https://lentera.uin-alauddin.ac.id/question/gratis-terlengkap/https://old-elearning.uad.ac.id/gampang-menang/https://fk.ilearn.unand.ac.id/demo/https://elearning.uika-bogor.ac.id/tanpa-potongan/https://e-learning.iainponorogo.ac.id/thai/https://organisasi.palembang.go.id/userfiles/images/https://lms.binawan.ac.id/terbaik/https://disperkim.purwakartakab.go.id/storage/https://pakbejo.jatengprov.go.id/assets/https://zonalapor.fis.unp.ac.id/-/slot-terbaik/https://sepasi.tubankab.go.id/2024tte/storage/http://ti.lab.gunadarma.ac.id/jobe/runguard/https://satudata.kemenpora.go.id/uploads/terbaru/
ทฤษฎีสี MUSLIMTHAIPOST

 

ทฤษฎีสี


610 ผู้ชม


ทฤษฎีสี การรับรู้สีเกิดจากการที่แสงตกกระทบวัตถุ สีที่รับรู้ได้จะเกิดจากคุณลักษณะ 3 ประการ คือ ลักษณะทางกายภาพและทางเคมีขององค์ประกอบของวัตถุ องค์ประกอบของสเปคตรัมของแหล่งกำเนิดแสงที่ส่องกระทบวัตถุ และความไวของผู้สังเกต (ตา) ต่อสเปคตรัมของแสง   

เนื้อหา  สำหรับกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี 
บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับโปรแกรม  Photoshop  เรื่อง : ทฤษฎีสี

ทฤษฎีสี (COLOR THEORY) 
           การรับรู้สีเกิดจากการที่แสงตกกระทบวัตถุสีที่รับรู้ได้จะเกิดจากคุณลักษณะ 3 ประการ คือ ลักษณะทางกายภาพและทางเคมีขององค์ประกอบของวัตถุ องค์ประกอบของสเปคตรัมของแหล่งกำเนิดแสงที่ส่องกระทบวัตถุ และความไวของผู้สังเกต(ตา)ต่อสเปคตรัมของแสงถ้าเปลี่ยนองค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่งในสามองค์ประกอบนี้จะทำให้การรับรู้สีในวัตถุเปลี่ยนไปได้ 
             แสงที่ตกกระทบวัตถุอาจก่อให้เกิดการสะท้อน การหักเห การส่องผ่านหรือการดูดซึมโดยวัตถุนั้น ถ้าพลังงานแสงทั้งหมดในช่วงที่มองเห็น (visible range) ถูกสะท้อนออกมาจากพื้นผิวทึบแสง เราจะมองเห็นวัตถุนั้นเป็นสีขาว ถ้าหากแสงถูกดูดซึมเป็นบางส่วน เราจะมองเห็นวัตถุนั้นเป็นสีเทา ถ้าหากแสงถูกดูดซับไว้จนหมด เราจะมองเห็นวัตถุนั้นเป็นสีดำ 
             สีของวัตถุสามารถแบ่งออกได้ 3 ประการ คือ hue (หรือที่เราเรียกกันว่า “สี“ ของวัตถุ
 เช่น สีเขียว เป็นต้น) ความสว่าง (lightness) หรือที่เรียกว่า brightness เช่น สีเขียวอ่อนและเขียวเข้ม เป็นต้น และความบริสุทธิ์ของสี (saturation/purity)เช่นสีเขียวบริสุทธิ์และเขียวผสมเทา เป็นต้น


คำจำกัดความของสี 
            1. แสงที่มีความถี่ของคลื่นในขนาดที่ตามนุษย์สามารถรับสัมผัสได้ 
            2. แม่สีที่เป็นวัตถุ (PIGMENTARY PRIMARY) ประกอบด้วย แดง เหลือง น้ำเงิน 
            3. สีที่เกิดจากการผสมของแม่สี

คุณลักษณะของสี 
             สีแท้ (HUE) คือ สีที่ยังไม่ถูกสีอื่นเข้าผสม เป็นลักษณะของสีแท้ที่มีความสะอาดสดใส เช่น แดง เหลือง น้ำเงิน 
             สีอ่อนหรือสีจาง (TINT) ใช้เรียกสีแท้ที่ถูกผสมด้วยสีขาว เช่น สีเทา, สีชมพู 
             สีแก่ (SHADE) ใช้เรียกสีแท้ที่ถูกผสมด้วยสีดำ เช่น สีน้ำตาล
สีที่ใช้ในงานศิลปะเราเรียกว่า แม่สีช่างเขียน (ARTIST) มี 3 สี คือ
1. สีแดง       (RED = CRIMSON  LAKE)
2. สีเหลือง   (YELLOW = GRAMBOGE YELLOW)
3. สีน้ำเงิน    (BLUE = PRESSION BLUE                 
                                                    
