Open Source กับการสร้างจิตสาธารณะ MUSLIMTHAIPOST

 

Open Source กับการสร้างจิตสาธารณะ


499 ผู้ชม


รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ร่วมลงมือส่งเสริมสนับสนุนการใช้งานโอเพนซอร์สในสถานศึกษา   
         ความร่วมมือระหว่างสองกระทรวงของไทยในการส่งเสริมสนับสนุนให้คนไทยเคารพสิทธิ ของคนอื่น ในการใช้ซอฟต์แวร์อย่างถูกกฏหมาย ด้วยการใช้งานซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส นอกจากการรู้จักเคารพสิทธิแล้ว ยังจะช่วยพัฒนาคนไทยให้มีความรู้ความสามารถด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งจะเพิ่มศักยภาพในการพัฒนาประเทศ
ที่มา https://www.nma6.obec.go.th/korat6/view.php?article_id=4182
 
กลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพและเทคโนโลยี 
ระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ 6  ช่วงชั้นที่ 2 
มาตรฐาน ง 1.4  เทคโนโลยีกับชีวิตประจำวัน
เนื้อเรื่อง
         โอเพนซอร์ส  (open source)  หรือ ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส คือวิธีการในการออกแบบ พัฒนา และแจกจ่ายสำหรับต้นฉบับของสินค้าหรือความรู้ โดยเฉพาะซอฟต์แวร์ โดยโอเพนซอร์ซถูกพิจารณาว่าเป็นทั้งรูปแบบหนึ่งในการออกแบบ และแผนการในการดำเนินการ โดยโอเพนซอร์ซเปิดโอกาสให้บุคคลอื่นนำเอาระบบนั้นไปพัฒนาได้ต่อไป ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซ เริ่มต้นจากการเคลื่อนไหวภายใต้ชื่อซอฟต์แวร์เสรี (free software) ในช่วง พ.ศ. 2526 จนกระทั่งในปี 2531 คำว่าซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซได้ถูกนำมาใช้แทนคำว่า "ฟรี" เพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจร่วมกันแทั้งผู้ใช้และผู้พัฒนา ในลักษณะของคำว่าเสรีนอกเหนือจากคำว่าฟรีในลักษณะไม่เสียค่าใช้จ่าย ผู้ใช้งานรวมถึงผู้พัฒนาสามารถนำซอฟต์แวร์มา ใช้งาน แก้ไข แจกจ่าย โดยสามารถนำมาปรับปรุงทั้งในลักษณะส่วนตัว หรือในหน่วยงานเอกชนได้ ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซอนุญาตให้ทุกคนสามารถนำซอฟต์แวร์ไปพัฒนา รวมถึงทำการตลาด ภายใต้เงื่อนไขทางลิขสิทธิ์ สัญญาอนุญาตสาธารณะทั่วไปของกนู (จีพีแอล) และ สัญญาอนุญาตแจกจ่ายซอฟต์แวร์ของเบิร์กลีย์ (บีเอสดี) ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซที่เป็นที่รู้จักกันดีได้แก่ ไฟฟอกซ์, ลินุกซ์, apeche เป็นต้น
GNU
         โครงการ กนู (GNU) เป็นชื่อของโครงการพัฒนาระบบปฏิบัติการ ริเริ่มโดยริชาร์ด สตอลแมน เมื่อปี พ.ศ. 2527 โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะพัฒนาระบบปฏิบัติการเพื่อให้เป็นซอฟต์แวร์เสรี ที่ทุกคนสามารถนำไปใช้ แก้ไข ปรับปรุง หรือจำหน่ายฟรี โดยไม่ต้องเสียค่าลิขสิทธิ์ โครงการกนู ประกอบไปด้วย เคอร์เนล ไลบรารี คอมไพเลอร์ โปรแกรมระบบ และ โปรแกรมประยุกต์ต่าง.
         GNU General Public License มีจุดมุ่งหมายเพื่อประกันเสรีภาพของคุณในการแบ่งปันและแก้ไขซอฟต์แวร์เสรี (free software) เพื่อทำให้แน่ใจว่าซอฟต์แวร์จะเป็นสิ่งที่เสรีสำหรับผู้ใช้ทุกคน. General Public License คือสัญญาอนุญาตให้สาธารณชนใช้สิทธิตามลิขสิทธิ์ที่ได้รับการนำมาใช้กับ ซอฟต์แวร์ส่วนใหญ่ของ Free Software Foundation และโปรแกรมใดก็ตามที่ผู้สร้างสรรค์ยึดมั่นต่อการใช้สัญญานี้. (มีซอฟต์แวร์บางชิ้นของ Free Software Foundation ที่ครอบคลุมโดย GNU Library General Public License แทน.) คุณเองก็สามารถใช้สัญญานี้กับโปรแกรมของคุณได้เช่นเดียวกัน.
จิตสาธารณะ
        หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข ในฐานะเป็นพลเมืองไทยและพลโลก ดังนี้ รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย ใฝ่เรียนรู้ อยู่อย่างพอเพียง มุ่งมั่นในการทำงาน รักความเป็นไทย และมีจิตสาธารณะ 
        จะเห็นได้ว่าจิตสาธารณะเป็นหนึ่งในแปดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน จิตสาธารณะ หรือจิตสำนึกสาธารณะ หมายถึง คุณลักษณะทางจิตใจของบุคคลที่มองเห็นคุณค่า ตระหนักถึงคุณค่าของสมบัติสาธารณะที่ไม่มีผู้ใดผู้หนึ่งเป็นเจ้าของ หรือเป็นสิ่งที่ทุกคนในสังคมเป็นเจ้าของร่วมกัน ซึ่งสังเกตได้จากความรู้สึกนึกคิด การกระทำที่แสดงออกต่อการรักษา การใช้ การเคารพสิทธิ ในสมบัติสาธารณะนั้น ๆ 
        คนที่มีจิตสาธารณะนั้นเป็นคนที่รู้จักใช้ของส่วนร่วมอย่างคุ้มค่าและพร้อมที่จะตอบแทนสังคมเมื่อมีโอกาส เมื่อได้รับมอบหมายให้ทำงานเพื่อส่วนรวมรับอาสาที่จะทำเต็มความสามารถ และเคารพสิทธิในสมบัติสาธารณะคือการให้และรู้จักแบ่งปัน
        คนที่พัฒนาและใช้โปรแกรมโอเพนซอร์ส ต้องมีจิตสาธารณะอย่างสูงเพราะโอเพนซอร์สถือว่าเป็นสมบัติของส่วนร่วม ไม่มีผู้ใดผู้หนึ่งเป็นเจ้าของ ทุกคนร่วมกันใช้ ร่วมกันพัฒนา การส่งเสริมสนับสนุนให้นักเรียนใช้โอเพนซอร์สถือได้ว่าเป็นการสร้างจิตสาธารณะอีกทางหนึ่งด้วย
ประเด็นคำถามเพื่อนำไปสู่การอภิปรายในห้องเรียน 
1.จิตสาธารณะเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทุกคน
2.การละเมิดลิขสิทธิ์เป็นสิ่งผิดกฏหมาย
กิจกรรมเสนอแนะ
1.ฝึกใช้โปรแกรมทุกวัน

อ้างอิง
https://www.linuxthailand.org/
https://www.opensource.org/docs/osd 
https://www.rosenlaw.com/oslbook.htm 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2151

อัพเดทล่าสุด