https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
*จาบูลานี่* (Jabulani) MUSLIMTHAIPOST

 

*จาบูลานี่* (Jabulani)


917 ผู้ชม


ลูกฟุตบอลที่กล่าวขานกันว่า *กลมที่สุด* เท่าที่โลกเคยผลิตฟุตบอลออกมาเพราะไม่ได้ใช้วิธีเย็บ และมีชิ้นส่วน *น้อยชิ้น* ที่สุด   

*จาบูลานี่* (Jabulani)
              ลูกฟุตบอลที่กล่าวขานกันว่า *กลมที่สุด* เท่าที่โลกเคยผลิตฟุตบอลออกมาเพราะไม่ได้ใช้วิธีเย็บ และมีชิ้นส่วน *น้อยชิ้น* ที่สุด เพราะวัสดุที่ใช้มีส่วนประกอบที่เป็นโฟม EVA และ TPU 3 มิติ 8 ชิ้นประกอบกันเป็นลูกฟุตบอล ยึดติดด้วยเทคโนโลยี 3D Thermal Bonding อัดด้วยแรงดันความร้อน ทำให้ลูกบอลกลมกลึงไร้รอยเย็บ แตกต่างจาก *ทีมไกสต์* ลูกฟุตบอลประจำทัวร์นาเมนต์ *เวิลด์ คัพ 2006* ที่เยอรมนี ซึ่งมีชิ้นส่วน 14ชิ้น

ที่มา : https://www.norsorpor.com/  
              *จาบูลานี่* ยังมีจุดเด่นสำคัญอยู่ที่ “Grip 'n' Groove” หรือส่วนที่เป็นเกล็ดและร่องบนผิวลูกบอล เหมือนกับลูกกอล์ฟ 
ส่งผลให้จาบูลานี่ ลอยอยู่กลางอากาศได้นานกว่าลูกฟุตบอลธรรมดา จนผู้ทดสอบพากันพูดว่ามันมักจะตกลงพื้นไกลกว่าจุดที่คาดเอาไว้อยู่เสมอ ส่วนน้ำหนักที่คนส่วนมากพูดถึงกันว่า *เบา* นั้น ไมค์ เคน ผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีการกีฬาแห่งมหาวิทยาลัยลัฟโบโร ให้สัมภาษณ์กับเว็บไซต์ ดิ เอ็นจิเนียร์ ว่า อันที่จริงแล้ว ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ลูกบอล แต่เป็นเพราะการแข่งขันบนพื้นที่สูง เคนกล่าวว่า ลูกบอลจาบูลานีมีมวล 380 กรัม เท่ากับลูกบอลที่ใช้แข่งขันเมื่อ 4 ปีที่แล้วเป๊ะและไม่ผิดกฎแต่อย่างใด แต่มีคำอธิบายได้ตามหลักฟิสิกส์ว่า เมื่อแข่งขันบนพื้นที่สูงลูกบอลจะพุ่งไปไกลและเร็วกว่าปกติ

เนื้อหาสำหรับกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 
(บูรณาการการมาตรฐานสู่สาระการเรียนรู้)หรือช่วงชั้นที่ 4
        *จาบูลานี* มีชื่อเต็มๆ ว่า *อาดิดาส จาบูลานี* (Adidas Jabulani) คือชื่อเรียกลูกฟุตบอลที่ถูกผลิตขึ้นมาเพื่อใช้อย่างเป็นทางการในการแข่งขันฟุตบอลโลก 2010 ที่แอฟริกาใต้เป็นเจ้าภาพ โดย บริษัทอาดิดาส บริษัทผลิตเครื่องกีฬารายใหญ่ของเยอรมนี โดยผู้ออกแบบคือ 
สถาบันเทคโนโลยีการกีฬาแห่งมหาวิทยาลัยลัฟโบโร ประเทศอังกฤษ และได้รับการรับรองจากสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ หรือ ฟีฟ่า*จาบูลานี* เปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม ค.ศ. 2009 ในงานจับสลากแบ่งกลุ่มฟุตบอลโลก 2010 ที่เมืองเคปทาวน์ ประเทศแอฟริกาใต้โดยคำว่า *จาบูลานี* หมายถึง *ความสุข และ การเฉลิมฉลอง* ในภาษาซูลู อันหมายถึง เป็นสิ่งที่ทำให้แฟนๆ ที่เข้ามาชมฟุตบอลโลกครั้งนี้นั้นมีความสุขนั่นเอง โดยภาษาซูลูถือเป็น 1 ใน 11 ภาษาอย่างเป็นทางการของแอฟริกาใต้และยังบ่งบอกถึงความเป็นตัวแทนของนักฟุตบอล 11 คนในแต่ละทีมอีกด้วยนอกจากนี้แล้ว ยังมี โจ'บูลานี (Jo'Bulani) ซึ่งเป็นจาบูลานีที่มีลายเป็นสีขาวทอง ไว้สำหรับใช้ในรอบชิงชนะเลิศ ในวันที่ 12 กรกฎาคม ค.ศ. 2010 ที่เมืองโจฮันเนสเบิร์ก อีกด้วย โดยคำว่า *โจ'บูลานี* เป็นผลงานการออกแบบโดยดีไซเนอร์ของอาดิดาส ชื่อ ยานเนกเก้ แวน อูร์ชอต เหตุที่ใช้ชื่อว่า โจ'บูลานี่ เพื่อเป็นเกียรติแก่เมืองโจฮันเนสเบิร์ก ที่มีชื่อเรียกสั้นๆ ว่า โจ'เบิร์ก (Jo'burg) ที่มีฉายาว่า ดินแดนแห่งทองคำ (City of Gold)จึงใช้สีทองเป็นลายทองบนพื้นขาวและสีทองยังเป็นความหมายของการชิงชนะเลิศอีกด้วย ครั้งนี้นับเป็นครั้งที่สองที่อาดิดาสได้ออกแบบลูกฟุตบอลสำหรับเพื่อใช้เฉพาะแมตช์ชิงชนะเลิศฟุตบอลโลกโดยเฉพาะ หลังจากที่เคยออกแบบลูกฟุตบอลสีทองชื่อ 
*ทีมไกสต์ เบอร์ลิน* (Teamgeist Berlin) สำหรับแมตช์ชิงชนะเลิศฟุตบอลโลก 2006 ระหว่างอิตาลี และฝรั่งเศส

คำถามเพื่อนำไปสู่การอภิปรายในห้องเรียน 
            1.วัสดุที่ใช้เป็นส่วนประกอบลูกฟุตบอล จาบูลานี กับลูกกอล์ฟ ต่างกันอย่างไร
            2.อภิปรายเกี่ยวกับวัสดุที่ใช้ประกอบลูกฟุตบอล จาบูลานี 
            3.อภิปรายเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่ใช้ประกอบลูกฟุตบอล จาบูลานี

กิจกรรมเสนอแนะ
            1.นักเรียนศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ประกอบลูกฟุตบอลชนิดต่างๆ แล้วเปรียบเทียบกับลูกฟุตบอล จาบูลานี
            2.นักเรียนศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวเทคโนโลยีที่ใช้ประกอบลูกฟุตบอลชนิดต่างๆ แล้วเปรียบเทียบกับลูกฟุตบอล จาบูลานี

แหล่งอ้างอิง
https://www.rakball.net/overview.php?c=18&id=30399
https://th.wikipedia.org/wiki/
https://www.navyrayong.com/webboard/index.php?topic=10811.0
https://sport.teenee.com/sport/61157.html
https://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=306&contentID=72911

ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2801

อัพเดทล่าสุด