https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
อาชญากรรมคอมพิวเตอร์...ภัยมืดใกล้ๆ คุณ MUSLIMTHAIPOST

 

อาชญากรรมคอมพิวเตอร์...ภัยมืดใกล้ๆ คุณ


571 ผู้ชม


อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ (computer crime) ขึ้น ซึ่งเป็นปัญหาที่ก่อให้เกิดความเสียหายเป็นอย่างมาก สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นจากการขาด “จริยธรรมที่ดี” นั่นเอง   

                          อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ (Computer Crime)
        การลักลอบนำเอาข้อมูลไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต รวมถึงการสร้างความเสียหายต่อบุคคล และสังคมสารสนเทศโดย “ผู้ไม่ประสงค์ดี” ที่กระจายอยู่ทั่วทุกมุมโลกนี้ ทำให้เกิดปัญหาที่เรียกว่าอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ (computer crime) ขึ้น ซึ่งเป็นปัญหาที่ก่อให้เกิดความเสียหายเป็นอย่างมาก สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นจากการขาด “จริยธรรมที่ดี” นั่นเอง
        อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ไม่ใช่เรื่องใหม่ในสังคมสารสนเทศ เราอาจเคยพบปัญหาเกี่ยวกับการกำเนิดของไวรัสคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นโปรแกรมที่สร้างความเสียหายให้กับระบบมาแล้วในยุคก่อนๆ ซึ่งผลเสียหายนั้นมีตั้งแต่ไม่รุนแรง เพียงแค่สร้างความรำคาญในการใช้งานไปจนถึงทำให้คอมพิวเตอร์ขององค์กรล่มทั้งระบบ นับเป็นมูลค่าความเสียหายมากมายมหาศาลทีเดียว

เนื้อหาสำหรับกลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพและเทคโนโลยี ระดับช่วงชั้นที่ 3

อาชญากรรมคอมพิวเตอร์...ภัยมืดใกล้ๆ คุณ
ที่มารูปภาพ : https://cdn.woldcnews.com/

    
        ปัจจุบันการก่ออาชญากรรมคอมพิวเตอร์ไม่ได้มีแค่การโจมตีหรือแพร่กระจายของไวรัสอีกต่อไป ยิ่งรูปแบบของการดำเนินงานมากกว่าเดิม มีการบุกรุกและเจาะระบบเพื่อแอบเข้าไปแก้ไขข้อมูลทางการเงินของธนาคาร การเข้าไปขโมยข้อมูลความลับของบริษัทคู่แข่ง รวมถึงการก่อกวนเพื่อให้ระบบคอมพิวเตอร์เป้าหมายเสียหาย และไม่สามารถทำงานได้ สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นเพราะการใช้งานเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับอินเทอร์เน็ตที่ไม่หยุดยั้งนี่เอง
        การก่ออาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ นอกจากเป็นการกระทำที่ “ขาดจริยธรรม” ที่ดีแล้ว ยังถือว่าเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายเช่นเดียวกัน หลายประเทศมีการออกกฎหมายรองรับเกี่ยวกับการก่ออาชญากรรมคอมพิวเตอร์ขึ้นแล้ว รวมถึงประเทศไทยด้วย

กลุ่มบุคคลที่ลักลอบเข้าถึงข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาตแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มคือ


แฮกเกอร์ (Hacker)

คำถามเพื่อนำไปสู่การอภิปราย

  1. การเข้าถึงข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต ผิดกฎหมายและผิดจริยธรรมอย่างไร
  2. เราจะป้องกันไม่ให้ผู้อื่นเข้าถึงข้อมูลของเราได้หรือไม่อย่างไร

กิจกรรมเสนอแนะ

  1. ศึกษาวิธีการเก็บรักษาข้อมูลส่วนตัว เพื่อมิให้ผู้อื่นเข้าถึงข้อมูลของเราได้
  2. ศึกษาพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550

ที่มา : วศิน  เพิ่มทรัพย์ และวิโรจน์ ชัยมูล. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ. 
กรุงเทพฯ : โปรวิชั่น, 2548.

        เป็นกลุ่มคนที่มีความรู้ ความสามารถทางด้านคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่ายเป็นอย่างดี มักอาศัยช่องโหว่ของเทคโนโลยีลักลอบดูข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต บางครั้งทำเพื่อทดสอบความรู้ของตนเอง มักเป็นคนที่ชอบเสาะแสวงหาความรู้ใหม่ๆอยู่เสมอ และมีความอยากรู้อยากเห็น หรือต้องการศึกษาเพื่อทดลองขีดความสามารถของตนเอง  โดยเจตนาแล้วไม่ได้มุ่งร้ายต่อข้อมูลแต่อย่างใด แฮกเกอร์บางคนอาจเข้าไปหาจุดบกพร่องต่างๆ ของระบบเครือข่ายแล้วแจ้งกับผู้ดูแลระบบว่า ระบบเครือข่ายนั้นบกพร่องและควรแก้ไขข้อมูลส่วนใดบ้าง
แครกเกอร์(Cracker)

         
เป็นกลุ่มคนที่มีความรู้ความสามารถเช่นเดียวกับกลุ่มแฮกเกอร์ แต่มีเจตนาที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง มีพฤติกรรมตรงกันข้ามกับกลุ่มแฮกเกอร์ เพราะจะสร้างความเสียหายที่รุนแรงกว่า  โดยปกติแครกเกอร์จะมุ่งทำลายระบบ ลักลอบเข้าไปแก้ไข เปลี่ยนแปลงหรือทำลายข้อมูล การกระทำของแครกเกอร์มีเจตนาให้เกิดความเสียหายของข้อมูลมากกว่าแฮกเกอร์ กลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะชำนาญด้านเครือข่ายระบบคอมพิวเตอร์ การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งถือว่ามีความร้ายแรงมากในปัจจุบัน
สคริปต์คิตตี้ (Script Kiddy)

        แปลตามศัพท์ว่า พวกเด็กชอบเล่นสคริปต์ ปัจจุบันมีจำนวนมากขึ้นอย่างรวดเร็ว มีแหล่งพบปะแลกเปลี่ยนโปรแกรมหรือสคริปต์ (script) ที่มีคนเขียนและนำออกมาเผยแพร่ให้ทดลองใช้กันอย่างมากมายทั่วโลก คนกลุ่มนี้มักเป็นเด็กวัยอยากรู้อยากลอง นักศึกษา ที่ไม่จำเป็นต้องมีความรู้เรื่องการเจาะรบบมากนัก ส่วนใหญ่จะเข้าไปเพื่อก่อกวนระบบคอมพิวเตอร์ การลอบเข้าไปอ่านอีเมล์ การขโมยรหัสผ่านของผู้อื่น เป็นต้น
 
ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2256

อัพเดทล่าสุด