พลังงานจากไฮโดรเจน ทางเลือกใหม่ที่ควรศึกษา MUSLIMTHAIPOST

 

พลังงานจากไฮโดรเจน ทางเลือกใหม่ที่ควรศึกษา


688 ผู้ชม


การคิดค้นพลังงานทางเลือกเื่ืพื่อทดแทนน้ำมันเชื้อเพลิง "พลังงานจาก"ไฮโดรเจน" ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง   
พลัังงานจากไฮโดรเจน ทางเเลือกใหม่ที่แก่การศึกษา
พระครูบาอินทร ปัญญาวัฑโน เจ้าอาวาสวัดสันป่ายาง ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ลำพูนเจ้าอาวาสวัดสันป่ายาง เปิดเผยถึงที่มาของโครงการว่า ได้ร่วมกับ ผศ.ดร.วสันต์ จอมภัคดี อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และบริษัทเอกชน ได้คิดค้นพลังงานไฮโดรเจน ที่ติดตั้งในรถยนต์โดยไม่ปล่อยคาร์บอนได ออกไซด์ ที่เป็นตัวทำลายโอโซนทำให้เกิดภาวะเรือนกระจกจนเกิดสภาวะโลกร้อน โดยระบบดังกล่าวได้รับการรับรองจากสถาบันยานยนต์ และคณาจารย์ที่ร่วมคิดค้น                         
 นอกจากนี้ข้อดีของไอโดรเจน นอกจากประหยัดน้ำมันแล้ว ในเรื่องความปลอดภัยถือว่าดีเยี่ยมกว่ารถใช้ก๊าซต่าง ๆ หรือรถใช้น้ำมัน 
คือ หากเกิดการชนแล้ว หม้อก๊าซแตก ถ้าเป็นรถใช้ก๊าซแอลพีจี เอ็นจีวี หรือรถใช้น้ำมัน จะระเบิด และไฟเป็นลูก แต่ถ้าเป็นไฮโดรเจน ในหม้อซึ่งมีน้ำอยู่ ไม่ว่าเกิดการกระทบ กระแทกแรง ๆ หรือแตก จะไม่ระเบิดเพราะมัน คือ “น้ำ” ซึ่งหลังจากการติดตั้งจนสำเร็จ และมีการทดสอบจนได้ รับการยอมรับจากหลายสถาบันดังกล่าว 
    
ผศ.ดร.วสันต์ กล่าวว่า การแยกเอาไฮโดรเจน ออกมาจากน้ำ เพื่อเป็นตัวเสริมกับพลังงานเชื้อเพลิงเดิม 
คือ ไม่ว่ารถจะใช้น้ำมันอะไร ก็เอาตัวไฮโดรเจนนี้เข้าไปเสริม จะทำให้รถมีประสิทธิภาพมากกว่าเดิมทั้ง  อัตราการเร่ง อีกทั้งควันที่ออกมาจากท่อไอเสียก็ไม่มีสารคาร์บอนไดออกไซด์ และไฮโดรคาร์บอน ที่ทำให้เกิดมลพิษอีกด้วย เพราะไฮโดรเจนเมื่อเผาไหม้ออกมา จะกลับไปเป็นน้ำเหมือนเดิม การคิดค้นครั้งนี้ถือเป็นก้าว แรกเท่านั้นเพราะการทำยังไม่สามารถนำเอาไฮโดรเจน มาใช้แทนได้ 100 เปอร์เซ็นต์เพียง แต่นำมาช่วยเสริมเพื่อประหยัดน้ำมันเท่านั้น  ต้องมีการต่อยอดการวิจัยค้นคว้าอีกเชื่อว่าไม่นานจะประสบความสำเร็จมากกว่า เดิมอย่างแน่นอน.
ที่มา:  หนังสือ พิมพ์เดลินิวส์ วันจันทร์ที่ 21 มิถุนายน 2553
   
 บทนำ
    พลังงานทดแทนจากไฮโดรเจน ถือเป็นก้าวหนึ่งของการช่วยกันในการลดภาวะโลกร้อน หากมีการศึกษาอย่างลึกซึ้ง พลังงานจากไฮโดรเจน อาจจะสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย รูปแบบ เช่นเดียวกับ การใช้ปุ๋ยให้แก่พืช โดยเฉพาะพืชไร้ดิน การใช้ปุ๋ยอย่างถูกต้อง และถูกวิธีและถูกหลักการก็จะทำให้พืชไร้ดินเจริญเติบโตให้ผลผลิตตามที่ต้องการ 
กลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพและเทคโนโลยี  ระดับชั้น. ม 3  ช่วงชั้นที่ 3
มาตรฐานการเรียนรู้  ง 1.1


