https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ล้อมคอกก่อนวัวหาย MUSLIMTHAIPOST

 

ล้อมคอกก่อนวัวหาย


709 ผู้ชม


ชาวญี่ปุ่นตกใจกับข่าวชวนขวัญผวาเรื่องความปลอดภัยด้านอาหารอีกครั้ง   

         ชาวญี่ปุ่นตกใจกับข่าวชวนขวัญผวาเรื่องความปลอดภัยด้านอาหารอีกครั้ง เมื่อหญิงชาวญี่ปุ่นคนหนึ่งล้มป่วยด้วยอาการอาเจียนอย่างหนัก ลิ้นชา หลังจากกินบะหมี่ยี่ห้อนิชชินส่วนสามีของเธอกินบะหมี่น้อยจึงไม่มีอาการใดๆ ทาง   เจ้าหน้าที่ตรวจสอบบะหมี่ดังกล่าวแล้ว ผลการตรวจสอบเบื้องต้นพบสารที่ใช้ในยาฆ่าแมลงปะปนอยู่ 
         บะหมี่สำเร็จรูปยี่ห้อนิชชินสร้างชื่อในยุคที่ญี่ปุ่นฟื้นฟูประเทศจากความเสียหายในสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ผู้คนมุ่งทำงานหนัก จนไม่มีเวลาทำกับข้าว การกินบะหมี่สำเร็จรูปรองรับวิถีชีวิตประจำวันที่เร่งรีบได้ดี และราคาถูก ทำให้กิจการของนิชชินและอุตสาหกรรมบะหมี่สำเร็จรูปเติบโตอย่างรวดเร็ว บะหมี่นิชชินกลายเป็นสินค้าบริโภคล่าสุดที่เกิดปัญหาในญี่ปุ่น หลังจากสินค้าอาหารที่นำเข้าจากจีนเกิดปัญหาปนเปื้อนสารพิษ ไม่ว่า ถั่วแช่แข็งที่พบยาฆ่าแมลง เกี๊ยวแช่แข็งจากจีน และพิซซ่าที่ใช้นมผงจากจีนปนเปื้อนเมลามีน 
         จะเห็นว่าปัจจุบันชีวิตของคนเรามีความเสี่ยงต่อสารพิษต่าง ๆ มากมาย เพื่อให้ความเสี่ยงของเราลดลงจึงจำเป็นที่จะต้องส่งเสริมให้มีการใช้สารเคมีที่เป็นอันตรายต่อชีวิตของคนเราให้น้อยลง การสกัดสารจากธรรมชาติก็เป็นแนวทางหนึ่งที่สามารถนำมาใช้แทนสารเคมีได้ ซึ่งมีอยู่มากมายหลากหลายวิธีและหนึ่งในนั้น  คือ น้ำส้มควันไม้ ต่อไปนี้จึงขอแนะนำให้รู้จักกับน้ำส้มควันไม้ว่าคืออะไร  ได้มาอย่างไรและมีวิธีการใช้อย่างไร

ล้อมคอกก่อนวัวหาย
น้ำส้มควันไม้ (Wood vinegar)
 

         เป็นของเหลวซึ่งได้จากกระบวนการสลายตัวของไม้ด้วยความร้อนอย่างเดียว หรือการเผาไหม้ไม้ฟืนในสภาพอับอากาศ หรือ การไพโรไลซิส (Wood pyrolysis) ของเหลวดังกล่าวจะใสสีเหลืองปนน้ำตาล ซึ่งเกิดจากการดักเก็บควันที่ถูกควบแน่น


