https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
คุณ ...! รู้เรื่อง พรบ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ กันหรือยัง MUSLIMTHAIPOST

 

คุณ ...! รู้เรื่อง พรบ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ กันหรือยัง


542 ผู้ชม


ทุกวันนี้คอมพิวเตอร์ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของเรามากยิ่งขึ้น มีการใช้งานคอมพิวเตอร์โดยมิชอบโดยบุคคลใด ๆ ก็ตามที่ส่งผลเสียต่อบุคคลอื่น รวมถึงการใช้งานคอมพิวเตอร์ในการเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นเท็จหรือมีลักษณะลามกอนาจาร   

                    

ประเด็นจากข่าว  แบบไหนจึงจะเรียกว่าเข้าข่ายความผิดตามพ.ร.บ. ฉบับนี้
การเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ
การเปิดเผยข้อมูลมาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะ 
การเข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยไม่ชอบ 
การดักรับข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น 
การทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง เพิ่มเติมข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยไม่ชอบ 
การกระทำเพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ 
การส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์รบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของคนอื่นโดยปกติสุข 
การจำหน่ายชุดคำสั่งที่จัดทำขึ้นเพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด 
การใช้ระบบคอมพิวเตอร์ทำความผิดอื่น ผู้ให้บริการจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำความผิด 
การตกแต่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่เป็นภาพของบุคคล
เหล่านี้ถือว่าเข้าข่ายความผิดตามพ.ร.บ. ฉบับนี้


เนื้อหา   สำหรับกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี  ระดับชั้นมัธยมศึกษา ช่วงชั้นที่ 3-4

เนื้อเรื่อง  พรบ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ประกาศใช้เมื่อ 18 กรกฎาคม 2550 มีผลบังคับใช้ครบระยะเวลาผ่อนผัน18 กรกฎาคม 2551 ในส่วนของการเก็บข้อมูลจราจร ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๑

คุณ ...! รู้เรื่อง พรบ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ กันหรือยัง

ภาพจาก เว็บไซต์ พล.ต.อ.วันชัย ศรีนวลนัด

เรื่องของใคร.......

มาตรา 26 บัญญัติให้ผู้ให้บริการต้องเก็บข้อมูลจราจรคอมพิวเตอร์ไว้ไม่ต่ำกว่า 90 วัน แต่ไม่เกิน 1 ปี ซึ่งรายละเอียดข้อมูลจราจรคอมพิวเตอร์ที่ต้องจัดเก็บจะอยู่ในประกาศรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่กำลังออกตามหลังการประกาศใช้งานกฎหมายฉบับนี้ โดยผู้ให้บริการจะมีภาระหน้าที่เก็บข้อมูลจราจรเท่าที่จำเป็น เพื่อให้สามารถระบุตัวผู้ใช้บริการได้หากผู้ให้บริการผู้ใดไม่ปฏิบัติ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 5 แสนบาท 
ใครรับผิดชอบ...
มาตรา 27 บัญญัติไว้ชัดเจนว่าหากผู้ใดไม่ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติตาม มาตรา 18 หรือ มาตรา 20 หรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 21 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2 แสนบาท และที่สำคัญต้องโทษปรับ รายวันอีก ไม่เกินวันละ 5 พันบาท “จนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง”มีวิธีการอย่างไร......
ข้อ ๘ การเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ ผู้ให้บริการต้องใช้วิธีการที่มั่นคงปลอดภัย ดังต่อไปนี้
(๑) เก็บในสื่อ (Media) ที่สามารถรักษาความครบถ้วนถูกต้องแท้จริง (Integrity) และระบุตัวบุคคล (Identification) ที่เข้าถึงสื่อดังกล่าวได้
(๒) มีระบบการเก็บรักษาความลับของข้อมูลที่จัดเก็บ และกำหนดชั้นความลับในการ
เข้าถึงข้อมูลดังกล่าว เพื่อรักษาความน่าเชื่อถือของข้อมูล และไม่ให้ผู้ดูแลระบบ
สามารถแก้ไขข้อมูลที่เก็บรักษาไว้ เช่น การเก็บไว้ใน Centralized Log Server หรือ
การทำ Data Archiving หรือทำ Data Hashing เป็นต้น เว้นแต่ ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องที่เจ้าของหรือผู้บริหารองค์กร กำหนดให้สามารถเข้าถึงข้อมูลดังกล่าวได้ เช่น ผู้
ตรวจสอบระบบสารสนเทศขององค์กร (IT Auditor) หรือบุคคลที่องค์กรมอบหมาย 
เป็นต้น รวมทั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้
(๓) จัดให้มีผู้มีหน้าที่ประสานงานและให้ข้อมูลกับพนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งได้รับการแต่งตั้งตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ เพื่อให้การส่งมอบข้อมูลนั้น เป็นไปด้วยความรวดเร็ว
(๔) ในการเก็บข้อมูลจราจรนั้น ต้องสามารถระบุรายละเอียดผู้ใช้บริการเป็นรายบุคคลได้ (Identification and Authentication) เช่น ลักษณะการใช้บริการ Proxy Server, Network Address Translation (NAT) หรือ Proxy Cache หรือ Cache Engine หรือ บริการ Free Internet หรือ บริการ 1222 หรือ Wi-Fi Hotspot ต้องสามารถระบุตัวตนของผู้ใช้บริการเป็นรายบุคคลได้จริง

