https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
พืชผักปลอดสารพิษ MUSLIMTHAIPOST

 

พืชผักปลอดสารพิษ


1,230 ผู้ชม


การบริโภคพืชผักตามท้องตลาด ท่านแน่ใจได้เพียงใดว่าท่านได้บริโภคพืชผักที่สะอาด ปราศจากสารพิษเจือปน เพราะปัจจุบันการใช้สารเคมีในการกำจัดศัตรูพืชถือว่าเป็นเรื่องปกติธรรมดาของเกษตรกรไปเสียแล้ว ฉะนั้นเราควรหันมาบริโภคพืชผักปลอดกันดีกว่า แล้วเราจะหาพืชผักเหล่านี   

การปลูกผักปลอดสารพิษเพื่อบริโภคและจำหน่าย

พืชผักปลอดสารพิษ
ที่มาภาพผักปลอดสารพิษ

หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ออนไลน์ ฉบับวันอาทิตย์ที่ 23 สิงหาคม 2552 คอลัมน์สิ่งแวดล้อม-คุ้มครองผู้บริโภค ได้นำเสนอข่าวเรื่อง ผักปลอดสารแบรนด์ “ซำสูง” โดยในเนื้อหาสาระของข่าวสารนี้มีอยู่ว่า ท่านนายอำเภอไกรสร  กองฉลาด นายอำเภอซำสูง จังหวัดขอนแก่น ได้ใช้กรรมวิธีแก้จนชาวบ้านโดยการปลูกผักสารพิษ เพื่อบริโภคในครัวเรือนและเพื่อการจำหน่าย ผลปรากฏว่า พืชผักเกิดมีชื่อเสียงเป็นที่นิยมของนักบริโภคผักปลอดสารพิษ และชาวบ้านมีรายได้จากการจำหน่ายผักปลอดสารพิษเป็นกอบเป็นกำ จนนายอำเภอได้รับรางวัลดีเด่น ระดับเขตพื้นที่ วันนี้เรามาเรียนรู้หลักการปลูกพืชผักปลอดสารพิษกันดีกว่า

เนื้อหาสำหรับกลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพและเทคโนโลยี (งานเกษตร) ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น หรือช่วงชั้นที่ 3 เรื่องการปลูกพืช

การปลูกผักสลัดปลอดสารพิษ
           ปัจจุบันประชาชนหันมาใส่ใจในเรื่อง การบริโภคอาหารที่ถูกสุขลักษณะ ผักปลอดสารพิษจึงนับเป็นทางเลือกหนึ่งในการนำมาประกอบอาหารกันอย่างแพร่หลาย และเป็นที่รู้จักกันหลายๆ ชื่อ เช่น ผักกางมุ้ง ผักโรงเรียน ผักอนามัยหรือการปลูกผักในมุ้งตาข่าย ผักที่นิยมปลูกในมุ้งตาข่าย ได้แก่ ผักคะน้า ผักกาดขาว ผักกาดเขียว ผักกวางตุ้ง กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก บรอคโครี และ ผักสลัด ซึ่งตัวอย่างการปลูกผักปลอดสารพิษที่กล่าวต่อไปนี้ ก็คือการปลูกผักสลัดนั่นเอง

พืชผักปลอดสารพิษ
ที่มาภาพบ้านสวนพอเพียง

การเตรียมโรงเรือน
          โรงเรือนสำหรับปลูกผักในมุ้ง ถ้าปลูกพืชในที่กว้างเกิน 3-4 ไร่ โรงเรือนจะต้องแข็งแรง และทนทาน อาจจะใช้โครงเหล็กแบบท่อน้ำขนาด 1 นิ้ว ต่อแบบหน้าจั่ว ขนาดกว้างยาวให้เท่ากับพื้นที่มีอยู่ ความสูง 2.50 เมตร ผูกโยงโดยใช้ลวดเบอร์ 12
           ในระยะเริ่มต้น ควรใช้วัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาเป็นโครงสร้างก่อน โดยใช้เสาเข็มไม้ไผ่ เศษไม้ต่างๆ ที่พอจะหาได้ แล้วใช้ไม้ตอกยึดเพื่อความแข็งแรง ส่วนมุ้งตาข่ายควรเลือกใช้สีขาว เย็บเรียบร้อยและแน่นหนา 
           