การเก็บรักษาน้ำส้มควันไม้ 

         น้ำส้มควันไม้ ที่ได้จากการดักเก็บจะไม่นำมาใช้ประโยชน์ทันที เนื่องจากการเปลี่ยนจากไม้ถ่านไม่ได้เกิดขึ้นพร้อมกันทั้งเตา ดังนั้น ควันที่เกิดขึ้นจึงเป็นควันที่ผสมกันระหว่างควันอุณหภูมิต่ำและสูง ดังนั้นจะมีน้ำมันดิน (Tar) และสารระเหยง่าย (Volatile matter) ปนออกมาด้วย น้ำมันดินที่ละลายน้ำไม่ได้ จะนำไปใช้ประโยชน์ในการเกษตรไม่ได้ เพราะจะไม่ไปปิดปากใบของพืช และการเกาะติดรากพืชทำให้พืชเติบโตช้าหรือตายได้ นอกจากนั้น หากเทลงพื้นดิน จะทำให้ดินแข็งเป็นดานรากพืชไม่สามารถไชลงดินได้ ดังนั้นเมื่อเก็บน้ำส้มไม้แล้วต้องทิ้งช่วง และมีการทำให้น้ำส้มไม้บริสุทธิ์ก่อนนำไปใช้ประโยชน์โดยการตั้งทิ้งไว้อย่างน้อย 3 เดือนเพื่อให้แยกชั้นเป็น 3 ชั้น คือชั้นบนเป็นน้ำมันเบา    ชั้นกลางเป็นน้ำส้มควันไม้และชั้นล่างเป็นน้ำมันทาร์  ให้แยกเอาส่วนที่เป็นน้ำส้มควันไม้ออกมา แล้วต้องเก็บไว้ในที่เย็น ร่มหรือเก็บไว้ในภาชนะทึบแสงและไม่มีสิ่งรบกวน หากเก็บไว้ที่โล่งแจ้ง น้ำส้มควันไม้จะทำปฏิกิริยากับอากาศและรังสี อุลตราไวโอเลทในแสงอาทิตย์เป็นน้ำมันดิน ซึ่งน้ำมันดินก็จะมีสารก่อมะเร็งด้วย และหากนำไปใช้กับพืช น้ำมันจะจับกับใบไม้ ทำให้ต้นไม้ไม่สามารถสังเคราะห์แสงได้ดี ดังที่กล่าวไปแล้วเป็นของเหลวซึ่งได้จากกระบวนการสลายตัวของไม้ด้วยความร้อนอย่างเดียว หรือการเผาไหม้ไม้ฟืนในสภาพอับอากาศ หรือ การไพโรไลซิส (Wood pyrolysis)     ของเหลวดังกล่าวจะใสสีเหลืองปนน้ำตาล ซึ่งเกิดจากการดักเก็บควันที่ถูกควบแน่น

ล้อมคอกก่อนวัวหาย

เตาสกัดน้ำส้มคันไม้

อุปกรณ์   ประกอบด้วย
     1.  ถังน้ำมันขนาด  200  ลิตร  ( ตัวถัง )
     2.  ท่อใยหินความยาว  1  เมตร  ( ปล่องควัน )
     3.  ข้องอท่อใยหิน  1 ตัว
     4.  ตะแกรงเหล็ก
     5.  ถังน้ำมัน  ขนาด 50  ลิตร  ( หม้อต้มน้ำมันหอมระเหย )
     6.  กระทะ
     7.  ท่อเก็บน้ำส้มควันไม้ ( ใช้ลำไม้ไผ่ทะลุปล้องทั้งลำ  ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4 นิ้ว
     8.  อิฐบล็อก  5  ก้อน
     9.  ท่อเก็บน้ำมันหอมระเหย
    10. ขวด  ( ใช้สำหรับรองรับน้ำมันหอมระเหย  และน้ำส้มควันไม้ )
    11. ดินเหนียว
    12. ผ้า

การประกอบอุปกรณ์และเตรียมเตา

     1.  วางตัวถังในแนวนอน
     2.  ต่อท่อปล่องควัน  โดยนำดินเหนียวมาพอก  เพื่อป้องกันรอยรั่ว
     3.  ต่อท่อเก็บน้ำส้มควันไม้
     4.  วางถังขนาด 50 ลิตร  ด้านบนตะแกรงเหล็ก  พอกดินเหนียวรอบ ๆ ตัวถัง  เพื่อป้องกันรอยรั่ว
     5.  เติมน้ำลงในถังขนาด 50 ลิตร  ประมาณ 4 ลิตร
     6.  ตัดใบตะไคร้หอม  ยาวประมาณ 3 นิ้ว  
     7.  ใส่ใบตะไคร้หอมลงในถังต้มน้ำมันหอมระเหย 1 กิโลกรัม
     8.  ต่อท่อเก็บน้ำมันหอมระเหย
     9.  นำผ้าที่มีขนาดยาวและหนาพอสมควรไปชุบน้ำให้ชุ่มแล้วนำผ้ามาขดวางไว้บนปากถังต้มน้ำมันหอมระเหย
    10.  วางกระทะลงบนผ้าที่นำมาขดไว้แล้วเติมน้ำลงไปประมาณ ¾ ส่วนของกระทะ
    11.  ใส่ไม้ที่มีความยาวประมาณ 80  เซนติเมตร ลงในตัวถังโดยเรียงเป็นชั้น ๆ โดยนำไม้ที่ต้องการเผาถ่าน มาจัดแยกกลุ่มตามขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของไม้เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่  ขนาดเล็ก   ขนาดกลาง   ขนาดใหญ่   จากนั้นเรียงไม้ที่มีขนาดเล็กไว้ด้านล่างของเตา   ขนาดใหญ่ไว้ด้านบน โดยวางทับไม้หมอนยาวประมาณ   30-40 เซนติเมตร การเรียงไม้นี้มีความสำคัญมากเนื่องจากอุณหภูมิในเตา ขณะเผาถ่านไม่เท่ากัน  โดยอุณหภูมิด้านล่างเตาจะต่ำ  ส่วนอุณหภูมิที่อยู่ด้านบนเตาจะสูงกว่า
    12.  ปิดหน้าเตาเผาด้วยฝาถัง 200 ลิตร  แล้วนำบล็อกมาก่อที่หน้าเตาเผา  จำนวน 4 ก้อน  เพื่อทำช่องจุดไฟ  นำดินเหนียวมาพอกรอบๆ รอยต่อของบล็อก  เพื่อป้องกันรอยรั่ว

