https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
...ห้ำ .... The Hero. MUSLIMTHAIPOST

 

...ห้ำ .... The Hero.


449 ผู้ชม


ตัวห้ำกับตัวเบียน...เกี่ยวอะไรกับศัตรูพืช?   

                                                           ห้ำ  ....  The Hero.

ตัวห้ำกับตัวเบียน...เกี่ยวอะไรกับศัตรูพืช?

เรามาใช้ตัวห้ำตัวเบียนแทนการใช้ยาปราบศัตรูพืชกันเถอะ

 วันนี้ เรามาศึกษาสาระดีๆเกี่ยวกับแมลงกำจัดศัตรูพืชกันดีกว่า เผื่อน้องๆ จะนำไปใช้ในการดูแลพืชผักของเราให้สวยงาม น่ารับประทานแบบปลอดสารพิษ กันนะคะ
  
เหมาะสำหรับกลุ่มสาระ การเรียนรู้ การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานเกษตร) ระดับช่วงชั้นที่ 2
                                                                       
ความหมายและความสำคัญ

...ห้ำ .... The Hero. 

แมลงตัวห้ำ        

 ภาพจาก  ipmthailand

               

    ตัวห้ำ เป็นสิ่งมีชีวิตที่กินศัตรูพืชเป็นอาหาร ตัวห้ำมีทั้งที่เป็นแมลง เช่น แมลงปอ ด้วงเต่า มวน แมลงช้าง แมลงหางหนีบ และสัตว์ที่ไม่ใช่แมลง เช่น แมงมุม ไร นก งู เป็นต้น ตัวห้ำ 1 ตัว กินศัตรูพืชได้ทีละหลาย ๆ ตัวตลอดชีวิตของมันจึงกินศัตรูพืชเป็นจำนวนมาก ตัวห้ำจึงมีบทบาทสำคัญในการควบคุมปริมาณศัตรูพืชไม่ให้ระบาดทำความเสียหายต่อพืช ตัวห้ำ ต้องจับศัตรูพืชที่มีชีวิตกิน จึงมักมีลักษณะพิเศษที่แตกต่างจากศัตรูพืช คือมักมีขนาดโตกว่าศัตรูพืช ว่องไวกว่าศัตรูพืช หรือมีอวัยวะพิเศษที่สามารถจับศัตรูพืชได้ เช่น ขาโต ตาโต หนวดยาว ฟันกราม โตแข็งแรงหรือสร้างใยคอยดักเหยื่อ เป็นต้น และมักไม่อยู่นิ่งเคลื่อนไหวตลอดเวลาเพื่อหาศัตรูพืชเป็นอาหาร      

                                     
 

...ห้ำ .... The Hero.

              แมลงตัวเบียน

                                                                   ภาพจาก nanagarden
                                                         
 ตัวเบียน สิ่งมีชีวิตที่ดำรงชีวิตอยู่ด้วยการเบียดเบียนอยู่บนหรือในตัวศัตรูพืชเพื่อการเจริญเติบโตหรือดำรงอยู่จนครบวงจรชีวิต ทำให้เหยื่ออ่อนแอและตายในที่สุด มีทั้งที่เป็นแมลงและสัตว์อื่น ๆ เช่น แตนเบียนและไส้เดือนฝอย ตัวเบียนมีบทบาทสำคัญในการควบคุมปริมาณ  ศัตรูพืชเป็นกระบวนการควบคุมศัตรูพืชโดยธรรมชาติ เพื่อสร้างความสมดุลตัวเบียนทำลายศัตรูพืชได้ทุกระยะ

ประโยชน์และโทษของแมลง มีอะไรบ้าง เรามาดูกัน

 ประโยชน์ของแมลง

 แมลงที่เป็นประโยชน์ต่อมนุษย์ ได้แก่ แมลงผสมเกสร หากขาดแมลงเหล่านี้ ผัก ผลไม้ และอาหาร ซึ่ง เกิดจากการช่วยผสมเกสรของแมลงก็ขาดไปด้วย แมลงในห่วงโซ่ของอาหารของระบบนิเวศน์ นอกจากนี้มนุษย์ยังได้รับผลิตภัณฑ์บางอย่างจากแมลง เช่น น้ำผึ้ง ครั่ง ไหม เป็นต้น แมลงบางชนิดเป็นตัวห้ำ (predator) ตัวเบียน (parasite) ช่วยในการควบคุมแมลงศัตรูพืชได้

 โทษของแมลง

 แมลงที่เป็นศัตรูพืชที่สำคัญ ทำความเสียหายต่อผลผลิตทางการเกษตรทั้งในไร่ และในโรงเก็บ นอก จากนี้ยังก่อความรำคาญ และเป็นพาหะนำโรคมาสู่มนุษย์และสัตว์ ซึ่งเป็นปัญหาที่ทำให้มนุษย์ต้องพยายามหา วิธีป้องกันกำจัดมาโดยตลอด

ประเด็นคำถาม

1. ประโยชน์ของแมลงกำจัดศัตรูพืช
2. โทษของแมลงกำจัดศัตรูพืช
3. แมลงกำจัดศัตรูพืช มีความสำคัญอย่างไร
4. ตัวห้ำ กับตัวเบียน แตกต่างกันอย่างไร

กิจกรรมเสนอแนะ

 การเรียนรู้ด้วยสื่อของจริง 
 การปฏิบัติการใช้แมลงกำจัดศัตรูพืช

สามารถบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์  สาระสังคมศึกษา เรื่อง สิ่งแวดล้อมรอบตัวเรา

แหล่งที่มา

https://greenworld.igetweb.com/index.php?mo=3&art=90870
https://www.sut.ac.th/e-texts/Agri/insectfinal2/insect%20word/Introduction.doc
สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 27
สารานุกรมไทยฉบับเยาวชน

by : kruarada
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=74

อัพเดทล่าสุด