สารละลายธาตุอาหารพืช 

    ในการปลูกพืชแบบไฮโดรโปนิกส์นั้น ปัจจัยสำคัญที่สุดที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของพืช คือ น้ำ และธาตุอาหาร  เนื่องจากเป็นปัจจัยที่ผู้ปลูกจัดหาให้แก่พืชโดยตรงโดยการเตรียมสารละลายธาตุอาหาร สามารถควบคุมปริมาณธาตุอาหารแต่ละชนิดให้เหมาะสมต่อความต้องการของพืชแต่ละชนิดได้ โดยปกติความเข้มข้นของสารละลายขึ้นอยู่กับชนิดของพืชที่ปลูก เช่น 
    ผักคะน้า  กวางตุ้งฮ่องเต้ กวางตุ้งญี่ปุ่น  ต้องการธาตุอาหารประมาณ 3.0-4.5 
    ผักกาดขาว  ต้องการธาตุอาหารประมาณ 3.5 
    ผักตระกูลสลัด  ต้องการธาตุอาหารประมาณ 1.2-1.8
การปลูกช่วงฤดูร้อน  ซึ่งเป็นช่วงที่มีอัตราการคายและการระเหยน้ำสูง การละลายของออกซิเจนในสารละลายต่ำ ควรใช้ค่า EC ต่ำ  เพื่อป้องกันอันตรายจากความเค็มที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว  ซึ่งอาการที่แสดงให้เห็น เช่น ขอบใบไหม้  ในขณะที่ฤดูหนาวสามารถเพิ่มค่า EC ให้สูงขึ้นเพื่อเร่งการเจริญเติบโตของต้นพืชได้ 
โดยทั่วไป ธาตุอาหารที่พืชต้องการมีทั้งสิ้น  16 ธาตุ ซึ่งทั้ง 3 ธาตุ ได้แก่ คาร์บอน  ไฮโดรเจน และออกซิเจน  ได้จากน้ำ และอากาศ ส่วนอีก 13 ธาตุ จะแบ่งเป็น 2 กลุ่ม  ตามปริมาณที่พืชต้องการ คือ
1.    ธาตุอาหารที่พืชต้องการมาก หรือ มหธาตุ  (Macronutrient element) คือ ธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตและพืชมีความต้องการในปริมาณที่มาก เมื่อเทียบกับธาตุอื่น ๆ มีทั้งหมด 6 ธาตุ ได้แก่  ไนโตรเจน  (N) ฟอสฟอรัส (P)  โพแตสเซี่ยม (K) แคลเซี่ยม  (Ca) แมกนีเซี่ยม (Mg) และ กำมะถัน (S)
2.    ธาตุที่ต้องการในปริมาณน้อย หรือ จุลธาตุ (micronutrient  element)  คือ ธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชแต่พืชต้องการในปริมาณน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับธาตุอื่น ๆ ในการปลูกพืชแบบไฮโดรโปรนิกส์ จะต้องระมัดระวังการควบคุมปริมาณธาตุกลุ่มนี้เป็นพิเศษมากกว่าธาตุในกลุ่มมหธาตุ เพราะความเข้มข้นระหว่างความเป็นพิษและการขาดมีระยะค่อนข้างแคบ  นอกจากนั้นการประเมินอาการขาดทำได้ค่อนข้างยากอีกด้วย การแก้ปัญหาการขาดจุลธาตุทำได้ง่ายกว่าการแก้ปัญหาความเป็นพิษ  เมื่อเกิดอาการเป็นพิษขึ้นมักจะต้องปลูกใหม่  ความเป็นประโยชน์ของธาตุกลุ่มนี้ ขึ้นอยู่กับค่า pH ของสารละลายและความเข้มข้นของธาตุอาหารจึงเป็นเรื่องสำคัญ  ธาตุอาหารที่พืชต้องการในปริมาณน้อยมีอยู่  7 ธาตุ ได้แก่ เหล็ก (Fe)  แมงกานีส (Mn)  สังกะสี (Zn) ทองแดง (Cu)  โบรอน  (B)  โมลิบดินัม  (Mo)  คลอรีน (Cl) 