 
ผู้ให้บริการที่ระบุใน พ.ร.บ. นี้ คือบุคคลใดบ้าง 
 สำหรับผู้ให้บริการตามที่พ.ร.บ.นี้ได้ระบุไว้ สามารถจำแนกได้เป็น 4 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้
1. ผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมไม่ว่าโดยระบบโทรศัพท์ ระบบดาวเทียม ระบบวงจรเช่าหรือบริการสื่อสารไร้สาย
2. ผู้ให้บริการการเข้าถึงระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไม่ว่าโดยอินเทอร์เน็ต ทั้งผ่านสายและไร้สาย หรือในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายในที่เรียกว่อินเทอร์เน็ต ที่จัดตั้งขึ้นในเฉพาะองค์กรหรือหน่วยงาน
3. ผู้ให้บริการเช่าระบบคอมพิวเตอร์ หรือให้เช่าบริการโปรแกรมประยุกต์ (Host Service Provider)
4. ผู้ให้บริการข้อมูลคอมพิวเตอร์ผ่าน application ต่างๆ ที่เรียกว่า content provider เช่นผู้ให้บริการ web board หรือ web service เป็นต้น 
ประเด็นคำถาม

1. พรบ. ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ในส่วนของการเก็บข้อมูลการจราจร  ใครเป็นผู้รับผิดชอบ
2. มาตรา 26 บัญญัติให้ผู้ให้บริการต้องเก็บข้อมูลจราจรคอมพิวเตอร์ไว้เป็นระยะเวลานานเท่าใด
3. มาตรา 27 บัญญัติไว้ชัดเจนว่าหากผู้ใดไม่ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติตาม มาตรา 18 หรือ มาตรา 20 หรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 21 ต้องระวางโทษอย่างไร


กิจกรรมเสนอแนะ

ให้นักเรียนศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการเก็บข้อมูลการจราจรคอมพิวเตอร์จากสื่อ powerpoint

การบูรณาการกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น ๆ 
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา เรื่อง กฏหมายที่ควรรู้

คุณ ...! รู้เรื่อง พรบ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ กันหรือยัง

ภาพจาก มหาวิทยาลัยบูรพา   ดูพรบ.ฉบับการ์ตูนคลิกที่นี่
 

อ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล
บุญลือ อยู่คง powerpoint ประกอบการอบรม อบรม Linux Server และ Log Server ณ โรงแรมดุสิต  ปริ้นเซส นครราชสีมา
https://www.inet.co.th/computer_act/

 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=223

อัพเดทล่าสุด