https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
โรคราสนิม MUSLIMTHAIPOST

 

โรคราสนิม


777 ผู้ชม


โรคราสนิม เป็นโรคที่สร้างความเสียหายให้กับเกษตกรชาวสวนเป็นอย่างมาก สมควรที่เราจะมาทำความรู้จักโรคนี้ไว้ เพื่อเป็นการกันไว้ดีกว่าแก้   

                                               ถั่วเหลืองเชียงใหม่ 5 ต้านโรคราสนิม

         หนังสือพิมพ์เดลีนิวส์ ฉบับวันที่ 8 กรกฎาคม  2552 ได้นำเสนอข่าว ถั่วเหลืองเชียงใหม่5ต้านโรคราสนิม โดยนางชุติมันต์ พานิชศักดิ์พัฒนา นักวิชาการโรคพืชชำนาญการพิเศษ สถาบันวิจัยพืชไร่ กรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า วันที่ 27-29 สิงหาคม 2552 จะมีการจัดประชุมพืชไร่วงศ์ถั่วแห่งชาติ โดยในการประชุมดังกล่าว สถาบันวิจัยพืชไร่จะนำผลงานการวิจัยถั่วเหลืองพันธุ์เชียงใหม่ 5 ที่ได้รับรางวัลผลงานวิจัยประเภทประดิษฐ์คิดค้น ประจำปี 2552 จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) คุณสมบัติและลักษณะเด่นของถั่วเหลืองพันธุ์เชียงใหม่ 5 มีดังนี้ 1.ต้านทานโรคราสนิม มีเปอร์เซ็นต์ความเสียหายของใบเนื่องจากโรคราสนิมต่ำ และอัตราความก้าวหน้าความรุนแรงของโรคราสนิมช้า  ในวันนี้เราจึงมาทำความรู้จักโรคราสนิมเพื่อเป็นความรู้รอบตัวกันดีกว่า

เนื้อหาสำหรับกลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพและเทคโนโลยี ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หรือช่วงชั้นที่ 3

โรคราสนิม
ขอขอบคุณกรมส่งเสริมการเษตรที่เอื้อเฟื้อภาพ


โรคราสนิม (Rust)
 
ชื่อเชื้อสาเหตุุ 
         เกิดจากเชื้อรา Phakopsora pachyrhizi Sydow

ลักษณะอาการของโรค
         อาการของโรคจะพบได้บนใบกิ่งก้านและลำต้น แต่ส่วนใหญ่จะพบบนใบอาการครั้งแรกจะสังเกตเห็นได้ โดยใต้ใบจะมีจุดสีน้ำตาลเทาเล็ก ๆ โดยจะเริ่มจากใบที่อยู่ด้านล่าง ๆ ของลำต้น จุดนี้จะขยายขึ้นมีลักษณะนูนดูคล้ายผงสีน้ำตาลคล้ายสีสนิมเหล็ก ซึ่งอาจพบได้ทั้งด้านบนและด้านใต้ใบ แต่จะพบเห็นได้ชัดเจนที่ด้านใต้ใบ (ภาพที่ 1) ในระยะหลังนี้เมื่อลองใช้มือลูบที่บริเวณจุดนูนเหล่านี้จะพบผงสปอร์สีน้ำตาลคล้ายสนิมเหล็กติดมือมา ใบถั่วเหลืองที่เป็นโรคมาก ๆ จะมีอาการเหลือง แห้ง และจะล่วงก่อนกำหนด อาจทำให้ฝักและเมล็ดที่ได้จะมีขนาดเล็กลง ผลผลิตลดลง 
         อาการของโรคราสนิมในระยะเริ่มแรกจะใกล้เคียงกับโรคใบจุดนูน ทำให้เกิดการสับสนในการวินิจฉัยได้ อย่างไรก็ตามหากดูด้วยแว่นขยายจะพบว่าเนื้อเยื่อรอบจุดแผลของโรคราสนิม จะไม่มีลักษณะช้ำน้ำให้เห็น และลักษณะของจุดแผลจะค่อนข้างแหลม 
         ส่วนในถั่วลิสงที่เป็นโรค จะพบแผลตายสีน้ำตาลขนาดเท่าหัวเข็มหมุด กระจายอยู่ทั่วผิวใบเริ่มจากใบล่าง แล้วค่อยลุกลามขึ้นสู่ใบบน แผลดังกล่าวถ้าดูจากด้านหลังใบ จะปรากฏเป็นเพียงจุดสีเหลือง แต่เมื่อพลิกดูใต้ใบจึงจะเห็นเป็นตุ่มนูนขึ้น (pustule) ปกคลุมด้วยผงสปอร์ลักษณะคล้ายผงสนิมเหล็กจำนวนมากมาย ในกรณีที่เป็นโรครุนแรงใบอาจจะเหลือและแห้งตาย 
โรคราสนิมนี้ถ้าเกิดโรคระยะที่ถั่วแก่แล้วจะไม่ทำความเสียหายกับผลผลิตมากนัก แต่ถ้าเข้าทำลายในระยะที่ถั่วลิสงอยู่ในระยะออกดอกถึงฝักอ่อน จะทำให้ผลผลิตลดลงมาก โดยมีผลทำให้เมล็ดถั่วลิสงมีขนาดเล็กและลีบ