ล้อมคอกก่อนวัวหายขั้นตอนการสกัดน้ำส้มควันไม้  
     1.  เริ่มจุดไฟหน้าเตาเพื่อให้ความร้อนแก่เตา  โดยจุดไฟบริเวณอิฐก้อนแรกสุด
     2.  ใส่เชื้อเพลิงทีละน้อยในช่องจุดไฟ  ช่วงนี้เป็นการไล่ความชื้นในเนื้อไม้  ภายในเตา  ( ช่วงนี้ใช้เวลา 3 – 6 ชั่วโมง )
     3.  ใส่เชื้อเพลิงไปเรื่อย ๆ โดยสังเกต  ควันที่พุ่งออกจากปล่องด้านหลังจะพุ่งแรงกว่าปกติและมีสีขาวขุ่น
     4.   หลังจากหยุดป้อนเชื้อเพลิงหน้าเตาทิ้งไว้ประมาณ 30 นาทีถึง 1 ชั่วโมง  สังเกตสีควันที่ปากปล่อง  ถ้าเป็นสีขาวอมเหลืองและมีกลิ่นฉุนแสบจมูก  ลดระดับไฟหน้า  ช่วงนี้ให้เริ่มเก็บน้ำส้มควันไม้
     5.   เมื่อควันร้อนในกระบอกไม้ไผ่รับความเย็นจากอากาศภายนอก  ควันก็จะควบแน่นจับตัวกันเป็นหยดน้ำไหลลงมาตามท่อ  แล้วน้ำส้มควันไม้จะไหลหยดออกมาจากรูที่เจาะไว้  ที่ท่อไม้ไผ่  ( ใช้เวลาในการเก็บน้ำส้มควันไม้ประมาณ 3 – 4 ชั่วโมง  )
     6.   ในระหว่างนี้บริเวณปลายท่อเก็บน้ำมันหอมระเหยจะมีน้ำมันหอมระเหยหยดลงมา  ให้ใช้ขวดรองรับน้ำไว้และหมั่นคอยสังเกตน้ำในกระทะหากว่าน้ำเริ่มร้อนให้ทำการเปลี่ยนน้ำทันที  เพราะว่าถ้าน้ำร้อนการควบแน่นจะไม่เกิดขึ้น
     7.   เมื่อเก็บน้ำส้มควันไม้แล้ว  สังเกตจนกระทั่งควันที่ปากปล่องกลายเป็นสีฟ้า  ให้เริ่มปิดหน้าเตา เพื่อให้อากาศร้อนเข้าไปไล่สารตกค้างหรือแก๊สที่ค้างอยู่ในเตา  โดยเปิดหน้าเตาออกประมาณ 50 % ของหน้าเตาทั้งหมด  ใช้เวลาประมาณ 20 – 30 นาที ( ช่วงนี้เป็นช่วงของการทำถ่านให้บริสุทธิ์ )
     8.   สังเกตสีควันที่ปล่องควัน  ถ้ามีสีฟ้าใส   แสดงว่าไม้ทั้งหมดจะกลายเป็นถ่านทั้งหมด  ให้ปิดหน้าเตาให้สนิท  โดยนำดินเหนียวมาพอกเพื่อไม่ให้เกิดรอยรั่ว  หลังจากนั้นปิดปากปล่องควัน ( ช่วงนี้เป็นช่วงทำถ่านเย็นใช้เวลาประมาณ 12 – 15 ชั่วโมง )