การปลูกผักกางมุ้ง ควรมิดชิด มีประตูแบบสองชั้นสามารถป้องกันผีเสื้อหนอน และด้วงหมัดผักได้เป็นอย่างดี แต่จะไม่สามารถป้องกันโรคพืชที่มักเกิดเฉพาะฤดูฝน เช่น โรคใบกรอบ โรคเน่า โรคราน้ำค้าง โรคใบจุด

การเตรียมวัสดุเพาะ
- วัสดุเพาะกล้า ประกอบไปด้วย แกลบเผา 3 ส่วน ดิน 1 ส่วน ปุ๋ยหมัก(โบกาฉิ) 1 ส่วน
 - และกระบะเพาะกล้าผัก ขนาด 6x17 ช่องจะเพาะได้ประมาณ 108 ต้น หรือ กระบะโฟมจะเพาะได้ 90 ต้น
 - เมล็ดพันธุ์ผักที่เพาะได้มีความงอกประมาณ 80 %

วิธีการเพาะกล้าผัก
1. นำวัสดุเพาะมาผสมกัน และนำใส่กระบะเพาะ
2. ใช้ไม้จิ้มกลางหลุมของวัสดุเพาะนำเมล็ดผักหยอดลงในหลุมกระบะ เพาะหลุมละ 1 เมล็ดแล้วกลบด้วยวัสดุเพาะบางๆ
3. นำกระบะเพาะวางไว้ในร่มรำไร หรือในโรงเรือนแล้วรดน้ำให้ชุ่ม วันละ 2 ครั้ง เวลา 7.00 - 8.00 น. และ 15.00 -16.00 น.
4. เมล็ดผักจะงอกหลังหยอดเมล็ด 3-5 วัน หลังจากผักมีใบ 3-5 ใบ หรือ มีอายุประมาณ 20 วัน ให้ย้ายกล้าปลูกลงในแปลง

พืชผักปลอดสารพิษ
ที่มาภาพโครงการหลวงปางยาง

การเตรียมแปลงปลูก
- ตรวจสภาพของดินวัดความเป็นกรด - ด่างของดิน ซึ่งระดับที่เหมาะสมคือ 6 - 6.5
- ไถดะปรับพื้นที่ให้เรียบและโปร่ง จากนั้นให้ไถซ้ำอีก 2-3 ครั้ง เพื่อให้ดินละเอียดขึ้น
- ตากดินไว้ 7 วัน เพื่อกำจัดโรคพืชและแมลง
- ขุด,ถอน,และกำจัดพืชที่ไม่ต้องการออก
- หว่านปูนขาวเพื่อปรับสภาพความเป็นกรดของดิน 100 - 200 กก./ไร่
- ยกแปลงขนาด 1.20 x 40 เมตร ยกร่องสูง 50 เซนติเมตร
- หว่านปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก 1-2 ตัน/ไร่เพื่อเพื่อความร่วนซุยและไถพรวนอีกครั้งหนึ่ง
- ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินให้เหมาะสมกับการปลูกผัก อัตรา 50 กก./ไร่
- คลุมด้วยฟางข้าวแห้งเพื่อรักษาความชื้น 1 แปลงใช้ประมาณ 3 ก้อน
- พื้นที่ 1 ไร่ ทำแปลงขนาด 1.2 x 40 เมตร ได้ 20 - 25 แปลง

วิธีการย้ายกล้าปลูก
1. รดน้ำแปลงผักที่เตรียมไว้แล้วให้ชุ่ม
2. ย้ายกล้าผักจากกระบะลงในแปลงแต่ยังไม่ต้องรดน้ำเพื่อไม่ให้ดินอัดแน่นเกินไป เพราะอาจจะทำให้รากขาดอากาศหายใจ
3. รดน้ำแปลงผักให้ชุ่มอีกครั้งในตอนเช้า เพื่อไม่ให้ดินอัดแน่นที่ต้นกล้า
4. ระยะปลูกผัก 3 - 4 ต้น แล้วแต่ความกว้างของหน้าแปลง ถ้าหน้าแปลงกว้างประมาณ 1 เมตร จะใช้ระยะปลูก 3 ต้น
5. ควรทำการย้ายกล้าผักในตอนเย็น เพื่อให้ผักพักตัวช่วงกลางคืน และฟื้นตัวเร็วขึ้น
6. ใน 1 ปีสามารถปลูกผักได้ 2-3 ครั้ง ขึ้นอยู่กับความต้องการของตลาด แต่ไม่ควรปลูกในมากกว่านี้เพราะจะทำให้ดินเสื่อมเร็ว และ ควรมีการพักแปลงอย่างน้อย 1 รุ่น เพื่อให้ดินฟื้นตัว ตัดวงจรศัตรูพืชในดินและปลูกปุ๋ยพืชสด เช่นโสน

