https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
หางไหลทางเลือกใหม่ของเกษตรกรไทย MUSLIMTHAIPOST

 

หางไหลทางเลือกใหม่ของเกษตรกรไทย


556 ผู้ชม


หางไหล เป็นพืชสมุนไพรที่เกษตรกรใช้ผลิตเป็นสารป้องกันและกำจัดศัตรูพืช   

  ในปัจจุบันพืชผักที่เราใช้บริโภคส่วนใหญ่จะมีสารพิษปนเปื้อนอยู่ ซึ่งเกษตรกรมีทางเลือกในการใช้สารป้องกันศัตรูพืชโดยใช้สมุนไพรในการป้องกันศัตรูพืช ซึ่งสมุนไพรป้องกันศัตรูพืชมีหลายชนิด เช่น ขมิ้น ตะไคร้หอม สาบเสือ เป็นต้น

        หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 24 เมษายน 2551 ได้นำเสนอข่าวเกี่ยวกับ
ผู้บริโภคได้ให้ความสำคัญกับคุณภาพ และความปลอดภัยของสินค้าสำหรับผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ กฎเกณฑ์ ทางการค้านับวันจะให้ความสำคัญกับคุณภาพมากยิ่งขึ้น โดยมีมาตรการต่าง ๆ มาบังคับในเชิงระบบ เกษตรกรจึงจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ในกระบวนการผลิตที่จำเป็น โดยเฉพาะในเรื่องของการใช้สารเคมีได้ไม่ว่าจะเป็นด้านการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ หรือประมง ชนิดพืชสมุนไพรที่นำมาใช้มีความหลากหลาย เช่น เหง้าขมิ้นชัน ใบฟ้าทะลายโจร หางไหล ใช้ป้องกันกำจัดศัตรูพืช เพื่อทดแทนยาปฏิชีวนะ ว่านน้ำใช้เหง้าป้องกันกำจัดด้วงหมัด  ผักและโรคแอนแทรกโนสในมะม่วง และผักเป็นต้น


                                                         หางไหลทางเลือกใหม่ของเกษตรกรไทย

                              ที่มาภาพ www.phtnet.org/news51/view-news....ID%3D252

        เนื้อหาสำหรับกลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพและเทคโนโลยี  ระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ 6  เรื่อง สารป้องกันและกำจัดศัตรูพืช
        หางไหล หรือ โลติ้น นอกจากชื่อหางไหล หรือ โล่ติ้นแล้วยังมีชื่อตามท้องถิ่น เช่น อวดน้ำ ไหลน้ำ เป็นสมุนไพรปราบศัตรูพืชที่ใช้ฆ่าแมลงพื้นบ้านที่รู้จักกันตั้งแต่โบราณ 
        วิธีใช้ โดยนำส่วนรากทุบและไปแช่น้ำค้างคืน น้ำที่แช่หางไหลขุ่นขาวคล้ายน้ำซาวข้าว แล้วนำไปรดสวนผัก เพื่อฆ่าหนอน หรือฆ่าแมลงที่มากัดกินผัก  การใช้รากหางไหลใช้ได้ทั้งในรูปผง และสารละลาย สามารถพ่นโดยตรงบนต้นอ่อนและใบอ่อนของพืช โดยไม่เกิดอันตรายกับพืชและเมื่อสกัดสารออกมาแล้วสมควรใช้ทันที เพราะสารในหางไหลจะสลายตัวได้ง่ายเมื่อถูกแสงแดด

      สารสำคัญที่ออกฤทธิ์ในหางไหล เรียกว่า โรตีโนน (Rotenone) มีประสิทธิภาพในการฆ่าแมลง โดยแมลงจะดูดซึมเข้าไปในกระเพาะ  บ้านเรามีหางไหลอยู่ 2 ชนิดที่มีสารโรตีโนนสูง คือ ชนิดแดง และชนิดขาว ซึ่งพบว่ามีสารพิษอยู่ในเกณฑ์เฉลี่ย 4-5 เปอร์เซ็นต์ จึงมีงานศึกษาวิจัยเพื่อปลูกเป็นการค้าศึกษาช่วงอายุที่สารสำคัญในเหง้าสูงสุด และพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ในรูปสารสกัด 
       การปลูกหางไหล ใช้เถาที่มีสีน้ำตาลเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เซนติเมตร ตัดเฉียงเป็นท่อน ๆ ละ 20-30 เซนติเมตร หรือแต่ละท่อนมีข้อ 2-4 ข้อ ปักชำซึ่งจะขึ้นง่ายและโตเร็วกว่าการใช้เมล็ด ควรปักถุงก่อนลงแปลง ใช้ขี้เถ้าแกลบผสมดินอัตราส่วน 2:1 ปักชำกิ่งทำมุม 45 องศากับผิวดินภายใน 3 สัปดาห์จะมีรากงอกออกมา และมีตุ่มขึ้นตรงข้อ ซึ่งจะแตกเป็นต้นอ่อนเจริญเติบโตต่อไป กิ่งปักชำสามารถย้ายลงแปลงปลูกภายใน 6-9 สัปดาห์ และเนื่องจากหางไหลเป็นพืชกระกูลถั่ว การปลูกพืชชนิดนี้สามารถไถกลบเป็นพืชคลุมดิน ป้องกันการสูญเสียความชื้นจากดินและป้องกันการชะล้างของดินได้อีกด้วย 
        ข้อจำกัดของหางไหลคือ เป็นพิษกับสัตว์เลือดเย็นเกษตรกรจึงต้องระมัดระวังการใช้ใกล้แหล่งน้ำ สมุนไพรที่ใช้ป้องกันกำจัดศัตรูพืชและใช้ในภาคการเกษตรหลายชนิดมีความต้องการใช้มากขึ้นในปัจจุบันแต่ปัญหาที่เกิดขึ้นคือสมุนไพรบางชนิดหายากหรือขาดแคลน 
ในบางแหล่งเกือบทั้งหมดเก็บจากธรรมชาติ อายุการปลูกยาวนานกว่าจะได้สารสำคัญ ดังนั้นการสร้างแหล่งผลิตที่เพียงพอจึงมีความจำเป็นซึ่งจะต้องส่งเสริมให้เกษตรกร สามารถผลิตพันธุ์เพื่อใช้เอง ไม่เก็บจากธรรมชาติ สามารถหาได้ง่าย เลือกใช้ได้อย่างถูกต้องตรงกับศัตรูพืช และไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม

                                                        

หางไหลทางเลือกใหม่ของเกษตรกรไทย

                           ที่มาภาพ  https://www.thaigoodview.com/library/stu...r_1.html


ประเด็นคำถามเพื่อนำไปสู่การอภิปรายในห้องเรียน
        1.สมุนไพรป้องกันและกำจัดศัตรูพืชมีอะไรบ้าง
        2.มีสารที่ออกฤทธิ์ในหางไหลมีชื่อว่าสารอะไร
        3.การผลิตสารปัองกันและกำจัดศัตรูพืชหางไหลมีกระบวนการผลิตอย่างไร
กิจกรรมเสนอแนะ
        ศึกษาเกี่ยวกับสมุนไพรป้องกันและกำจัดศัตรูพืชชนิดอื่น และทำรายงาน 1 เรื่อง
การบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น
        สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
อ้างอิงแหล่งที่มาข้อมูลและภาพประกอบ

        หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 24 เมษายน 2551
        ศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว
        

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2145

อัพเดทล่าสุด