รูปที่ 1 สารละลายธาตุอาหารพร้อมนำไปใช้

พลังงานจากไฮโดรเจน ทางเลือกใหม่ที่ควรศึกษา
         รูปที่ 2 สารละลายธาตุอาหาร Aและ B
การจัดเตรียมสารละลายเข้มข้น 1:200  
    โดยทั่วไป พืชต้องการธาตุอาหารน้อยในระยะต้นอ่อน  ต้องการมากที่สุดในระยะเติบโตและต้องการน้อยลงในระยะเก็บเกี่ยว  การปลูกพืชจึงมักจะมีการเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นของสารละลายตามระยะการเจริญเติบโต  การจัดเตรียมสารละลายที่มีความเข้มข้นที่แน่นอน ง่ายต่อการใช้ เป็นสิ่งสำคัญในการจัดการสารละลายในระบบ 
    น้ำสำหรับเตรียมสารละลายไม่จำเป็นต้องมีความบริสุทธิ์สูง  แต่ควรมีค่าการนำไฟฟ้าไม่เกิน  0.3  mS/cm  ค่า pH 5.5-6.0 น้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติ เช่น น้ำฝน  น้ำบาดาล  น้ำบ่อผิวดิน และน้ำจากแม่น้ำลำคลอง  สามารถนำมาใช้ได้แต่ต้องมีการจัดการก่อน  เช่น การกรอง  การจัดการค่าความกระด้างของน้ำ และต้องมีความสะอาดมากพอ 
เมื่อทราบความต้องการของแร่ธาตุแต่ละตัวในระบบและมีน้ำสะอาดที่ดีพอก็สามารถเตรียมสารละลายได้ดังนี้
    1. เตรียมภาชนะที่มีมาตราส่วนบอกปริมาณน้ำเป็นลิตรเพื่อความสะดวกในการผสม  ในที่นี้ใช้ถังน้ำขนาด 100  ลิตร 
    เตรียมสารละลายธาตุอาหาร A
    2. เติมน้ำสะอาดที่ได้จัดเตรียมไว้แล้วลงถังน้ำประมาณ  20 ลิตร
    3. เทส่วนผสมของปุ๋ย A ที่มีอยู่ซึ่งประกอบด้วย KNO3,Mg,MKP  และอื่น ๆ ที่ได้จัดเตรียมไว้ลงถัง A 
    4. เติมน้ำสะอาดลงถัง  จนถึงขีดบอกระดับ  100  ลิตร  
    5. คนให้สารประกอบที่ได้ละลายจนหมด 
    6. จะได้สารละลายธาตุอาหาร A ปริมาณ  100  ลิตร ความเข้มข้น 1:200
ข้อสังเกต  ระดับอุณหภูมิของสารละสาย A  จะลดต่ำลงมากอย่างเห็นได้ชัด  สีลองสารละลายจะเป็นสีเขียว


รูปที่ 3 การเตรียมสารละลายธาตุอาหาร

 


                     รูปที่ 4 การผสมปุ๋ยในถัง 100 ลิตร

    
การเตรียมธาตุอาหาร  B
1.    เติมน้ำสะอาดที่ได้จัดเตรียมไว้แล้วลงถังน้ำประมาณ 40 ลิตร
2.    เทส่วนผสมของปุ๋ย B ที่มีอยู่ซึ่งประกอบด้วย Ca, Fe  (สังเกตได้จากสีของธาตุเหล็กจะเป็นสีเหลืองสนิมเหล็ก)
3.    เติมน้ำสะอาดลงถัง B  จนถึงขีดบอกระดับ  100  ลิตร
4.    คนสารประกอบธาตุอาหาร B ทั้งหมดให้ละลายจนหมด 
5.    จะได้สารละลายธาตุอาหาร B ปริมาณ 100  ลิตร  ความเข้มข้น 1:200  สีของสารละลายจะเป็นสีแดง 
“การเก็บสารละลายธาตุอาหารที่ได้ในที่ร่ม ไม่ให้ถูกแสงแดดส่องถึง”
คำถามอภิปรายในชั้นเรียน
    1. ปุ๋ยสำหรับพืชไร้ดินสามารถเลือกใช้ปุ๋ยชนิดอื่นได้หรือไม่ 
    2. วิธีใดที่สามารถลดต้นทุกการใช้ปุ๋ยได้
กิจกรรมเสนอแนะ    ปฏิบัติผสมปุ๋ย / ใส่ปุ๋ยให้แก่พืช
การบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้ - ภาษาไทย การอ่าน 
อ้างอิง
นภดล  เรียบเลิศหิรัญ. (2550) การปลูกพืชไร้ดิน. กรุงเทพมหานคร. สุวีริยาสาส์น
www. Thaime. hydrofarm.com
https://www.kroobannok.com/4822
https://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryId=339&contentID=62307 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2784

อัพเดทล่าสุด