อาชีพชาวนาไทย(กำลังปรับปรุง) MUSLIMTHAIPOST

 

อาชีพชาวนาไทย(กำลังปรับปรุง)


769 ผู้ชม


อาชีพชาวนา เป็นอาชีพเกษตรกรรมของบรรพบุรษไทย ที่ต้องรักษาและห่วงแหนไว้ให้ลูกหลาน แม้ว่าวิถีชีวิตของชาวนาจะเปลี่ยนไป   
(กำลังปรับปรุงเนื้อหาเพิ่มเติม)
            เวลา 17.40 น.วันนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จออก ณ พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พร้อมด้วยคณะ เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท ทูลเกล้าทูลกระหม่อม ถวายเหรียญสดุดีพระเกียรติคุณ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งทรงอุทิศกำลังพระวรกายในการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาพันธุ์ข้าว และการผลิตข้าวไทย และกราบบังคมทูลรายงานเกี่ยวกับสิทธิบัตรยีนที่ควบคุมความหอมในข้าว
     โอกาสนี้ ทรงมีพระราชดำรัสกับคณะผู้เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท
    "ขอบใิที่นำสิทธิบัตรนี้ ซึ่งถือว่าเป็นการประกันว่าการข้าวไทยเป็นของไทยแท้ ซึ่งคนหนักใจว่าเราเป็นข้าวไทยมานานแล้วจะกลายเป็นต้องไปกินข้าวฝรั่งเพราะว่าสิทธิบัตรนี้เป็นของฝรั่ง แต่ว่ามาอย่างนี้ก็ถือว่าเป็น ว่าเราได้รับประกันว่าเราเป็นข้าวไทย และจะกินข้าวไทยต่อไป ฉะนั้นการที่มีสิทธิบัตรนี้ก็เป็นสิ่งที่สำคัญ และก็หวังว่าจะต้อง ทุกคนจะรักษาความเป็นไทยได้ด้วย รับประทานกินข้าวไทยไม่ต้องกินข้าวฝรั่ง
ขอขอบใจทุกคนที่ได้จัดการเกี่ยวข้องกับเรื่องประกันนี้ สำหรับในนามของไทยทั้งหลายที่มีความภูมิใจได้กินข้าวไทย ก็ขอขอบใจทุกคนที่ตั้งใจ การทำงานเพื่อการนี้ ขอให้ท่านได้ช่วยกันทำให้เราสามารถสืบของไทย แล้วก็กินข้าวไทยแท้ไม่ใช่ต้องไปกินข้าวฝรั่ง เชื่อว่าการกินข้าวไทยนี้ทำให้คนไทยมีความภูมิใจในความเป็นไทยได้ ก็ขอขอบใจทุกท่านที่ทำงานเพื่อการนี้ต่อไป และได้เป็นคนไทยต่อไป"   [ที่มา :pantin.com  ข่าวด่วน  Breaking news 24 มิย. 2552 19:44 น.]
1. ประเด็นข่าว
     1. ความสำคัญของอาชีพชาวนาไทย
     2. วิถีชีวิตของชาวนาไทย
     3. อนาคตของชาวนาไทย 
2. เนื้อหา  
    2.1 ความสำคัญของอาชีพชาวนาไทย           
            อาชีพชาวนาไทย ให้สามารถยืนหยัดได้ด้วยความมมั่นคง  "อาชีพชาวนาต้องยืนสง่าบนผืนแผ่นดินไทย"   เป็น คำพูดของคุณอำนาจ นักเรียนชาวนาจังหวัดพิจิตร ที่ฟังแล้วมีความประทับใจมาก ในการจัดตลาดนัดการจัดการความรู้ของมูลนิธิข้าวขวัญ จังหวัดสุพรรณบุรี 
            ชาวนาเป็นอาชีพเกษตรกรรมส่วนใหญ่ของประชากรในประเทศ   เป็นอาชีพที่เลี้ยงคนทั้งประเทศ  และยังส่งออกไปต่างประเทศอีกหลาย  ๆ  ประเทศที่รับประทานข้าวของชาวนาไทย  ดังนั้นอาชีพชาวนาจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาประเทศ ไม่จะเป็นกำลังสำคัญในการผลิตข้าวในการบริโภคในประเทศหรือด้านการค้าเพื่อการส่งออกเป็นนำเงินรายได้เ้ข้าสู่ประเทศอีกทางหนึ่ง 
    2.2 วิถีชีวิตของชาวนาไทย
 