การใช้ประโยชน์จากน้ำส้มควันไม้ล้อมคอกก่อนวัวหาย

ด้านการเกษตร

         เนื่องจากน้ำส้มควันไม้มีความเป็นกรดสูง ดังนั้นก่อนนำไปใช้ต้องนำมาเจือจางให้เกิดสภาวะที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของการใช้งาน ซึ่งอัตราส่วนที่ต่างกันออกไปดังนี้
         อัตราส่วน 1:20 หรือ ผสมน้ำ 20 เท่า ใช้พ่นลงดินเพื่อฆ่าจุลินทรีย์และแมลงในดิน เช่น  โรคเน่าเละจากแบคทีเรีย โคนเน่าจากเชื้อรา ไส้เดือนฝอย ควรทำก่อนเพาะปลูก 10 วัน 
         อัตราส่วน 1:50 หรือ ผสมน้ำ 50 เท่า ใช้พ่นลงดินเพื่อฆ่าจุลินทรีย์ที่ทำลายพืช หากใช้ความเข้มข้นมากเกินไปรากพืชอาจได้รับอันตรายได้
         อัตราส่วน 1:100 หรือ ผสมน้ำ 100 เท่า ใช้ราดโคนต้นไม้รักษาโรครา และโรคเน่า รวมทั้งป้องกันแมลงไม่ให้วางไข่
         อัตราส่วน 1:200 หรือ ผสมน้ำ 200 เท่า ใช้ฉีดพ่นใบไม้ รวมทั้งพื้นดินรอบๆ ต้นพืช ทุกๆ 7 – 15 วัน เพื่อขับไล่แมลงป้องกันเชื้อรา และรดโคนต้นเพื่อเร่งการเจริญเติบโต
         อัตราส่วน 1:500 หรือ ผสมน้ำ 500 เท่า ใช้ฉีดผลอ่อน หรือ พืช เพื่อช่วยขยายผลให้โตขึ้น หลังจากติดตามผลแล้ว 15 วัน และฉีดพ่นอีกครั้งก่อนเก็บเกี่ยว 20 วัน เพื่อเพิ่มน้ำตาลในผลไม้อีกด้วย เนื่องจากน้ำส้มควันไม้ช่วยการสังเคราะห์น้ำตาลและกรดอะมิโน ดังนั้นจึงเพิ่มทั้งผลผลิตและคุณภาพ
         อัตราส่วน 1:1000 หรือ ผสมน้ำ 1000 เท่า เป็นสารจับใบ จะช่วยลดการใช้สารเคมี เนื่องจากสารเคมีสามารถออกฤทธิ์ได้ดีในสารละลายที่เป็นกรดอ่อนๆ และสามารถลดการใช้สารเคมีมากกว่าครึ่งที่เคยใช้

การนำน้ำส้มควันไม้ไปใช้ด้านปศุสัตว์ล้อมคอกก่อนวัวหาย

         การนำน้ำส้มควันไม้ไปใช้ด้านปศุสัตว์ จะช่วยลดกลิ่นและแมลงในฟาร์มปศุสัตว์ โดยการใช้ครั้งแรกควรผสมน้ำ 100 เท่า หลังจากนั้นเพิ่มเป็นผสมน้ำ 200 เท่า จะกำจัดกลิ่นและลดจำนวนแมลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนั้นใช้ผสมอาหารสัตว์ เพื่อช่วยการย่อยอาหารและป้องกันโรคท้องเสีย แต่การให้โดยตรงโดยการผสมน้ำจะมีกลิ่นควันไฟ ควรนำไปผสมกับผงถ่านเสียก่อน โดยนำน้ำส้มควันไม้ 2 ลิตร ผสมกับผงถ่าน 8 กิโลกรัม แล้วนำผงถ่านที่ชุ่มด้วนน้ำส้มควันไม้นี้ไปผสมกับอาหารสัตว์ 99 กิโลกรัม ก็จะได้อาหารสัตว์ 1 ตันพอดี ถ่านผสมอาหารสัตว์ จะมีคุณสมบัติแล้วประโยชน์ ดังนี้
         1. ช่วยทำให้การย่อยและการใช้ประโยชน์จากอาหารได้ดีขึ้น ทำให้สัตว์โตเร็วกว่าปกติ โดยใช้อาหารเท่าเดิม หรือใช้อาหารน้อยลง 5 เปอร์เซ็นต์ ในเวลาเดิม
         2. ช่วยยับยั้งการเกิดแก๊ส และดูดซึมโลหะหนักในกระเพาะอาหารทำให้สัตว์สุขภาพดี
         3. ช่วยป้องกันและรักษาอาการท้องเสีย
         4. ช่วยปรับปรุงคุณภาพ และลดปริมาณน้ำในเนื้อสัตว์ ทำให้คุณภาพของเนื้อสัตว์ดีขึ้นทั้งรสชาติ สี และกลิ่น
         5. ช่วยปรับปรุงคุณภาพของไข่ ทำให้ไข่แดงใหญ่และเหนียวขึ้น ทั้งยังเพิ่มปริมาณวิตามิน และลด              คลอเลสเตอรอล
         6. ช่วยเพิ่มปริมาณน้ำในนม
         7. ช่วยยับยั้งการเกิดก๊าซแอมโมเนีย และซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ทำให้ลดกลิ่นของมูลสัตว์ ซึ่งช่วยให้สัตว์ไม่เครียด ทั้งยังเพิ่มคุณภาพของปุ๋ยคอกที่ได้จากมูลสัตว์ให้ดีขึ้นด้วย
         8. ช่วยยับยั้งการฟักไข่ของแมลงในมูลสัตว์ ทำให้ลดปริมาณของแมลงในบริเวณฟาร์ม โดยเฉพาะแมลงวัน