การดูแลรักษา
1. การให้น้ำ
 ไม่แนะนำให้ใช้ระบบฝนเทียมแต่จะใช้แรงงานคนเดินฉีดสายยางตามแปลงเพราะน้ำจากสายยางจะสามารถชะล้างไข่ของแมลงศัตรูพืชที่ติดอยู่ที่ใบลงดินได้ จากนั้นจุลินทรีย์ในดินก็ย่อยกินไข่แมลงศัตรูพืชเหล่านี้
 นอกจากนี้ผู้ปลูกจะได้ถือโอกาสตรวจแปลงไปในตัวหากมีความผิดปกติก็จะพบเห็นทันที
 - หน้าหนาวรดน้ำวันละ 1ครั้ง เวลา 6.00 - 7.00 น. ก่อนแดดออก เพราะจะช่วยชะล้างน้ำค้างตอนเช้า ซึ่งน้ำค้างมีฤทธิ์เป็นกรดสามารถทำให้เกิดโรคราน้ำค้างได้ จะเน้นในช่วงหน้าหนาวและหน้ามรสุม
 - หน้าร้อนรดน้ำวันละ 2 ครั้ง ถ้าอากาศร้อนมาก ให้รดน้ำตอนบ่าย เวลาประมาณ 14.00 น. เพื่อช่วยลดอุณหภูมิภายในแปลง ซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อต้นพืช
 - หน้าฝนถ้าฝนตกก็ไม่ต้องรดน้ำ ถ้าฝนตกมากเกินไปจะทำให้ดินแน่นพืชจะขาดอากาศหายใจ จะต้องใช้ตะขอคุ้ยดินรอบต้นเพื่อให้มีการถ่ายเทอากาศ 

พืชผักปลอดสารพิษ
ที่มาภาพคริสต์มาสปาร์ตี้ ที่ วังน้ำเขียว


 2. การใส่ปุ๋ย
 - ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 อัตรา 50 กก./ไร่ แบ่งใส่ 2 ครั้ง ครั้งแรกหลังจากปลูก 1 อาทิตย์ และอีก 2 อาทิตย์ใส่อีกครั้งหนึ่ง
 - ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 46-0-0 อัตรา 50 กก./ไร่ แบ่งใส่ 2ครั้ง ครั้งแรกหลังจากปลูก 1 อาทิตย์ และอีก 2 อาทิตย์ใส่อีกครั้งหนึ่ง
 - ใช้ปุ๋ยชีวภาพ หรือปุ๋ยน้ำอินทรีย์ อัตรา 30-50 ซีซี.(3-5 ช้อนโต๊ะ) ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุกๆ 5-7 วัน ตั้งแต่เริ่มปลูก (ฉีดช่วงเช้าจะดีที่สุด)

โรคและแมลง
- โดยส่วนใหญ่แล้วการเสียหายจากโรคและแมลงทำลายไม่เกิน 10 % จึงไม่เป็นปัญหาสำหรับการผลิตผักปลอดสารพิษ
- เมื่อพบโรคและแมลงจะใช้แรงงานคนกำจัด โดยเด็ดใบหรือถอนต้นทิ้ง เพื่อไม่ให้เกิดการแพร่ระบาด
อายุการเก็บเกี่ยว และ การเก็บเกี่ยว
เรดโอ๊ค อายุเก็บเกี่ยว 45-50 วัน
 - สลัดแก้ว อายุเก็บเกี่ยว 70 วัน
 - เรดลีฟ อายุเก็บเกี่ยว 45 วัน
 - บัตเตอร์เฮด อายุเก็บเกี่ยว 50 วัน
 - คอส อายุเก็บเกี่ยว 55 วัน
 - กรีนโอ๊ค อายุเก็บเกี่ยว 40 วัน
 - การเก็บเกี่ยว ใช้มีดตัดโคนต้นของผักตัดใบแก่ออกแล้ววางใส่ตะกร้า ระวังอย่าให้ผักช้ำ
 - เมื่อเก็บเกี่ยวเสร็จแล้ว ควรพักแปลงทิ้งไว้ประมาณ 1 เดือน และ ทำการปรับปรุงบำรุงดินเพื่อให้ดินอุดมสมบูรณ์พร้อมที่จะปลูกผักในครั้งต่อไป

การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว  
ล้างทำความสะอาดผัก
 - ตัดแต่งส่วนที่เน่าเสีย หรือผิดปกติออก แล้วทาปูนแดงที่รอยตัด เพื่อป้องกันเชื้อโรคเข้าทำลาย
 - คัดขนาดคุณภาพของผัก ทำการบรรจุในถุงพลาสติก หรือตะกร้า เพื่อการขนส่ง
 - รถที่ใช้รถขนส่งเป็นรถของเกษตรกร เป็นรถห้องเย็นเพื่อป้องกันความเสียหายของผัก และให้ผักสดอยู่ตลอด และ การขนส่ง 1 เที่ยว สามารถบรรจุได้ 500 - 600 กก. จะส่งทุกสัปดาห์ในวันพฤหัส และอาทิตย์
 - ผักสดสามารถเก็บไว้ในตู้เย็นได้นานถึง 2 สัปดาห์
ราคา ขนาด และ ตลาด
ทุกตลาดราคาขาย อยู่ที่ กก.ละ 30 - 50 บาทแล้วแต่ฤดูกาล
 - ผักที่มีขนาดใหญ่จะส่งขายให้กับโรงแรมเป็นส่วนใหญ่
 - ผักที่มีขนาดเล็กจะส่งขายให้กับตลาดทั่วๆไป
  
ตลาด ในปัจจุบัน 
- ตลาดกลางเสรีเซ็นเตอร์,ซีคอนสแคว์,ตลาด อตก. 300 กก./สัปดาห์ 
- บริษัท GM ตัวแทนโรงแรม จ.ภูเก็ต 300 กก./สัปดาห์ 
- โรงแรมแชงกีรา,โอเรียลเต็ล,คิงสวีท 500 กก./สัปดาห์ 
- โครงการส่งเสริมกสิกรรมไร้สารพิษอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 50 กก./สัปดาห์ 
- ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ สาขา บางแค,งามวงศ์วาน,บางกะปิ,และ ดิ เอ็มโพเรียม 400 กก./สัปดาห์ 
- บริษัทดีทแฮม, การท่าเรือ, โรงงานยาสูบ, ตลาดสีลม 100 กก./สัปดาห์

พืชผักปลอดสารพิษ
ที่มาภาพเกษตรพอเพียงดอทคอม

ประเด็นคำถามเพื่อนำไปสู่การอภิปรายในห้องเรียน
1.ผักปลอดสารพิษสำคัญต่อชีวิตความเป็นอยู่ของคนเราอย่างไร
2.เราจะหาซื้อผักปลอดสารพิษเพื่อการบริโภคได้จากที่ใด
3.ถ้าซื้อพืชผักจากตลาดมาบริโภค สิ่งสำคัญที่จะต้องคำนึงถึงมากที่สุดคืออะไร
กิจกรรมเสนอแนะ
ศึกษาค้าคว้าเกี่ยวกับ การปลูกผักปลอดสารพิษชนิดอื่น และทำรายงานส่งคนละ 1 เรื่อง
การบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆ
สามารถบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา เกี่ยวกับเรื่องโรคที่เกิดจากการบริโภคพืชผักที่มีสารพิษ

แหล่งที่มาของข้อมูล
https://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=522&contentID=15651 
https://www.wangnamkheo.com/vegtech01.htm 
https://www.samutprakan.net/5800/WebarcheepNew/archeep5.htm 
เอกสารอ้างอิง 
 สำนักงานเกษตรอำเภอวังน้ำเขียว. 2545. แผนพัฒนาการเกษตรตำบลไทยสามัคคี อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา.
 นายไกร ชมน้อย. 2546. ติดต่อส่วนตัว. 111 หมู่ 2 ต.ไทยสามัคคี อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา 30370. โทรศัพท์ 0-1274-6961

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=1531

อัพเดทล่าสุด