        2.3 อนาคตของชาวนาไทย 
              "ชาวนากับอาชีพชวนคิด" อาชีพ ชาวนาเป็นอาชีพที่มีบุญคุณต่อพวกเราชาวไทย และชาวโลก เนื่องจากอาชีพชาวนาเป็นอาชีพที่ผลิตข้าวเพื่อมาหล่อเลี้ยงประชากรโลก แต่จะมี สักกี่คนที่เห็นอกเห็นใจพี่น้องชาวนาไทย แม้กระทั่งผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียและร่ำรวยขึ้นทุกวันๆ คือเจ้าของโรงสี จะมีสักกี่รายที่ให้เกียรติชาวนา มีแต่จะคอยกดราคา และกดขี่อยู่ตลอดเวลา คงไม่ได้สำนึกหรอกว่าที่ตนตนเองอยู่ได้ทุกวันนี้เพราะยืนอยู่บนหลังชาวนา หรือแม้กระทั่งลูกชาวนาเองก็ตามจะมีสักกี่คนเมื่อได้เป็นใหญ่เป็นโตในแผ่น ดินแล้วจะเห็นอกเห็นใจอาชีพของบรรพบุรุษ และแล้วจะมีพี่น้องชาวนาด้วยกันเองสักกี่คนที่จะได้เห็นอกเห็นใจคนที่อยู่ใน อาชีพด้วยกันเอง ดังนั้นถึงเวลาแล้วครับในการที่จะขับเคลื่อนให้อาชีพชาวนาเป็นอาชีพที่ยืน อยู่ในแผ่นดินไทยได้อย่างสง่างาม      กระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge Manarement -KM) จึงเป็นเครื่องมือที่มีความเหมาะสมอย่างยิ่งที่จะทำให้เราไปถึงจุดหมาย ปลายทางนั้น
                    "ชาวนากับการจัดการความรู้"  ครับ หลายท่านอาจจะสงสัยครับว่าในการทำนานั้นสามารถทำได้ง่ายนิดเดียวทำไมจะต้อง จัดการความรูด้วย "หากท่านคิดอย่างนี้ละก้อ" คิดผิดครับ นั่นแหละคือจุดจบของอาชีพชาวนาไทย หากท่านอยู่ในฐานะชาวนาท่านสามารถตอบผมได้หรือไม่ว่า 
 ท่านมีพันธุ์ข้าวเป็นของตนเองหรือไม่ รู้ไหมว่าข้าวพันธุ์ใดเหมาะกับที่นาของท่านมากที่สุด
2.  ท่านคัดพันธุ์ข้าวใช้เองเป็นหรือไม่
3. พันธุ์ข้าวที่ท่านปลูกมีอายุเก็บเกี่ยวกี่วัน ปลูกแล้วกีวันออกดอกออกรวง แล้วหนึ่งรวงมีกี่เมล็ด
4. ข้าวที่ท่านปลูกแตกกอได้กี่ต้น กี่รวง
5. เมล็ดพันธุ์ที่ใช้มีเปอร์เซ็นต์ความงอกเท่าไหร่
6. ในการทำนา 1 ไร่ ต้องใช้เมล็ดพันธุ์เท่าไหร่ นาดำ นาหว่าน
7. เมล็ดพันธุ์ข้าว 1 กิโลกรัมมีกี่เมล็ด น้ำหนักเท่าไหร่
8. ดินนาท่านเป็นดินอย่างไร มีธาตุอาหารอะไรบ้าง
9. ข้าวต้องการน้ำเท่าไหร่ในฤดูการผลิตหนึ่งๆ
10. ผลิตข้าว 1 ตัน จะต้องใช้ปุ๋ยไปเท่าไหร่ และทำนา 1 ไร่ จะต้องลงทุนกี่บาท
11. เมื่อมีโรค และแมลงศัตรูระบาดท่านจะจัดการอย่างไร
12. ผลิตแล้วท่านจะนำไปขายที่ไหน อย่างไร และกำหนดราคาขายเองได้หรือไม่
3. แหล่งที่มา
4. บูรณาการกับกลุ่มสาระอื่น ๆ  
    1. สาระการเรียนรู้สังคมศึกษา เรื่อง  อาชีพหลักของประชากรในประเทศ
    2. สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  การคิดนวณต้นทุนและผลผลิต
    3. สาระ
5. ประเด็นคำถาม 
    5.1  ชาวนาเป็นอนาคตของชาติจริงหรือ
    5.2  ทำไมอาชีพชาวนายิ่งทำแล้วยิ่งจน  ทั้ง  ๆ  ที่เป็นอาชีพและเลี้ยงคนทั้งชาติ
    5.3  ทำไมเด็กรุ่นใหม่ถึงไม่ใส่ใจกับอาชีพบรรพบุรุษ
  
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=966

อัพเดทล่าสุด