การนำน้ำส้มควันไม้ไปใช้ด้านอื่นๆ ทั่วไป

         นอกจากการนำน้ำส้มควันไม้ไปใช้ในเรื่องการเกษตรและปศุสัตว์แล้ว ยังสามารถนำน้ำส้มควันไม้ไปใช้ประโยชน์ด้านอื่นๆ ได้อีก เช่น
         1. ความเข้มข้น 100 เปอร์เซ็นต์ ใช้รักษาแผลสด แผลถูกน้ำร้อนและไฟลวก รักษาโรคน้ำกัดเท้าและเชื้อราที่ ผิวหนัง
         2. น้ำส้มควันไม้ ผสมน้ำ 20 เท่า ใช้ราดทำลายปลวกและมด
         3. น้ำส้มควันไม้ ผสมน้ำ 50 เท่า ใช้ป้องกันปลวก มด และสัตว์ต่างๆ เช่น ตะขาบ แมงป่อง กิ้งกือ
         4. น้ำส้มควันไม้ ผสมน้ำ 100 เท่า ใช้ฉีดพ่นถังขยะ เพื่อป้องกันกลิ่นและแมลงวัน ใช้ดับกลิ่นในห้องน้ำ ห้องครัวและบริเวณชื้นแฉะ ใช้ดับกลิ่นกรงสัตว์เลี้ยง ใช้หมักขยะสดและเศษอาหารเป็นปุ๋ยสำหรับไม้ประดับรอบบ้าน โดยต้องผสมน้ำอีก 5 เท่า หลังจากหมักแล้ว 1 เดือน

ข้อควรระวังในการนำน้ำส้มควันไม้ไปใช้

         1. ก่อนนำน้ำส้มควันไม้ไปใช้ ต้องทิ้งไว้หลังจากดักเก็บไว้อย่างน้อย 3 เดือน เพื่อให้เกิดการตกตะกอน แยกเฉพาะส่วนที่เป็นน้ำส้มควันไม้สำหรับนำไปใช้
         2. เนื่องจากน้ำส้มควันไม้มีความเป็นกรดสูง ระวังอย่าให้เข้าตา
         3. น้ำส้มควันไม้ไม่ใช่ปุ๋ย แต่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ดังนั้นการนำไปใช้ในทางการเกษตร จะเป็นตัวเสริมประสิทธิภาพให้กับพืชใช้แทนปุ๋ยไม่ได้
         4. การใช้น้ำส้มควันไม้เพื่อฆ่าเชื้อจุลินทรีย์และแมลงในดินเป็นโทษกับพืช ควรทำก่อนเพาะปลูกอย่างน้อย     10 วัน 
         5. การนำน้ำส้มควันไม้ไปใช้ต้องผสมน้ำให้เจือจางตามความเหมาะสมของพืชแต่ละชนิด หากใช้กับพืชกินใบ ควรใช้ฉีดพ่นใต้ใบ เนื่องจากจะช่วยขับไล่แมลงใต้ใบ
         6. การฉีดน้ำส้มควันไม้เพื่อช่วยให้ดอกติดใบ ควรฉีดก่อนที่ดอกจะบาน เนื่องจากหากฉีดหลังจากดอกบานจะทำให้แมลงไม่เข้ามาผสมเกสร เพราะกลิ่นฉุนของน้ำส้มควันไม้และดอกจะหลุดร่วงง่าย

ที่มา : https://tnews.teenee.com/etc/28203.html
           https://www.clinictech.most.go.th/techlist/0214/agriculture/00000-867.html
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://202.12.97.4/media/main/index.php?option=content&task=view&id=77

         

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=10

อัพเดทล่าสุด