดำรงชีวิต ของมนุษย์
เนื้อหา
        
         กลุ่มสาระการเรียนรู้  สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม  ระดับชั้นมัธยมศึกษา
        เนื้อเรื่อง
         ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรีโมทเซนซิ่ง
         วิทยาศาสตร์และศิลปะของการได้มาซึ่งข้อมูลที่เกี่ยวกับวัตถุ (Object) พื้นที่หรือปรากฎการณ์(Phenomena)
ต่าง ๆ บนพื้นผิวโลกจากเครื่องมือบันทึกข้อมูลโดยปราศจากการเข้าไปสัมผัสวัตถุเป้าหมายนั้น ๆ
ชนิดของยานที่ใช้ติดตั้งเครื่องมือวัด
        1.Airborne platforms Aerial photography, 
other sensors aboard airplanes  เนื่องจากการบันทึกข้อมูลหรือถ่ายรูปจากเครื่องบินจะมีระดับอยู่สูงจากผิวโลกม่มากนักและอยู่ภายใต้น่านฟ้าของแต่ละประเทศ จึงมีข้อจำกัดทั้งด้านการบินระหว่างประเทศ การบันทึกข้อมูลจำกัดอยู่ในช่วงแล้งหรือไม่มีเมฆฝน 
        2.Satellite platforms
Landsat, NASA’s Terra, spy satellites, 
meteorological satellites การบันทึกข้อมูลด้วยดาวเทียมซึ่งโคจรอยู่ในอวกาศสูงจากพื้นดินหลายร้อยกิโลเมตรและโคจรรอบโลก  จะสามารถบันทึกสัญญาณข้อมูลผ่านเซนเซอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ดังนั้นขอมูลต่างๆ ที่มีอยู่บนโลกไม่ว่าจอยู่ในเขตของประเทศใดหรืออยู่ ณ บริเวณใดของโลกจะถูกบันทึกได้หมด
  
        ชนิดของดาวเทียมสำหรับบันทึกข้อมูลทรัพยากร 
 ดาวเทียม SPOT
ดาวเทียม THEOS (Thailand Earth Observation Satellite) ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรดวงแรกของประเทศไทย 
 กำหนดขึ้นสู่วงโคจร ปี พ.ศ.2550
รายละเอียดภาพ 
     1) 2 เมตร (แบบช่วงคลื่นเดียว) 
         ความกว้างแนวภาพ 22 กม.
     2) 15 เมตร (แบบหลายช่วงคลื่น)
          ความกว้างแนวภาพ 22 กม.
        องค์ประกอบของการสำรวจระยะไกล
•แหล่งกำเนิดพลังงาน (Source of Energy)
•วัตถุและปรากฏการณ์ต่างๆบนพื้นผิวโลก (Earth Surface Features)
•เครื่องมือหรืออุปกรณ์ในการบันทึกข้อมูล (Sensor)
คุณสมบัติขของช่วงคลื่น 
การวิเคราะห์ภาพจากดาวเทียมด้วยคอมพิวเตอร์
•การเตรียมภาพ (Data Preparation) 
•การเตรียมข้อมูลก่อนการวิเคราะห์ (Pre-Processing) 
•การปรับปรุงคุณภาพของข้อมูล (Image Enhancement)
•การกำหนดประเภทข้อมูล (Nomenclature)
•การจำแนกประเภทข้อมูล (Classification)
•การวิเคราะห์หลังการจำแนกประเภทข้อมูล (Post Classification)
•การวิเคราะห์ความถูกต้อง 
        ที่มาภาพ : GISTDA (Public Organization) Thailand

        ประโยชน์ของรีโมตเซนชิ่ง 
        1.การพยากรณ์อากาศ  กรมอุตุนิยมวิทยาใช้ข้อมูลจากดาวเทียมเพื่อพยากรณ์ปริมาณ และการกระจายของฝนในแต่ละวัน โดยใช้ข้อมูลดาวเทียมที่โคจรรอบโลกด้วยความเร็วเท่ากับการหมุนของโลก ทำให้คล้ายกับเป็นดาวเทียมคงที่(Geostaionary) เช่น ดาวเทียม GMS(Geostationary Meteorological Satellite) และ ดาวเทียมโนอา NOAAที่โคจรรอบโลกวันละ 2ครั้ง  ทำให้ทราบอัตราความเร็ว ทิศทาง และความรุนแรงของพายุที่จะเกิดขึ้นล่วงหน้า หรือพยากรณ์อากาศความแห้งแล้งที่จะเกิดขึ้นได้
        2.สำรวจการใช้ประโยชน์ท่ดิน
        3.สำรวจดิน
        4.สำรวจด้านธรณีวิทยาและธรณีสัณฐานวิทยา
        5.การเตือนภัยจากธรรมชาติ 
        6.ด้านการจราจร
        7.ด้านการทหาร
        8.ด้านสิ่งแวดล้อม
        9.ด้านสาธารณสุข
         กิจกรรมเสนอแนะ
        ศึกษาข้อมูลแหล่งสารสนเทศทางภูมิศาสตร์
        ศึกษาศูนย์บริการข้อมูลแผนที่และระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
        ศึกษาข้อมูลแหล่งข้อมูลสารสนเทศ  ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีรีโมตเซนซิงและระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์
        การบูรณาการกับสาระอื่น
        สาระศิลปะ ในส่วนของการวาดภาพ
        กลุ่มสาระการงาน  ในส่วนของการสืบค้นข้อมูล
       
        อ้างอิง

       https://www.kru-aoy.com/remote1-2.html
       https://www.gistda.or.th  
       https://www.rs.psu.ac.th   
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3879

อัพเดทล่าสุด