 

ทฤษฎีสี

               การผสมของแม่สี หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "แม่สีวัตถุธาตุ" นั้นสามารถผสมให้เป็นสีต่างๆ ได้มากมายตามหลักของทฤษฎีสีนั้นกล่าวได้ว่าวัตถุสีใดๆ ก็ตามย่อมสะท้อนสีตัวของมันออกมาให้เห็นขณะเดียวกันก็ดึงดูดเอาสีของแม่สีไม่ปรากฏเข้ามาด้วย เช่น 


 สีแดง (CRIMSION  LAKE) สะท้อนรังสีของสีแดงออกมาแล้วดึงดูดเอาสีน้ำเงินกับสีเหลืองซึ่งต่างผสมกันในตัวแล้วกลายเป็นสีเขียวอันเป็นคู่สีของสีแดง 
       
   
สีเหลือง (GAMBOGE YELLOW)
 สะท้อนรังสีของสีเหลืองออกมาแล้วดึงดูดเอาสีแดงกับสีน้ำเงินซึ่งผสมกันในตัวแล้วกลายเป็นสีม่วงอันเป็นคู่สีของสีเหลือง 
          
สีน้ำเงิน (PRESSION BLUE) สะท้อนรังสีของสีน้ำเงินออกมาแล้วดึงดูดเอาสีแดงกับสีเหลือง
เข้ามาแล้วผสมกันก็จะกลายเป็นสีส้ม ซึ่งเป็นคู่สีของสีน้ำเงิน  
 

ทฤษฎีสี

             จากวงสีจะเห็นว่า สีที่อ่อนที่สุดจะอยู่ด้านบน คือ สีเหลือง แล้วเรียงตามลำดับลงมาจนถึงสีที่แก่ที่สุด คือ สีม่วง ซึ่งอยู่ในทิศทางตรงกันข้าม ทำให้สีในวงสีแบ่งเป็น 2 วรรณะ หรือ 2 โทน คือ วรรณะร้อน และวรรณะเย็นวรรณะร้อน ได้แก่ สีเหลือง, ส้ม, ส้มเหลือง, ส้มแดง, แดง, ม่วงแดง  วรรณะเย็น  ได้แก่ สีม่วง, น้ำเงิน, ม่วงน้ำเงิน, เขียว, เขียวเหลือง สำหรับในวงสีที่อยู่ได้ทั้งวรรณะร้อนและวรรณะเย็น คือ สีเหลืองและสีม่วง การผสมกันของแม่สีช่างเขียนได้สีอยู่ 3 ขั้น ดังนี้
สีขั้นที่ 1 (Primary Color) ได้แก่               สีแดง             สีเหลือง             สีน้ำเงิน 
 

                                                          ทฤษฎีสี

                                                         สีแดง                      สีเหลือง                สีน้ำเงิน
สีขั้นที่ 2 (Secondary Hues) เป็นการนำเอาแม่สีมาผสมกันในปริมาณเท่า ๆ กัน จะได้สีใหม่อีก 3 สี ดังนี้    
 
 
 ทฤษฎีสี

สีแดง ผสมกับ สีเหลือง เป็น สีส้ม              สีแดง ผสมกับ สีน้ำเงิน เป็นสีม่วง      สีเหลืองผสมกับสีน้ำเงิน เป็น สีเขียว

   สีขั้นที่3(Tertiary Hues)เกิดจากนำเอาแม่สีมาผสมกับสีขั้นที่ 2 โดยจะได้สีใหม่เพิ่มอีก6สีดังนี้ 
 
  
 ทฤษฎีสี

สีแดง  ผสม สีม่วง  เป็น สีม่วงแดง      สีแดง  ผสม สีส้ม   เป็น สีส้มแดง           สีเหลือง ผสม สีส้ม เป็น สีส้มเหลือง
 
  
  ทฤษฎีสี

สีเหลือง ผสม สีเขียว เป็น สีเขียวเหลือง   สีน้ำเงิน ผสม สีม่วง เป็น สีม่วงน้ำเงิน สีน้ำเงิน ผสม สีเขียว เป็น สีเขียวน้ำเงิน
    

การบูรณาการ
        1.  กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ  การวาดภาพ  และการตกแต่งรูปภาพให้สวยงาม

แหล่งข้อมูลอ้างอิง
https://www.artmwk.50g.com/color.htm
https://www.artmwk.50g.com/color1.htm
https://www.artmwk.50g.com/whell.htm

https://coursewares.mju.ac.th/ft461/index/lasson111.htm

ที่มา : https://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=2627

อัพเดทล่าสุด