โรคราสนิม
ขอขอบคุณกรมวิชาการเกษตรที่เอื้อเฟื้อภาพ

การแพร่ระบาด 
        
- โรคราสนิมแพร่ระบาดได้ดีในสภาพพื้นที่ที่มีความชื้นสูง อุณหภูมิค่อนข้างต่ำ โดยอุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ในช่วง 18-21 องศาเซลเซียส ในการแพร่ระบาดจะอาศัยลมเป็นตัวการพัดพาสปอร์จากต้นถั่วเหลืองที่เป็นโรค เชื้อนี้ไม่สามารถอาศัยอยู่ในเมล็ด แต่สปอร์อาจปะปนไปกับเมล็ดพันธุ์ได้ 
        
- พืชที่โรคราสนิมสามารถติดต่อได้ มีหลายชนิด เช่น ถั่วเหลือง ถั่วลิสง อ้อย ข้าวโพด ลีลาวดี เป็นต้น

การป้องกันกำจัด

         1. ใช้ถั่วเหลืองพันธุ์เชียงใหม่ 60, สจ.4 และ สจ.5 ปลูกในแหล่งและฤดูที่มีโรคนี้ระบาดมาก ถั่วเหลืองทั้ง 3 พันธุ์ดังกล่าวมีความทนทานต่อโรคราสนิมดีกว่าพันธุ์แนะนำอื่น ๆ 
         
2. หลีกเลี่ยงการปลูกถั่วเหลืองปลายฤดูฝน
        
 3. ไม่ควรปลูกถั่วเหลืองช้ำในที่เดิมตลอดปี
         
4. ในช่วงระยะออกดอกและเริ่มมีฝักเล็ก ควรหมั่นตรวจแปลง หากพบถั่วเหลืองแสดง อาการของโรคราสนิม และสภาพอากาศชื้น อุณหภูมิค่อนข้างต่ำ อาจใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดเชื้อราฉีดพ่น ได้แก่ mancozeb, oxycarboxin, piperazin และ triadimefon 
          นอกจากนี้ควรหมั่นสำรวจติดตามสถานการณ์โรค ในระยะถั่วเหลืองออกดอก-ฝักอ่อน โดยเฉพาะเมื่อปลูกถั่วเหลืองพันธุ์นครสวรรค์ 1, สุโขทัย 2, สจ. 1 และ สจ.2 ซึ่งเป็นพันธุ์ที่อ่อนแอต่อโรคนี้ และเมื่อสภาพอากาศค่อนข้างเย็น และความชื้นในอากาศสูง หากพบถั่วเหลืองแสดงอาการของโรคที่บริเวณใบ ส่วนบนของลำต้นโดยมองเห็นอาการไม่ชัดเจน ตัดสินใจพ่นสารเคมี แมนโคเซ็บ 80% อัตรา 30-40 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ไตรอะไดมีฟอน 25% อัตรา 10 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หากจำเป็นต้องฉีดพ่นหลายครั้ง ให้ใช้สารเคมีทั้ง 2 ชนิดนี้สลับกัน

ประเด็นคำถามเพื่อนำไปสู่การอภิปรายในห้องเรียน
         1. ทำไมจึงต้องใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช
         2. การกำจัดศัตรูพืชโดยวิธีชีวภาพมีวิธีใดบ้าง
กิจกรรมเสนอแนะ
         ให้นักเรียนศึกษาสำรวจโรคพืช ที่ที่อยู่ในท้องถิ่นบ้านนักเรียน ว่าโรคพืชชนิดใดบ้างที่สร้างความเสียหายแก่พืชที่ปลูก
การบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆ
          สามารถบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เกี่ยวกับเรื่องการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช
ที่มาของข้อมูล
         https://agriqua.doae.go.th/plantclinic/clinic/plant/bean/dbean2_7.htm 
         https://www.doae.go.th/pest/filcrop/soybean/sopha.htm
         https://ait.nisit.kps.ku.ac.th/dbfieldcrop/disease/peanut/rust.htm 
         https://www.pantown.com/board.php?id=24479&area=3&name=board3&topic=2&action=view
 

ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1181

อัพเดทล่าสุด